การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
5756
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/12/10
 
รหัสในเว็บไซต์ fa7818 รหัสสำเนา 19579
หมวดหมู่ تاريخ کلام
คำถามอย่างย่อ
ทำไมจึงเรียกการไว้อาลัยแด่ซัยยิดุชชูฮะดาว่า การอร่านร็อวเฎาะฮ์?
คำถาม
ทำไมจึงเรียกการไว้อาลัยแด่ซัยยิดุชชูฮะดาว่า การอ่านร็อวเฎาะฮ์?
คำตอบโดยสังเขป

สำนวนร็อวเฎาะฮ์เกิดขึ้นเนื่องจากการนำบทต่าง  ในหนังสือร็อวเฎาะตุชชุฮะดามาอ่านโดยนักบรรยาย หนังสือเล่มนี้เป็นหนึ่งในหนังสือเล่มแรกๆ ที่กล่าวถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในกัรบาลา ซึ่งเขียนโดย มุลลาฮุเซน กาชิฟ ซับซะวอรี (เกิด 910 ..) เป็นหนังสือภาษาฟาร์ซี หนังสือเล่มนี้ใช้อ่านในการไว้อาลัยมาเป็นเวลาช้านานแล้ว ดังนั้นพิธีต่าง  ที่มีการไว้อาลัยจึงเรียกว่าการร็อวเฎาะฮ์ถึงปัจจุบัน

คำตอบเชิงรายละเอียด

ในปัจจุบัน ความหมายของร็อวเฎาะฮ์และการอ่านร็อวเฎาะฮ์หมายถึง การอ่านบทโศกและรำพึงรำพันถึงบรรดามะอ์ศูมีน (.) และญาติมิตรของพวกท่านเหล่านั้น ซึ่งบรรดาอิมาม (.)ได้รณรงค์เป็นพิเศษ เพื่อช่วยดำรงไว้ซึ่งศาสนาและสายสัมพันธ์ทางจิตวิญญาณระหว่างมนุษย์และเอาลิยาของศาสนานั้นเอง

ความหมายของร็อวเฎาะฮ์คือ "สวนหย่อม" แต่สาเหตุที่มีการเรียกการอ่านบทโศกว่าเป็นการ"อ่านร็อวเฎาะฮ์"กันอย่างแพร่หลายก็เนื่องจากในอดีตนักรำพึงรำพันได้อ่านบทรำพันเกี่ยวกับเหตุการณ์กัรบาลาจากหนังสือร็อวเฎาะตุชชุฮะดาเขียนโดย มุลลาฮุเซน กาชิฟ นั้นเอง มุลลากาชิฟ (เสียชีวิต .. 910) เป็นหนึ่งในนักวิชาการและนักบรรยายที่มีน้ำเสียงไพเราะในศตวรรษที่ 9 และอาศัยอยู่ในเมืองซับซะว้อร ในสมัยการปกครองของซุลตานฮุเซน บายกะรอ ท่านได้เดินทางไปยังเมืองฮารอต (เมืองหลวงในสมัยนั้น) และเนื่องจากท่านเป็นผู้ที่มีความจำที่ดี มีน้ำเสียงที่ไพเราะ และเป็นนักบรรยายที่มีความรู้ ไม่นานจึงมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก และมีผู้คนมากมายมานั่งฟังการบรรยายของท่าน อีกทั้งยังเป็นที่จับตามองจากทางพระราชา ชาววัง ผู้มั่งมี และผู้มีตำแหน่งในรัฐบาลในสมัยนั้น โดยเฉพาะสมุหนายกซึ่งเป็นผู้ที่มีความรู้และรักในศิลปะที่มีนามว่าอะมีร อาลี ชีรนะวาอีเขาเขียนหนังสือและบทความกว่า 40 ชิ้น หนึ่งในนั้นคือหนังสือร็อวเฎาะตุชชุฮะดาประพันธ์เป็นภาษาฟาร์ซีเกี่ยวกับเหตุการณ์ในกัรบาลา และเนื่องจากหนังสือเล่มนี้มีเนื้อหาที่เด่นชัดและสวยงามเป็นอย่างมาก นักการบรรยายจึงเลือกที่จะอ่านเนื้อหาในหนังสือเล่มนี้ขณะบรรยายในพิธีไว้อาลัยให้กับอิมามฮุเซน (.)เป็นเวลาช้านาน หลังจากนั้นจึงค่อยๆหมดความนิยมไป โดยหันไปท่องจำแทน หนังสือเล่มนี้แปลเป็นภาษาตุรกีในศตวรรษที่ 10 โดยมุฮัมหมัด บินสุลัยมาน ฟุซุลี[1]

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากผลงานชิ้นนี้เป็นที่รู้จักและได้ใช้กันอย่างแพร่หลายในพิธีไว้อาลัยของอาอิมมะฮ์ มะอ์ศูมีน (.) พีธีเหล่านึ้จึงถูกเรียกว่าพิธีการอ่านร็อวเฎาะฮ์โดยปริยาย ซึ่งสำนวนดังกล่าวก็ยังติดปากอยู่จนถึงปัจจุบัน



[1] อ่านเพิ่มเติมที่ มุฮัดดิษีย์, ญาวาด, พจนานุกรรมอาชูรอ, หน้าที่189, สำนักพิมพ์มะอ์รูฟ, กุม, 1374 และ ตัรคอน, กอซิม,บุคลิกและการต่อสู้ของอิมามฮุเซนจากปริทรรศน์อิรฟาน ปรัชญา และเทววิทยา, หน้า 470, เชลเชรอก, กุม, 1388

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • เงินฝากบัญชีสินเชื่อที่อยู่อาศัย โดยใช้ประโยชน์จากสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย จำเป็นต้องจ่ายคุมซ์หรือไม่?
    5741 สิทธิและกฎหมาย 2554/06/22
    ท่านผู้นำสูงสุดตอบคำถามที่ถามว่าบุคคลที่ไม่มีที่อยู่อาศัยได้เก็บสะสมเงินฝากเพื่อเตรียมไว้ซื้อบ้านและที่อยู่อาศัยเงินฝากต้องจ่ายคุมซ์ด้วยหรือไม่? ตอบว่า: การสะสมทรัพย์ถือเป็นรายได้ประเภทหนึ่งถ้าเตรียมไว้เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในชีวิตเมื่อครบรอบปีต้องจ่ายคุมซ์ด้วยเว้นเสียแต่ว่าได้สะสมเงินไว้เพื่อจัดซื้อของใช้ที่จำเป็นในชีวิตหรือเพื่อสำรองค่าใช้จ่ายจำเป็นในกรณีนี้ถ้าหากเลยรอบปีต้องจ่ายคุมซ์ไปแล้ว (เช่นสองสามเดือนหลังรอบปีคุมซ์) เขาได้ใช้ไปในเรื่องดังกล่าวนั้นไม่ต้องจ่ายคุมซ์
  • การโอนถ่ายพลังจากบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่งนั้นเป็นที่ยอมรับในศาสนาอิสลามหรือไม่? ประเด็นนี้มีฮุกุมเช่นไร?
    5980 สิทธิและกฎหมาย 2555/05/19
    เรื่องนี้รวมถึงการรักษาและผลพวงที่ว่ากันว่าจะได้รับจากการรักษาดังกล่าวยังไม่อาจพิสูจน์ได้ และอาจจะเป็นไปได้ว่าผู้ที่อยู่ในวงการนี้อาจจะอุปทานไปเอง ดังนั้นบรรดามะรอญิอ์ตักลีดก็ยังไม่ได้ให้คำตอบที่ชัดเจนเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว เนื่องจากเป็นประเด็นที่ยังมีความคลุมเคลืออยู่ อย่างไรก็ตามคำตอบของบรรดามัรญิอ์ตักลีดท่านอื่นเกี่ยวกับคำถามนี้มีดังนี้ สำนักงานของท่านอายาตุลลอฮ์ อัลอุซมา มะการิม ชีรอซี ประเด็นหลักของการรักษาทางพลังเอเนรจีนั้นไม่มีปัญหาอะไร แต่หากจะต้องขึ้นอยู่กับการกระทำฮะรอมถือว่าไม่อนุญาต คำตอบของท่านอายาตุลลอฮ์ มะฮ์ดี ฮาดะวี เตหะรานี มีดังนี้ การกระทำนี้ โดยตัวของมันเองแล้วนั้นถือว่าไม่มีข้อห้ามแต่อย่างใด ยกเว้นกรณีที่กระทำด้วยปัจจัยที่เป็นฮะรอม เช่นการถูกเนื้อต้องตัวกับผู้ที่ไม่ใช่มะฮ์รอม ฯลฯ ซึ่งไม่เป็นที่อนุญาต ทว่าหากการนำเสนอประเด็นนี้เป็นพื้นฐานในการสร้างความเชื่อที่ผิด ๆ และผู้นำเสนอในประเด็นดังกล่าวจะแอบอ้างว่าตนมีพลังและความสามารถที่พิเศษเหนือมนุษย์ ซึ่งจะทำให้เกิดความเบี่ยงเบนและหันเหไปทางที่ผิดทางความคิดในสังคมนั้น ก็จะถือว่าประเด็นดังกล่าวเป็นสิ่งที่ฮะรอม หมวดหมู่ที่เกี่ยวข้อง คำถามที่ 4864 (ลำดับในเว็บไซต์ ...
  • ทิฐิที่ปรากฏในกุรอานมีความหมายอย่างไร? มีสาเหตุ ผลลัพธ์ และวิธีแก้อย่างไร? คนมีทิฐิมีคุณลักษณะอย่างไร?
    11794 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/09/20
    การถืออคตินับเป็นอุปนิสัยที่น่ารังเกียจยิ่ง เราสามารถวิเคราะห์อุปนิสัยดังกล่าวจากหลายแง่มุมด้วยกัน ทั้งนี้ก็เนื่องจากมีผลร้ายหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นผลร้ายเชิงปัจเจกหรือสังคม จิตใจและร่างกาย โลกนี้และโลกหน้า อิสลามได้ตีแผ่ถึงรากเหง้าและผลเสียของการถือทิฐิ ตลอดจนนำเสนอวิธีปรับปรุงตนเองเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้อย่างถี่ถ้วน ...
  • มัสญิดฎิรอร มีความหมายว่าอะไร? เรื่องราวความเป็นมาเกี่ยวกับการสร้างมัสญิดคืออะไร?
    8216 ประวัติสถานที่ 2555/05/17
    คำว่า “ฎิรอร” มาจากริยาในรูปของ บาบมุฟาอะละ ในพจนานุกรมหมายถึง การทำให้สูญเสีย[1] โดยเจตนา[2] เรื่องราวของมัสยิด ฎิรอร ถูกกล่าวไว้ในบทเตาบะฮฺ สาเหตุที่ตั้งชื่อมัสญิดนี้ว่า ฎิรอร ก็เนื่องจากว่า มีมุนาฟิกีน (พวกกลับกลอก) กลุ่มหนึ่งต้องการให้แผนการชั่วร้ายของตนที่มีต่ออิสลาม ซึ่งพวกเขาได้วางไว้ให้บรรลุเป้าหมาย พวกเขาจึงได้สร้างมัสญิดหลังหนึ่งขึ้นมาใน เมืองมะดีนะฮฺ โดยมีเจตนาให้มัสญิดดังกล่าวเป็นฐานสร้างอันตรายแก่นบี (ซ็อล ฯ) บรรดามุสลิมและอิสลาม[3] เรื่องราวโดยสรุปของการสร้างมัสญิด ฎิรอร คือ : กลุ่มมุนาฟิกีน (สับปลับ) ได้มาหาท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) เพื่อขออนุญาตท่านศาสดาสร้างมัสญิดขึ้นในหมู่ชนเผ่า ...
  • ถ้าหากชาวสวรรค์มีการแบ่งชั้นอยู่ ดังนั้นสำหรับชาวนรกแล้วเป็นเช่นนี้ด้วยหรือไม่?
    11614 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/04/07
    สิ่งที่อัลกุรอานและรายงานฮะดีซ กล่าวไว้เกี่ยวกับชั้นต่างๆ ของนรก,ก็คือนรกนั้นมีชั้นเหมือนกับสวรรค์[1]ที่แบ่งออกเป็นชั้นต่างๆ ซึ่งชาวนรกทั้งหลายจะถูกพิพากษาไปตามความผิดที่ตนได้กระทำไว้หนักเบาต่างกันไป, ซึ่งเขาจะถูกนำไปพักอยู่ในชั้นนรกเหล่านั้นเพื่อลงโทษในความผิดที่ก่อขึ้น รายงานบทหนึ่งจากท่านอิมามบากิร (อ.) กล่าวเกี่ยวกับโองการที่ว่า «لَها سَبْعَةُ أَبْوابٍ لِكُلِّ بابٍ مِنْهُمْ جُزْءٌ مَقْسُوم»[2] สำหรับนรกมีเจ็ดประตู และทุกประตูมีสัดส่วนที่ถูกจัดไว้แล้ว (สำหรับผู้หลงทาง) ท่านอิมาม (อ.) กล่าวว่า ได้มีรายงานมาถึงฉันว่า อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงแบ่งนรกออกเป็น 7 ชั้น 1.ชั้นที่หนึ่ง : เป็นชั้นที่สูงที่สุดเรียกว่า “ญะฮีม” ชาวนรกในชั้นนี้จะถูกให้ยืนอยู่บนโขดหินที่ร้อนระอุด้วยความยากลำบาก กระดูกและสมองของเขาจะเดือดพล่านเนื่องจากความร้อนนั้น
  • ในทัศนะอิสลามอนุญาตให้ซัจญฺดะฮฺและแสดงการตะอฺซีมหรือไม่ ?
    6767 การตีความ (ตัฟซีร) 2554/09/25
    ในทัศนะอิสลามบนพื้นฐานคำสอนของแนวทางอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) ถือว่าการซัจญฺดะฮฺคือรูปแบบของการอิบาดะฮฺที่สวยงามและสมบูรณ์ที่สุดสำหรับพระผู้อภิบาลเท่านั้นและไม่อนุญาตกระทำกับบุคคลอื่นส่วนการซัจญฺดะฮฺที่มีต่อศาสดายูซุฟ (อ.), มิได้ถือว่าเป็นการซัจญฺดะฮฺอิบาดี, ทว่าในความเป็นจริงก็คือว่าเป็นการอิบาดะฮฺต่อพระเจ้าด้วยเช่นกันดังที่เราได้หันหน้าไปทางกะอฺบะฮฺเพื่อนมาซและได้ซัจญฺดะฮฺ, ทั้งที่การนมาซและการซัจญฺดะฮฺของเรามิได้กระทำเพื่อวิหารกะอฺบะฮฺแต่อย่างใดทว่าวิหารกะอฺบะฮฺคือสิ่งเดียวอันถือว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งการรำลึกถึงอัลลอฮฺเราจึงอิบาดะฮฺ ...
  • จะต้องชำระคุมุสกรณีของทุนทรัพย์ด้วยหรือไม่?
    5490 สิทธิและกฎหมาย 2555/04/16
    ทัศนะของบรรดามัรญะอ์เกี่ยวกับคุมุสของทุนทรัพย์มีดังนี้ ในกรณีที่บุคคลได้จัดหาทุนทรัพยจำนวนหนึ่ง แต่หากต้องชำระคุมุสจะไม่สามารถทำมาหากินด้วยทุนทรัพย์ที่คงเหลือได้ อยากทราบว่าเขาจะต้องชำระคุมุสหรือไม่? มัรญะอ์ทั้งหมด (ยกเว้นท่านอายะตุลลอฮ์วะฮีด และอายะตุลลอฮ์ศอฟี) ให้ทัศนะว่า หากการชำระคุมุสจำนวนดังกล่าวทำให้ไม่สามารถประกอบอาชีพได้ (แม้จะชำระเป็นงวดก็ตาม) ถือว่าไม่จำเป็นต้องชำระคุมุสนั้น ๆ[1] อายะตุลลอฮ์ศอฟีย์และอายะตุลลอฮ์วะฮีดเชื่อว่าจะต้องชำระคุมุส แต่สามารถเจรจาผ่อนผันกับทางผู้นำทางศาสนา[2] ท่านอายะตุลลอฮ์นูรี, ตับรีซี, บะฮ์ญัตให้ทัศนะไว้ว่า ในส่วนของทุนทรัพย์ที่จำเป็นสำหรับการทำมาหากินนั้น ไม่จำเป็นจะต้องชำระคุมุส แต่หากมากกว่านั้น ถือว่าจำเป็นที่จะต้องชำระ[3] แต่ทว่าหากซื้อที่ดินนี้ด้วยกับเงินที่ชำระคุมุสแล้ว หรือได้ซื้อหลังจากปีคุมุสได้ผ่านพ้นไปแล้ว หรือได้ซื้อหลังจากปีคุมุสและขายไปก่อนที่จะถึงปีคุมุสหน้า ก็ไม่จำเป็นจะต้องชำระคุมุสแต่อย่างใด ทว่าหากได้กำไรจากการซื้อขายที่ดินดังกล่าว หากหลงเหลือจนถึงปีคุมุสถัดไปจำเป็นที่จะต้องชำระคุมุสด้วย
  • ชะตากรรมของเหล่าภรรยาท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) หลังจากเหตุการณ์กัรบะลาอฺเป็นอย่างไรบ้าง?
    7159 تاريخ بزرگان 2554/12/21
    ท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) มีภรรยาทั้งสิ้น 5 คน, นักประวัติศาสตร์บางท่านจำนวนบุตรของท่านท่านอิมาม (อ.) ที่เกิดจากภรรยาเหล่านี้มีจำนวน 6 คนหรือบางคนกล่าวว่ามีมากกว่า
  • การลอกข้อสอบผู้อื่นโดยที่บุคคลดังกล่าวยินยอม จะมีฮุกุมเช่นไร?
    14748 สิทธิและกฎหมาย 2554/11/19
    ว่ากันว่าบรรดาฟะกีฮ์มีทัศนะเป็นเอกฉันท์ว่าการลอกข้อสอบถือเป็นฮะรอมดังที่หนังสือ “ประมวลคำถามของนักศึกษา” ได้ตั้งคำถามว่าการลอกข้อสอบมีฮุกุมอย่างไร? คำตอบคือทุกมัรญะอ์ให้ความคิดเห็นว่าไม่อนุญาต[1]หนังสือดังกล่าวได้ให้คำตอบต่อข้อคำถามที่ว่ากรณีที่ยินยอมให้ผู้อื่นลอกข้อสอบจะมีฮุก่มเช่นไร? มัรญะอ์ทุกท่านตอบว่า “การยินยอมไม่มีผลต่อฮุกุมแต่อย่างใด”[2] หมายความว่าฮุกุมของการลอกข้อสอบซึ่งถือว่าเป็นฮะรอมนั้นไม่เปลี่ยนเป็นฮะลาลด้วยกับการยินยอมของผู้ถูกลอกแต่อย่างใดเกี่ยวกับประเด็นนี้มีอีกหนึ่งคำถามที่ถามจากมัรญะอ์บางท่านดังต่อไปนี้คำถาม "หากนักเรียนหรือนักศึกษาสอบผ่านด้วยการลอกข้อสอบและได้เลื่อนระดับขั้นที่สูงขึ้นอันทำให้ได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆกรณีเช่นนี้อนุญาตให้รับสิทธิประโยชน์ดังกล่าวได้หรือไม่?”ท่านอายะตุลลอฮ์คอเมเนอี “การลอกข้อสอบถือว่าเป็นฮะรอมแต่กรณีที่บุคคลผู้นั้นมีความชำนาญและความเชี่ยวชาญในหน้าที่การงานที่เขาได้รับการว่าจ้างโดยที่เขาทำตามกฎระเบียบของการว่าจ้างอย่างเคร่งครัดการว่าจ้างและการรับค่าจ้างถือว่าถูกต้อง”ท่านอายาตุลลอฮ์ฟาฏิลลังกะรอนี “ไม่อนุญาตและไม่มีสิทธิรับสิทธิประโยชน์ใดๆที่ได้มาโดยการนี้”ท่านอายาตุลลอฮ์บะฮ์ญัต “จะต้องเรียนชดเชยวิชานั้น”ท่านอายาตุลลอฮ์ตับรีซี “การลอกข้อสอบคือการโกหกภาคปฏิบัตินั่นเองและถือว่าไม่อนุญาตส่วนผู้ที่กระทำเช่นนี้แล้วได้บรรจุเข้าทำงานที่ไม่จำเป็นต้องใช้ทักษะพิเศษก็ถือว่าสามารถทำได้แต่หากเป็นงานที่ต้องใช้ทักษะที่ตนไม่มีก็ไม่อนุญาตให้รับผิดชอบงานนั้นท่านอายาตุลลอฮ์ศอฟีโฆลพอยฆอนี “การคดโกงไม่ว่าในกรณีใดถือว่าไม่อนุญาต”ท่านอายาตุลลอฮ์มะการิมชีรอซี “ในกรณีที่มีการลอกข้อสอบในหนึ่งหรือสองวิชาแม้ว่าถือเป็นการกระทำที่ผิดแต่การรับวุฒิบัตรและการศึกษาต่อในระดับที่สูงกว่านั้นหรือรับงานด้วยกับวุฒิบัตรดังกล่าวถือว่าอนุญาต”ท่านอายาตุลลอฮ์ซิซตานี “เขาสามารถใช้ได้แม้นว่าการกระทำของเขา (การลอกข้อสอบ) ถือว่าไม่อนุญาต”
  • ใบหน้าของอิมามมะฮ์ดี(อ.)จะเปลี่ยนไปตามกาลเวลาหรือไม่?
    13772 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/11/20
    ท่านอิมามมะฮ์ดี(อ.)ถือกำเนิดในปีฮ.ศ.255 หากเทียบกับปีนี้ซึ่งเป็นปีฮ.ศ.1432 ก็จะทราบว่าอายุของท่านเมื่อถึงวันที่15 ชะอ์บานในปีนี้ก็คือ 1177  ปี ท่านอิมามมะฮ์ดี(อ.)ได้เผยกายเพื่อทำพิธีนมาซมัยยิตให้บิดาหลังจากที่ถูกวางยาพิษ ผู้คนต่างได้ยลโฉมท่านอิมามมะฮ์ดี(อ.)โดยสาธยายว่าท่านเป็นเด็กหนุ่มที่มีผิวสีน้ำผึ้ง มีผมหยักโศก และมีช่องว่างเล็กน้อยระหว่างฟันหน้า[1]มีฮะดีษสองประเภทที่เกี่ยวกับรูปร่างหน้าตาของท่านก. กลุ่มฮะดีษที่ไม่ระบุอายุขัยของท่าน โดยกล่าวเพียงว่าท่านยังแลดูหนุ่ม1. شابٌ بعد کبر السن ท่านยังหนุ่มแม้จะสูงอายุ[2]2. رجوعه من غیبته بشرخ الشباب ท่านจะปรากฏกายในรูปของคนหนุ่มที่อ่อนกว่าวัย

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59407 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56854 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41684 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38441 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38438 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33464 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27552 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27253 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27154 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25227 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...