การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
59396
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/07/07
 
รหัสในเว็บไซต์ fa925 รหัสสำเนา 14906
คำถามอย่างย่อ
อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
คำถาม
กรุณาชี้แจงหน้าที่ทางกฏหมายที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามี และอยากทราบว่าสามีมีสิทธิเรียกร้องให้ภรรยากระทำสิ่งใดได้บ้าง?
คำตอบโดยสังเขป

ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:
1. ยอมรับภาวะผู้นำของสามี: หากเกิดปัญหาครอบครัว สามีควรได้รับสิทธิชี้ขาดในการแก้ปัญหา อย่างไรก็ดี สามีไม่ควรลุแก่อำนาจ และใช้สิทธิดังกล่าวจนกระทั่งขัดต่อศาสนาและกฏหมาย และขัดต่อความราบรื่นของชีวิตคู่
2. การยินยอมเรื่องเพศสัมพันธ์: ภรรยาจะต้องยินยอมให้สามีมีเพศสัมพันธ์ตามปกติวิสัย และตามแต่สุขภาพกายและใจจะอำนวย เว้นแต่จะมีเหตุจำเป็นต้องงด อย่างเช่น ขณะมีรอบเดือนหรือขณะป่วยไข้
3. ยินยอมสามีในเรื่องภูมิลำเนาที่อยู่อาศัย: ทั้งนี้ ไม่รวมถึงกรณีที่สามีโอนสิทธิดังกล่าวแก่ภรรยาแล้ว และไม่รวมถึงกรณีที่จะส่งผลให้ภรรยาเสื่อมเสียชื่อเสียง หรือก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตและสุขภาพของภรรยา
4. เชื่อฟังสามีในเรื่องการออกนอกบ้าน และการพาผู้อื่นเข้ามาในบ้านตามเหมาะสม: ยกเว้นกรณีที่สามีห้ามไม่ให้เดินทางไปทำฮัจย์วาญิบ หรือกรณีที่ต้องเข้ารับการรักษา หรือหากการอยู่ในบ้านเป็นเหตุให้เกิดอันตรายต่อชีวิต สุขภาพ หรือทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียง.
5. เชื่อฟังสามีในเรื่องการเข้าทำงาน หรือการเลือกประเภทงาน ในกรณีที่ขัดต่อกาลเทศะ สถานภาพและความเหมาะสมของทั้งสองฝ่าย

คำตอบเชิงรายละเอียด

พระผู้เป็นเจ้าได้สร้างทั้งชายและหญิงให้มีลักษณะที่หากปราศจากเพศตรงข้าม แต่ละเพศจะไม่สามารถถือกำเนิดและดำรงชีวิตต่อไปได้ ไม่สามารถบำบัดความต้องการทางกายและจิตใจโดยลำพังอย่างสมบูรณ์ ไม่สามารถพัฒนาตนทั้งในแง่จิตวิญญาณและศาสนาไม่ว่าจะในเชิงปัจเจกหรือสังคม ประหนึ่งว่าแต่ละเพศเมื่อหลอมรวมกันแล้วจะกลายเป็นสิ่งมีชีวิตที่สมบูรณ์ แต่หากแยกจากกันก็จะมีความบกพร่องที่ต้องได้รับการเติมเต็ม[1]
คุณลักษณะดังกล่าวเมื่อนำมาพิจารณาถึงความแตกต่างในแง่ร่างกายและจิตใจของชายหญิง อัลลอฮ์จึงทรงกำหนดสิทธิและหน้าที่[2]ของสามีภรรยาไว้ทั้งในลักษณะรวมและเฉพาะแต่ละเพศ ทั้งนี้ก็เพื่อสนองความต้องการทั้งในโลกนี้และโลกหน้าอย่างครบถ้วนสมบูรณ์

ผู้รู้ทางศาสนาให้ความสำคัญต่อสิทธิหน้าที่ของสามีภรรยาทั้งในทางฟิกเกาะฮ์(นิติศาสตร์อิสลาม)[3] จริยธรรม[4] และกฏหมายแพ่ง[5] ทั้งนี้ก็เนื่องจากสิทธิและหน้าที่ทางจริยธรรมเปรียบเสมือนเสาหลักที่ค้ำประกันสิทธิหน้าที่ทางกฏหมายแพ่ง[6] ส่วนสิทธิหน้าที่ทางฟิกเกาะฮ์ก็มีส่วนคล้ายคลึงกับสิทธิหน้าที่ทางกฏหมาย เราจึงขอนำเสนอสิทธิและหน้าที่ทางจริยธรรมและกฏหมายอิสลามดังต่อไปนี้:

ส่วนแรก: หน้าที่ทางจริยธรรมอิสลามของภรรยา
จากเนื้อหาของฮะดีษทำให้เราสามารถจำแนกหน้าที่ของภรรยาออกเป็นสองส่วน นั่นคือ คุณค่าของการปฏิบัติหน้าที่ต่อสามี และรายละเอียดหน้าที่
. คุณค่าของการปฏิบัติหน้าที่ต่อสามี
1.ท่านนบี(ซ.ล.)กล่าวว่า“หากอนุมัติให้ศิโรราบต่อสิ่งที่มิไช่พระเจ้า ฉันจะบอกให้เหล่าภรรยาศิโรราบต่อสามี”
2. สิทธิของสามี มีมากกว่าสิทธิของผู้ใดเหนือภรรยา
3. ญิฮาดของภรรยาคือการอดทนต่อพฤติกรรมไม่ดีของสามี
4. ภรรยาไม่ควรยั่วโทสะสามี แม้ว่าสามีจะทำให้เธอไม่สบายใจ
5. ภรรยาที่ไม่ได้รับความพอใจจากสามี ศาสนกิจของเธอจะไม่ได้รับการตอบรับ
6. ภรรยาที่ไม่รู้คุณสามี จะไม่ได้รับผลบุญใดๆจากศาสนกิจ[7]

ข. รายละเอียดหน้าที่ของภรรยา
1. ภรรยาไม่ควรเผลอใจแก่ชายอื่น มิเช่นนั้นจะถือเป็นหญิงผิดประเวณีในทัศนะของพระองค์
2.
ภรรยาไม่ควรปฏิเสธกามารมณ์ของสามี และควรตอบรับหากสามีขอร่วมหลับนอนแม้บนพาหนะ ไม่ว่าช่วงวันหรือกลางคืน แต่หากไม่เป็นไปตามนี้ เธอจะถูกมวลมะลาอิกะฮ์ละอ์นัต(ประณาม)
3
. ภรรยาไม่ควรถือศีลอดสุหนัต(ภาคอาสา)หากไม่ได้รับการยินยอมจากสามี (นี่คือคำสอนเชิงสัญลักษณ์ และน่าจะหมายรวมถึงศาสนกิจสุหนัตทุกประการ)
4. ภรรยาไม่ควรนมาซให้ยาวนาน หากจะทำให้ไม่สามารถสนองความต้องการเร่งด่วนของสามีได้
5. ภรรยาไม่ควรให้ทรัพย์สินแก่ผู้ใดแม้แต่เศาะดะเกาะฮ์ หากสามีไม่ยินยอม
6. ภรรยาไม่ควรออกนอกบ้านหากสามีไม่ยินยอม มิเช่นนั้นจะถูกประณามโดยมะลาอิกะฮ์แห่งชั้นฟ้าและแผ่นดิน รวมถึงมะลาอะฮ์แห่งความเมตตาและความกริ้ว[8]
7. ภรรยาควรเสริมสวย ใช้เครื่องหอม และประดับประดาตนเพื่อสามีเท่านั้น และหากกระทำไปเพื่อชายอื่น นมาซของเธอจะไม่ได้รับการตอบรับ.[9]

ส่วนที่สอง: หน้าที่ตามบทบัญญัติอิสลาม
ประกอบด้วยหมวดหน้าที่ร่วมกันของทั้งสามีและภรรยา และหน้าที่จำเพาะสำหรับภรรยา
ก. หน้าที่ร่วมกันของสามีและภรรยา
:
1.
มีปฏิสัมพันธ์อย่างอบอุ่น: สามีและภรรยาต่างมีหน้าที่ในการแสดงอัธยาศัยไมตรีอันดีต่อกัน ไม่ว่าจะในแง่การกระทำ วาจา หรือแม้แต่สีหน้า และจะต้องหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่สร้างความร้าวฉาน นอกจากจะมีข้อยกเว้นในแง่บทบัญญัติ กฏหมาย หรือวิถีประชา
2. ถ้อยทีถ้อยอาศัย:
สามีภรรยาจะต้องร่วมมือร่วมใจกันสร้างเสริมสถาบันครอบครัวให้ก้าวหน้ามั่นคง ทั้งนี้ ความร่วมมือดังกล่าวขึ้นอยู่กับวัตรปฏิบัติในแต่ละสังคม กาลเทศะ ขนบธรรมเนียม และสถานภาพของทั้งสองฝ่าย ตัวอย่างเช่น หากธรรมเนียมสังคมกำหนดว่าภาระในบ้าน การเลี้ยงดูและให้นมบุตรเป็นหน้าที่ของภรรยา และกำหนดว่าภาระนอกบ้านเป็นหน้าที่ของสามี ทั้งสองฝ่ายก็ควรประสานงานกันตามธรรมเนียมดังกล่าว
3. การเลี้ยงดูบุตรธิดา:
สามีภรรยาจะต้องทุ่มเทเอาใจใส่ในการเลี้ยงดูบุตรธิดาตามอัตภาพ กาลเทศะ และระดับความคาดหวังในแต่ละสังคม
4. ซื่อสัตย์ต่อกัน:
สามีภรรยาจะต้องไม่มีพฤติกรรมที่ส่อไปในทางผิดประเวณีกับผู้อื่น

ข. หน้าที่จำเพาะภรรยาตามบทบัญญัติ
1. ยินยอมต่อภาวะผู้นำของสามี: หากเกิดปัญหาขึ้นในครอบครัว สามีควรได้รับสิทธิตัดสินชี้ขาด อย่างไรก็ดี หน้าที่ดังกล่าวของสามีไม่ควรเป็นไปในลักษณะที่ขัดต่อหลักอัธยาศัยไมตรีและหลักถ้อยทีถ้อยอาศัย รวมทั้งจะต้องไม่ขัดต่อหลักศาสนาและกฏหมายแพ่ง อันเกิดจากการลุแก่อำนาจของสามี

2. ตัมกีน[10]: ภรรยาจะต้องยินยอมให้สามีมีเพศสัมพันธ์ตามปกติวิสัย และตามแต่สุขภาพกายและใจจะอำนวย เว้นแต่จะมีเหตุจำเป็นทางศาสนาหรือกฏหมายที่ต้องงด อย่างเช่น ขณะมีรอบเดือนหรือขณะป่วยไข้

3. ยินยอมสามีในเรื่องภูมิลำเนาที่อยู่อาศัย: ทั้งนี้ ไม่รวมถึงกรณีที่สามีโอนสิทธิในการตัดสินใจให้แก่ภรรยาแล้ว และไม่รวมถึงกรณีที่จะส่งผลให้ภรรยาเสื่อมเสียชื่อเสียง หรือก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตและสุขภาพของภรรยา

4. เชื่อฟังสามีในเรื่องการออกนอกบ้าน และการพาผู้อื่นเข้ามาในบ้านตามเหมาะสม: ยกเว้นกรณีที่สามีห้ามไม่ให้เดินทางไปทำฮัจย์วาญิบ หรือกรณีที่ต้องเข้ารับการรักษา หรือหากการอยู่ในบ้านเป็นเหตุให้เกิดอันตรายต่อชีวิต สุขภาพ หรือทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียง.

5. เชื่อฟังสามีในเรื่องการเข้าทำงาน หรือการเลือกประเภทงาน ในกรณีที่ไม่ขัดต่อกาลเทศะ สถานภาพและความเหมาะสมทางสรีระและจิตใจของทั้งสองฝ่าย

ทั้งหมดนี้เป็นการประมวลหน้าที่ของภรรยาที่พึงปฏิบัติต่อสามีอย่างคร่าวๆ และเพื่อให้หัวข้อนี้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น จะขอนำเสนอภาระหน้าที่ๆสามีพึงปฏิบัติต่อภรรยาโดยสังเขปดังนี้

ส่วนที่สาม: หน้าที่ของสามีต่อภรรยา
หน้าที่ของสามีต่อภรรยาแบ่งออกเป็นสองประเภท หน้าที่ทางจริยธรรม และหน้าที่ทางบทบัญญัติ
ก. หน้าที่ทางจริยธรรม
: เนื้อหาของฮะดีษได้จำแนกออกเป็นสองส่วน นั่นคือ คุณค่าของการประพฤติดีต่อภรรยา และรายละเอียดหน้าที่
หนึ่ง
: คุณค่าของการประพฤติดีต่อภรรยา
1. การมอบความรักแด่ภรรยาคืออุปนิสัยของบรรดานบี[11]
2. การสารภาพรักต่อภรรยาจะไม่เลือนหายไปจากใจเธอ
3. ให้อภัยภรรยาหากแสดงเธอพฤติกรรมไม่ดี
4. ประพฤติต่อเธออย่างทะนุถนอมเอาใจใส่
5. ชายที่ประเสริฐสุดในทัศนะของพระองค์คือ สามีที่มีความประพฤติดีที่สุดต่อภรรยา
6. ชายที่เป็นที่รักที่สุด คือสามีที่ประพฤติดีต่อภรรยาบ่อยที่สุด
7. ต้องหวั่นเกรงการตัดสินของพระองค์ หากไม่ระมัดระวังสิทธิของภรรยา.

สอง: รายละเอียดหน้าที่ทางจริยธรรม
1. มองภรรยาในฐานะดอกไม้ที่ควรค่าแก่การทะนุถนอม มิไช่สาวใช้ในบ้าน ทั้งนี้ก็เพื่อคงไว้ซึ่งความสดใสสวยงามของเธอ และไม่คาดหวังจากเธอในสิ่งที่เกินเลยความสามารถ
2. ตระเตรียมปัจจัยสี่และเครื่องประดับให้เหมาะสมสำหรับเธอ โดยเฉพาะสำหรับวันอีด
3. สอบถามความเห็นของภรรยาในเรื่องที่สำคัญต่อชีวิตคู่
4. รักษาสิทธิภรรยาในแง่กิจกรรมทางเพศ

ข. ภาระหน้าที่ตามบทบัญญัติ
แบ่งออกเป็นสองส่วน หน้าที่รวมสำหรับสามีภรรยา(ซึ่งได้กล่าวไปแล้ว) และหน้าที่จำเพาะสำหรับสามี

ส่วนที่สี่: หน้าที่จำเพาะของสามี
ก. หน้าที่ในเรื่องค่าใช้จ่าย
1. จัดหาอาหารที่เหมาะสมกับฐานะภาพของภรรยา
2.
จัดหาเครื่องแต่งกายที่เหมาะสมกับฐานะภาพของภรรยา
3. จัดหาเครื่องประดับที่เหมาะสมกับฐานะภาพของภรรยา
4. จัดหาที่อยู่อาศัยที่เหมาะสมกับฐานะภาพของภรรยา
5. จัดหาคนช่วยทำงานบ้านหากจำเป็น ตามความเหมาะสมกับฐานะภาพของภรรยา หรือในกรณีที่ภรรยาล้มป่วย
6. จัดหาหยูกยาและให้การรักษาภรรยาหากล้มป่วย[12]

ข. หน้าที่ในการร่วมหลับนอน
กฏหมายทั่วไปมิได้ชี้ชัดในจุดนี้โดยระบุไว้เพียงหลักอัธยาศัยไมตรีอันดีต่อกัน ทว่าผู้รู้ทางศาสนาได้นำเสนอประเด็นดังกล่าวไว้ดังนี้
:
1.
หลังพิธีแต่งงานแล้ว ภรรยามีสิทธิเหนือสามีในการร่วมเตียงเคียงหมอนดังนี้
หากเป็นสาวพรหมจรรย์ สามีมีหน้าที่จะต้องอยู่กับเธอไม่น้อยกว่าเจ็ดคืน แต่หากเป็นหญิงที่ผ่านการแต่งงานแล้ว สามีมีหน้าต้องอยู่กับเธอไม่น้อยกว่าสามคืน โดยหลังจากช่วงเวลาดังกล่าว หากเธอเป็นภรรยาคนเดียวของสามี ภายในสี่คืน สามีมีหน้าที่ต้องอยู่กับเธออย่างน้อยหนึ่งคืน แต่หากมีภรรยาหลายคน สามีมีหน้าที่ต้องอยู่กับภรรยาแต่ละคนไม่น้อยกว่าหนึ่งคืนต่อสี่คืน[13]

2.
หน้าที่ด้านกิจกรรมทางเพศ: สามีมีหน้าที่จะต้องประกอบกามกิจกับภรรยาไม่ต่ำกว่าหนึ่งครั้งต่อสี่เดือน ซึ่งถือเป็นสิทธิของภรรยาอย่างหนึ่ง.



[1] เอกสารประกอบการสอนวิชาสิทธิสตรีในอิสลาม,อาจารย์มิศบาฮ์ ยัซดี,ครั้งที่ 209 ,หน้า  2096.

[2] ซูเราะฮ์อัลบะเกาะเราะฮ์,233 และ, อันนิซาอ์,4 และ, อันนะฮ์ลิ,72 และ, อัรรูม,21 ตลอดจนโองการอื่นๆที่เกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของสามีภรรยา.

[3] บรรดาผู้รู้ศาสนาและมัรญะอ์ตั้กลีดมักนำเสนอหัวข้อสิทธิและหน้าที่ภรรยาไว้ในหมวดการแต่งงานถาวร บทการนิกะฮ์.

[4] สิ่งที่ได้นำเสนอไปเกี่ยวกับหน้าที่ต่างๆในข้อเขียนนี้ อ้างอิงจากฮะดีษของบรรดามะศูมีน(อ.)ที่รายงานในหนังสือ“ฮิลยะตุ้ลมุตตะกีน”บทที่หก,หมวดที่สี่,ที่นำเสนอเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของสามีภรรยา.

[5] จำต้องทราบถึงข้อแตกต่างระหว่างหน้าที่ทางจริยธรรมกับหน้าที่ทางกฏหมายแพ่งเกี่ยวกับครอบครัวดังนี้ 1. ข้อแนะนำทางจริยธรรมตั้งอยู่บนพื้นฐานของปัญญาและศาสนา แต่กฏหมายจะต้องตราขึ้นโดยผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเท่านั้น อาทิเช่นฝ่ายนิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ และผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ 2. ข้อแนะนำทางจริยธรรมเป็นไปเพื่อความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับพระเจ้า,ตนเองและผู้อื่น แต่กฏหมายนั้นตราขึ้นเพื่อกำหนดขอบเขตความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับคนในสังคม 3. ข้อแนะนำทางจริยธรรมมีเป้าหมายเพื่อบรรลุถึงสัมพันธภาพระหว่างบุคคลกับพระเจ้า แต่กฏหมายตราขึ้นเพื่อผลประโยชน์ส่วนรวมทางโลก และเพื่อบริหารให้ชีวิตราษฎรเป็นไปอย่างราบรื่น 4. ข้อแนะนำทางจริยธรรมเน้นเจตนาเป็นหลัก ในขณะที่กฏหมายเน้นการกระทำเป็นหลัก 5. ข้อแนะนำทางจริยธรรมบ่งบอกถึงลักษณะนิสัยเชิงบวกของบุคคลได้มากกว่าข้อบังคับทางกฏหมาย 6. ข้อแนะนำทางจริยธรรมบางประการเป็นสุหนัต(ภาคอาสา) แต่ข้อกฏหมายล้วนเป็นข้อบังคับทุกประการ 7. ข้อแนะนำทางจริยธรรมมีแรงบันดาลใจทั้งโลกนี้และโลกหน้า แต่ข้อกฏหมายขึ้นอยู่กับอำนาจทางตำรวจทหารเท่านั้น. ดู: ปรัชญาจริยธรรม และเอกสารประกอบการบรรยายวิชาสารธรรมกุรอาน,ครั้งที่ 177.

[6] ข้อกฏหมายที่นำเสนอในข้อเขียนนี้อ้างอิงจากมาตรา1112 ถึง1117 กฏหมายแพ่งและกฏหมายฟ้องร้อง(ของอิหร่าน)ในหนังสือกฏหมายแพ่ง,เล่ม 4 ,หน้า 5 .เขียนโดยดร.ฮุเซน อิมามี และหนังสือกฏหมายครอบครัว,เล่ม1,โดยดร.ฮะซัน ศะฟออี และอะสะดุลลอฮ์ อิมามี.

[7] ฮิลยะตุ้ลมุตตะกีน,อ.มัจลิซี,บทที่ 6 ,หน้า 76-77.

[8] หนึ่งในข้อแตกต่างก็คือ ผู้รู้ทางศาสนาให้ความเห็นว่าภรรยามีสิทธิเรียกร้องค่าเหนื่อยในการทำงานบ้านจากสามี ในขณะที่นักกฏหมายบางคนเชื่อว่าการทำงานบ้านรวมอยู่ในหน้าที่การประสานความร่วมมืออยู่แล้ว และไม่ควรเรียกร้องค่าจ้างในการปฏิบัติหน้าที่ๆต้องกระทำ, กฏหมายครอบครัว,ศะฟออีและอิมามี,เล่ม1, หน้า162.

[9] ฮิลยะตุ้ลมุตตะกีน,บทที่ 6 ,หน้า 76-79.

[10] เพื่อศึกษาความหมายของตัมกีนในเชิงแคบและเชิงกว้าง ดู: กฏหมายแพ่ง,ดร.ฮุเซน อิมามี,หน้า 173.

[11] อุรวะตุ้ลวุษกอ,มัรฮูมฏอบาฏอบาอี ยัซดี,เล่ม 2 ,หมวดนิกาฮ์,หน้า 626.

[12] แต่ผู้รู้ทางศาสนามักจะเห็นว่าไม่ไช่หน้าที่ของสามี,กฏหมายแพ่ง,หน้า 343.

[13] ทัศนะดังกล่าวคือทัศนะที่ผู้รู้ทางศาสนาส่วนใหญ่ให้การยอมรับ แต่อีกทัศนะหนึ่งกล่าวว่า ต้องการจะสื่อเพียงแค่การไม่ตีตนออกห่างภรรยาเท่านั้น.อ้างแล้ว.หน้า 446.

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • ทั้งที่ซะกาตไม่วาญิบสำหรับท่านอะลี (อ.) แล้วเพราะเหตุใดท่านต้องบริจาคซะกาตขณะนมาซด้วย ?
    6670 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/09/25
    ท่านอิมามอะลี (อ.) ไม่เคยเป็นคนจนหรือคนอนาถาจนไม่มีจะกินแต่อย่างใดแต่ท่านเป็นคนมีความพยายามสูงและไม่เคยหยุดนิ่ง, ท่านได้รับทรัพย์สินจำนวนมากมายแต่ทรัพย์ทั้งหมดเหล่านั้นท่านได้บริจาคไปในหนทางของอัลลอฮฺ (ซบ.), โดยไม่เหลือทรัพย์ส่วนใดไว้สำหรับตนเอง,ดังที่โองการต่างๆได้กล่าวถึงการบริจาคซะกาตของท่านไว้มากมายซึ่งหนึ่งในโองการเหล่านั้นก็คือโองการที่กำลังกล่าวถึงนอกจากนั้นแล้ววัฒนธรรมของอัลกุรอานยังได้กล่าวถึงการบริจาคที่เป็นมุสตะฮับ (สมัครใจ)
  • กรุณาอธิบายวิธีตะยัมมุมแทนที่วุฎูอฺและฆุซลฺ ว่าต้องทำอย่างไร?
    10031 สิทธิและกฎหมาย 2555/05/17
    จะทำตะยัมมุมอย่างไร การตะยัมมุมนั้นมี 4 ประการเป็นวาญิบ: 1.ตั้งเจตนา, 2. ตบฝ่ามือทั้งสองข้างลงบนสิ่งที่ทำตะยัมมุมกับสิ่งนั้นแล้วถูกต้อง, 3. เอาฝ่ามือทั้งสองข้างลูบลงบนหน้าผากตั้งแต่ไรผม เรื่อยลงมาจนถึงคิ้ว และปลายมูก อิฮฺติยาฏวาญิบ, ให้เอาฝ่ามือลูบลงบนคิ้วด้วย, 4. เอาฝ่ามือข้างซ้ายลูบหลังมือข้างขวา, หลังจากนั้นให้เอาฝ่ามือข้างขวาลูบลงหลังมือข้างซ้าย คำวินิจฉัยของมัรญิอฺบางท่าน กล่าวถึงการตะยัมมุมแทนวุฎูอฺ และฆุซลฺ ไว้ดังนี้: หนึ่ง. การตะยัมมุมแทนทีฆุซลฺ, อิฮฺยาฏมุสตะฮับ หลังจากทำเสร็จแล้วให้เอาฝ่ามือทั้งสองข้างตบลงบนฝุ่นอีกครั้ง (ตบครั้งที่สอง) หลังจากนั้นให้เอาฝ่ามือลูบลงที่หลังมือข้างขวาและข้างซ้าย[1] มัรญิอฺ บางท่านแสดงความเห็นว่า สิ่งที่เป็นมุสตะฮับเหล่านี้ สมควรทำในตะยัมมุม ที่แทนที่ วุฎูดฺด้วย
  • แนวทางที่ถูกต้อง และง่ายในการเลือกมัรญิอฺตักลีดที่มีความรู้สูงสุด สำหรับบุคคลที่เพิ่งเข้ารับอิสลาม และไม่สามารถแยกแยะอุละมาอฺได้คืออะไร?
    12645 สิทธิและกฎหมาย 2555/08/22
    การตักลีดกับมุจญฺตะฮิดที่มีความรู้สูงสุด หมายถึงมิได้จำกัดอยู่แค่บุคคลที่มีความเชื่ยวชาญพิเศษเฉพาะปัญหาฟิกฮฺ เพียงอย่างเดียวเท่านั้น การปฏิบัติหน้าที่ตามหลักชัรอียฺของตนนั้น จำเป็นต้องปฏิบัติตามมุจญฺตะฮิดที่มีความเชี่ยวชาญพิเศษ สมบูรณ์ในเรื่องฟิกฮฺ และต้องเป็นผู้รู้ที่มีความรู้มากกว่ามุจญฺตะฮิดด้วยกัน ในสมัยของตน และมุจญฺตะฮิดที่มีความรู้สูงสุดสามารถรู้จักได้จากหนึ่ง 3 วิธีดังนี้ : หนึ่ง : ตัวเราต้องมั่นใจด้วยตัวเอง สอง : มีผู้รู้สองคนที่ยุติธรรมยืนยันในความรู้ของมุจญฺตะฮิดท่านนั้น สาม : ผู้รู้กลุ่มหนึ่งได้ยืนยันและรับรองการเป็นมุจญฺตะฮิด และการเป็นผู้มีความรู้สูงสุดของเขา น่ายินดีว่าปัจจุบันบรรดาคณาจารย์ระดับสูงของสถาบันสอนศาสนา ณ เมืองกุม ได้แนะนำผู้รู้ที่มีคุณสมบัติของมุจญฺตะฮิดสมบูรณ์ ในฐานะของมัรญิอฺตักลีดไว้หลายคนด้วยกัน ซึ่งมุสลิมทุกคนสามารถเลือกปฏิบัติตามอุละมาอฺเหล่านั้น ในฐานะมัรญิอฺตักลีด ท่านหนึ่งท่านใดก็ได้ และกิจการงานของตนให้ถือปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของท่าน ที่มีอยู่ในริซาละฮฺ เตาฎีฮุลมะซาอิล ในกรณีนี้ท่านจะมั่นใจได้ว่าได้ปฏิบัติหน้าที่ทางชัรอียฺของท่านแล้ว และปัจจุบันเนื่องจากการติดต่อสื่อสารนั้นสะดวกสบาย และเป็นไปได้ในรูปแบบต่างๆ มีหลายภาษาให้เลือก ดังนั้น สำหรับบุคคลที่เพิ่งเข้ารับอิสลาม สามารถรับรู้ข้อมูลนี้ได้อย่างง่ายดาย ...
  • เด็กผู้ชายที่มีอายุ 12 ปีสามารถเข้าร่วมในการนมาซญะมาอัตแถวเดียวกับผู้ชายคนอื่นๆได้หรือไม่?
    5959 สิทธิและกฎหมาย 2555/03/08
    การที่ลูกหลานและเยาวชนเข้าร่วมกิจกรรมมัสยิดและร่วมนมาซญะมาอัตจะทำให้พวกเขาผูกพันกับการนมาซ ซึ่งไม่เพียงแต่ไม่เป็นที่ต้องห้าม ทว่าถือเป็นมุสตะฮับอย่างยิ่ง[1] แต่ประเด็นที่ว่า การที่เด็กที่ยังไม่สามารถแยกแยะถูกผิดได้และยังไม่บรรลุนิติภาวะจะเข้าร่วมในนมาซญะมาอัต และจะทำให้การนมาซของผู้อื่นมีปัญหาหรือไม่นั้น มีสองประเด็นดังต่อไปนี้ ผู้นมาซคนอื่นๆสามารถที่จะเชื่อมต่อกับอิมามญะมาอัตได้โดยวิธีอื่น ในกรณีนี้การนมาซญะมาอัตของผู้อื่นถือว่าไม่มีปัญหาแต่อย่างใด[2] การที่ผู้อื่นจะต้องเชื่อมต่อกับอิมามญะมาอัตโดยผ่านผู้ที่ยังไม่บรรลุนิตะภาวะเท่านั้น (เช่นมีเด็กที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะยื่นอยู่ที่แถวหน้าหลายคน ในกรณีนี้คำวินิจฉัยของอุลามามีดังนี้ “หากในระหว่างแถวที่มีการนมาซญะมาอัตมีเด็กที่สามารถแยกแยะถูกผิดได้ยืนอยู่ หากเรามิได้แน่ใจว่านมาซของเขาไม่ถูกต้อง ก็สามารถยืนแถวต่อจากเขาได้”[3] อนึ่ง กฏดังกล่าวมีไว้สำหรับกรณีที่มีเด็กที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะยืนอยู่หลายๆคนในแถวเดียวกัน แต่ถ้าหากเด็กที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะยืนอยู่ในแถวนมาซญะมาอัตหลายคน ทว่าไม่ได้ยืนอยู่ติดๆกัน โดยยืนในลักษณะกั้นกลางผู้ที่บรรลุนิติภาวะแล้วสองคน (ถึงแม้ว่าเราจะรู้ว่านมาซของพวกเขาไม่ถูกต้องก็ตาม) ก็ไม่ทำให้นมาซของผู้อื่นมีปัญหาแต่อย่างใด อ่านเพิ่มเติมได้ที่ “การจัดแถวในการนมาซญะมาอัตและฮุกุมของการเคลื่อนไหวในการนมาซ”, ...
  • มีหลักฐานอนุญาตให้มะตั่มให้แก่ท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) หรือทำร้ายตัวเองของมุสลิมในช่วงเดือนมุฮัรรอม หรือเดือนอื่นหรือไม่?
    7667 ประวัติหลักกฎหมาย 2554/12/21
    การจัดพิธีกรรมรำลึกถึงท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) นับได้ว่าเป็นหนึ่งในอิบาดะฮฺที่ดีที่สุดและการกระทำทุกสิ่งที่สังคมยอมรับว่านั่นเป็นส่วนหนึ่งของการจัดพิธีกรรมถือว่าอนุญาต, เว้นเสียแต่ว่าสิ่งนั้นได้สร้างเสื่อมเสียหรือมีอันตรายจริง, หรือเป็นสาเหตุทำให้แนวทางชีอะฮฺต้องได้รับการดูถูกเหยียดหยามอย่างรุนแรงซึ่งการทุบอก
  • มีบทบัญญัติทางฟิกเกาะฮ์ในสวรรค์หรือไม่?
    6694 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    ก่อนอื่นต้องคำนึงเสมอว่าเราไม่สามารถล่วงรู้ถึงสภาวะของปรโลกและสวรรค์-นรกได้นอกจากจะศึกษาจากวะฮยู (กุรอาน)และคำบอกเล่าของเหล่าผู้นำศาสนาที่ได้รับการยืนยันความน่าเชื่อถือเสียก่อน.แม้ตำราทางศาสนาจะไม่ได้ระบุคำตอบที่ชัดเจนสำหรับคำถามดังกล่าวแต่จากการพิจารณาถึงข้อคิดที่ระบุไว้ในตำราทางศาสนาก็สามารถกล่าวได้ว่าในสวรรค์ไม่มีบทบัญญัติและกฏเกณฑ์จำเพาะใดๆอีกต่อไปหรือหากมีก็ย่อมแตกต่างจากข้อบังคับต่างๆในโลกนี้ทั้งนี้ก็เพราะการบังคับใช้บทบัญญัติของพระเจ้าในสังคมมนุษย์มีไว้เพื่อสร้างเสริมให้มนุษย์บรรลุถึงความเจริญและความสมบูรณ์สูงสุดซึ่งก็เป็นผลจากการปฏิบัติหน้าที่ทางศาสนาในโลกนี้นั่นเอง
  • เหตุใดซิยารัตอาชูรอจึงมีการประณามบนีอุมัยยะฮ์แบบเหมารวม “لَعَنَ اللَّهُ بَنى اُمَیَّةقاطِبَةً” คนดีๆในหมู่บนีอุมัยยะฮ์ผิดอะไรหรือจึงต้องถูกประณามไปด้วย?
    6556 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2554/06/28
    อิสลามสอนว่าไม่ว่าจะในโลกนี้หรือโลกหน้าอัลลอฮ์ไม่มีทางลงโทษบุคคลใดหรือกลุ่มใดเนื่องจากบาปที่ผู้อื่นก่อนอกเสียจากว่าเขาจะมีส่วนร่วมหรือพึงพอใจหรือไม่ห้ามปราม กุรอานและฮะดีษสอนว่าสิ่งที่จะเชื่อมโยงบุคคลให้สังกัดในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งคือความคล้ายคลึงกันในแง่ของแนวคิดและวิธีปฏิบัติดังที่กุรอานไม่ถือว่าบุตรชายผู้ดื้อรั้นของนบีนู้ฮ์เป็นสมาชิกครอบครัวท่านทั้งนี้ก็เนื่องจากมีแนวคิดและวิธีปฏิบัติที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิงฉะนั้นบนีอุมัยยะฮ์ที่ถูกประณามในที่นี้หมายถึงผู้ที่มีแนวคิดและวิธีปฏิบัติสอดคล้องกับบรรพบุรุษที่เคยมีบทบาทในการสังหารโหดท่านอิมามฮุเซน(อ.) หรือเคยยุยงต่อต้านสัจธรรมแห่งอิมามัตรวมถึงผู้ที่ละเว้นการตักเตือนเท่านั้นทว่าเชื้อสายบนีอุมัยยะฮ์ที่ไม่มีประวัติด่างพร้อยใดๆย่อมไม่ถูกประณาม ...
  • จงอธิบายเหตุผลที่บ่งบอกว่าดนตรีฮะรอม
    9083 สิทธิและกฎหมาย 2554/10/22
    ดนตรีและเครื่องเล่นดนตรีตามความหมายของ ฟิกฮฺ มีความแตกต่างกัน. คำว่า ฆินา หมายถึง การส่งเสียงร้องจากลำคอออกมาข้างนอก โดยมีการเล่นลูกคอไปตามจังหวะ, ซึ่งทำให้ผู้ฟังเกิดประเทืองอารมณ์และมีความสุข ซึ่งมีความเหมาะสมกับงานประชุมที่ไร้สาระ หรืองานประชุมที่คร่าเวลาให้หมดไปโดยเปล่าประโยชน์ส่วนเสียงดนตรี หมายถึงเสียงที่เกิดจากการเล่นเครื่องตรี หรือการดีดสีตีเป่าต่างๆเมื่อพิจารณาอัลกุรอานบางโองการและรายงานฮะดีซ ประกอบกับคำพูดของนักจิตวิทยาบางคน, กล่าวว่าการที่บางคนนิยมกระทำความผิดอนาจาร, หลงลืมการรำลึกถึงอัลลอฮฺ, ล้วนเป็นผลในทางไม่ดีที่เกิดจากเสียงดนตรีและการขับร้อง ซึ่งเสียงเหล่านี้จะครอบงำประสาทของมนุษย์ ประกอบกับพวกทุนนิยมได้ใช้เสียงดนตรีไปในทางไม่ดี ดังนั้น สิ่งเหล่านี้อาจเป็นเหตุผลหนึ่งในเชิงปรัชญาที่ทำให้เสียงดนตรีฮะรอมเหตุผลหลักที่ชี้ว่าดนตรีฮะรอม (หรือเสียงดนตรีบางอย่างฮะลาล) คือโองการอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซจากท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ...
  • ท่านอายาตุลลอฮ์คอเมเนอีฟัตวาไว้อย่างไรเกี่ยวกับการมองหญิงสาวที่ไม่ใช่มะฮ์ร็อม?
    5461 สิทธิและกฎหมาย 2554/08/25
     ฟัตวาของท่านอายาตุลลอฮ์คอเมเนอีเกี่ยวกับการมองหญิงที่ไม่ใช่มะฮ์ร็อมเหมือนกับฟัตวาของอิมามโคมัยนีที่ได้เคยฟัตวาไว้ท่านอิมามโคมัยนีได้กล่าวเกี่ยวกับการมองมุสลิมะฮ์ที่ไม่ใช่มะฮ์ร็อมว่า “การมองเรือนร่างของสุภาพสตรีที่ไม่ใช่มะฮ์ร็อมไม่ว่าจะมองด้วยความเสน่หาหรือไม่ก็ตามถือว่าเป็นฮะรอมส่วนการมองใบหน้าและมือทั้งสองของนางหากไม่ได้มองด้วยความเสน่หาถือว่าไม่เป็นไรและไม่เป็นที่อนุมัติให้สุภาพสตรีมองเรือนร่างของสุภาพบุรุษเช่นกันส่วนการมองใบหน้า, ร่างกายและเส้นผมของเด็กสาวที่ยังไม่บาลิฆหากไม่ได้มองเพื่อสนองกิเลสและหากไม่เกรงว่าการมองนั้นจะโน้มนำสู่พฤติกรรมที่ฮะรอมแล้วถือว่าไม่มีปัญหาแต่อย่างใดแต่ตามหลักอิฮ์ติยาฎแล้วไม่ควรมองส่วนต่างๆของร่างกายที่คนทั่วไปมักจะปกปิดกันเช่นขาอ่อนและท้องฯลฯ [1]ท่านอายาตุลลอฮ์คอเมเนอีได้ตอบคำถามที่ว่า “การมองใบหน้าและที่มือของหญิงที่ไม่ใช่มะฮ์ร็อมมีกรณีใดบ้าง? จำเป็นหรือไม่ที่จะต้องปกปิดเท้าทั้งสองจากสายตาของชายที่ไม่ใช่มะฮ์ร็อม?” ท่านได้ตอบว่า “หากฝ่ายชายมองด้วยความเสน่หาหรือในกรณีที่หญิงคนนั้นแต่งหน้าหรือมีเครื่องประดับที่มือของเธอถือว่าไม่อนุญาตให้มองส่วนการปกปิดสองเท้าจากสายตาของผู้ที่ไม่ใช่มะฮ์ร็อมนั้นถือเป็นสิ่งที่จำเป็น” [2]และได้กล่าวเกี่ยวกับสตรีที่ไม่ใช่มุสลิมว่า“หากมองใบหน้าและสองมือของสตรีที่เป็นชาวคัมภีร์เช่นชาวยิวหรือนะศอรอโดยปราศจากความเสน่หาหรือกรณีที่ไม่เกรงว่าการมองนี้จะโน้มนำสู่พฤติกรรมที่เป็นฮะรอมถือว่าอนุญาต[3]และได้ตอบคำถามที่ว่าในกรณีสตรีที่ไม่ใช่มุสลิมหากมองส่วนอื่นๆที่โดยทั่วไปมักจะเปิดเผยกันเช่นผมหูฯลฯเหล่านี้จะมีฮุกุมเช่นไร?” ท่านได้ตอบว่า “การมองโดยปราศจากความเสน่หาและไม่โน้มนำสู่ความเสื่อมเสียถือว่าไม่เป็นไร”[4]
  • อัลกุรอาน บทใดขณะประทานลงมามีมลาอิกะฮฺ จำนวน 70,000 ท่าน รายล้อมอยู่?
    8474 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/05/17
    ตามรายงานที่บันทึกไว้, สิ่งที่กล่าวมาเป็นความพิเศษเฉพาะบทอันอาม ท่านอิมาม ซอดิก (อ.) กล่าวเกี่ยวกับประเด็นนี้ว่า : บทอันอามมีประโยคคล้ายกัน ซึ่งได้ประทานลงมาในคราวเดียวกัน, ขณะที่มีมลาอิกะฮฺจำนวน 70,000 ท่าน ห้อมล้อมและแบกอัลกุรอาน บทนี้เอาไว้ จนกระทั่งไปนำอัลกุรอานบทนี้มาให้ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ดังนั้น จงให้เกียรติและแสดงความเคารพอัลกุรอาน บทนี้ให้มากเถิด เนื่องจากในบทนี้มีพระนามอันไพจิตรของอัลลอฮฺ ถูกกล่าวซ้ำถึง 70 ครั้ง และถ้าหากประชาชนทราบถึงความยิ่งใหญ่และความจริงของบทนี้ เขาจะไม่มีวันปล่อยอัลกุรอานบทนี้ไป[1] คำถามนี้ไม่มีคำตอบเป็นรายละเอียด.

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59396 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56845 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41676 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38431 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38422 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33454 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27542 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27240 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27138 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25214 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...