การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
7660
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/12/21
 
รหัสในเว็บไซต์ fa12865 รหัสสำเนา 19929
คำถามอย่างย่อ
มีหลักฐานอนุญาตให้มะตั่มให้แก่ท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) หรือทำร้ายตัวเองของมุสลิมในช่วงเดือนมุฮัรรอม หรือเดือนอื่นหรือไม่?
คำถาม
การที่มุสลิมบางกลุ่มชนในช่วงเดือนมุฮัรรอมได้ทำมะตั่ม (ทุบอก) และตัวเอง ซึ่งการทุบอกหรือทำร้ายตัวเองนั้นไม่เป็นฮะรอมดอกหรือ? มีหลักฐานหรือเหตุผลยืนยันไหมว่าท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้กระทำลักษณะนี้มาก่อน? หรือมีอิมามท่านใดหรือไม่ที่ได้กระทำทำนองนี้แก่บุคคลหนึ่งที่ได้รับชะฮีด?
คำตอบโดยสังเขป

การจัดพิธีกรรมรำลึกถึงท่านอิมามฮุซัยนฺ (.) นับได้ว่าเป็นหนึ่งในอิบาดะฮฺที่ดีที่สุด และการกระทำทุกสิ่งที่สังคมยอมรับว่านั่นเป็นส่วนหนึ่งของการจัดพิธีกรรม ถือว่าอนุญาต, เว้นเสียแต่ว่าสิ่งนั้นได้สร้างเสื่อมเสียหรือมีอันตรายจริง, หรือเป็นสาเหตุทำให้แนวทางชีอะฮฺต้องได้รับการดูถูกเหยียดหยามอย่างรุนแรง ซึ่งการทุบอก (มะตั่ม) นั้นมิได้เป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญดังกล่าว, ด้วยเหตุนี้ การกระทำดังกล่าวจึงมิได้มีความหมายผิดเพี้ยนอันใด ซึ่งการมะตั่มเพื่อรำลึกถึงท่านอิมามฮุซัยนฺ (.) เป็นมุสตะฮับเสียด้วยซ้ำไป

คำตอบเชิงรายละเอียด

การจัดพิธีกรรมรำลึกถึงท่านอิมามฮุซัยนฺ ( .) นับได้ว่าเป็นหนึ่งในอิบาดะฮฺที่ดีที่สุด   และการกระทำทุกสิ่งที่สังคมยอมรับว่านั่นเป็นส่วนหนึ่งของการจัดพิธีกรรม   ถือว่าอนุญาต , เว้นเสียแต่ว่าสิ่งนั้นได้สร้างเสื่อมเสียหรือมีอันตรายจริง , หรือเป็นสาเหตุทำให้แนวทางชีอะฮฺต้องได้รับการดูถูกเหยียดหยามอย่างรุนแรง   ซึ่งการทุบอก ( มะตั่ม ) นั้นมิได้เป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญดังกล่าว , ด้วยเหตุนี้   การกระทำดังกล่าวจึงมิได้มีความหมายผิดเพี้ยนอันใด   ซึ่งการมะตั่มเพื่อรำลึกถึงท่านอิมามฮุซัยนฺ ( .) เป็นมุสตะฮับเสียด้วยซ้ำไป [1]

เพื่อศึกษข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ   บทบัญญัติของการจัดพิธีกรรมรำลึกถึงท่านอิมามฮุซัยนฺ ( .) โปรดดูได้จากหัวข้อ การเริ่มต้นจัดพิธีกรรมรำลึกถึงท่านอิมามฮุซัยนฺ ( .) ตำตอบที่ 3914 ( ไซต์   : 4197)   และ บทบาทของการจัดพิธีกรรมรำลึดท่านอิมามฮุซัยนฺ ( .)” ตำตอบที่ 19920 ( ไซต์   : 19287)   และ การอนุญาตให้จัดพิธีกรรมรำลึกถึงท่านอิมามฮุซัยนฺ ( .) และริวายะฮฺ , ตำตอบที่ 7184 ( ไซต์   : 7443)   และ การจัดพิธีกรรมรำลึกถึงท่านอิมามฮุซัยนฺ ( .) คือหัวเชื้อสำหรับชีวิตในสังคม , ตำตอบที่ 348 ( ไซต์   : 352)   ึ่งมีอยู่ในเว็ปไซต์นี้เอง  

นอกจากคำตอบต่างๆ   ที่ได้ตอบไว้ในเว็ปไซต์แล้ว , เกี่ยวกับการมะตั่มหรือการตบลงบนศีรษะยังมีรายงานเน้นย้ำไว้ด้วย , เช่น   รอวียฺกล่าวว่า   : เมื่อท่านอิมามมูซา   อัลกาซิม ( .) ได้ถูกควบคุมตัวและถูกพาตัวไปนั้น   ท่านได้สั่งบุตรชายของท่านคือ   ท่านอิมามริฎอ ( .) ว่า   ตราบที่ท่านยังมีชีวิตอยู่นั้น , ให้ท่านอิมามริฎอ ( .) มานอนเฝ้าหน้าประตูทางเข้าบ้านเพื่อว่าข่าวจะได้ไปถึงเขา

รอวียฺ   กล่าวว่า   : พวกเราได้ปูที่นอนให้ท่านอิมามริฎอ ( .) ทุกคืน   ซึ่งหลังจากอาหารค่ำแล้ วท่านอิมาม ( .) จะมานอนที่นั่นทุกคืน   และเมื่อถึงตอนเช้าท่านก็จะกลับบ้าน , ท่านอิมามริฎอ ( .) ได้ทำเช่นนั้นอย่างต่อเนื่องนานถึง 4 ปีด้วยกัน   จนกระทั่งอยู่มาคืนหนึ่งเมื่อเราได้ปูที่นอนเสร็จเรียบร้อยแล้ว   แต่ท่านอิมามริฎอ ( .) มิได้มานอนตามปกติ   ซึ่งประเด็นนี้ , เป็นสาเหตุทำให้เหล่าสหายและคนในครอบครัวของท่านกระวนกระวายใจเป็นพิเศษ , จนกระทั่งเวลาผ่านไปอีกคืนหนึ่งท่านอิมามริฎอ ( .) ได้มาที่บ้าน   และเข้าไปหาคนในครอบครัวพร้อมกับเรียก   ท่านหญิงอุมมุอะฮฺมัด   ออกมาพร้อมกับกล่าวกับเธอว่า   : ช่วยนำสิ่งที่บิดาของ ฉันได้ฝากเธอไว้ เอามาให้ฉันที , อุมมุอะฮฺมัด   เมื่อได้ยินคำพูดที่หน้าสลดใจเช่นนั้น   เธอได้ตบหน้าตบตาของเธอพร้อมกับร่ำไห้และกล่าวว่า : ขอสาบานด้วยพระนามของอัลลอฮฺ   อิมามของฉันจากไปแล้วหรือ ? ท่านอิมามริฎอ ( .) ได้กล่าวกับเธอว่า     : จงอย่ากล่าวสิ่งใดออกไปเลย   และไม่บอกกับใครด้วย , เพื่อว่าข่าวจะได้ไม่ตกทอดไปถึงผู้ปกครอง [2]

แม้ว่ารายงานดังกล่าวจะระบุว่าผู้ที่เสียใจพร้อมกับตบหน้าตบตาของตนและร่ำไห้ออกมานั้น   จะไม่ใช่มะอฺซูม   หรือเป็นอิมามก็ตาม , แต่ประเด็นที่ต้องรับไว้พิจารณาเป็นพิเศษก็คือ   เธอได้กระทำสิ่งนั้นต่อหน้าอิมามมะอฺซูม ( .) และอิมาม ( .) ก็มิได้ว่ากล่าวอันใด   หรือห้ามปรามมิให้กระทำสิ่งนั้นอีก , การนิ่งเงียบของท่านอิมาม ( .) คือเหตุผลที่บ่งบอกถึง   การตักรีร [3]   และการสนับสนุนของท่านอิมามมะอฺซูม ( .) ซึ่งถือว่าเป็นเหตุผลสำหรับคนอื่นด้วย .

อีกรายงานหนึ่งกล่าวว่า   บรรดาอะฮฺลุลบัยตฺ ( .) เมื่อมีความทุกข์ระทมหรือความเศร้าสลด   หรือโศกนาฏกรรมมาประสบกับพวกท่าน   ท่านจะร่ำไห้เสียใจ , ซึ่งประเด็นนี้ได้รับรายงานมาจากท่านอิมามฮะซัน   อัสการียฺ ( .) [4] และท่านหญิงซัยนับ ( .) [5]

สุดท้ายจะนำเสนอทัศนะของนักปราชญ์และมัรญิอฺตักลีด   ที่กล่าวถึงประเด็นดังกล่าวไว้   เช่น :

สำนัก   ฯพณฯท่านอายะตุลลอฮฺ   อัลอุซมา   คอเมเนอี ( ขออัลลอฮฺทรงคุ้มครองท่าน ) :

กล่าวว่า   การสร้างความเสียหายให้เกิดกับพิธีกรรมรำลึกถึงท่านอิมามฮุซัยน ( .) ถ้าอันตรายนั้นเกิดกับร่างกาย   อันเป็นสาเหตุทำให้สำนักคิด   หรือมุอฺมิน   หรือพิธีกรรมรำลึกถึงอิมามมะอฺซูม ( .) ต้องได้รับการดูถูกเหยียดหยามแล้วละก็   ถือว่าไม่อนุญาตให้กระทำ   อย่างไรก็ตามเป็นการดียิ่งถ้าหากบรรดาผู้ศรัทธาจะระมัดระวัง   และรักษาเกียรติยศความศักดิ์สิทธ์ของการจัดพิธีกรรมรำลึกถึงบรรดาอิมามมะอฺซูม ( .) โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับซัยยิดผู้เป็นหัวหน้าของบรรดาชะฮีดทั้งหลาย   ท่านอิมามฮุซัยนฺ ( .)

สำนัก   ฯพณฯท่านอายะตุลลอฮฺ   อัลอุซมา   มะการิมชีรอซียฺ ( ขออัลลอฮฺทรงคุ้มครองท่าน ) :

การจัดพิธีกรรมรำลึกถึงมะอฺซูม 5 ท่านแห่งอาลิอาบา ( .) ถือได้ว่าเป็น   เครื่องหมายสำคัญที่สุดของศาสนา , และเป็นรหัสยะแห่งการธำรงอยู่ของชีอะฮฺ , ดังนั้น   จะต้องจัดให้ยิ่งใหญ่และดีที่สุดในทุกๆ   ปี , แต่สิ่งจำเป็น   คือ   ต้องหลีกเลี่ยงจากทุกภารกิจการงานที่สร้างความเสื่อมเสีย   หรือก่อให้เกิดความเสียหายแก่ร่างกาย , หรือเป็นสาเหตุทำให้สำนักคิดต้องได้รับการดูถูกเหยียดหยามโดยสิ้นเชิง , ส่วนการมะตั่มโดยทั่วไปซึ่งมิได้ก่อให้เกิดอันตรายอันใดแก่ร่างกาย   ถือว่าไม่เป็นไร  

สำนัก   ฯพณฯท่านอายะตุลลอฮฺ   อัลอุซมา   ซอฟียฺ   ฆุลภัยฆอนียฺ ( ขออัลลอฮฺทรงคุ้มครองท่าน ) :

ถ้าหากการกระทำนั้นไม่ก่อให้เกิดความเสียหายอันใด   โดยตัวของมันแล้วไม่เป็นไร

คำตอบของท่าน   อายะตุลลอฮฺ   มะฮฺดียฺ   ฮาดะวียฺ   เตหะรานนี   ( ขออัลลอฮฺทรงคุ้มครองท่าน ) มีรายละเอียดดังต่อไปนี้ :

การจัดพิธีกรรมรำลึกถึงท่านอิมามฮุซัยนฺ ( .) นับได้ว่าเป็นหนึ่งในอิบาดะฮฺที่ดีที่สุด   และการกระทำทุกสิ่งที่สังคมยอมรับว่านั่นเป็นส่วนหนึ่งของการจัดพิธีกรรม   ถือว่าอนุญาต , เว้นเสียแต่ว่าสิ่งนั้นได้สร้างเสื่อมเสียหรือมีอันตรายจริง , หรือเป็นสาเหตุทำให้แนวทางชีอะฮฺต้องได้รับการดูถูกเหยียดหยามอย่างรุนแรง   ซึ่งการทุบอก ( มะตั่ม ) นั้นมิได้เป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญดังกล่าว , ด้วยเหตุนี้   การกระทำดังกล่าวจึงมิได้มีความหมายผิดเพี้ยนอันใด   ซึ่งการมะตั่มเพื่อรำลึกถึงท่านอิมามฮุซัยนฺ ( .) เป็นมุสตะฮับเสียด้วยซ้ำไป

เชื่อมต่อไปยังเว็บไซต์   คำวินิจฉัยต่างๆ ( โคด 982)



[1]   คำตอบของท่านอายะตุลลอฮฺ มะฮฺดียฺ ฮาดะวียฺ เตหะรานี เกี่ยวกับคำถามดังกล่าวนี้, ตรงกับคำตอบของท่านอายะตุลลอฮฺ อัลอุซมาซอฟียฺ ซอฟียฺ ฆุลภัยคอนียฺ ซึ่งท่านได้ตอบคำถามว่า : ถ้าหากการกระทำนั้นไม่ก่อให้เกิดความเสียหายอันใด โดยตัวของมันแล้วไม่เป็นไร

[2]   กุลียนียฺ,มุฮัมมัด บิน ยะอฺกูบ, กาฟียฺ, เล่ม 1, หน้า 381, และ 382, ดารุลกุตุบ อัลอิสลามียะฮฺ เตหะราน, ปี 1365.

[3]   ตักรีร คือ ซุนนะฮฺอิบาดะฮฺ จาก : การกระทำ,คำพูด,และการนิ่งเงียบของท่านอิมามมะอฺซูม (อ.)”

[4]   มัจญฺลิซซียฺ, มุฮัมมัดบากิร, บิฮารุลอันวาร, เล่ม 50, หน้า 191, สถาบันอัลวะฟาอฺ, เลบานอน, ปี ฮ.ศ.ที่ 1404, กะชียฺ, มุฮัมมัด บิน อุมัร, ริญาลกะชียฺ, หน้า 480, อินติชารอตดอเนชเกาะฮ์มัชฮัด, ปี 1348.

[5]   ซัยยิดอะลี บิน มูซา บิน ฏอวูส, อัลลุฮูฟ, หน้า 178,179, อินติชารอตญะฮอน, เตหะราน, ปี 1348.

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • เมื่อสามีและภรรยาหย่าขาดจากกัน ใครคือผู้มีสิทธิในการเลี้ยงดูบุตร?
    12460 สิทธิและกฎหมาย 2554/08/17
    ในทัศนะของอิสลามบิดามีหน้าที่จะต้องจ่ายนะฟาเกาะฮ์ (ค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดู) แก่บุตรทุกคนแต่ทว่าสิทธิในการดูแลและอบรมเลี้ยงดูบุตรนั้นแตกต่างกันไปตามอายุและเพศของลูกๆท่านอิมามโคมัยนีได้ให้คำตอบเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวว่า “มารดาถือครองสิทธิในการดูแลเลี้ยงดูบุตรชายจนถึงอายุ๒
  • เพราะเหตุใดท่านศาสดา (ซ็อลฯ) จึงไม่ลงโทษบรรดาพวกกลับกลอกเสียตั้งแต่แรก ทั้งที่ทราบถึงแผนการ การก่อกรรมชั่วของพวกเขาเป็นอย่างดี? ขณะที่ท่านคิเฎรสังหารเด็กผู้ชายคนหนึ่ง ด้วยเหตุผลที่ว่าเมื่อโตขึ้นเขาจะก่อความเสียหาย?
    6488 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/08/22
    ถ้าหากท่านเราะซูล (ซ็อลฯ) สังหารพวกเขาตั้งแต่วันนั้นให้หมดไป ก่อนที่แผนการของพวกเขาจะถูกปฏิบัต และวันนี้ก็จะไม่มีคำพูดว่า แล้วทำไมท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ก่อนที่จะดำเนินการไม่ประณาม หรือไม่ตักเตือนพวกเขาเสียก่อน ทำไมไม่ให้โอกาสพวกเขา บางทีพวกเขาอาจเปลี่ยนแปลงก็ได้ นอกจากนั้นแล้วท่านศาสดา (ซ็อลฯ) มีหน้าที่ปฏิบัติไปตามกฎภายนอก และท่านมิได้รับอนุญาตจากอัลลอฮฺให้ทำการเข้มงวดกับบุคคลที่เป็นผู้กลับกลอก หรือปฏิบัติกับพวกเขาโดยความเข้มงวดอย่างเปิดเผย ดั่งที่บางตอนของคำเทศนาเฆาะดีรได้กล่าวว่า »ขอสาบานต่ออัลลอฮฺว่า วัตถุประสงค์ของอัลลอฮฺ จากโองการดังกล่าวคือ เซาะฮาบะฮฺกลุ่มหนึ่ง ซึ่งท่านรู้จักทั้งนามและสถานภาพของเขา, แต่ท่านมีหน้าที่ปกปิดพวกเขาไปตามสภาพ« ...
  • ท่านนบี(ซ.ล.)เคยกล่าวไว้ดังนี้หรือไม่? “หากผู้คนล่วงรู้ถึงอภินิหารของอลี(อ.) จะทำให้พวกเขาปฏิเสธพระเจ้าเพราะจะโจษขานว่าอลีก็คือพระเจ้านั่นเอง(นะอูซุบิลลาฮ์)”
    8878 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/19
    เราไม่พบฮะดีษที่คุณยกมาในหนังสือเล่มใดแต่มีฮะดีษชุดที่มีความหมายคล้ายคลึงกันปรากฏอยู่ในตำราหลายเล่มซึ่งขอหยิบยกฮะดีษบทหนึ่งจากหนังสืออัลกาฟีมานำเสนอพอสังเขปดังนี้อบูบะศี้รเล่าว่าวันหนึ่งขณะที่ท่านนบี(ซ.ล.)นั่งพักอยู่ท่านอิมามอลี(อ.)ก็เดินมาหาท่านท่านนบีกล่าวแก่อิมามอลี(อ.)ว่า “เธอคล้ายคลึงอีซาบุตรของมัรยัมและหากไม่เกรงว่าจะมีผู้คนบางกลุ่มยกย่องเธอเสมือนอีซาแล้วฉันจะสาธยายคุณลักษณะของเธอกระทั่งผู้คนจะเก็บดินใต้เท้าของเธอไว้เพื่อเป็นสิริมงคล ...
  • ริวายะฮ์(คำรายงาน)ที่มีความขัดแย้งกัน ยกตัวอย่างเช่น ริวายะฮ์ที่กล่าวถึงการจดบาปของมนุษย์ กับริวายะฮ์ทีกล่าวว่า การจดบาปจะไม่เกิดขึ้นจนกว่าครบ ๗ วัน เราสามารถจะแก้ไขริวายะฮ์ทั้งสองได้อย่างไร?
    4139 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2561/11/05
    สำหรับคำตอบของคำถามนี้ จะต้องตรวจสอบในหลายประเด็นดังต่อไปนี้ ๑.การจดบันทึกเนียต(เจตนา)ในการทำบาป กล่าวได้ว่า จากการตรวจสอบจากแหล่งอ้างอิงเกี่ยวกับการจดบันทึกเนียตในการทำบาปปรากฏว่าไม่มีริวายะฮ์รายงานเรื่องนี้แต่อย่างใด และโองการอัลกุรอานก็ไม่สามารถวินิจฉัยถึงเรื่องนี้ได้ เพราะว่า โองการอัลกุรอานกล่าวถึงความรอบรู้ของพระเจ้าในเนียตของมนุษย์ พระองค์อัลลอฮ์(ซ.บ)ทรงตรัสว่า เราได้สร้างมนุษย์ขึ้นมา และเรารู้ดียิ่งในสิ่งที่จิตใจของเขากระซิบกระซาบแก่เขา และเราอยู่ใกล้ชิดกับเขามากกว่าเส้นเลือดชีวิตของเขาเสียอีก ดังนั้น การที่พระองค์ทรงมีความรู้ในเจตนาทั้งหลาย มิได้หมายถึง การจดบันทึกว่าเป็นการทำบาปหรือเป็นบทเบื้องต้นในการทำบาป ๒.การจดบันทึกความบาปโดยทันทีทันใด ซึ่งเกี่ยวกับประเด็นนี้ก็ไม่ปรากฏริวายะฮ์ที่กล่าวถึง แต่ทว่า บางโองการอัลกุรอาน กล่าวถึง การจดบันทึกโดยทันทีทันใดในบาป ดั่งเช่น โองการที่กล่าวว่า (ในวันแห่งการตัดสิน บัญชีอะมั้ลการกระทำของมนุษย์)บันทึกจะถูกวางไว้ ดังนั้นเจ้าจะเห็นผู้กระทำความผิดบาปทั้งหลายหวั่นกลัวสิ่งที่มีอยู่ในบันทึก และพวกเขาจะกล่าวว่า โอ้ความวิบัติของเรา บันทึกอะไรกันนี่ มันมิได้ละเว้นสิ่งเล็กน้อย และสิ่งใหญ่โตเลย เว้นแต่ได้บันทึกไว้ครบถ้วน และพวกเขาได้พบสิ่งที่พวกเขาได้ปฏิบัติไว้ปรากฏอยู่ต่อหน้า และพระผู้เป็นเจ้าของเจ้ามิทรงอธรรมต่อผู้ใดเลย โองการนี้แสดงให้เห็นว่า ความผิดบาปทั้งหมดจะถูกจดบันทึกอย่างแน่นอนก ๓.การจดบันทึกความบาปจนกว่าจะครบ ๗ วัน มีรายงานต่างๆมากมายที่กล่าวถึง การไม่จดบาปในทันที แต่ทว่า มีรายงานหนึ่งกล่าวว่า ให้โอกาสจนกว่าจะครบ ๗ วัน ...
  • คำว่า “ฮุจซะฮ์”ในฮะดีษของมุฮัมมัด บิน ฮะนะฟียะฮ์ หมายความว่าอย่างไร?
    6937 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/02/12
    คำว่าฮุจซะฮ์ที่ปรากฏในฮะดีษบทต่างๆแปลว่าการยึดเหนี่ยวสื่อกลางในโลกนี้ระหว่างเรากับอัลลอฮ์ท่านนบีและบรรดาอิมาม(อ.) ซึ่งก็หมายถึงศาสนาจริยธรรมและความประพฤติที่ดีงามหากบุคคลยึดถืออิสลาม
  • ถ้าหากมุอาวิยะฮฺเป็นกาเฟร แล้วทำไมท่านอิมามฮะซัน (อ.) ต้องทำสนธิสัญญาสันติภาพกับเขาด้วย แล้วยังยกตำแหน่งเคาะลิฟะฮฺให้เขา?
    7387 ชีวประวัติมะอฺซูม (อ.) 2555/08/22
    มุอาวิยะฮฺ ตามคำยืนยันของตำราฝ่ายซุนนียฺ เขาได้ประพฤติสิ่งที่ขัดแย้งกับชัรอียฺมากมาย อีกทั้งได้สร้างบิดอะฮฺให้เกิดในสังคมอีกด้วย เช่น ดื่มสุรา สร้างบิดอะฮฺโดยให้มีอะซานในนะมาซอีดทั้งสอง ทำนะมาซญุมุอะฮฺในวันพุธ และ ...ด้วยเหตุนี้เองจึงไม่มีช่องว่างที่จะมีความอดทนและอะลุ่มอล่วยกับเขาได้อีกต่อไป อีกด้านหนึ่งประวัติศาสตร์ได้ยืนยันไว้อย่างชัดเจน การทำสนธิสัญญาสันติภาพระหว่างท่านอิมามฮะซัน (อ.) กับมุอาวิยะฮฺ มิได้เกิดขึ้นบนความยินยอม ทว่าได้เกิดขึ้นหลังจากมุอาวิยะฮฺได้สร้างความเสื่อมเสีย และความแตกแยกให้เกิดขึ้นในสังคมอย่างมากมาย จนกระทั่งว่ามุอาวิยะฮฺได้วางแผนฆ่าบรรดาชีอะฮฺ และเหล่าสหายจำนวนน้อยนิดของท่านอิมามฮะซัน (อ.) (ซึ่งเป็นการฆ่าให้ตายอย่างไร้ประโยชน์) ท่านอิมาม (อ.) ได้ยอมรับสัญญาสันติภาพก็เพื่อปกปักรักษาชีวิตของผู้ศรัทธา และศาสนาเอาไว้ ดั่งที่ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ได้รักษาศาสนาและชีวิตของบรรดามุสลิมเอาไว้ ด้วยการทำสนธิสัญญาสันติภาพฮุดัยบียะฮฺ กับบรรดามุชริกทั้งหลายในสมัยนั้น ซึ่งมิได้ขัดแย้งกับการเป็นผู้บริสุทธิ์ของท่านศาสดาแต่อย่างใด ดังนั้น การทำสนธิสัญญาสันติภาพลักษณะนี้ (บังคับให้ต้องทำ) เพื่อรักษาศาสนาและชีวิตของมุสลิม ย่อมไม่ขัดแย้งกับความบริสุทธิ์ของอิมามแต่อย่างใด ...
  • สระน้ำเกาษัรคืออะไร?
    13420 การตีความ (ตัฟซีร) 2554/10/22
    “เกาษัร” หมายถึงความดีจำนวนมากมายและมหาศาล หรือตัวอย่างหลายกรณีสามารถกล่าวเพื่อสิ่งนั้นได้ เช่น : สระน้ำและแม่น้ำเกาษัร, ชะฟาอัต, นบูวัต, วิทยปัญญา, ความรู้, ลูกหลานจำนวนมากมาย, ทายาทมาก และ ...เกาษัร มีตัวอย่างสองประการ หนึ่งคือโลกนี้ได้แก่ (ฟาฏิมะฮฺซะฮฺรอ อะลัยฮัสลาม) ส่วนปรโลกคือ (สระน้ำเกาษัร)สระน้ำเกาษัร, คือแห่งน้ำดื่มอันชุ่มชื่นใจแห่งสรวงสวรรค์ ซึ่งมีความกว้างมากซึ่งชาวสวรรค์หลังจากผ่านสนามสอบสวนในวันฟื้นคืนชีพ หลังจากนั้นพวกเขาจะถูกนำตัวเข้าสวรรค์และเข้าไปยังสระน้ำนั้น พวกเขาจะได้ดื่มน้ำจากสระเกาษัรเพื่อดับความกระหาย และจะได้ลิ้มรสความอร่อยอย่างที่ไม่เคยสัมผัสมาก่อน. จากสระน้ำเกาษัร, จะมีแม่น้ำอีกสองสายไหลแยกออกไปและจะไหลผ่านอยู่ในสวรรค์นั้น ...
  • อัลกุรอานเป็นความมหัศจรรย์ในสามลักษณะ : ก.คำ, ข. เนื้อหา, ค.ผู้นำอัลกุรอานมาเผยแผ่ และทั้งสามลักษณะบ่งบอกว่าอัลกุรอานมาจากพระเจ้าได้เพียงมากน้อยเพียงใด ?
    7969 วิทยาการกุรอาน 2553/10/11
    คำถามนี้ไม่มีคำตอบแบบสั้น โปรดเลือกปุ่มคำตอบที่สมบูรณ์ ...
  • การลงจากสวรรค์ของอาดัมหมายถึงอะไร?
    8539 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/10/22
    คำว่า “ฮุบูต” หมายถึงการลงมาด้านล่างจากที่สูง (นุซูล) ตรงกันข้ามกับคำว่า สุอูด (ขึ้นด้านบน), บางครั้งก็ใช้ในความหมายว่าหมายถึงการปรากฏในที่หนึ่งการวิพากถึงการลงมาของศาสดาอาดัม และความหมายของการลงมานั้น อันดับแรกขึ้นอยู่กับว่า สวรรค์ที่ศาสดาอาดัมอยู่ในตอนนั้นเราจะตีความกันว่าอย่างไร? สวรรค์นั้นเป็นสวรรค์บนโลกหรือว่าสวรรค์ในปรโลก? สิ่งที่แน่ชัดคือมิใช่สวรรค์อมตะนิรันดร์, ดังนั้นการลงมาของศาสดาอาดัม, จึงเป็นการลงมาในฐานะของฐานันดร, กล่าวคือวัตถุประสงค์ของอาดัมที่ลงจากสวรรค์, หมายถึงการขับออกจากสวรรค์ การกีดกันจากการใช้ชีวิตในสวรรค์ (สวรรค์บนพื้นโลก) การใช้ชีวิตบนพื้นโลก การดำเนินชีวิตไปพร้อมกับการเผชิญกับความยากลำบาก ดังที่อัลกุรอานหลายโองการได้กล่าวถึงไว้ ...
  • ผู้ที่เป็นวากิฟ (คนวะกัฟ) สามารถสั่งปลดอิมามญะมาอัตได้หรือไม่?
    7895 ข้อมูลน่ารู้ 2557/01/30
    ผู้วะกัฟหลังจากวะกัฟทรัพย์สินแล้ว เขาไม่มีสิทธิใด ๆ ในทรัพย์สินนั้นอีกต่อไป, เว้นเสียแต่ว่าผู้วะกัฟจะเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบ ทรัพย์วะกัฟด้วยตัวเอง ส่วนกรณีเกี่ยวกับอำนาจของผู้ดูแลทรัพย์วะกัฟจะมีหรือไม่ มีทัศนะแตกต่างกัน บางคนกล่าวว่า ผู้ดูแลไม่มีสิทธิ์อันใดทั้งสิ้น บางกลุ่มเชื่อว่าผู้ดูแลนั้นสามารถกระทำการตามที่ถามมาได้ ถ้าใส่ใจเรื่องความเหมาะสม ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59368 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56822 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41645 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38397 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38392 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33428 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27522 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27214 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27111 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25182 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...