การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
13067
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2553/10/21
 
รหัสในเว็บไซต์ fa319 รหัสสำเนา 10188
คำถามอย่างย่อ
จุดประสงค์ของการสร้างคืออะไร จงอธิบายเหตุผลในเชิงเหตุผลนิยม ถ้าเป้าหมายคือความสมบูรณ์แล้วทำไมพระเจ้าไม่ทรงสร้างมนุษย์ให้สมบูรณ์แบบ
คำถาม
จุดประสงค์ของการสร้างคืออะไร จงอธิบายเหตุผลในเชิงเหตุผลนิยม ถ้าเป้าหมายคือความสมบูรณ์แล้วทำไมพระเจ้าไม่ทรงสร้างมนุษย์ให้สมบูรณ์แบบ
คำตอบโดยสังเขป

พระเจ้าคือผู้ดำรงอยู่ที่ไม่มีความจำกัด พระองค์ทรงมีความสมบูรณ์แบบทุกประการ การสร้าง (บังเกิด) เป็นความงดงาม และพระองค์คือผู้มีความงดงาม ความงดงามอันสมบูรณ์แบบของพระองค์ เป็นตัวกำหนดว่าพระองค์ทรงสร้างทุกอย่างขึ้นตามคุณค่าของมัน ดังนั้น พระเจ้าทรงสร้างเป็นเพราะพระองค์คือผู้งดงาม หมายถึงจุดประสงค์และเป้าหมายในการสร้างของพระองค์นั้นงดงาม อีกด้านหนึ่งคุณลักษณะอาตมันของพระเจ้าไม่ได้แยกออกจากอาตมันของพระองค์ จึงสามารถกล่าวได้ว่าจุดประสงค์ของการสร้างคือ อาตมันของพระเ

พระเจ้าทรงสร้างมนุษย์มาโดยให้มีแนวโน้มที่ดีและความชั่วร้ายภายใน และทรงประทานผู้เชิญชวนภายนอก 2 ท่าน ที่ดีได้แก่ศาสดา (นบี) และความชั่วร้ายได้แก่ชัยฎอน (ปีศาจ), ทั้งนี้มนุษย์สามารถบรรลุความสมบูรณ์สูงสุดของสรรพสิ่งที่อยู่หรือก้าวไปสู่ความชั่วช้าที่ต่ำทรามที่สุดก็เป็นได้ ทั้งที่มนุษย์นั้นมีพลังของเดรัจฉานและการลวงล่อของซาตานที่ล่อลวงอยู่ตลอดเวลา แต่เขากลับเลือกหนทางที่ถูกต้อง, แน่นอน เวลานั้นเขาจะสูงส่งกว่ามลาอิกะฮฺ เพราะว่ามวลมลาอิกะฮฺไม่มีพลังของเดรัจฉานและชัยฏอนมาลวงล่อใจ แต่ถ้ามนุษย์เลือกแนวทางผิด แน่นอนตรงนี้เขาจะตกต่ำยิ่งกว่าสรรพสัตว์ทั้งหลาย เนื่องจากสรรพสัตว์ไม่มีพลังแห่งปัญญาในการคิดเหมือนกับมนุษย์

ถ้าหากพระเจ้าทรงสร้างมนุษย์มาให้สมบูรณ์ตั้งแต่แรกและมีความสมบูรณ์แบบทุกประการ สิ่งนี้จะไม่ถือว่าเป็นความสมบูรณ์ในเชิงของเจตนารมณ์เสรี เพราะพระเจ้าทรงสร้างสิ่งสมบูรณ์ที่สุดก่อนหน้าพวกเขามาแล้วตั้งแต่ต้น ดังนั้น จุดประสงค์ของการสร้างมนุษย์จะบรรลุก็ต่อเมือเขามีศักยภาพของความสมบูรณ์ และมีเจตนารมณ์เสรีในการกระทำ บรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธาไม่สามารถเข้าถึงความสมบูรณ์แบบของอัลลอฮฺได้ แม้ว่าจุดประสงค์หลักของการสร้างมนุษย์ – ก็คือการวางกฎหมายของพระเจ้า -- ยังไม่บรรลุผลก็ตาม แต่ไม่ได้คัดค้านการสร้างมนุษย์ในเป้าหมายของการรังสรรค์โดยการกำหนดกฎเกณฑ์จากพระองค์ เนื่องจากพระเจ้าทรงอุปสงค์ (การพัฒนาความต้องการ) ให้พวกเขาสามารถเลือกหนทางที่ถูกหรือผิดได้ด้วยตนเอง ถ้าหากพระเจ้าทรงให้การเลือกแนวทางผิดพลาดเป็นไปไม่ได้สำหรับมนุษย์แล้ว ความเชื่อและเชื่อฟังปฏิบัติตามของเขา ก็จะไม่เป็นความประสงค์หรือเจตนารมณ์เสรีของเขา

คำตอบเชิงรายละเอียด

เพื่อความเข้าใจอันดีงามในคำตอบ จำเป็นต้องพิจารณาเนื้อหาบางอย่างต่อไปนี้ :

ก. จุดประสงค์ของพระเจ้าในการสร้าง :

1) พระเจ้าผู้ทรงอำนาจในฐานะที่เป็น วาญิบุลวุญูด (จำเป็นต้องมี) การมีอยู่ของพระองค์ไม่เกี่ยวข้องหรือขึ้นอยู่กับสิ่งใดทั้งสิ้น ไม่มีข้อจำกัดและข้อบกพร่อง พระองค์มีความสมบูรณ์แบบทั้งหมด

2) เนื่องจากพระองค์ทรงงดงามทรงเมตตา พระองค์ตรัสในอัลกุรอานว่า :และการประทานให้ของพระเจ้าของเจ้านั้นมิถูกห้าม (แก่ผู้ใด)[1] พระเจ้านั้นการประทานให้จากพระองค์ไม่มีข้อจำกัดอันใดทั้งสิ้น ดังนั้น ถ้าหากพระองค์ไม่ประทานให้ทุกที่ ก็เนืองมาจากศักยภาพในการรับมีข้อจำกัด มิใช่ผู้ให้มีข้อจำกัด ฉะนั้น ทุกสิ่งที่คู่ควรต่อการให้พระองค์จะประทานให้เขา

3) ทุกสิ่งที่ดีและความสมบูรณ์แบบนั้นมาจากพระองค์ และทุกความบกพร่องและทุกความชั่วร้ายเกิดขึ้นจากการไม่มี ตัวอย่างเช่น ความรู้เป็นสิ่งที่ดีและเป็นความสมบูรณ์แบบ, ความไม่รู้, ความชั่วร้าย และความล้มเหลวเป็นความบกพร่อง นอกจากนี้อำนาจ ที่เผชิญกับความไร้อำนาจหรือไร้ความสามารถ ถือเป็นความสมบูรณ์แบบเป็นสิ่งที่ดี ดังนั้น เป็นที่ทราบกันดีว่าการมีอยู่เป็นสิ่งที่ดี ซึ่งตรงข้ามกับสิ่งนั้นคือ ทุกความชั่วร้ายและความบกพร่องไม่มีอยู่จริง

4) เมื่อพิจารณาบทนำที่สามแบ้วสามารถได้บทสรุปว่า ความงดงามและความเมตตาของพระเจ้าการสร้างสรรค์ของพระองค์จะสามารถเกิดขึ้นได้ ดังนั้น ความจำเป็นของความงดงามคือ การสร้างสรรค์

อีกนัยหนึ่ง ถ้าหากสิ่งสมควรและเหมาะสมต่อการสร้าง แต่พระองค์ไม่ทรงสร้าง ซึ่งการไม่สร้างของพระองค์ประกอบกับความดีของการมีอยู่ ถือว่าเป็นการขัดขวางความดีและเป็นความตระหนี่ถี่เหนียวอย่างยิ่ง แน่นอนว่า ความตระหนี่ถี่เหนียวเป็นไปไม่ได้สำหรับพระองค์ จากบทนำดังกล่าวได้บทสรุปว่า ถ้าหากถามว่า เพราะสาเหตุใดพระเจ้าจึงสร้าง คำตอบคือ เพราะความเมตตาและความงดงามของพระองค์นั่นเอง

5) คุณลักษณะของพระเจ้ามิใช่สิ่งเพิ่มเติมบนอาตมันของพระองค์ คุณลักษณะของมนุษย์และร่างกายส่วนอื่น ๆ คือสิ่งที่เพิ่มเข้ามาบนตัวตนของเขา ตัวอย่าง เช่น ผลแอ

ปเปิ้ลหนึ่งผล แต่มีคุณสมบัติคือผิวสีแดง และรสชาติหวาน สีแดงกับความหวานคือสิ่งที่นอกเหนือไปจากแก่นแท้ของแอปเปิ้ล ดังนั้น แอปเปิ้ล อาจแทนที่คุณสมบัติดังกล่าวด้วยการมี รสเปรี้ยว สีเขียว แก่นแท้ของแอปเปิ้ลก็ยังคงอยู่

บทวิพากษ์เกี่ยวกับ ความเป็นหนึ่งเดียวของคุณลักษณะกับอาตมันของพระเจ้า เป็นหนึ่งในวิชาวิพากษ์วิทยาที่ลุ่มลึก ซึ่งสามารถศึกษาได้จากหมวด ความเป็นเอกะของพระเจ้าและคุณลักษณะของพระองค์ สิ่งที่สำคัญสำหรับเราในที่นี้คือ ความเป็นผู้มีเมตตาและงดงามคือสาเหตุสุดท้ายของการสร้าง – เป็นหนึ่งเดียวกันกับอาตมันของพระองค์ ซึ่งไม่ได้ออกจากอาตมันของพระองค์ ดังนั้น ถ้าถามว่า เพราะเหตุใดพระเจ้าทรงสร้าง เราสามารถกล่าวได้ว่า "เนื่องจากทรงเป็นพระเจ้า ดังนั้น สาเหตุสุดท้ายอันที่จริงก็คือพระเจ้า และนี่ก็คือคำพูดในเชิงปรัชญาของเราที่กล่าวว่า สาเหตุสิ้นสุดและสาเหตุของการกระทำในการกระทำพระเจ้าเป็นหนึ่งเดียวกัน[2] บางทีอาจเป็นไปได้ที่จะนำเอาคุณลักษณะนั้นออกมาจากบางโองการ[3] เช่นกัน ที่กล่าวว่า และยัง: และยังพระองค์การงานทั้งมวลจะถูกนำกลับไป [4]

ข.จุดประสงค์ของของพระเจ้าในการสร้างมนุษย์ :

สิ่งที่กล่าวมาแล้วคือ เป้าหมายของผู้กระทำในการสร้างทั่วไป แต่จุดมุ่งหมายของผู้สร้างในการสร้างสิ่งอันเฉพาะ เช่น มนุษย์ จำเป็นต้องอาศัยจุดที่เป็นความพิเศษ ซึ่งจุดพิเศษเกี่ยวกับมนุษย์นั้นก็คือ ความสมบูรณ์แบบอันเฉพาะบางประการ ซึ่งพระเจ้าประสงค์ที่จะสร้างสิ่งนั้นด้วยการสร้างมนุษย์

คำอธิบาย : ความสมบูรณ์แบบการเป็นผู้งดงามของพระเจ้าคือ พระองค์สามารถสร้างทุกความสมบูรณ์ที่มีความเป็นไปได้  ซึ่งก่อนการสร้างมนุษย์พระองค์ได้สร้างสิ่งอื่นที่มีความสมบูรณ์แบบมาก่อน ซึ่งสิ่งมีชีวิตนั้นเรียกว่าทูตสวรรค์หรือมะลาอิกะฮฺ มวลมะลาอิกะฮฺเป็นสิ่งถูกสร้างสมบูรณ์แบบนับตั้งแต่เริ่มต้นของการสร้าง หมายถึง มีความสมบูรณ์โดยรูปธรรม ดังนั้น มวลมะลาอิกะฮฺจึงไม่มีโอกาสไปถึงยังความสมบูรณ์แบบใหม่ และการมีอยู่ของมะลาอิกะฮฺก็จะไม่สมบูรณ์ยิ่งไปกว่านี้อีก อัลลอฮฺ ตรัสด้วยภาษาของมะลาอิกะฮฺว่า: และไม่มีผู้ใดในหมู่พวกเรา เว้นแต่เขาได้มีตำแหน่งที่ได้กำหนดไว้แล้ว แท้จริง เรานั้นเป็นผู้ที่ยืนเข้าแถวอยู่แล้ว แท้จริง เรานั้นเป็นผู้แซ่ซ้องสดุดีอัลลอฮฺ”[5]

ท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า : ต่อมาพระองค์ทรงเปิดเผยสิ่งที่อยู่ท่ามกลางฟากฟ้าอันสูงส่ง ทรงจัดสรรให้ที่นั่นดาษดื่นไปด้วยมวลมลาอิกะฮฺของพระองค์ที่มีหน้าที่สลับสับเปลี่ยนกันไป จำนวนหนึ่งมุ่งมั่นเฉพาะการกราบกรานโดยไม่ได้โค้ง อีกจำนวนหนึ่งมุ่งมั่นเฉพาะการโค้งคารวะโดยไม่ได้เงยขึ้นเลย จำนวนหนึ่งได้ประชิดแถวเข้าด้วยกันโดยไม่แยกจากกัน มลาอิกะฮฺจำนวนหนึ่งสรรเสริญพระองค์โดยไม่เหนื่อยหน่าย”[6] พวกเขาได้มนัสการพระเจ้าและนี่คือความสมบูรณ์ที่พระเจ้าทรงประทานแก่พวกเขา ซึ่งเป็นไปไม่ได้เลยที่พวกเขาจะฝ่าฝืนคำสั่งของพระองค์ อัลลอฮฺ ตรัสว่า : พวกเขาจะไม่ชิงกล่าวคำพูดก่อนพระองค์ และพวกเขาปฏิบัติตามพระบัญชาของพระองค์[7] บางโองการตรัสว่า : ไฟนรกซึ่งเชื้อเพลิงของมันคือมนุษย์และก้อนหิน มีมลาอิกะฮฺผู้แข็งกร้าวคอยเฝ้ารักษามันอยู่ พวกเขาจะไม่ฝ่าฝืนอัลลอฮฺในสิ่งที่พระองค์ทรงบัญชาแก่พวกเขา และพวกเขาจะปฏิบัติตามที่ถูกบัญชาอย่างเคร่งครัด”[8]

พระเจ้าเนื่องจากพระองค์ทรงเป็นผู้มีความงดงาม  ซึ่งนอกจากมลาอิกะฮฺที่มีความสมบูรณ์แบบอยู่แล้ว พระองค์ยังทรงประสงค์ที่จะสร้างความสมบูรณ์แบบที่เหนือกว่ามลาอิกะฮฺขึ้นไปอีก ซึ่งความสมบูรณ์แบบนั้นอยู่ในการเลือกสรรของมนุษย์ หมายถึง พระองค์จะทรงสร้างสรรพสิ่งหนึ่งซึ่งความสมบูรณ์ทั้งหมดเหล่านี้ เขาสามารถนำมาได้ด้วยการเลือกสรรและเจตนารมณ์เสรีของตน ด้วยเหตุนี้ พระองค์จึงสร้างมนุษย์ขึ้นมา มนุษย์ซึ่งนับตั้งแต่เริ่มต้นเขาไม่มีความสมบูรณ์นี้อยู่ในตัว แต่เนื่องจากสาเหตุบางประการเขาสามารถไปถึงยังความสมบูรณ์นั้นได้ เป็นที่ชัดเจนว่า ความสมบูรณ์ของมนุษย์ขึ้นอยู่กับเจตนารมณ์เสรีและการเลือกสรรอย่างเสรีของตน ซึ่งแน่นอนว่าความสมบูรณ์อันนั้นสูงส่งกว่าความสมบูรณ์ของมลาอิกะฮฺเสียอีก ท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า : อัลลอฮฺผู้ทรงเกรียงไกรทรงสร้างมลาอิกะฮฺขึ้นจาก ภูมิปัญญา และไม่ได้ประทานความต้องการแก่มลาอิกะฮฺ พระองค์ทรงสร้างบรรดาสรรพสัตว์ขึ้นมาจากความต้องการ (ชะฮฺวัต) และไม่ได้มอบปัญญาแก่สรรพสัตว์ ขณะที่พระองค์ทรงสร้างมนุษย์ขึ้นมาจากสติปัญญาและความต้องการ ดังนั้น ใครก็ตามที่เอาสติปัญญาควบคุมต้องการได้ เขาจะสูงส่งกว่ามลาอิกะฮฺ แต่บุคคลใดก็ตามเอาความต้องการควบคุมสติปัญญา เขาจะเลวยิ่งกว่าสัตว์เดรัจฉาน[9] เมาลาได้เน้นย้ำประเด็นดังกล่าวไว้ว่า

ฮะดีซ กล่าวถึงการรังสรรค์อันสูงส่ง

พระองค์ทรงสร้างจักรวาลใน 3 ลักษณะ

กลุ่มหนึ่ง เปี่ยมด้วยสติปัญญาและความรอบรู้

นามว่ามลาอิกะฮฺ พวกเขาไม่รับรู้สิ่งใดนอกจากการกราบกราน

ความโลภ และโมหะไม่มีอยู่ในตัว

รัศมีสมบูรณ์แห่งชีวิตคือความรักต่อพระเจ้า

อีกกลุ่มหนึ่ง ไม่มีความรอบรู้

นามว่าสัตว์ ไม่รู้จักสิ่งใดนอกจากใบหญ้า

มันมองไม่เห็น เว้นแต่คอกและยอดหญ้า

มันไม่เห็นมีเกียรติและศักดิ์ศรี

กลุ่มที่สามนามว่ามนุษย์ผู้มีเนื้อหนัง

ครึ่งหนึ่งจากเทพแห่งฟากฟ้าและครึ่งหนึ่งจากลาผู้โง่เขลา

ครึ่งหนึ่งของลาคือความต่ำทราม

อีกครึ่งหนึ่งคือความสูงศักดิ์

สิ่งใดมีชัยเหนืออีกสิ่งในการต่อสู้

คือเครื่องประดับที่จะชนะคู่ต่อสู้

ดังนั้น จุดประสงค์ของผู้กระทำและสาเหตุสุดท้ายในการสร้างมนุษย์ คือความงดงามของพระเจ้า ซึ่งสิ่งจำเป็นสำหรับความงดงามของพระเจ้าคือ การสร้างความสมบูรณ์แบบที่เป็นไปได้ สมบูรณ์ซึ่งดีกว่าความสมบูรณ์นั้นคือ ความสมบูรณ์ยิ่งกว่า

ค.  ทำไมพระเจ้าจึงไม่สร้างมนุษย์ให้สมบูรณ์ :

ถ้าหากพิจารณาเรื่องราวที่ได้นำเสนอไป สามารถสรุปได้ว่า จุดประสงค์ในการสร้างมนุษย์จะมีความเป็นไปได้ก็ต่อเมือ มนุษย์มีศักยภาพที่จะไปถึงยังความสมบูรณ์ ซึ่งเขาจะบรรลุเป้าหมายนั้นได้ด้วยการกระทำและเจตนารมณ์เสรีของตนเอง ในขณะที่ถ้าเขามีความสมบูรณ์แบบนั้นตั้งแต่แรกแล้ว ความสมบูรณ์แบบนั้นก็จะไม่ได้เกิดจากเจตนารมณ์เสรีของตน และจุดประสงค์ในการสร้างมนุษย์ก็จะบกพร่อง

สิ่งที่ควรพิจารณาคือ แม้แต่การพัฒนาขั้นหนึ่งของบันไดแห่งความสมบูรณ์สำหรับมนุษย์, ก็จะถูกนับว่าเป็นความสมบูรณ์ที่เกิดจากเจตนารมณ์เสรี ซึ่งจะทำให้จุดประสงค์หลักของการสร้างนั้นสมบูรณ์ไปด้วย

ง. มนุษย์ผู้ปฏิเสธและมีความผิด :

ถ้าหากมนุษย์ไม่สามารถวิวัฒนาการความสมบูรณ์ของตนขึ้นไปสักขั้นหนึ่ง ตลอดอายุขัยของเขาก็จะจมปรักอยู่กับบาปกรรมและการปฏิเสธ ซึ่งเท่ากับเขาได้ออกจากจุดประสงค์ของการสร้าง เนื่องจากเขาได้ทำให้ศักยภาพของตนเป็นรูปธรรมขึ้นมา ทั้งที่ในตัวมนุษย์มีศักยภาพที่จะพัฒนาตนไปสู่ก้นบึ้งของความตกต่ำ อันเป็นชั้นที่ต่ำที่สุด พระเจ้าทรงสร้างมนุษย์มาในลักษณะที่ว่าเขาสามารถเลือกหนทางสมบูรณ์หรือหนทางตกต่ำก็ได้ แม้คนผิดและผู้ปฏิเสธก็จะไม่ขับเคลื่อนไปในหนทางที่ขัดแย้งกับความประสงค์ที่ดีของพระเจ้า ทว่าพระเจ้าทรงทรงยอมรับความสูงส่งของมนุษย์ไปตามความสมบูรณ์แต่ไม่ทรงยอมรับความตกต่ำของเขา อีกนัยหนึ่ง ในการสร้างมนุษย์ของพระเจ้านั้นทรงมีจุดประสงค์ที่เป็นตักวียน์ และตัชรีอีย์ จุดประสงค์ที่เป็นตักวีนีย์คือ : มนุษย์ทุกคนสามารถทำให้ศักยภาพของตนเป็นรูปธรรมทั้งดีและไม่ดีได้ ส่วนความต้องการที่เป็นตัชรีอีคือ เฉพาะพัฒนาไปสู่ความสมบูรณ์เท่านั้น ที่มนุษย์สามารถเปลี่ยนศักยภาพให้เป็นรูปธรรม

จากคำอธิบายสามารถกล่าวได้ว่า ผู้ศรัทธาคือผู้ที่ทำให้จุดประสงค์ที่เป็นตัชรีอีย์ บรรลุผลและตนยังตั้งอยู่ในจุดประสงค์ที่ป็นตักวีนีย์อีกด้วย ส่วนผู้ปฏิเสธและคนบาป แม้ว่าจะไม่ทำให้เป้าหมายของตัชรีอีบรลุผล แต่ก็ยังอยู่ในเป้าหมายของตักวีนียะฮฺ

หมายเหตุ : เนื่องจากการให้ความสำคัญต่อประเด็นของการมีอยู่ มีเหตุผลอ้างอิงเป็นจำนวนมาก เท่ากับเป็นการเปิดโอกาสให้สำหรับการศึกษาค้นคว้าต่อไป



[1] อัลกุรอานบทอัสรอ 20

[2] เฏาะบาเฏาะบาอี มุฮัมมัดฮุซัยนฺ อัลมีซาน เล่ม 8 หน้า 44, มิซบายัซดี มุฮัมมัดตะกี มะอาริฟกุรอาน เล่ม 1 หน้า 154

[3] อัลกุรอาน บทบะเกาะเราะฮฺ 210, อาลิอิมรอน 109, อินฟิอาล 144, ฮัจญ์ 76, ฟาฏิร 4, ฮะดีด 5

[4] อัลกุรอาน บทฮูด 123

[5]  อัลกุรอานบทซอฟาต 164-166

[6] นะฮฺญุลบะลาเฆาะฮฺ คำเทศนา 1

[7] อัลกุรอาน บทอัลอันบิยาอ์ 27

[8] อัลกุรอาน บทอัตตะฮฺรีม 6

[9]  วะซาอิลุชชีอะฮฺ เล่ม 11 หน้า 164

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • ริวายะฮ์(คำรายงาน)ที่มีความขัดแย้งกัน ยกตัวอย่างเช่น ริวายะฮ์ที่กล่าวถึงการจดบาปของมนุษย์ กับริวายะฮ์ทีกล่าวว่า การจดบาปจะไม่เกิดขึ้นจนกว่าครบ ๗ วัน เราสามารถจะแก้ไขริวายะฮ์ทั้งสองได้อย่างไร?
    4165 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2561/11/05
    สำหรับคำตอบของคำถามนี้ จะต้องตรวจสอบในหลายประเด็นดังต่อไปนี้ ๑.การจดบันทึกเนียต(เจตนา)ในการทำบาป กล่าวได้ว่า จากการตรวจสอบจากแหล่งอ้างอิงเกี่ยวกับการจดบันทึกเนียตในการทำบาปปรากฏว่าไม่มีริวายะฮ์รายงานเรื่องนี้แต่อย่างใด และโองการอัลกุรอานก็ไม่สามารถวินิจฉัยถึงเรื่องนี้ได้ เพราะว่า โองการอัลกุรอานกล่าวถึงความรอบรู้ของพระเจ้าในเนียตของมนุษย์ พระองค์อัลลอฮ์(ซ.บ)ทรงตรัสว่า เราได้สร้างมนุษย์ขึ้นมา และเรารู้ดียิ่งในสิ่งที่จิตใจของเขากระซิบกระซาบแก่เขา และเราอยู่ใกล้ชิดกับเขามากกว่าเส้นเลือดชีวิตของเขาเสียอีก ดังนั้น การที่พระองค์ทรงมีความรู้ในเจตนาทั้งหลาย มิได้หมายถึง การจดบันทึกว่าเป็นการทำบาปหรือเป็นบทเบื้องต้นในการทำบาป ๒.การจดบันทึกความบาปโดยทันทีทันใด ซึ่งเกี่ยวกับประเด็นนี้ก็ไม่ปรากฏริวายะฮ์ที่กล่าวถึง แต่ทว่า บางโองการอัลกุรอาน กล่าวถึง การจดบันทึกโดยทันทีทันใดในบาป ดั่งเช่น โองการที่กล่าวว่า (ในวันแห่งการตัดสิน บัญชีอะมั้ลการกระทำของมนุษย์)บันทึกจะถูกวางไว้ ดังนั้นเจ้าจะเห็นผู้กระทำความผิดบาปทั้งหลายหวั่นกลัวสิ่งที่มีอยู่ในบันทึก และพวกเขาจะกล่าวว่า โอ้ความวิบัติของเรา บันทึกอะไรกันนี่ มันมิได้ละเว้นสิ่งเล็กน้อย และสิ่งใหญ่โตเลย เว้นแต่ได้บันทึกไว้ครบถ้วน และพวกเขาได้พบสิ่งที่พวกเขาได้ปฏิบัติไว้ปรากฏอยู่ต่อหน้า และพระผู้เป็นเจ้าของเจ้ามิทรงอธรรมต่อผู้ใดเลย โองการนี้แสดงให้เห็นว่า ความผิดบาปทั้งหมดจะถูกจดบันทึกอย่างแน่นอนก ๓.การจดบันทึกความบาปจนกว่าจะครบ ๗ วัน มีรายงานต่างๆมากมายที่กล่าวถึง การไม่จดบาปในทันที แต่ทว่า มีรายงานหนึ่งกล่าวว่า ให้โอกาสจนกว่าจะครบ ๗ วัน ...
  • อิสลามมีทัศนะอย่างไร เกี่ยวกับใบยาสูบ?
    8926 สิทธิและกฎหมาย 2555/07/16
    อิสลามได้ห้ามการบริโภค ดื่ม และการใช้สิ่งต่างๆ ที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย และสุขภาพ และถ้าอันตรายยิ่งมีมากเท่าใด การห้ามโดยสาเหตุก็ยิ่งหนักหน่วงและรุนแรงขึ้นไปตามลำดับ, จนถึงระดับของการ ฮะรอม ท่านอิมามโคมัยนี (รฎ.) กล่าวว่า : “การบริโภคสิ่งของที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อมนุษย์ถือว่า ฮะรอม”[1] เป็นที่ประจักษ์ชัดเจนว่า เกณฑ์ของฮะรอม, ขึ้นอยู่กับอันตราย กล่าวคือไม่ว่าอันตรายจะเกิดจากการบริโภค หรือเกิดจากแนวทางอื่นก็ตาม, มิได้มีการระบุไว้ตายตัวแน่นอน. บุหรี่เป็นหนึ่งในสิ่งต่างๆ เหล่านั้น ซึ่งการสูบบุหรี่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์ แต่อันตรายนั้นจะถึงขั้นที่ว่า การสูบบุหรี่เป็นฮะรอมหรือไม่? บรรดาแพทย์ส่วนใหญ่และผู้เชี่ยวชาญเรื่องนี้, ต่างมีความเห็นพร้องต้องกันว่า บุหรี่เป็นอันตรายสำคัญและผลเสียเกิดขึ้นตามมามากมาย หนังสือและตำราต่างๆ จำนวนมากได้กล่าวอธิบายถึงอันตรายและผลเสียต่างๆ ที่เกิดจากการใช้ใบยาสูบ,โดยเฉพาะอย่างยิ่งบุหรี่,ซึ่งได้กลายเป็นสาขาหนึ่งที่มีการวิเคราะห์วิจัยออกมาอย่างกว้างขวาง[2] ...
  • มีฮะดีษอยู่บทหนึ่งระบุว่าอัลลอฮ์ทรงยกย่องความบริสุทธิ์ของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ด้วยการไม่ปล่อยให้ลูกหลานของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ตกนรก
    6369 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/19
    ฮะดีษนี้ปรากฏอยู่ในตำราฝ่ายซุนหนี่และชีอะฮ์โดยมีความน่าเชื่อถือสูงเนื่องจากมีหลากสายรายงานแต่คำถามที่มีมาตั้งแต่อดีตก็คือความหมายของลูกหลานในฮะดีษนี้ครอบคลุมเพียงใด? เมื่อพิจารณาเทียบกับฮะดีษอื่นๆก็จะเข้าใจได้ว่าฮะดีษนี้เจาะจงเฉพาะบุตรชั้นแรกของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์(อ.)เท่านั้นที่ได้รับความเมตตาให้มีภาวะปลอดบาปอันเป็นการสมนาคุณแด่การสงวนตนของท่านหญิงทว่าลูกหลานชั้นต่อๆไปแม้จะได้รับสิทธิบางอย่างแต่จะไม่ได้รับความปลอดภัยจากการลงทัณฑ์อย่างสมบูรณ์ ...
  • บทบาทของผู้เป็นสื่อในการสร้างความใกล้ชิดกับอัลลอฮฺคืออะไร?
    7117 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/21
    สื่อมีความหมายกว้างมากซึ่งครอบคลุมถึงทุกสิ่งหรือทุกภารกิจอันเป็นสาเหตุนำเราเข้าใกล้ชิดพระผู้อภิบาลได้ถือว่าเป็นสื่อขณะที่โลกนี้วางอยู่บนพื้นฐานของระบบเหตุและผล,สาเหตุและสิ่งเป็นสาเหตุ, ได้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อการชี้นำมนุษย์ให้เจริญก้าวหน้าและพัฒนาไปสู่ความสมบูรณ์, ดังเช่นที่ความต้องการทางธรรมชาติของมนุษย์ทั้งหลายบรรลุและดำเนินไปโดยปัจจัยและสาเหตุทางวัตถุ, ความเมตตาอันล้นเหลือด้านศีลธรรมของพระเจ้า, เฉกเช่นการชี้นำทาง, การอภัยโทษ, การสอนสั่ง, ความใกล้ชิดและความสูงส่งของมนุษย์ก็เช่นเดียวกันวางอยู่บนพื้นฐานของระบบอันเฉพาะเจาะจงซึ่งได้ถูกกำหนดสำหรับมนุษย์แล้วโดยผ่านสาเหตุและปัจจัยต่างๆแน่นอนถ้าปราศจากปัจจัยสื่อและสาเหตุเหล่านี้ไม่อาจเป็นไปได้แน่นอนที่มนุษย์จะได้รับความเมตตาอันล้นเหลือจากพระเจ้าหรือเข้าใกล้ชิดกับพระองค์อัลกุรอานหลายโองการและรายงานจำนวนมากมายได้แนะนำปัจจัยและสาเหตุเหล่านั้นเอาไว้และยืนยันว่าถ้าปราศจากสื่อเหล่านั้นมนุษย์ไม่มีวันใกล้ชิดกับอัลลอฮฺได้อย่างแน่นอน ...
  • การพูดคุยกับผู้หญิงที่ไม่เคยเห็น จะเป็นอะไรหรือไม่?
    8422 สิทธิและกฎหมาย 2554/11/21
    ตามหลักการคำสอนของอิสลามศาสนาบริสุทธิ์, การติดต่อสัมพันธ์ในทุกรูปแบบระหว่างชายหนุ่มและหญิงสาว,ถ้าการติดต่อสัมพันธ์กันนั้นเกรงว่าจะนำไปสู่ข้อครหาหรือเกรงว่าจะนำไปสู่บาปแล้วละก็ถือว่ไม่อนุญาตและมีปัญหาด้านกฏเกณฑ์แน่นอน
  • ได้ยินว่าผู้บริจาคเศาะดะเกาะฮ์จะพ้นจากภยันตรายต่างๆ ถามว่าผู้รับเศาะดะเกาะฮ์จะประสบกับภยันตรายเหล่านั้นแทนหรือไม่?
    10382 بیشتر بدانیم 2557/02/12
    “เศาะดะเกาะฮ์” ในแง่ภาษาอรับแล้ว ถือเป็นอาการนาม ให้ความหมายว่า “การมอบให้เพื่อจะได้รับผลบุญ” และมีรากศัพท์จากคำว่า “ศิดกุน” พหูพจน์ของเศาะดะเกาะฮ์คือ “เศาะดะกอต” [1] นิยามของเศาะดะเกาะฮ์ เศาะดะเกาะฮ์หมายถึง สิ่งที่บุคคลมอบให้ผู้ขัดสน ผู้ยากไร้ เพื่ออัลลอฮ์ อันเป็นการพิสูจน์ความจริงใจในแนวทางของพระองค์[2] บทบัญญัติเกี่ยวกับเศาะดะเกาะฮ์ และผลบุญที่จะได้รับ อิสลามมีบทบัญญัติเกี่ยวกับเศาะดะเกาะฮ์สองประเภทด้วยกัน 1. เศาะดะเกาะฮ์ภาคบังคับ (วาญิบ) ซึ่งก็หมายถึง “ซะกาต” นั่นเอง ดังโองการที่กล่าวว่า خُذْ مِنْ أَمْوَالِهِمْ صَدَقَةً تُطَهِّرُهُمْ وَ تُزَکِّیهِمْ بِهَا وَ صَلِّ عَلَیْهِمْ إِنَّ صَلاَتَکَ سَکَنٌ ...
  • ข้อแตกต่างระหว่างมะอ์นะวียัตในอิสลามและคริสตศาสนา
    6572 เทววิทยาใหม่ 2554/10/24
    คุณค่าของมะอ์นะวียัตของแต่ละศาสนาขึ้นอยู่กับคุณค่าของศาสนานั้นๆคำสอนของคริสตศาสนาบางประการขัดต่อสติปัญญาโดยที่ชาวคริสเตียนเองก็ยอมรับเช่นนั้นมะอ์นะวียัตที่ได้จากคำสอนเช่นนี้ก็ย่อมมีข้อผิดพลาดเป็นธรรมดาและนี่คือข้อแตกต่างหลักระหว่างมะอ์นะวียัตของอิสลามและคริสตศาสนากล่าวคือโดยพื้นฐานแล้วมะอ์นะวียัตของคริสต์ไม่อาจเป็นที่ยอมรับได้เมื่อพิจารณาถึงแหล่งเนื้อหาที่มีบางจุดขัดต่อสติปัญญาทำให้ไม่สามารถจะนำพาสู่ความผาสุกได้อย่างไรก็ดีสภาพมะอ์นะวียัตของตะวันตกในปัจจุบันย่ำแย่ไปกว่ามะอ์นะวียัตดั้งเดิมของคริสตศาสนาเสียอีกในขณะที่มะอ์นะวียัตของอิสลามนั้นได้รับอิทธิพลจากคำสอนจากวิวรณ์
  • บุคคลย้ำคิดย้ำทำที่ได้รับการอนุโลม ถามว่าได้รับการอนุโลมข้อสงสัยทุกประเภทหรือไม่?
    10068 สิทธิและกฎหมาย 2555/02/18
    ตามหลัก “لاشکّلکثیرالشک”แล้ว ผู้ที่ชอบย้ำคิดย้ำทำ(ช่างสงสัย) ไม่ควรให้ความสำคัญแก่การสงสัยของตน อุละมาส่วนใหญ่เชื่อว่าหลักการนี้มิได้จำกัดเฉพาะกรณีการนมาซเท่านั้น แต่ยังรวมถึงอะมั้ลที่กระทำก่อนนมาซ อาทิเช่น การอาบน้ำนมาซ, ฆุสุลและตะยัมมุม, อีกทั้งรวมไปถึงชุดอิบาดะฮ์อย่างเช่นการทำฮัจย์ และครอบคลุมถึงการทำธุรกรรม และประเด็นความศรัทธาด้วย อุละมายกหลักฐานสนับสนุนทัศนะของตนอันได้แก่ หลักการ لا
  • ผมเป็นชาวฟิลิปินส์ ในสถานการณ์ที่ผมไม่สามารถไปหามุจตะฮิดคนใดคนหนึ่งได้ และในกรณีที่ผมไม่มั่นใจว่ามีผู้ที่เป็นซัยยิด (เป็นลูกหลานของท่านศาสดา (ซ.ล.) ที่เป็นผู้ยากไร้อาศัยอยู่ในประเทศของผมหรือไม่นั้น ผมจะต้องจ่ายคุมุสแก่ผู้ใด?
    6191 สิทธิและกฎหมาย 2555/02/05
    คำตอบที่ได้รับมาจากสำนักงานต่างๆของบรรดามัรยิอ์มีดังนี้สำนักงานท่านอายะตุลลอฮ์ซิซตานี–คุณสามารถที่จะแยกเงินคุมุสของท่านไว้และเก็บไว้ก่อนจนกว่าจะมีโอกาสที่จะนำเงินดังกล่าวไปมอบให้กับตัวแทนของท่านอายะตุลลอฮ์สำนักงานท่านอายะตุลลอฮ์มะการิมชีรอซี–สามารถจ่ายทางเว็บไซต์ของมัรญะอ์ดังกล่าวได้คำตอบของท่านอายะตุลลอฮ์ฮาดาวีย์เตหะรานีเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวคือคุณสามารถจ่ายทางอินเตอร์เน็ตได้โดยโอนเงินให้กับมุจตะฮิดหรือตัวแทนของท่านและทางที่ดีควรจ่ายให้กับผู้นำรัฐหรือตัวแทนของท่านในทุกกรณีไม่สามารถจ่ายเงินคุมุสให้กับผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาตจากท่านหรือตัวแทนของท่านเสียก่อน ...
  • ทำอย่างไรจึงจะลดความรีบร้อน?
    7519 จริยธรรมทฤษฎี 2555/05/23
    ความรีบร้อนลนลานถือเป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงในทัศนะของศาสนา ซึ่งในที่นี้ก็หมายถึงการรีบกระทำสิ่งใดโดยพละการนั่นเอง การรีบร้อนแตกต่างจากการรีบเร่งทั่วไป เพราะการรีบเร่งหมายถึงการรีบกระทำการใดทันทีที่ทุกอย่างพร้อม สิ่งที่ตรงข้ามกับการรีบร้อนก็คือ “ตะอันนี” และ “ตะษับบุต”อันหมายถึงการตรึกตรองอย่างรอบคอบก่อนลงมือกระทำการใดๆ เมื่อพิจารณาถึงข้อเสียของการรีบร้อน และข้อดีของการตรึกตรองอันเป็นคุณลักษณะของกัลยาณชนเฉกเช่นบรรดาศาสดา ทำให้ได้ข้อสรุปว่าก่อนกระทำการใดควรตรึกตรองอย่างมีสติเสมอ และหากหมั่นฝึกฝนระยะเวลาหนึ่ง แม้จะเป็นเรื่องยากก็ตาม แต่สุดท้ายก็จะติดเป็นนิสัย อันจะลบเลือนนิสัยรีบร้อนที่มีอยู่เดิม และจะสร้างเสริมให้เป็นผู้ที่มีความสุขุม ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59407 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56854 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41686 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38442 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38440 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33466 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27552 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27257 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27158 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25231 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...