การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
6897
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2550/12/08
 
รหัสในเว็บไซต์ fa1874 รหัสสำเนา 26996
คำถามอย่างย่อ
เพราะเหตุใดจึงได้เลือก อัดลฺ ซึ่งเป็นหนึ่งในคุณลักษณะของพระเจ้า เป็นหลักศรัทธา?
คำถาม
เพราะเหตุใดในหลักศรัทธา จึงได้เลือกอัดลฺ ซึ่งเป็นหนึ่งในซิฟัตของอัลลฮฺ แล้วทำไม่เลือกซิฟัตอื่น?
คำตอบโดยสังเขป

หลักอุซูลของชีอะฮฺประกอบด้วย เตาฮีด, อัดลฺ, มะอาด, นะบูวัต, และอิมามะฮฺ. อัดลฺ แม้ว่าจะเป็นซิฟัตหนึ่งของอัลลอฮฺ แต่ในหลักการศรัทธาแล้วก็เหมือนกับ ซิฟัตอื่นๆ ของพระองค์ จำเป็นต้องวิพากในเตาฮีด แต่เนื่องจากความสำคัญของอัดลฺ จึงได้แยกอธิบายไว้ต่างหาก

สาเหตุที่ อัดลฺ มีความสำคัญเนื่องจาก อัดลฺ คือสาเหตุของการแยกระหว่างหลักเทววิทยาของฝ่าย อัดลียะฮฺ (ชีอะฮฺและมุอฺตะซิละฮฺ) ออกจากฝ่ายอะชาอิเราะฮฺ

ซิฟัตหนึ่งถ้าพิสูจน์ว่ามีหรือไม่มี จะได้ผลลัพธ์ที่แตกต่างกันและตรงข้ามกัน แน่นอน จำเป็นต้องกล่าวว่าฝ่ายอะชาอิเราะฮฺ ปฏิเสธไม่ยอมรับเรื่องความยุติธรรมของพระเจ้า ทว่ากล่าวว่า ความยุติธรรม หมายถึงอัลลอฮฺกระทำภารกิจของพระองค์ แม้ว่าในแง่ของสติปัญญา สิ่งนั้นจะเป็นความอธรรมก็ตาม

คำตอบเชิงรายละเอียด

หลักศรัทธาของมัซฮับชีอะฮฺ ประกอบด้วย เตาฮีด, อัดลฺ, นะบูวัต, อิมามะฮฺ และมะอาด ซึ่งมุสลิมทั้งหมดมีความเชื่อร่วมกันในหลัก เตาฮีด นะบูวัต และมะอาด ส่วนในเรื่องอัดลฺ และอิมามะฮฺ นั้นเฉพาะเจาะจงสำหรับมัซฮับชีอะฮฺ 12 อิมามเท่านั้น ส่วนมัซฮับอื่นๆ ของอิสลาม (ยกเว้นมุอฺตะซิละฮฺเพราะมีความเชื่อในความยุติธรรมของพระเจ้าเหมือนชีอะฮฺ) จะมีความแตกต่างกัน

อัดลฺ หรือความยุติธรรมแม้ว่าจะเป็นหนึ่งในซิฟัตของอัลลอฮฺ แต่ในนิยามของหลักศรัทธาคำว่า เตาฮีด นั้นครอบคลุมเรื่อง อัดลฺ และซิฟัตอื่นๆ ของอัลลอฮฺด้วย แต่เนื่องจาก อัดลฺ เป็นประเด็นที่มีความสำคัญยิ่ง และเป็นสาเหตุของการแยกตัวออกระหว่างสำนักคิด อะชาอิเราะฮฺ กับอัดดะลียฺ (ชีอะฮฺอิมามียะฮฺและมุอฺตะซิละฮฺ ซึ่งทั้งสองเชื่อในเรื่องความยุติธรรมของพระเจ้า) ซึ่งมีผลสะท้อนอย่างมากมาย และได้แยกเอา อัดลฺ มาอธิบายต่างหาก พร้อมกับถือว่า อัดลฺ เป็นหนึ่งในหลักอุซูล, ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วมัซฮับหลักเรื่องเทววิทยาในโลกอิสลาม แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มด้วยกันประกอบด้วย อะชาอิเราะฮฺ มุอฺตะซิละฮฺ และชีอะฮฺ ซึ่งมุอฺตะซิละฮฺ และชีอะฮฺนั้นมีความเชื่อเรื่องความยุติธรรมของพระเจ้า ด้วยเหตุนี้จึงเรียกว่า อัดลียะฮฺ[1]

ความหมายของอัดลฺ :

การเชื่อเรื่อง อัดลฺ เป็นสาขาหนึ่งของหลักความเชื่อเรื่อง ฮุสนฺและกุบฮฺอักลียะฮฺ (ความดีและชั่วทางภูมิปัญญา)[2] ฝ่ายอัดลียะฮฺเชื่อว่า การกระทำทั้งหมดทั้งที่เป็นตักวีนียะฮฺ และตัชรีอียะฮฺ ล้วนเกี่ยวข้องกับอัลลอฮฺ ซึ่งอธิบายให้เห็นความดีและความชั่ว สติปัญญาของมนุษย์ในระดับหนึ่งสามารถจำแนกการกระทำที่ดีและชั่วได้ หมายถึงอัลลอฮฺ (ซบ.) จะไม่ทรงกระทำสิ่งที่ไม่ดี สิ่งนี้มิได้หมายความว่า (ขอให้ห่างไกล) เป็นการสั่งให้พระองค์กระทำ หรือสั่งห้ามหรือสั่งใช้กับพระองค์ ทว่าหมายถึง การงานที่ไม่ดีเป็นไปไม่ได้ที่จะออกมาจากพระองค์ แน่นอน ทัศนะของมุอฺตะซิละฮฺในประเด็นนี้ มีจุดอ่อนอยู่บ้าง ซึ่งจะวิเคราะห์ในที่ของมัน »ส่วนความเชื่อของชีอะฮฺ ซึ่งได้เจริญรอยตามบรรดามะอฺซูม«[3] อธิบายว่า อัดลฺ เป็นหนึ่งในซิฟัตที่มีอยู่จริงในอัลลอฮฺ และมีความสัมบูรณ์[4] หมายถึงอัลลอฮฺจะไม่อยุติธรรมเด็ดขาด และพระองค์จะไม่กระทำสิ่งไม่ดีที่ขัดแย้งกับสติปัญญาสมบูรณ์อย่างแน่นอน[5] ฝ่ายอัดลียะฮฺได้พิสูจน์ให้เห็นว่า กฎของความดีความชั่วเป็นเหตุผลทางสติปัญญา และพิสูจน์ให้เห็นบทสรุปที่ว่ากฎข้อนี้ก็เหมือนกับกฎข้ออื่นในทางเทววิทยา เช่น กฎลุฏฟฺ หรือกฎวาญิบต้องขอบคุณผู้ประทานความโปรดปราน ปัญหาเรื่องการบีบบังคับ และการเลือกสรร[6]

อะชาอิเราะฮฺ, ประวัติความเชื่อ :

อะชาอิเราะฮฺ ได้กล่าวเรียกกลุ่มชนที่ปฏิบัติตามแนวคิดของ “อบุลฮะซัน อัชอะรี” ซึ่งเป็นชาวเมืองบะซะเราะฮฺ เขาเป็นศิษย์เอกที่มีความอัจฉริยะ ของอบูอะลี ญะบาอียฺ (เชคมุอฺตะซิละฮฺ)  แต่ต่อมาเขาได้แยกตัวออกไปจากอาจารย์ของตน และสถาปนาสำนักคิดด้านเทววิทยาขึ้นใหม่ สาเหตุสำคัญที่สุดที่ทำให้เขาต้องแยกตัวไปจาก สำนักคิดมุอฺตะซิละฮฺคือ การวิภาษเรื่องความยุติธรรมของอัลลอฮฺ และอัลกุรอานเป็นสิ่งถูกสร้าง การแยกตัวของเขาเกิดขึ้นราวปี ฮ.ศ. ที่ 300[7]

แนวทางของพวกอัชอะรี ที่ใช้วิภาษกับพวกมุอฺตะซิละฮฺ ได้ใช้เหตุผลและหลักวิพากวิทยา เป็นแนวทางที่สนับสนุน ฝ่ายอะฮฺซุนนะฮฺ เป็นอย่างดี

ประเทศมุสลิมส่วนใหญ่ ที่นับถือมัซฮับอะฮฺลิซซุนนะฮฺวะญะมาอะฮฺ ส่วนมากจะเป็นอัชอะรียฺทั้งสิ้น[8]

การเติบโตของสำนักคิดวิพากวิทยาฝ่ายอัชอะรียฺ ที่มีเหนือสำนักคิดอื่นของซุนนีด้วยกันนั้น แน่นอนว่าหลีกหนีไม่พ้นเรื่องการเมือง ซึ่งต้องยอมรับว่าการเมืองในสมัยนั้นจะเข้าข้างและสนับสนุนฝ่ายอัชอะรียฺเสียเป็นส่วนใหญ่ แรงกดดันจากฝ่ายปกครองซึ่งตรงกับยุคของอับบาซซี ที่มีต่อฝ่ายมุอฺตะซิละฮฺ และฝ่ายเหตุผลนิยมได้เริ่มต้นตั้งแต่สมัย มุตะวักกิล จนถึงสมัยของมุกตะดิร ซึ่งอยู่ระหว่างปี ฮ.ศ. 295-320 และได้กดดันอย่างต่อเนื่องเรื่อยไป ซึ่งในช่วงระยะเวลานั้น (295-320) เป็นช่วงที่ อบุลฮะซัน อัชอะรียฺ ได้กลับใจออกจากสำนักคิด มุอฺตะซิละฮฺ และเข้าสู่แนวคิดฝ่ายฮะดีซ ซึ่งเป็นหลักความเชื่อที่เคาะลิฟะฮฺอับบาซซียฺ ยอมรับ และหลังจากนั้นไม่นานเขาได้กลายเป็นซุลต่านปกครองเมือง ซัลญูกียฺ[9]

หลักความเชื่อของอะชาอิเราะฮฺ :

อบุลฮะซัน อัชอะรียฺ ได้แบ่งหลักวิพากวิทยาของตนออกเป็น 4 รุกุ่นด้วยกัน ซึ่งแต่ละรุกุ่นนั้นได้แบ่งออกเป็น 10 รุกุ่น ซึ่งจะชี้ให้เห็นบางรุกุ่นของเขา ซึ่งเกี่ยวข้องกับคำอธิบายของเรา[10]

อัลลอฮฺคือ ผู้ทรงสร้างการงานของปวงบ่าว

อัลลอฮฺ สามารถมอบหมายหน้าเกินกำลังสามารถแก่ปวงบ่าวได้ (หมายถึงสามารถกระทำการงาน ที่ในแง่ของสติปัญญาถือว่าไม่ดี ทรงทำได้)

อัลลอฮฺ สามารถลงโทษปวงบ่าวที่ไม่มีความผิดได้

ในกรณีที่ไม่มีอิมามที่คู่ควร เงื่อนไขในการปฏิบัติตาม จำเป็นต้องทำตามอะฮฺกามของซุลต่าน

ผู้กระทำความผิดใหญ่ ถ้าหากไม่ได้ขออภัยโทษและได้จากโลกไป การตัดสินของเขาอยู่ ณ อัลลอฮฺ หรืออัลลอฮฺ อาจยกโทษให้เขาด้วยความเมตตาของพระองค์ หรืออาจได้รับชะฟาอัตจากบรรดาศาสดา

ในทำนองเดียวกันเขากล่าวว่า ในแง่ของสติปัญญาไม่มีสิ่งใดบ่งบอกให้เห็นความดี และความชั่วของสรรพสิ่ง ทว่าสิ่งใดก็ตามถ้า ชัรอฺ ยอมรับว่าดี สิ่งนั้นคือความดี แต่ถ้าสิ่งใดก็ตามที่ชัรอฺ ถือว่าไม่ดี พึงรู้ไว้เถิดว่า สิ่งนั้นไม่ดี หมายถึงอัลลอฮฺ ทรงสามารถนำผู้เชื่อฟังปฏิบัติตาม ลงนรกได้ และให้อยู่ในนั้นตลอดไป หรือให้ผู้ที่กระทำความผิดใหญ่เข้าสวรรค์ได้ ทั้งหมดอยู่ในอำนาจของพระองค์ ซึ่งทั้งหมดเหล่านี้เป็นความจำเป็นของ สิ่งที่เป็นโมฆะ ซึ่งมีผลโดยตรงกับชีวิตของมนุษย์ทั้งที่เป็นปัจเจกบุคคล และสังคมส่วนรวม ทำให้พวกเขาปฏิเสธเรื่อง ความดีและความชั่วในแง่ของสติปัญญา ปฏิเสธเรื่องความยุติธรรมของพระเจ้า ซึ่งสิ่งนี้กลายเป็นสาเหตุสำคัญให้นักปราชญ์ฝ่าย อัดลียะฮฺ ยึดถือเอา อัดลฺ ซึ่งเป็นหนึ่งในซิฟัตของอัลลอฮฺ เป็นหนึ่งในหลักความเชื่อของตน

อย่างไรก็ตามมีคำกล่าวว่า อะชาอิเราะฮฺ มิได้ปฏิเสธความยุติธรรมของพระเจ้า แต่ความยุติธรรมในหลักการของเขา หมายถึงสิ่งที่อัลลอฮฺทรงกระทำ สติปัญญาไม่สามารถจำแนกสิ่งนั้นได้

หัวข้อเกี่ยวข้อง :

หัวข้อ : ความเข้าใจเกี่ยวกับความยุติธรรมในอุซูลลุดดีย, คำถามที่ 147 (ไซต์ : 2950)

 


[1] ออมูเซซ อะกออิด, อายะตุลลอฮฺ มิซบาฮฺ ยัซดี, หน้า 161

[2] มิลัลวะเนะฮัล,อายะตุลลอฮฺ ซุบฮานี,เล่ม 2, หน้า 332.

[3] ออมูเซซ อะกออิดฐ หน้า 162.

[4] ตัรญุมมะฮฺ บิดายะตุลมะอาริฟ เล่ม 1, หน้า 112.

[5] อัซลุชชีอะฮฺ วะอุซูลลุฮา, เชคมุฮัมมัด ฮุซัยนฺ อาลิ กาชิฟุล ฆิฏออฺ, หน้า 74.

[6] อ้างแล้ว, หน้า 75.

[7] ฟังฮังฟิร็อกอิสลาม, มุฮัมมัดญะวาด มัชเกวะรี, หน้า 54.

[8] อ้างแล้ว, หน้า 56.

[9] อ้างแล้ว, หน้า 56, มิลัลวะเนะฮัล,อายะตุลลอฮฺ ซุบฮานี,เล่ม 2, หน้า 31

[10] ฟังฮังฟิร็อกอิสลาม, หน้า 56, 57, 58.

 

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • วันเวลาที่แน่ชัดของการเป็นชะฮาดัตของท่านหญิงฟาติมะฮ์ ซะฮ์รอ (ซ.) คืออะไร?
    6787 تاريخ بزرگان 2555/04/21
    ในตำราประวัติศาสตร์มีทัศนะหลายเกี่ยวกับวันคล้ายวันชะฮาดัตของท่านหญิงฟาติมะฮ์ (ซ.) นักประวัติศาสตร์บางคนเชื่อว่านางสเยชีวิตหลังจากการจากไปของท่านศาสดา (ซ.ล.) 40 วัน บ้างก็เชื่อว่า 6 เดือน และอีกกลุ่มก็เชื่อว่า 8 เดือน ส่วนฮะดีษที่รายงานจากบรรดาอะอิมมะฮ์ระบุไว้สองทัศนะ โดยอุลามาอ์ชีอะฮ์ส่วนใหญ่เชื่อว่าฮะดีษที่ระบุว่าเธอเสียชีวิต 95 วันหลังจากการจากไปของท่านศาสดา (ซ.ล.) เป็นรายงานที่น่าเชื่อถือมากกว่า ...
  • ความสำคัญและความพิเศษ และคำวิจารณ์หนังสือบิฮารุลอันวาร?
    7039 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2554/12/21
    กลุ่มฮะดีซจากหนังสือบิฮารุลอันวาร,ถือได้ว่าเป็นผลงานที่สำคัญที่สุดของอัลลามะฮฺมัจญิลิซซียฺ, หรืออาจกล่าวได้ว่าหนังสือเล่มนี้เป็นดาอิเราะตุลมะอาริฟฉบับใหญ่ของชีอะฮฺซึ่งได้รวบรวมเอาปัญหาศาสนาเกือบทั้งหมด,เช่นตัฟซีรกุรอาน, ประวัติศาสตร์, ฟิกฮฺ, เทววิทยา, และปัญหาอื่นๆอีกบางส่วนที่สำคัญที่สุดและเป็นความพิเศษของหนังสือบิฮารุลอันวารคือ:เริ่มต้นบทใหม่ทุกบทจะกล่าวถึงโองการอัลกุรอาน
  • ฟิรอูนถูกลงโทษต่อพฤติกรรมที่เป็นบททดสอบของอัลลอฮ์ได้อย่างไร?
    9954 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/04/02
    หนึ่งในจารีตของพระองค์ที่ไม่เปลี่ยนแปลงก็คือ “การทดสอบปวงบ่าว” ซึ่งกระทำผ่านเหตุการณ์และปัจจัยต่างๆ บางครั้งพระองค์ใช้ผู้กดขี่เป็นบททดสอบทั้งๆที่ตัวผู้กดขี่เองไม่ทราบว่าตนเองเป็นบททดสอบ กรณีเช่นนี้จึงหาได้ลดทอนความน่ารังเกียจของพฤติกรรมของพวกเขาไม่ และไม่ทำให้สมควรได้รับการลดหย่อนโทษแต่อย่างใด ทั้งนี้ก็เนื่องจากว่าพระองค์ไม่ได้สั่งให้เขาเป็นบททดสอบสำหรับผู้อื่น ทว่าพระองค์ทรงตระเตรียมการในลักษณะที่ว่า เมื่อใดก็ตามที่ผู้กดขี่แสดงพฤติกรรมกดขี่ด้วยการตัดสินใจของตนเอง การกดขี่ดังกล่าว (ซึ่งขัดต่อคำสอนของพระองค์) ก็จะกลายเป็นบททดสอบสำหรับผู้อื่น และเนื่องจากการกดขี่ดังกล่าวเกิดขึ้นโดยเจตนาของผู้กดขี่เอง จึงสมควรได้รับบทลงโทษ ...
  • บาปใหญ่จะได้รับการอภัยหรือไม่?
    16696 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/21
    บาปใหญ่คือบาปประเภทที่กุรอานหรือบทฮะดีษแจ้งว่าจะต้องถูกสำเร็จโทษ(แต่ก็ยังมีสิ่งชี้วัดอื่นๆที่บ่งบอกถึงบาปใหญ่) ทั้งนี้การฝืนกระทำบาปเล็กซ้ำหลายครั้งก็ทำให้บาปเล็กกลายเป็นบาปใหญ่ได้เช่นกันอย่างไรก็ดีอัลลอฮ์ได้ทรงให้สัญญาในกุรอานว่าจะทรงอภัยโทษบาปทุกประเภทโดยมีเงื่อนไขว่าจะต้องเตาบะฮ์อย่างถูกต้องเสียก่อนเตาบะฮ์ในกรณีสิทธิของอัลลอฮ์หมายถึงการชดเชยอะมั้ลอิบาดะฮ์ที่เคยงดเว้นประกอบกับการกล่าวอิสติฆฟารอย่างบริสุทธิใจส่วนเตาบะฮ์ในกรณีสิทธิของมนุษย์หมายถึงการกล่าวอิสติฆฟารคืนสิทธิแก่ผู้เสียหายและขอให้คู่กรณียกโทษให้ ...
  • จุดประสงค์ของท่านอิมามอะลี (อ.) จากการที่อัลลอฮฺทรงนิ่งเงียบต่อบางบทบัญญัติ? เพราะเหตุใดจึงตรัสว่าเพื่อการได้รับสิ่งนั้นไม่ต้องทำตนให้ลำบากดอก?
    6726 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/04/07
    ท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวในคำพูดของท่านว่า อัลลอฮฺ (ซบ.) มิทรงอธิบายแก่แท้ของทุกสิ่งเกี่ยวบทบัญญัติและวิชาการ, ทว่ายังมีอีกหลายสิ่งที่พระองค์มิทรงกำหนดให้เป็นหน้าที่แก่มนุษย์ พระองค์ทรงนิ่งเงียบกับสิ่งเหล่านั้น, เช่น หน้าที่ในการรับรู้วิชาการบางอย่างโดยละเอียด ซึ่งไม่มีผลต่อปรโลกแต่อย่างใด, แต่พระองค์ก็มิได้เฉยเมยเนื่องจากการหลงลืมแต่อย่างใด, เนื่องจากอัลลอฮฺทรงห่างไกลจากการหลงลืมทั้งปวง, ทว่าเนื่องจากสิ่งนั้นไม่มีมรรคผลอันใดแก่ปรโลกของมนุษย์ และด้วยเหตุผลที่ว่าการหมกมุ่นอยู่กับสิ่งเหล่านั้น เป็นสาเหตุทำให้มนุษย์ต้องละทิ้งความรู้อันก่อเกิดประโยชน์อย่างยิ่ง บางทีจุดประสงค์จาก การนิ่งเฉย เกี่ยวกับบางอย่าง, อาจเป็นเรื่องมุบาฮฺก็ได้ เช่น ความรู้เรื่องดาราศาสตร์, การคำนวณ, เรขาคณิต, บทกวี, หัตถกรรมโดยประณีต และ... การละเลยสิ่งเหล่านี้เนื่องจากไม่ให้ความสำคัญ และเป็นการไม่ใส่ใจของตัวท่านเอง แน่นอน มีวิชาการที่ค่อนข้างยากเช่น เรื่องเทววิทยา ปรัชญา หรือปรัชญาของบทบัญญัติ การจมดิ่งอยู่กับสิ่งเหล่านี้ – สำหรับบุคคลทั่วไปที่มิใช่นักวิชาการ หรือไม่มีความฉลาดเพียงพอ- นอกจากจะไม่ก่อให้เกิดผลลัพธ์อันเป็นประโยชน์แล้ว ยังอาจเป็นสาเหตุก่อให้เกิดเบี่ยงเบนทางความเชื่อได้อีกต่างหาก ...
  • จุดประสงค์ของประโยคที่อัลกุรอาน กล่าว่า “สตรีคือไร่นาของบุรุษ” หมายถึงอะไร?
    10159 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/09/08
    ความหมายของประโยคดังกล่าวที่ว่า “สตรีคือไร่นาของบุรุษ” หมายถึงเป็นการอุปมาสตรีเมื่อสัมพันธ์ไปยังสังคมมนุษย์ ประหนึ่งไร่นาของสังคมมนุษย์นั่นเอง ดั่งประที่ประจักษ์ว่าถ้าหากสังคมปราศจากซึ่งไร่นาแล้วไซร้ พืชพันธ์ธัญญาหาร ต่างๆ ก็จะไม่มีและสูญเสียจนหมดสิ้น สังคมจะปราศจากซึ่งอาหาร สำหรับการดำรงชีพ เวลานั้นพงศ์พันธ์ของมนุษย์ก็จะไม่มีหลงเหลือสืบต่อไปอีกเช่นกัน ดังนั้น ถ้าหากโลกนี้ไม่มีสตรี เผ่าพันธุ์มนุษย์ก็ไม่อาจสืบสานสายตระกูลต่อไปอีกได้ เชื้อสายมนุษย์จะสิ้นสุดลงในที่สุด[1] ตามความเป็นจริงแล้ว อัลกุรอาน ต้องการที่จะแสดงให้สังคมได้เห็นว่า การมีอยู่ของสตรีนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อสังคม อย่าเข้าใจผิดว่าสตรีคือที่ระบายความใคร่ หรือกามรมย์ของบุรุษแต่เพียงอย่างเดียว ดังที่บางสังคมเข้าใจเช่นนั้น พวกเขาจึงใช้สตรีไปในวิถีทางที่ผิด ฉะนั้น อัลกุรอานต้องการแสดงให้เห็นว่า ความน่ารักของสตรีมิใช่ที่ระบายตัณหาราคะของผู้ชาย ทว่าพวกนางคือสื่อสำหรับปกป้องเผ่าพันธุ์มนุษย์ให้ดำรงสืบต่อไป[2] ดังนั้น โองการข้างต้นคือตัวอธิบายให้เห็นถึงความสัมพันธ์อันลึกซึ้งระหว่างบุรุษและสตรี ดั่งเช่นที่ไร่นาสาโทถ้าปราศจากเมล็ดพันธ์พืช จะไม่มีประโยชน์อันใดอีกต่อไป ในทำนองเดียวกันเมล็ดพันธ์ ถ้าปราศจากไร่นาก็ไม่มีประโยชน์เช่นกัน มีคำพูดกล่าวว่า จากโองการข้างต้นเข้าใจความหมายได้ว่า หน้าที่ของบุรุษคือ ต้องใส่ใจและดูแลภรรยาของตนอย่างดี เพื่อการได้รับประโยชน์ และขณะเดียวกันก็เป็นการสร้างประโยชน์ให้เกิดแก่สังคม
  • สามารถจะติดต่อกับอิมามมะฮ์ดี(อ.)ได้หรือไม่?
    6463 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/07/19
    โดยทั่วไป สัมพันธภาพจะไม่เกิดขึ้นระหว่างคนแปลกหน้าสองคนที่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อน นอกจากจะมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งรู้จักและมีไมตรีจิตต่อฝ่ายตรงข้าม จึงจะค่อยๆสานเป็นความสัมพันธ์อันดีต่อกันในอนาคตกรณีของท่านอิมามมะฮ์ดีก็เช่นกัน ท่านรู้จักเราและมีไมตรีจิตต่อเราอย่างอบอุ่น  แต่เราซึ่งเป็นอีกด้านหนึ่งของสายสัมพันธ์ หากได้รู้จักฐานะภาพของท่านอย่างแท้จริง ก็จะทำให้สามารถสานสัมพันธ์และติดต่อกับท่านได้ ดังที่อุละมาอ์ระดับสูงหรือผู้ที่สำรวมตนขัดเกลาจิตใจบางท่านสามารถติดต่อกับท่านอิมาม(อ.)ได้ในอดีตกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ การสานสัมพันธ์กับท่านอิมามมะฮ์ดี(อ.)นั้น แบ่งออกเป็นสองประเภท 1.เชื่อมสัมพันธ์ทางจิตใจ 2.เชื่อมสัมพันธ์ในระดับการเข้าพบ อย่างไรก็ดี แม้ว่าความสัมพันธ์ทั้งสองประเภทนี้จะมิไช่เรื่องที่ไกลเกินเอื้อม แต่หากต้องการจะมีความสัมพันธ์ในระดับเข้าพบ ก็จะต้องมีคุณสมบัติพิเศษ กล่าวคือ จะต้องมีสัมพันธภาพทางจิตใจพร้อมกับจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขต่างๆที่จำเป็นด้วย จึงจะถือเป็นการตระเตรียมโอกาสที่จะได้เข้าพบท่าน(อ.) ...
  • จะมีวิธีการอะไรสามารถพิสูจน์ได้ว่าอัล-กุรอาน ถูกประทานลงมาจากพระเจ้า
    9083 วิทยาการกุรอาน 2553/10/11
    คำถามนี้ไม่มีคำตอบแบบสั้น โปรดเลือกปุ่มคำตอบที่สมบูรณ์ ...
  • ทำอย่างไรจึงจะลดความรีบร้อน?
    7502 จริยธรรมทฤษฎี 2555/05/23
    ความรีบร้อนลนลานถือเป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงในทัศนะของศาสนา ซึ่งในที่นี้ก็หมายถึงการรีบกระทำสิ่งใดโดยพละการนั่นเอง การรีบร้อนแตกต่างจากการรีบเร่งทั่วไป เพราะการรีบเร่งหมายถึงการรีบกระทำการใดทันทีที่ทุกอย่างพร้อม สิ่งที่ตรงข้ามกับการรีบร้อนก็คือ “ตะอันนี” และ “ตะษับบุต”อันหมายถึงการตรึกตรองอย่างรอบคอบก่อนลงมือกระทำการใดๆ เมื่อพิจารณาถึงข้อเสียของการรีบร้อน และข้อดีของการตรึกตรองอันเป็นคุณลักษณะของกัลยาณชนเฉกเช่นบรรดาศาสดา ทำให้ได้ข้อสรุปว่าก่อนกระทำการใดควรตรึกตรองอย่างมีสติเสมอ และหากหมั่นฝึกฝนระยะเวลาหนึ่ง แม้จะเป็นเรื่องยากก็ตาม แต่สุดท้ายก็จะติดเป็นนิสัย อันจะลบเลือนนิสัยรีบร้อนที่มีอยู่เดิม และจะสร้างเสริมให้เป็นผู้ที่มีความสุขุม ...
  • ขณะวุฎูอฺ แต่ไม่ได้อยู่ในสภาพที่จำเป็น, โดยมีบุคคลอื่นราดน้ำลงบนมือและแขนให้เรา ถือว่ามีปัญหาทางชัรอียฺหรือไม่?
    5937 สิทธิและกฎหมาย 2555/05/17
    วุฎูอฺ มีเงื่อนไขเฉพาะตัว ดังนั้น การไม่ใส่ใจต่อเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่ง เป็นสาเหตุให้วุฎูอฺบาฏิล หนึ่งในเงื่อนไขของวุฎูอฺคือ การล้างหน้า มือทั้งสองข้าง การเช็ดศีรษะ และหลังเท้าทั้งสองข้าง ผู้วุฎูอฺ ต้องทำด้วยตัวเอง ถ้าหากมีบุคคลอื่น วุฎูอฺ ให้แก่เขา, หรือช่วยเขาราดน้ำที่ใบหน้า มือทั้งสองข้างแก่เขา หรือช่วยเช็ดศีรษะและหลังเท้าทั้งสองแก่เขา วุฎูอฺ บาฏิล[1] มีคำกล่าวว่า บรรดานักปราชญ์แสดงความเห็นเกี่ยวกับเงื่อนไขนี้ ต่างกัน : 1.บางท่านแสดงทัศนะว่า : บุคคลต้อง วุฏูอฺ ด้วยตัวเอง ถ้าหากมีบุคคลอื่นช่วยเขาวุฎูอฺ ในลักษณะที่ว่าถ้าคนอื่นเห็นจะไม่พูดว่า บุคคลดังกล่าวกำลังวุฎูอฺ ถือว่าวุฏูอฺ บาฏิล

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59396 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56845 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41676 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38432 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38423 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33455 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27543 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27241 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27139 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25214 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...