การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
12520
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/12/21
 
รหัสในเว็บไซต์ fa14350 รหัสสำเนา 19932
คำถามอย่างย่อ
การรักษาอาการพูดมาก มีแนวทางใดบ้าง?
คำถาม
การรักษาอาการพูดมาก มีแนวทางใดบ้าง? เพื่อว่าจะได้สามารถปกปิดความลับของตนเองและผู้อื่นได้
คำตอบโดยสังเขป

ลิ้นนอกจากจะเป็นความโปรดปรานอันยิ่งใหญ่ของอัลลอฮฺแล้ว ยังเป็นสื่อในการพัฒนาการและเป็นเครื่องมือติดต่อกับคนอื่นอีกด้วย, ขณะเดียวกันลิ้นก็ยังมีความเสียหายรวมอยู่ด้วยอย่างมากมาย และยังสามารถเป็นแหล่งเพาะพันธ์ความผิดบาปต่างๆ ได้อีกเป็นจำนวนมหาศาลอีกด้วย, สำหรับการควบคุมลิ้นและการใช้ประโยชน์ในที่จำเป็นและมีความสำคัญนั้น ในตอนเช้าหลังจากตื่นนอนทุกเช้า จงเตือนตัวเองว่า โปรดระวังรักษาลิ้นของตนให้ดี

ท่านอิมามอะลี (.) กล่าวว่า : คำพูดนั้นอยู่ในอำนาจของเธอตราบเท่าที่เธอยังไม่ได้พูดออกมา, แต่เมื่อใดก็ตามเธอได้พูดออกมา เธอก็จะกลายเป็นทาสของคำพูดทันที, บัดนี้จงระวังรักษาคำพูดของเธอให้ดีเหมือนดังทองคำและเงิน, กี่มากน้อยเท่าใดแล้วที่คำพูดได้กลายเป็นสิ่งขจัดความโปรดปรานให้พ้นไปจากมนุษย์, ดังนั้น สิ่งใดที่เธอไม่รู้ไม่เข้าใจก็จงหลีกเลี่ยงที่จะพูดถึงมันเถิด, อัลลอฮฺ ทรงกำหนดบางสิ่งให้เป็นวาญิบสำหรับอวัยวะบนร่างกาย ซึ่งในวันฟื้นคืนชีพพระองค์จะสอบสวนถามไถ่จากมัน, และในวันนั้นบุคคลใดที่มีลิ้นเป็นนาย เขาจะอับอายและอัปยศเป็นที่สุด, บุคคลใดก็ตามที่พูดมากความผิดพลาดของเขาก็ย่อมมีมาก, และบุคคลใดที่มีอุปนิสัยเยี่ยงนี้ ความละอายจะลดน้อยไปจากเขา, บุคคลใดที่ความละอายลดน้อยไปจากเขา, ความสำรวมตนจากบาปหรือสิ่งอันตรายก็จะลดน้อยตามไปด้วย,จิตใจของเขาจะตายด้าน และบุคคลใดที่มีจิตใจตายด้าน เขาก็จะถูกนำไปสู่นรก

คำตอบเชิงรายละเอียด

ลิ้น , คือผู้แปลภาษาใจ , ตัวแทนของความคิด , กุญแจแห่งบุคลิกภาพ   และระดับสำคัญสูงสุดของจิตวิญญาณ , สิ่งที่ปรากฏออกมาจากลิ้นหรือบนคำพูดของมนุษย์ , คือภาพลักษณ์อันแท้จริงที่ปรากฏบนจิตวิญญาณและมีบทบาทสำคัญยิ่ง , ลิ้นนอกจากจะเป็นความโปรดปรานอันยิ่งใหญ่ของอัลลอฮฺแล้ว   ยังเป็นสื่อในการพัฒนาการและเป็นเครื่องมือติดต่อกับคนอื่นอีกด้วย , ขณะเดียวกันลิ้นก็ยังมีความเสียหายรวมอยู่ด้วยอย่างมากมาย   และยังสามารถเป็นแหล่งเพาะพันธ์ความผิดบาปต่างๆ   ได้อีกเป็นจำนวนมหาศาลอีกด้วย , ด้วยเหตุนี้เอง   สำหรับการควบคุมลิ้นและการใช้ประโยชน์ในที่จำเป็นและมีความสำคัญนั้น   ขอนำเสนอ 2 วิธีดังต่อไปนี้   :

) การเยี่ยวยาด้วยการปฏิบัติ   :

เมื่อพิจารณาถึงอันตรายต่างๆ   จากลิ้นและการระมัดระวังลิ้น   จึงได้บทสรุปว่าแนวทางที่ดีที่สุดสำหรับการเยียวยา   การพูดมาก , มนุษย์ต้องใช้ประโยชน์จากลิ้นในการพูดสนทนา   ในสถานที่ต่างๆ   ที่สำคัญและมีประโยชน์   ขณะเดียวกันอันตรายมากมายก็เกิดจากลิ้นเช่นเดียวกัน , ดังนั้น   ทุกๆ   เช้าหลังจากตื่นนอน , จำเป็นต้องแนะนำตักเตือนตนเองเสมอว่า   จงระวังลิ้นของเราให้ดี , เนื่องจากอวัยวะส่วนนี้สามารถทำให้บุคคลนั้นมีความจำเริญ   หรือสูงส่งเทียมฟ้าก็ได้   หรือทำให้เขาไร้ค่าและตกต่ำเพียงดินก็ได้เช่นกัน , ท่านอิมามซัจญาด ( .) กล่าวว่า   : ทุกเช้า , ต้องทำให้ลิ้นสำรวมตนอยู่ภายใต้การควบคุมของอวัยวะทุกส่วนบนร่างกาย , มีคนถามว่า   : จะให้ทำอย่างไรหรือ ? และจะต้องตืนนอนตอนเช้าอย่างไร ? ท่านอิมาม ( .) ตอบว่า   : ตื่นด้วยความดีงามด้วยเงื่อนไขที่ว่า   ] เจ้าจงถอนมือไปจากเราและปล่อยเราให้เป็นตัวของตัวเองเถิด [ , ขอสาบานสิ่งนั้นด้วยพระนามของอัลลอฮฺว่า   ] เราจะไม่พูดจาไร้สาระ   เราจะไม่ทำให้ลิ้นต้องลำบาก [ หลังจากนั้นท่านอิมาม ( .) กล่าวว่า   ] ไม่ต้องสงสัยเลยว่า [ เนื่องจากเจ้านั่นเองที่ทำให้เราได้รับผลบุญ   และเนื่องจากเจ้านั่นเองที่เราได้รับการลงทัณฑ์ [1]

ดังนั้น   มนุษย์มีหน้าที่ระวังรักษาลิ้นและคำพูดของตนไว้ให้ดี , เนื่องจากทุกๆ   คำพูดที่ได้ออกมาจากปากของเขา   มันจะถูกบันทึกไว้ในบัญชีการกระทำ   อัลกุรอาน   กล่าวว่า   : ไม่มีคำพูดคำใดที่เขากล่าวออกมา   เว้นแต่ใกล้     เขานั้นมี ( มะลัก ) ผู้เฝ้าติดตาม   ผู้เตรียมพร้อม ( ที่จะบันทึก )” [2]

รายงานฮะดีซจากท่านอิมามอะลี ( .) :

1. ท่านอิมามอะลี ( .) ได้เดินผ่านไปใกล้ๆ   ชายคนหนึ่ง   เขาเป็นคนพูดมาก , ท่านอิมามได้หยุดใกล้ๆ   เขา   แล้วกล่าวว่า   : โอ้   เจ้าหนุ่มน้อยเอ๋ย   เธอได้ให้มะลักที่ประทับอยู่บนตัวเธอ   คอยบันทึกคำพูดจนบัญชีการงานเต็มไปหมดแล้ว , เธอจงพูดเฉพาะสิ่งที่เป็นประโยชน์กับเธอเถิด   และจงออกห่างจากคำพูดไร้สาระและอันตราย [3]

2. คำพูดนั้นอยู่ในอำนาจของเธอตราบเท่าที่เธอยังไม่ได้พูดออกมา , แต่เมื่อใดก็ตามเธอได้พูดออกมา   เธอก็จะกลายเป็นทาสของคำพูดทันที , บัดนี้จงระวังรักษาคำพูดของเธอให้ดีเหมือนดังทองคำและเงิน , กี่มากน้อยเท่าใดแล้วที่คำพูดได้กลายเป็นสิ่งขจัดความโปรดปรานให้พ้นไปจากมนุษย์ , ดังนั้น   สิ่งใดที่เธอไม่รู้ไม่เข้าใจก็จงหลีกเลี่ยงที่จะพูดถึงมันเถิด , อัลลอฮฺ   ทรงกำหนดบางสิ่งให้เป็นวาญิบสำหรับอวัยวะบนร่างกาย   ซึ่งในวันฟื้นคืนชีพพระองค์จะสอบสวนถามไถ่จากมัน , และในวันนั้นบุคคลใดที่มีลิ้นเป็นนาย   เขาจะอับอายและอัปยศเป็นที่สุด , บุคคลใดก็ตามที่พูดมากความผิดพลาดของเขาก็ย่อมมีมาก , และบุคคลใดที่มีอุปนิสัยเยี่ยงนี้   ความละอายจะลดน้อยไปจากเขา , บุคคลใดที่ความละอายลดน้อยไปจากเขา , ความสำรวมตนจากบาปหรือสิ่งอันตรายก็จะลดน้อยตามไปด้วย , จิตใจของเขาจะตายด้าน   และบุคคลใดที่มีจิตใจตายด้าน   เขาก็จะถูกนำไปสู่นรก [4]

3.  » เมื่อสติปัญญาสมบูรณ์แล้ว , คำพูดก็จะน้อยลง [5] «

ด้วยเหตุนี้เอง , ในมุมมองของโองการอัลกุรอาน   และรายงานฮะดีซ , แนะนำว่าแนวทางที่ดีที่สุดสำหรับการหลีกเลี่ยงการพูดจาไร้สาระอันตรายคือ   หลีกเลี่ยงการพูดมาก , ละเว้นการพูดจาไร้สาระไม่มีประโยชน์ , เนื่องจากถ้าเรารู้ว่าคำพูดก็คือส่วนหนึ่งของการกระทำ   และเราต้องรับผิดชอบ , ดังนั้น   จงหลีกเลี่ยงการพูดมากเสียเถิด   เพราะโดยปกติการพูดมากจะนำไปสู่   การโกหก , นินทาว่าร้าย , เสียเวลา , กลั่นบุคคลอื่น , ทำให้จิตใจแข็งกระด้าง , และอื่นๆ   อีกมากมาย

บางทีอาจกล่าวได้ว่ารากที่มาทางจิตวิทยาของการพูดมาก   อาจเกิดจากการที่ว่าเรามนุษย์นั้นชอบที่จะเรียกร้องความสนใจจากคนอื่น   และสำหรับการเรียกร้องความสนใจอันเพียงพอจากคนอื่น   เราก็จะเริ่มกระทำในสิ่งที่เป็นสาเหตุของการเรียกร้องความสนใจ , แต่ต้องไม่ลืมว่า   ถ้าหากเราสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับพระเจ้า   ความคิดของเขาก็จะเปลี่ยนเป็นว่า   เขาจะทำอย่างไรจึงจะสร้างความพึงพอพระทัยจากพระองค์ , และเขาก็จะทุ่มเทความพยายามให้แก่การนั้นเพื่อว่าจะได้เป็น   ที่รักยิ่งของพระองค์ , โดยไม่ต้องใส่ใจหรือต้องแสดงความโอ้อวด   หรือเรียกร้องความสนใจจากผู้อื่นอีกต่อไป   ดังนั้น   การพูดมากหรือการกระทำทุกสิ่งอันไม่พึงปรารถนาไม่อาจเรียกร้องความสนใจจากผู้อื่นได้เสมอไป [6]

) การเยี่ยวยารักษาด้วยการปฏิบัติ :

สามารถใช้วิธีฝึกฝนหรือการบอกกล่าวด้วยการ   สาบถ   บนบาน   หรือการจ่ายค่าปรับ   ในกรณีที่เราได้พูดมาก , แน่นอน   ถ้าสามารถปฏิบัติได้และเป็นความเคยชินที่จะทำให้เราค่อยๆ   ห่างไกลจากพูดมากไร้สาระ   และในที่สุดเราจะได้พบกับอุปนิสัยใหม่อันแน่นอนและถูกต้องแก่ตัวเอง

ประเด็นที่น่าสนใจก็คือ , การห้ามปรามลิ้นมิให้พูดมาก , เป็นงานที่ต้องค่อยๆ   ทำค่อยๆ   ไป   และต้องใช้เวลาอันยาวนานพอสมควรจึงจะเป็นความเคยชิน   บุคคลที่พูดมากและไม่อาจควบคุมลิ้นของตนเองได้   ให้ความเคยชินแก่ลิ้นของตนจนเป็นความเคยชินไปเสียแล้ว , ระยะเวลาเพียงวันเดียวเขาไม่อาจปฏิบัติสิ่งที่ขัดแย้งกับความเคยชินของตนได้สำเร็จอย่างแน่นอน , ทว่าเขาต้องสัญญาและต้องให้เวลากับตัวเอง   และในแต่ละวันนั้นเขาต้องค่อยๆ   ลดคำพูดของตัวเองให้ลดน้อย   จนกระทั่งว่าเป็นความเคยชินและสามารถควบคุมลิ้นของตัวเองได้   สามารถตามความจำเป็นและที่มีความสำคัญ   และใช้ประโยชน์จากลิ้นได้อย่างถูกต้อง

สำหรับการศึกษาเพิ่มเติม   โปรดค้นคว้าได้จาก   :

« แนวทางสำหรับการละทิ้งมารยาททราม », คำถามที่ 2604 ( ไซต์ : 2741)

« การเปรียบเทียบระหว่างการพูดกับการนิ่งเงียบ », คำถามที่ 9135 ( ไซต์ : 9608)

« แนวทางการละทิ้งบาปอันเกิดจากลิ้น », คำถามที่ 13686 ( ไซต์ : 13582)



[1] มัจญฺลิซซียฺ , มุฮัมมัดบากิร , บิฮารุลอันวาร   เล่ม 68, หน้า 302, สถาบันอัลวะฟาอฺ , เบรูต   ปี   . . 1404.

[2] อัลกุรอาน   บทก๊อฟ , 18, «ما یَلْفِظُ مِنْ قَوْلٍ إِلاَّ لَدَیْهِ رَقیبٌ عَتیدٌ»

[3] เชคซะดูก , มันลายะฮฺเฎาะเราะฮุลฟะกีฮฺ , เล่ม 4 หน้า 396, พิมพ์ที่ญามิอะฮฺ   มุดัรริซีน , กุม , พิมพ์ครั้งที่ 2, ปี   . .1404

[4] บิฮารุลอันวาร , เล่ม 68, หน้า 286.

[5] บิฮารุลอันวาร , เล่ม 1, หน้า 159.

[6] เพื่อศึกษาเพิ่มเติม   โปรดดูที่หัวข้อต่างๆ   เช่น   « แนวทางค้นหาความรักจากคนอื่น », คำถามที่ 10915 ( ไซต์ : 11664) และหัวข้อ   «แนวทางเป็นที่รักของอัลลอฮฺ», คำถามที่ 12547, ( ไซต์ : 12587)

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • เหตุใดจึงเรียกอิมามฮุเซนว่าษารุลลอฮ์?
    6916 จริยธรรมทฤษฎี 2554/12/11
    ษารุลลอฮ์ให้ความหมายว่าการชำระหนี้เลือดแต่ก็สามารถแปลว่าเลือดได้เช่นกันตามความหมายแรกอิมามฮุเซนได้รับฉายานามนี้เนื่องจากอัลลอฮ์จะเป็นผู้ทวงหนี้เลือดให้ท่านแต่หากษารุลลอฮ์แปลว่า"โลหิตพระเจ้า" การที่อิมามได้รับฉายานามดังกล่าวเป็นไปตามข้อชี้แจงต่อไปนี้:1. "ษ้าร"เชื่อมกับ"อัลลอฮ์"เพื่อให้ทราบว่าเป็นโลหิตอันสูงส่งเนื่องจากเป็นการเชื่อมคำในเชิงยกย่อง2.มนุษย์ที่บรรลุสู่ความสมบูรณ์ในระดับใกล้ชิดทางภาคบังคับต่างก็เป็นหัตถาพระเจ้าชิวหาพระเจ้าและโลหิตพระเจ้าหมายถึงถ้าหากพระองค์ทรงประสงค์จะทำสิ่งใดมนุษย์ผู้นี้จะเป็นดั่งพระหัตถ์หากทรงประสงค์จะตรัสเขาจะเป็นดั่งชิวหาและหากพระองค์ทรงประสงค์จะพิทักษ์ศาสนาของพระองค์ด้วยโลหิตเขาจะเป็นดั่งโลหิตพระองค์อิมามฮุเซน(อ.)เป็นดั่งโลหิตพระองค์เนื่องจากโลหิตของท่านช่วยชุบชีวิตแก่ศาสนาของพระองค์เราเชื่อว่าความหมายแรกเป็นความหมายที่เหมาะสมกว่าแต่ความหมายที่สองก็เป็นคำธิบายที่น่าสนใจเช่นกันโดยเฉพาะหากเป็นผู้ที่อยู่ในแวดวงจาริกทางจิตอาจทำให้เข้าใจได้ลึกซึ้งกว่า ...
  • หญิงสามารถเรียกร้องค่าจ้าง ในการให้น้ำนมแก่ทารกของตน จากสามีของนางได้หรือไม่?
    5956 สิทธิและกฎหมาย 2555/05/20
    การพิจารณาประเด็นต่อไปนี้ถือว่าจำเป็นกล่าวคือ บทบัญญัติทางศาสนา กับรากแห่งจริยธรรมในอิสลามคือความสมบูรณ์ของกันและกัน ทั้งสองจะไม่แยกออกจากกันเด็ดขาด[1] ด้วยเหตุนี้, แม้ว่าบทบัญญัติในบางกรณีจะกล่าวถึง สิทธิ จากประมวลสิทธิทั้งหลาย ซึ่งเป็นสิ่งตายตัวสำหรับบางคน และผู้ปฏิบัติสามารถใช้ประโยชน์จาก กฎเกณฑ์ของฟิกฮฺได้, แต่โดยหลักการของศาสนา ได้กล่าวถึงสิทธิอีกประการหนึ่งในฐานะของ หลักจริยธรรม ดังนั้น การนำเอาสิทธิทั้งสองประการมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน จะทำให้มีชีวิตมีความสุขราบรื่น เกี่ยวกับปัญหาที่ได้กล่าวข้างต้นนั้น, ต้องกล่าวว่าสิ่งนี้ขึ้นอยู่กับประเภทของวัฒนธรรม และการยึดมั่นต่อบทบัญญัติชัรอียฺ นอกจากนั้นยังขึ้นอยู่กับมาตรฐานความรักและความสัมพันธ์ ระหว่างชายกับหญิง ถ้าหากความสัมพันธ์ของทั้งสองวางอยู่บนคำสอนของศาสนา ความรัก และไมตรีที่มีต่อกัน ประกอบสามีพอมีกำลังทรัพย์, ซึ่งนอกจากค่าเลี้ยงดูและสิ่งจำเป็นทั่วไปแล้ว, เขายังสามารถแบ่งปันและจ่ายเป็นรางวัลค่าน้ำนม ที่ภรรยาได้ให้แก่ลูกของเธอ, แน่นอน ในแง่ของจริยธรรม ถ้าหากสามีไม่มีความสามารถด้านการเงิน, ดีกว่าภรรยาไม่สมควรเรียกรางวัลตอบแทนใดๆ และจงพิจารณาประเด็นเหล่านี้เป็นพิเศษว่า ชีวิตคู่จะมีความสุขราบรื่นก็เมื่อ ทั้งสามีและภรรยาได้ปฏิบัติหน้าที่ทางบทบัญญัติ และหลักจริยธรรมไปพร้อมกัน แต่ถ้าภรรยายืนยันเสียงแข็งว่า ...
  • จะต้องงดเว้นบาปนานเท่าใดจึงจะหลาบจำไม่ทำบาปอีก?
    5630 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/08/09
    เราไม่พบโองการหรือฮะดีษใดเกี่ยวกับเรื่องนี้โดยตรงมีเพียงฮะดีษที่กล่าวว่า “ผู้ใดที่กระทำทุกอย่างด้วยความบริสุทธิใจต่ออัลลอฮ์ถึงสี่สิบวันอัลลอฮ์จะดลบันดาลให้วิทยปัญญาใหลรินจากหัวใจและปลายลิ้นของเขา”อย่างไรก็ดีควรคำนึงถึงสาระสำคัญต่อไปนี้1. ตราบเท่าที่มนุษย์ยังมีชีวิตอยู่ภัยคุกคามจากชัยฏอนก็ยังมีอยู่เสมอจึงไม่ควรจะคิดว่ามีภูมิคุ้มกันที่จะทำให้รอดพ้นการทำบาปได้ตลอดไป2. อย่าปล่อยให้ตนเองสิ้นหวังจากความเมตตาของอัลลอฮ์คนเราแม้จะทำบาปมากเท่าใดแต่ประตูแห่งการเตาบะฮ์ยังเปิดกว้างเสมอจึงต้องมีหวังในพระเมตตาของพระองค์ตลอดเวลา ...
  • เหตุใดจึงห้ามกล่าวอามีนในนมาซ?
    10334 สิทธิและกฎหมาย 2555/04/02
    มีฮะดีษจากอะฮ์ลุลบัยต์ระบุว่าการกล่าวอามีนในนมาซไม่เป็นที่อนุมัติ และจะทำให้นมาซบาฏิล โดยหลักการแล้ว ไม่จำเป็นต้องพิสูจน์ถึงการไม่เป็นที่อนุมัติ ทั้งนี้ก็เพราะการนมาซเป็นอิบาดะฮ์ประเภทหนึ่ง ซึ่งย่อมไม่สามารถจะเพิ่มเติมได้ตามใจชอบ ฉะนั้น หากไม่สามารถจะพิสูจน์การเป็นที่อนุมัติของส่วนใดในนมาซด้วยหลักฐานทางศาสนา ก็ย่อมแสดงว่าพฤติกรรมนั้นๆไม่เป็นที่อนุมัติ เพราะหลักเบื้องต้นในการนมาซก็คือ ไม่สามารถจะเพิ่มเติมใดๆได้ หลักการสงวนท่าที(อิห์ติยาฏ)ก็หนุนให้งดเว้นการเพิ่มเติมเช่นนี้ เนื่องจากเมื่อเอ่ยอามีนออกไป ผู้เอ่ยย่อมไม่แน่ใจว่านมาซจะยังถูกต้องอยู่หรือไม่ ต่างจากกรณีที่มิได้กล่าวอามีน ...
  • จริงหรือไม่ที่กล่าวกันว่าหนังสืออัลกาฟีมีฮะดีษเศาะฮี้ห์เพียงไม่กี่บท?
    7325 ริญาลุลฮะดีซ 2555/01/01
    หลักเกณฑ์การเลือกฮะดีษที่ท่านกุลัยนีระบุไว้นั้นมีไว้เฉพาะกรณีฮะดีษที่ขัดแย้งกันเพราะหลักเกณฑ์พิสูจน์ความเศาะฮี้ห์ของฮะดีษมีมากกว่าสามวิธีที่ท่านระบุไว้อันได้แก่จะต้องสอดคล้องกับกุรอานตรงข้ามกับอามมะฮ์และแนวตัคยี้รส่วนการประพันธ์ตำราหลังยุคท่านกุลัยนีก็มิได้หมายความว่าหนังสืออัลกาฟีไม่น่าเชื่อถือเพราะผู้ประพันธ์ตำราเหล่านั้นก็ล้วนยอมรับความนิยมในหนังสืออัลกาฟี ...
  • ในวันอีดกุรบาน สามารถจะเชือดสัตว์กุรบานที่เขาหักได้หรือไม่?
    7233 สิทธิและกฎหมาย 2555/03/04
    หากกุรบานในที่นี้หมายถึงการเชือดกุรบานในพิธีฮัจย์ที่ต้องกระทำในวันอีดกุรบาน ณ แผ่นดินมินา อุละมาส่วนใหญ่ให้ทัศนะไว้ว่า หากสัตว์ที่จะนำมาเชือดกุรบานมีเขาแต่เดิมอยู่ ทว่าปัจจุบันไม่มี หรือหักไป สามารถนำมาเชือดกุรบานได้[1] เว้นแต่ว่าเขาภายในหักหรือถูกตัดไป ในกรณีนี้จะทำให้กุรบานไม่ถูกต้อง แต่หากเขาภายนอกหักถือว่าไม่เป็นไร[2] ส่วนการเชือดกุรบานนอกพิธีฮัจย์ที่เหนียตกระทำเพื่อผลบุญในเชิงมุสตะฮับนั้น หากจะเชือดสัตว์ที่เขาหักก็ไม่มีปัญหาใดๆ อย่างไรก็ดี เราได้สอบถามปัญหานี้จากสำนักงานของมัรญะอ์ตักลี้ดท่านต่างๆได้ความดังนี้ อายะตุลลอฮ์คอเมเนอี,ซีสตานี, มะการิมชีรอซี : ไม่มีปัญหาใดๆ อายะตุลลอฮ์ศอฟี โฆลพอยฆอนี: สามารถกระทำได้ อินชาอัลลอฮ์ ขอพระองค์ทรงตอบรับ คำถามนี้ไม่มีคำตอบเชิงรายละเอียด [1] ผู้ที่มีทัศนะเช่นนี้ได้แก่ อายะตุลลอฮ์.. ...
  • "การซิยารัตอิมามฮุเซนเสมือนการซิยารัตอัลลอฮ์ ณ อะรัช" หมายความว่าอย่างไร?
    8684 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/12/07
    ท่านฮุเซนบินอลี (อิมามที่สามของชีอะฮ์) ได้รับฐานะภาพอันสูงส่งจากอัลลอฮ์เนื่องจากมีเป้าหมายวัตรปฏิบัติการเสียสละ
  • เป็นไปได้หรือไม่ที่สังคมคนบาปจะรอดพ้นหรือได้รับการชลออะซาบเนื่องจากมีคนดีอาศัยอยู่ไม่กี่คน?
    5983 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/18
    กุรอานและฮะดีษสอนว่า มีปัจจัยบางประการที่ช่วยชลอหรือขจัดปัดเป่าอะซาบให้พ้นจากสังคม ในที่นี้ขอหยิบยกมานำเสนอบางประการดังต่อไปนี้:หนึ่ง. การที่สังคมยังมีท่านนบี หรือผู้ขออภัยโทษอาศัยอยู่:  وَماکانَاللَّهُلِیُعَذِّبَهُمْ
  • มีผู้ทำพินัยกรรมเกี่ยวกับ “ทรัพย์สินส่วนหนึ่ง” โดยมิได้ระบุจำนวน เราจะแบ่งอย่างไร?
    6157 สิทธิและกฎหมาย 2555/02/13
    จากการที่บรรดาอุละมาอ์ให้การยอมรับสายรายงานฮะดีษของทั้งสองกลุ่มความหมายจึงได้เสนอข้อยุติไว้แตกต่างกันดังต่อไปนี้1. ในอดีตเจ้าของทรัพย์สินมักจะแบ่งทรัพย์สินเป็นส่วนๆบ้างก็แบ่งเป็นสิบส่วนบ้างก็แบ่งเป็นเจ็ดส่วนฉะนั้นจะต้องพิจารณาว่าผู้ตายเคยแบ่งทรัพย์สินอย่างไรขณะมีชีวิตอยู่2.
  • การเข้าร่วมงานแต่งงานที่มีจำนวนแขกจำ ซึ่งกำหนดไว้ก่อนแล้วล่วงหนา แต่แขกที่มาไม่มีใครคุมผ้าเรียบร้อยสักคนเมื่ออยู่ต่อหน้าเจ้าบ่าว กรณีนี้กฎเกณฑ์ทางศาสนบัญญัติกล่าวไว้อย่างไร (และลักษณะงานเช่นนี้ โดยทั่วไปเจ้าบ่าวและมะฮาริมที่เข้าร่วมงานแต่ง ตลอดงานนิกาฮฺจะแยกระหว่างชายหญิง)
    4277 สิทธิและกฎหมาย 2562/06/15
    เริ่มแรกเกี่ยวกับคำถามข้างต้น ขอกล่าวถึงทัศนะของมัรญิอฺตักลีด 1.งานสมรสตามประเพณีอิสลาม คือการร่วมแสดงความสุข รื่นเริง โดยปราศจากการกระทำความผิดบาปต่าง ๆ หรือภารกิจต่าง ๆ ที่ฮะรอม และมารยาทอันไม่ดีไม่งาม ที่มิใช่วิสัยของมนุษย์[1] 2.เมื่ออยู่ต่อหน้าเจ้าบ่าว หรือนามะฮฺรัมคนอื่น จำเป็นต้องรักษาฮิญาบ อย่างเคร่งครัด ซึ่งตรงนี้ไม่แตกต่างกันระหว่างงานสมรส และงานชุมนุมอย่างอื่น[2] 3.การเข้าร่วมงานสมรส หรืองานสังสรรค์อื่นๆ ซึ่งภายในงานนั้นมิได้เอาใจใส่สิ่งเป็นวาญิบในอิสลาม (เช่น แขกที่มาอยู่รวมกันทั้งชายและหญิง มีการเต้นรำ หรือเปิดเพลงที่ฮะรอม อย่างเปิดเผย) ถือว่าฮะรอม[3] 4. ถ้างานสมรสมิได้เป็นไปในลักษณะที่ว่า เป็นงานสังสรรค์แบบไร้สาระ ฮะรอม เป็นบาป หรือการปรากฏตัวในงานเหล่านั้น มิได้เป็นการสนับสนุนการก่อความเสียหาย ซึ่งการเข้าร่วมในงานสังสรรค์เช่นนั้น โดยทั่วไปไม่ถือว่าเป็นการสนับสนุน ถือว่าไม่เป็นไร

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59394 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56845 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41676 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38427 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38420 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33453 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27541 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27237 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27136 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25213 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...