การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
7318
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2555/01/01
 
รหัสในเว็บไซต์ fa4308 รหัสสำเนา 20355
หมวดหมู่ ริญาลุลฮะดีซ
คำถามอย่างย่อ
จริงหรือไม่ที่กล่าวกันว่าหนังสืออัลกาฟีมีฮะดีษเศาะฮี้ห์เพียงไม่กี่บท?
คำถาม
จริงหรือไม่ที่หากพิจารณาตามหลักเกณฑ์ของท่านกุลัยนีเกี่ยวกับฮะดีษเศาะฮี้ห์ จะพบว่าในหนังสืออัลกาฟีมีฮะดีษประเภทนี้ไม่กี่บท? เหตุผลก็คือการที่มีการประพันธ์ตำราหลายเล่มหลังยุคกุลัยนี ดังที่วะฮี้ด เบะฮ์บะฮอนีกล่าวไว้ว่า “เราได้ประจักษ์ว่าหนังสืออัลกาฟีมีฮะดีษหลายบทที่มิได้รายงานจากอิมามมะอ์ศูม” ทัศนะนี้ถูกต้องหรือไม่?
คำตอบโดยสังเขป

หลักเกณฑ์การเลือกฮะดีษที่ท่านกุลัยนีระบุไว้นั้น มีไว้เฉพาะกรณีฮะดีษที่ขัดแย้งกัน เพราะหลักเกณฑ์พิสูจน์ความเศาะฮี้ห์ของฮะดีษมีมากกว่าสามวิธีที่ท่านระบุไว้อันได้แก่ จะต้องสอดคล้องกับกุรอาน ตรงข้ามกับอามมะฮ์และแนวตัคยี้ร
ส่วนการประพันธ์ตำราหลังยุคท่านกุลัยนีก็มิได้หมายความว่าหนังสืออัลกาฟีไม่น่าเชื่อถือ เพราะผู้ประพันธ์ตำราเหล่านั้นก็ล้วนยอมรับความนิยมในหนังสืออัลกาฟี

คำตอบเชิงรายละเอียด

เพื่อตอบข้อซักถามดังกล่าว ควรคำนึงถึงประเด็นต่อไปนี้:
1. มัรฮูมษิเกาะตุ้ลอิสลามกุลัยนีถือเป็นผู้รู้ระดับสูงท่านหนึ่งของชีอะฮ์ในยุคเร้นกายระยะแรก(ศุฆรอ) ซึ่งได้รับการยกย่องจากผู้รู้จำนวนมาก[1] มัรฮูมมุฮัมมัดตะกี มัจลิซี กล่าวถึงท่านว่ากล่าวได้ว่าในหมู่ผู้รู้ของชีอะฮ์ไม่มีใครเสมอเหมือนกุลัยนีอีกแล้ว หากพิจารณาฮะดีษที่ปรากฏในตำราของท่านก็จะเข้าใจได้ว่าท่านได้รับการสนับสนุนจากอัลลอฮ์[2]

2. หลักเกณฑ์การเลือกฮะดีษที่ท่านกุลัยนีระบุไว้นั้น มีไว้เฉพาะกรณีฮะดีษที่ขัดแย้งกัน เพราะหลักเกณฑ์พิสูจน์ความเศาะฮี้ห์ของฮะดีษมีมากกว่าสามวิธีที่ท่านระบุไว้ อันได้แก่ จะต้องสอดคล้องกับกุรอาน ตรงข้ามกับอามมะฮ์และแนวตัคยี้ร ซึ่งจะอธิบายเพิ่มเติมในประเด็นถัดไป

3. ทัศนะที่กลุ่มผู้รู้ที่จำแนกฮะดีษในหนังสืออัลกาฟีเคยกล่าวไว้นั้น ตั้งอยู่บนพื้นฐานนิยามที่แพร่หลายหลังยุคผู้ประพันธ์ตำราทั้งสี่ (กุตุ้บอัรบะอะฮ์) ทว่านักวิชาการปัจจุบันเน้นความน่าเชื่อถือของตัวฮะดีษเป็นมาตรฐานหลัก มิไช่พิจารณาเพียงนักรายงานฮะดีษอย่างเดียว ด้วยเหตุนี้เองที่ผู้รู้ยุคแรกถือว่าฮะดีษที่ตนมั่นใจว่าเป็นวจนะของอิมาม ถือว่าเศาะฮี้ห์[3] กล่าวคือ ความมั่นใจดังกล่าวเป็นข้อสรุปจากการตรวจสอบสายรายงานพร้อมกับเนื้อหาฮะดีษ ทำให้ผู้รู้เหล่านั้นมั่นใจว่าเศาะฮี้ห์

4. หากไม่นับกลุ่มนักวิจารณ์แล้ว จะพบว่ามีอีกกลุ่มหนึ่งที่ให้การยอมรับอัลกาฟีอย่างสมบูรณ์ อาทิเช่น:
เชคมุฟี้ดเชื่อว่าอัลกาฟีคือหนังสือที่ดีและมีประโยชน์มากที่สุดของชีอะฮ์[4]
ซัยยิดมุรตะฎอกล่าวว่าแม้ฮะดีษหลายบทที่ปรากฏในตำราทั้งสี่จะมีสายรายงานไม่มากพอ แต่เราก็เชื่อว่าได้รับรายงานจากบรรดาอิมาม(.)ด้วยเหตุผลดังนี้ หนึ่ง. ความน่าเชื่อถือสืบเนื่องจากเป็นที่นิยมแพร่หลาย สอง. มีเบาะแสพิสูจน์ความเศาะฮี้ห์ของฮะดีษ[5]
มุฮักกิก กะเราะกี และมุฮัมมัด อมีน อัสตัรออบอดี เชื่อว่าไม่มีหนังสือเล่มใดในโลกชีอะฮ์ที่จะเทียบเคียงอัลกาฟีได้[6]
นะญาชีกล่าวว่ามุฮัมมัด บิน ยะอ์กู้บ กุลัยนี คือสหายผู้ยิ่งใหญ่ของเราในเมื่องเรย์ และมีความสัจจะที่สุดในการรายงานฮะดีษ โดยใช้เวลาประพันธ์อัลกาฟีถึงสามสิบปี[7]

ผู้ประพันธ์หนังสืออัลมะอาลิม และมุนตะก้อล ญิมาน กล่าวว่า
ان احادیث الکتب الاربعة و امثالها محفوفة بالقرائن و انها منقولة من الاصول والکتب المجمع علیها بغیر تغییر[8]
และกล่าวถึงการอนุญาตรายงานฮะดีษว่า
ان اثر الاجازة بالنسبة الی العمل انما یظهر حیث لایکون متعلقها معلوما بالتواتر و نحوه ککتب اخبارنا الاربعة فانها متواتره اجمالا والعلم بصحة مضامینها تفصیلاً یستفاد من قرائن الاحوال و لامدخل للاجازة فیه غالباً[9]
หมายถึง เรามีเบาะแสที่ทำให้เชื่อมั่นในความถูกต้องของตำราทั้งสี่ ฉะนั้น การอนุญาตรายงานจึงไม่มีผลใดๆต่อเรื่องดังกล่าว

ฟัยฎ์ กาชานี กล่าวว่ากาฟีเป็นหนังสือที่ทรงคุณค่า สมบูรณ์ และครบครันมากที่สุด เนื่องจากรายงานจากตำรายุคเก่า(อุศู้ล) และปราศจากสิ่งเจือปน[10]
มัรฮูม คูอี้ กล่าวไว้ในอารัมภบทของตำราริญ้าลว่ามัรฮูม เชค มุฮัมมัดฮุเซน นออีนี เคยกล่าวในชั้นเรียนว่า การตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับสายรายงานของอัลกาฟีเป็นเรื่องของพวกด้อยความสามารถ และไม่มีใครสงสัยความถูกต้องของฮะดีษอัลกาฟีนอกจากพวกนี้เท่านั้น[11]

อย่างไรก็ดี ทัศนะที่เหมาะสมเกี่ยวกับเรื่องนี้ก็คือทัศนะที่ปราศจากอคติหรือการยกย่องเกินเหตุ เพราะแม้ว่าหนังสืออัลกาฟีจะมีฮะดีษเศาะฮี้ห์จำนวนมาก แต่ก็ยังมีฮะดีษที่ไม่อาจยอมรับได้รวมอยู่ด้วย

5. การประพันธ์หนังสือหลังจากตำราเล่มใด มิได้หมายความว่าตำราเล่มก่อนไม่ดีเสมอไป เนื่องจากผู้ประพันธ์เล่มก่อนอาจต้องการจะเขียนลักษณะสังเขปหรืออาจมีมุมมองเฉพาะ แต่ผู้ประพันธ์เล่มต่อมาอาจต้องการเพิ่มรายละเอียดหรืออาจมีมุมมองที่แตกต่างออกไปก็เป็นได้ ดังที่มัรฮูม ฟัยฎ์ กาชานีเคยชมเชยอัลกาฟีในอารัมภบทหนังสืออัลวาฟี แต่ก็ระบุว่าเหตุที่ต้องเขียนอัลวาฟีก็เพราะอัลกาฟีมีลักษณะสังเขป[12]

6. ทัศนะของท่านวะฮี้ด เบะฮ์บะฮอนีคือ การที่ปลายสายรายงานไม่เชื่อมถึงอิมามมะอ์ศูม แต่ถึงเพียงศิษย์ของท่านเหล่านั้น[13] ฉะนั้นคำพูดที่ว่าเราได้ประจักษ์ว่าหนังสืออัลกาฟีมีฮะดีษหลายบทที่มิได้รายงานจากอิมามมะอ์ศูมนั้น มิไช่คำพูดของท่านวะฮี้ด แต่เป็นการนำคำพูดของท่านไปตีความอย่างผิดเพี้ยน ทั้งนี้เนื่องจากว่า แม้ปลายสายรายงานอาจจะไม่เชื่อมถึงอิมามมะอ์ศูมก็ตาม แต่มิได้หมายความว่าฮะดีษดังกล่าวไม่น่าเชื่อถือ หรือกุขึ้นมาแต่อย่างใด เนื่องจากบุคคลอย่างอลี บิน อิบรอฮีม หรือ อบีอัยยู้บ[14]จะไม่มีวันรายงานฮะดีษจากผู้อื่นที่มิไช่อิมามอย่างเด็ดขาด ด้วยเหตุนี้ท่านกุลัยนีจึงรายงานจากบุคคลเหล่านี้เพราะไว้วางใจในความน่าเชื่อถือของพวกเขา

 



[1] มุฮัดดิษ กุมี กล่าวถึงท่านกุลัยนีว่าผู้ประพันธ์ตำราอัลกาฟีอันทรงคุณค่าถือเป็นผู้รู้และนักรายงานระดับสูง และเป็นที่ภาคภูมิใจของชีอะฮ์ฮะดียะตุ้ลอะห์บ้าบ,เชคอับบาส กุมี, สำนักพิมพ์อมี้ร กะบี้ร,เตหราน 1364, หน้า 247

[2] อุศูลกาฟี, ษิเกาะตุลอิสลามกุลัยนี,แปลโดยซัยยิดญะว้าด มุศเฏาะฟะวี,สำนักพิมพ์วะฟา,เล่ม 1,บทนำผู้แปล,หน้า 8. เพื่อทราบข้อมูลเพิ่มเติมโปรดอ่านคำตอบที่ 1527 ระเบียน ฮะดีษในตำราอัลกาฟี

[3] ซัยฟี มอซันดะรอนี,อลีอักบัร, มิกยาสุรริวายะฮ์ ฟี อิลมิดดิรอยะฮ์,หน้า 44 อ่านเพิ่มเติมที่คำตอบที่ 1937

[4] อลี ฆอซี ชอฮ์รูดี,อัลอะอ์ลามุลฮาดิยะฮ์ อัรเราะฟีอะฮ์ ฟี อิอ์ติบาริล กุตุบิล อัรบะติลมะนีอะฮ์,หน้า 123

[5] เชคฮุร อามิลี,วะซาอิลุชชีอะฮ์,เล่ม 2,หน้า 76, อ้างใน มะอาลิมุ้ลอุศู้ล,หน้า 171 และ มัษก็อลญะมาล ฟิลอะฮาดีษิศศิฮ้าฮิวัลฮาล,เล่ม 1,หน้า 8

[6] ซุบฮานี,ญะอ์ฟัร, กุลลียาต ฟี อิลมิรริญาล,หน้า 360

[7] อัลอะอ์ลามุลฮาดิยะฮ์,หน้า 133 อ้างในริญาลนะญาชี

[8] อบูมันศู้ร ฮะซัน บินซัยนิลอาบิดีน, มะอาลิมุลอุศู้ล,หน้า 185

[9] อัลอะอ์ลามุลฮาดิยะฮ์,หน้า 152 อ้างในมะอาลิมุลอุศู้ล หมวดฮะดีษ

[10] อุศูลกาฟี,บทนำผู้แปล,หน้า 9

[11] มุอ์ญะมุรริญาลิลฮะดีษ,ซัยยิด อบุลกอซิม อัลมูซะวี อัลคูอี, ค้นคว้าเพิ่มเติมโดยมุรตะฎอ อัลฮะกะมี,สำนักพิมพ์อัลอาด้าบ,นะญัฟ,หน้า 99 บทนำที่ห้า

[12] ฟัยฎ์ คอชอนี,อัลวาฟี,สำนักพิมพ์อิสลามียะฮ์,หน้า 7

[13] เช่นในหมวดดิย้าต ได้รายงานฮะดีษชุดหนึ่งที่สิ้นสุด  อลี บิน อิบรอฮีม และอบี อัยยู้บ มิไช่อิมามมะอ์ศูม. อัรเราะซาอิลุลอุศูลียะฮ์,วะฮีด เบะฮ์บะฮอนี,หน้า 93, 213

[14] นะมอซี ชอฮ์รูดี,อลี, มุสตัฏเราะฟาตุ้ลมะอาลี,สำนักพิมพ์บะนา,พิมพ์ครั้งแรก,หน้า

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • จะเชื่อว่าพระเจ้าเมตตาได้อย่างไร ในเมื่อโลกนี้มีทั้งสิ่งดีและสิ่งเลวร้าย ความน่ารังเกียจและความสวยงาม?
    8388 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/07/10
    หากได้ทราบว่าพระองค์ทรงสร้างมนุษย์ให้มีคุณลักษณะที่ดีที่สุดอีกทั้งยังสนองความต้องการของเขาทั้งในโลกนี้และโลกหน้าตลอดจนได้สร้างสรรพสิ่งอื่นๆเพื่อให้เป็นประโยชน์แก่มนุษย์เมื่อนั้นเราจะรู้ว่าพระองค์ทรงมีเมตตาแก่เราเพียงใดส่วนความเมตตาของพระองค์ที่มีต่อสิ่งมีชีวิตอื่นๆก็เข้าใจได้จากการที่พระองค์ทรงประทานชีวิตประทานศักยภาพในการดำรงชีวิตและมอบความเจริญเติบโตให้ด้วยเมตตาอย่างไรก็ดีในส่วนของสิ่งเลวร้ายและอุปสรรคต่างๆนานาที่มีในโลกนั้น
  • บทบัญญัติเกี่ยวกับการให้อัลกุรอานเป็นของขวัญแก่ชาวฮินดู ขณะที่เขาต้องการที่จะศึกษาและรู้จักอัลกุรอาน และเขาต้องสัมผัสหน้าอัลกุรอานแน่นอน ?
    6687 สิทธิและกฎหมาย 2554/09/25
    ก่อนที่จะอธิบายถึงทัศนะของมัรญิอฺตักลีดเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวนี้, จำเป็นต้องพิจารณาปัญหาเหล่านี้ก่อน1. ฮินดูในความเป็นจริงก็คือผู้ปฏิเสธศรัทธา2. ในกรณีที่มั่นใจ (มิใช่เดา) ว่าเขาจะทำให้กุรอานนะญิซโดยกาเฟร
  • อะไรคืออุปสรรคของการเสวนาระหว่างอิสลามและศาสนาคริสต์?
    9163 เทววิทยาใหม่ 2554/07/07
    คำถามนี้ไม่มีคำตอบแบบสั้น ปรดเลือกปุ่มคำตอบที่สมบูรณ์ ...
  • บรรดาเชลยแห่งกัรบะลาอฺมุฮัรรอม ได้เคลื่อนออกจากกัรบะลาอฺไปยังเมืองชามวันอะไร?
    6252 تاريخ کلام 2554/06/22
    ตามรายงานที่ปรากฏอยู่ในหนังสือประวัติศาสตร์และมะกอติล, กองคาราวานเชลยแห่งกัรบะลาอฺได้เคลื่อนออกจากกัรบะลาอฺในวันที่ 11 เดือนมุฮัรรอมและวันที่ 12 เดือนมุฮัรรอมได้มาถึงเมืองกูฟะฮฺและเคลื่อนออกจากเมืองกูฟะฮฺไปยังเมืองชามในวันที่ 19 เดือนมุฮัรรอมและถึงเมืองชามในวันที่ 1 เดือนเซาะฟัร[1]
  • ความแตกต่างระหว่างศูนย์แห่งความเสียใจกับวันแห่งความเสียใจ คืออะไร?
    5807 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/06/30
    อัลกุราอนและรายงานฮะดีซมิได้มีการตีความคำว่า »ดารุลฮัซเราะฮฺ« เอาไว้ คงมีแต่ประโยคที่ว่า »เยามัลฮัซเราะฮฺ« (จะถูกใช้ในหมายว่า หมายถึงวันแห่งความเสียใจ ความหดหู่ใจที่เกิดจากการสูญเสียบางสิ่งไป) ซึ่งถูกใช้ในอัลกุรอานเพียง 1 ครั้ง แต่ถูกใช้จำนวนหลายครั้งในรายงานฮะดีซ จุดประสงค์ของคำว่า »เยามัลฮัซเราะฮฺ« ที่ปรากฏอยู่ทั้งในอัลกุรอานและรายงานฮะดีซ หมายถึงวันกิยามะฮฺ (วันฟื้นคืนชีพ) เนื่องจากวันฟื้นคืนชีพนั้น ชาวสวรรค์ จะเสียใจว่าสามารถกระทำสิ่งที่ดีกว่านี้ได้ เพื่อจะได้ก้าวไปสู่ตำแหน่งที่สูงส่งกว่า ส่วนชาวนรกก็เสียใจว่า โอ้ พระเจ้าพวกเราไม่หน้ากระทำบาปเลย จะได้ไม่ต้องตกเป็นชาวนรกเช่นนี้ ...
  • การโอนถ่ายพลังจากบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่งนั้นเป็นที่ยอมรับในศาสนาอิสลามหรือไม่? ประเด็นนี้มีฮุกุมเช่นไร?
    5965 สิทธิและกฎหมาย 2555/05/19
    เรื่องนี้รวมถึงการรักษาและผลพวงที่ว่ากันว่าจะได้รับจากการรักษาดังกล่าวยังไม่อาจพิสูจน์ได้ และอาจจะเป็นไปได้ว่าผู้ที่อยู่ในวงการนี้อาจจะอุปทานไปเอง ดังนั้นบรรดามะรอญิอ์ตักลีดก็ยังไม่ได้ให้คำตอบที่ชัดเจนเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว เนื่องจากเป็นประเด็นที่ยังมีความคลุมเคลืออยู่ อย่างไรก็ตามคำตอบของบรรดามัรญิอ์ตักลีดท่านอื่นเกี่ยวกับคำถามนี้มีดังนี้ สำนักงานของท่านอายาตุลลอฮ์ อัลอุซมา มะการิม ชีรอซี ประเด็นหลักของการรักษาทางพลังเอเนรจีนั้นไม่มีปัญหาอะไร แต่หากจะต้องขึ้นอยู่กับการกระทำฮะรอมถือว่าไม่อนุญาต คำตอบของท่านอายาตุลลอฮ์ มะฮ์ดี ฮาดะวี เตหะรานี มีดังนี้ การกระทำนี้ โดยตัวของมันเองแล้วนั้นถือว่าไม่มีข้อห้ามแต่อย่างใด ยกเว้นกรณีที่กระทำด้วยปัจจัยที่เป็นฮะรอม เช่นการถูกเนื้อต้องตัวกับผู้ที่ไม่ใช่มะฮ์รอม ฯลฯ ซึ่งไม่เป็นที่อนุญาต ทว่าหากการนำเสนอประเด็นนี้เป็นพื้นฐานในการสร้างความเชื่อที่ผิด ๆ และผู้นำเสนอในประเด็นดังกล่าวจะแอบอ้างว่าตนมีพลังและความสามารถที่พิเศษเหนือมนุษย์ ซึ่งจะทำให้เกิดความเบี่ยงเบนและหันเหไปทางที่ผิดทางความคิดในสังคมนั้น ก็จะถือว่าประเด็นดังกล่าวเป็นสิ่งที่ฮะรอม หมวดหมู่ที่เกี่ยวข้อง คำถามที่ 4864 (ลำดับในเว็บไซต์ ...
  • ต้องอ่านดุอาเป็นภาษาอรับจึงจะเห็นผลใช่หรือไม่?
    6408 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/28
    ไม่จำเป็นจะต้องอ่านดุอาตามบทภาษาอรับเพราะแม้ดุอากุนูตในนมาซก็อนุญาตให้กล่าวด้วยภาษาอื่นได้แต่อย่างไรก็ตามเป็นการสมควรอย่างยิ่งที่จะอ่านและพยายามครุ่นคิดในบทดุอาภาษาอรับที่บรรดาอิมามได้สอนไว้ทั้งนี้ก็เนื่องจากเหตุผลที่ว่า:ดังที่กุรอานคือพระวจนะของอัลลอฮ์ที่ใช้สนทนากับมนุษย์ดุอาที่บรรดาอิมาม(อ.)สอนเราไว้ก็คือบทเอื้อนเอ่ยที่มนุษย์วอนขอต่ออัลลอฮ์ดังที่ดุอาได้รับการเปรียบว่าเป็น“กุรอานที่เหิรขึ้นเบื้องบน” นั่นหมายความว่าดุอาเหล่านี้มีเนื้อหาลึกซึ้งแฝงเร้นอยู่ดังเช่นกุรอานและเนื้อหาเหล่านี้จะได้รับการตีแผ่อย่างสมบูรณ์ด้วยภาษาอรับเท่านั้นด้วยเหตุผลดังกล่าวมุสลิมจึงควรเรียนรู้ความหมายของนมาซและดุอาต่างๆเพื่อให้รู้ว่ากำลังเอ่ยขอสิ่งใดจากพระผู้เป็นเจ้าหากทำได้ดังนี้ก็จะส่งผลให้ศาสนกิจของตนอุดมไปด้วยสำนึกทางจิตวิญญาณและจะทำให้สามารถโบยบินสู่ความผาสุกอันนิรันดร์ได้.นอกเหนือปัจจัยดังกล่าวแล้วควรให้ความสำคัญกับปัจจัยอื่นๆด้วยอาทิเช่นเนื้อหาดุอาไม่ควรขัดต่อจารีตที่พระองค์วางไว้ควรศอละวาตแด่นบีและวงศ์วานเสมอผู้ดุอาจะต้องหวังพึ่งพระองค์เท่านั้นมิไช่ผู้อื่นให้บริสุทธิใจและคำนึงถึงความยากไร้ของตนปากกับใจต้องตรงกันยามดุอาเคร่งครัดในข้อบังคับและข้อห้ามทางศาสนากล่าวขอลุแก่โทษต่อพระองค์พยายามย้ำขอดุอามั่นใจและไม่สิ้นหวังในพระองค์.[1][1]มุฮัมมัดตะกีฟัลสะฟี,อธิบายดุอามะการิมุ้ลอัคล้าก,เล่ม1,หน้า ...
  • ทัศนะอิสลามเกี่ยวกับการทำสงครามในเดือนต้องห้ามคืออะไร?
    11628 การตีความ (ตัฟซีร) 2554/12/20
    บนพื้นฐานของโองการและรายงานต่างๆของเรา, จะพบว่าอิสลามมิได้เพียงแค่ห้ามการทำสงครามกันเฉพาะในเดือนต้องห้าม (ซุลเกาะดะฮฺ, ซุลฮิจญะฮฺ, มุฮัรรอม,
  • ทั้งที่ท่านอิมามอลี (อ.) ทราบถึงเจตนาชั่วของอิบนิ มุลญัม เหตุใดท่านจึงไม่ปกป้องชีวิตตนเอง?
    6204 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/12/29
    เหตุผลที่ท่านอิมามอลีไม่แก้ไขเหตุที่จะเกิดในอนาคตก็คือ:1.ความรู้ระดับทั่วไปคือหลักเกณฑ์ในการปฏิบัติภารกิจ:เพื่อเป็นการเคารพกฏเกณฑ์ของอัลลอฮ์ท่านอิมามจึงเลือกที่จะปฏิบัติหน้าที่เสมือนบุคคลทั่วไปโดยจะไม่ปฏิบัติตามความรู้แจ้งเห็นจริงเนื่องจากว่าหากท่านจะปฏิบัติตามญาณวิเศษย่อมจะไม่สามารถเป็นแบบฉบับแก่บุคคลทั่วไปได้เพราะบุคคลทั่วไปไม่มีญาณวิเศษ2. กลไกของโลกดุนยาตั้งอยู่บนพื้นฐานของการทดสอบซึ่งหากจะปฏิบัติตามญาณวิเศษก็ย่อมจะทำให้กลไกดังกล่าวเสียหายเนื่องจากจะทำลายชีวิตประจำวันของผู้คนสรุปคือแม้ว่าอิมามอลีมีหน้าที่ต้องรักษาชีวิตเสมือนบุคคลทั่วไปแต่ทว่าประการแรก: หน้าที่ดังกล่าวอยู่ในขอบเขตความรู้ทั่วไปมิไช่ญาณวิเศษประการที่สอง: คู่กรณีของท่าน(อิบนิมุลญัม)
  • เงินฝากบัญชีสินเชื่อที่อยู่อาศัย โดยใช้ประโยชน์จากสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย จำเป็นต้องจ่ายคุมซ์หรือไม่?
    5731 สิทธิและกฎหมาย 2554/06/22
    ท่านผู้นำสูงสุดตอบคำถามที่ถามว่าบุคคลที่ไม่มีที่อยู่อาศัยได้เก็บสะสมเงินฝากเพื่อเตรียมไว้ซื้อบ้านและที่อยู่อาศัยเงินฝากต้องจ่ายคุมซ์ด้วยหรือไม่? ตอบว่า: การสะสมทรัพย์ถือเป็นรายได้ประเภทหนึ่งถ้าเตรียมไว้เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในชีวิตเมื่อครบรอบปีต้องจ่ายคุมซ์ด้วยเว้นเสียแต่ว่าได้สะสมเงินไว้เพื่อจัดซื้อของใช้ที่จำเป็นในชีวิตหรือเพื่อสำรองค่าใช้จ่ายจำเป็นในกรณีนี้ถ้าหากเลยรอบปีต้องจ่ายคุมซ์ไปแล้ว (เช่นสองสามเดือนหลังรอบปีคุมซ์) เขาได้ใช้ไปในเรื่องดังกล่าวนั้นไม่ต้องจ่ายคุมซ์

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59385 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56834 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41664 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38413 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38412 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33443 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27537 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27231 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27125 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25199 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...