การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
6184
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2555/02/13
 
รหัสในเว็บไซต์ fa18423 รหัสสำเนา 21628
คำถามอย่างย่อ
มีผู้ทำพินัยกรรมเกี่ยวกับ “ทรัพย์สินส่วนหนึ่ง” โดยมิได้ระบุจำนวน เราจะแบ่งอย่างไร?
คำถาม
มีผู้ทำพินัยกรรมเกี่ยวกับ “ทรัพย์สินส่วนหนึ่ง” โดยไม่ได้ระบุจำนวน ฮะดีษหลายบทให้ข้อยุติที่แตกต่างกัน อาทิเช่นกล่าวว่า ส่วนหนึ่งในทีนี้คือเศษหนึ่งส่วนสิบ เพราะอัลลอฮ์ตรัสว่า فَخُذْ أَرْبَعَةً مِّنَ الطَّیْرِ… ในซูเราะฮ์อัลบะเกาะเราะฮ์ โองการที่ 260 บางฮะดีษกล่าวว่าส่วนหนึ่งในที่นี้หมายถึงเศษหนึ่งส่วนเจ็ด เนื่องจากพระองค์ตรัสว่า لَهَا سَبْعَةُ أَبْوَابٍ لِّکُلِّ بَابٍ مِّنْهُمْ جُزْءٌ مَّقْسُومٌ ซูเราะฮ์อัลฮิจร์ ในเมื่อมีหลายทัศนะเช่นนี้ แล้วเราจะสรุปจำนวนของ “ส่วนหนึ่ง” ได้อย่างไร?
คำตอบโดยสังเขป

จากการที่บรรดาอุละมาอ์ให้การยอมรับสายรายงานฮะดีษของทั้งสองกลุ่มความหมาย จึงได้เสนอข้อยุติไว้แตกต่างกันดังต่อไปนี้
1. ในอดีต เจ้าของทรัพย์สินมักจะแบ่งทรัพย์สินเป็นส่วนๆ บ้างก็แบ่งเป็นสิบส่วน บ้างก็แบ่งเป็นเจ็ดส่วน ฉะนั้น จะต้องพิจารณาว่าผู้ตายเคยแบ่งทรัพย์สินอย่างไรขณะมีชีวิตอยู่
2. ทัศนะที่น่าเชื่อถือกว่าก็คือ ควรปฏิบัติตามฮะดีษกลุ่มเศษหนึ่งส่วนสิบ เพราะบรรทัดฐานเบื้องต้นก็คือการที่ทรัพย์สินยังคงอยู่ในครอบครองของทายาท กล่าวคือ ควรวางสมมุติฐานไว้ที่ภาวะที่ทายาทไม่ต้องจ่ายเพิ่มเติม ซึ่งการจ่ายเพิ่มในที่นี้ก็หมายถึงส่วนที่ต้องจ่ายเพิ่มจากเศษหนึ่งส่วนสิบในกรณีที่ทำตามฮะดีษที่ระบุถึงเศษหนึ่งส่วนเจ็ด
3. การที่ถือว่าฮะดีษกลุ่มแรกเป็นภาคบังคับ ส่วนฮะดีษกลุ่มที่สองหมายถึงภาคมุสตะฮับ กล่าวคือส่วนหนึ่งในที่นี้ให้หมายถึงเศษหนึ่งส่วนสิบอันเป็นภาคบังคับ แต่มุสตะฮับสำหรับทายาทที่จะใช้จ่ายเศษหนึ่งส่วนเจ็ดของทรัพย์สินตามพินัยกรรม เนื่องด้วยความแตกต่างทางนัยยะของฮะดีษสองกลุ่ม

คำตอบเชิงรายละเอียด

ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับมรดกทรัพย์สินเนื่องจากใช้คำที่คลุมเครือ อาทิเช่นพินัยกรรมที่ระบุให้แบ่งทรัพย์สินหนึ่งส่วนไปใช้ในการกุศล โดยที่ไม่มีข้อบ่งชี้ใดๆเกี่ยวกับจำนวนทรัพย์สินเลยนั้น ตามหลักแล้ว ควรถือว่าพินัยกรรมดังกล่าวเป็นโมฆะเสมือนมิได้กระทำไว้ และให้พิจารณาไปตามบทบัญญัติว่าด้วยมรดก ทั้งนี้ก็เพราะพินัยกรรมประเภทดังกล่าวไม่สามารถสื่อถึงเจตจำนงของผู้พูดได้เลยในเชิงวจนะภาษา

อย่างไรก็ดี เนื่องจากมีฮะดีษที่น่าเชื่อถือช่วยอธิบายความคลุมเครือข้างต้น จึงจำเป็นต้องยึดตามนั้นเป็นหลัก[1] ต่อข้อสงสัยที่ว่าหากเกิดกรณีเช่นนี้ขึ้นจะแบ่งทรัพย์สินตามเป้าประสงค์ของผู้ตายในสัดส่วนเท่าใดนั้น ฮะดีษชุดนี้แบ่งออกเป็นสองชุดความหมายดังต่อไปนี้

ฮะดีษชุดแรกระบุว่าทรัพย์ส่วนหนึ่งในที่นี้หมายถึงเศษหนึ่งส่วนสิบ กล่าวคือจะต้องมอบเศษหนึ่งส่วนสิบของทรัพย์สินให้แก่ผู้ที่พินัยกรรมระบุไว้
มีผู้ถามอิมามศอดิก(.)เกี่ยวกับผู้ที่ทำพินัยกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินส่วนหนึ่ง ท่านตอบว่านั่นหมายถึงเศษหนึ่งส่วนสิบอุละมาอ์หลายวินิจฉัยว่าวาญิบให้จ่ายเศษหนึ่งส่วนสิบในกรณีดังกล่าวโดยยึดตามฮะดีษลักษณะนี้[2]

ฮะดีษชุดที่สองระบุว่าทรัพย์สินส่วนหนึ่งในที่นี้หมายถึงเศษหนึ่งส่วนเจ็ด ตามเนื้อหาของฮะดีษต่อไปนี้: มุฮัมมัด บิน อลี บิน มะฮ์บู้บ รายงานจากอะฮ์มัด บิน มุฮัมมัด บิน อบีนัศร์ บะซันฏี เล่าว่า ฉันถามอิมามกาซิม(.)ถึงกรณีของผู้ที่ทำพินัยกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินส่วนหนึ่ง ท่านอิมามตอบว่า นั่นหมายถึงเศษหนึ่งส่วนเจ็ด เนื่องจากอัลลอฮ์ทรงตรัสว่าขุมนรกมีประตูเจ็ดบาน และชาวนรกถูกแบ่งเป็นส่วนๆในแต่ละบาน[3] [4]ฉะนั้น ชาวนรกจึงแบ่งออกเป็นเจ็ดกลุ่ม ซึ่งตามสำนวนของโองการนี้ แต่ละกลุ่มเรียกว่าญุซอ์”(ส่วน)
บางท่านยึดตามฮะดีษประเภทนี้ จึงวินิจฉัยว่าจะต้องแบ่งเศษหนึ่งส่วนเจ็ด[5]

จากการที่บรรดาอุละมาอ์ให้การยอมรับสายรายงานฮะดีษของทั้งสองกลุ่มความหมาย เบื้องต้นจึงอาจมองได้ว่าเป็นการหักล้างกันเอง แต่อุละมาบางท่านเสนอวิธีผนวกฮะดีษสองกลุ่มดังต่อไปนี้

1. ในอดีต เจ้าของทรัพย์สินมักจะแบ่งทรัพย์สินเป็นส่วนๆ บ้างก็แบ่งเป็นสิบส่วน บ้างก็แบ่งเป็นเจ็ดส่วน ฉะนั้น จะต้องพิจารณาแบ่งทรัพย์สินตามที่ผู้ตายเคยแบ่งไว้ขณะมีชีวิตอยู่[6]

2. ทัศนะที่น่าเชื่อถือกว่าก็คือ ควรปฏิบัติตามฮะดีษกลุ่มเศษหนึ่งส่วนสิบ เพราะบรรทัดฐานเบื้องต้นก็คือการที่ทรัพย์สินยังคงอยู่ในครอบครองของทายาท กล่าวคือ ควรวางสมมุติฐานไว้ที่ภาวะที่ทายาทไม่ต้องจ่ายเพิ่มเติม ซึ่งการจ่ายเพิ่มนี้ก็คือส่วนที่ต้องจ่ายเพิ่มในกรณีที่ทำตามฮะดีษที่ระบุถึงเศษหนึ่งส่วนเจ็ดที่ต้องแบ่งออกจากมรดก[7]
3. การที่ถือว่าฮะดีษกลุ่มแรกเป็นภาคบังคับ ส่วนฮะดีษกลุ่มที่สองหมายถึงภาคมุสตะฮับ กล่าวคือส่วนหนึ่งในที่นี้ให้หมายถึงเศษหนึ่งส่วนสิบอันเป็นภาคบังคับ แต่มุสตะฮับสำหรับทายาทที่จะใช้จ่ายเศษหนึ่งส่วนเจ็ดของทรัพย์สินตามพินัยกรรม เนื่องด้วยความแตกต่างทางนัยยะของฮะดีษสองกลุ่ม[8]

อย่างไรก็ดี ควรคำนึงว่าในกรณีที่ผู้ตายทำพินัยกรรมมอบทรัพย์แก่ผู้อื่นเกินกว่าเศษหนึ่งส่วนสามของมรดก ส่วนเกินดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ต่อเมื่อทายาทเห็นด้วยเท่านั้น[9]
อนึ่ง ท่านอายะตุลลอฮ์ มะฮ์ดี ฮาดะวี เตหรานี ได้ตอบข้อสงสัยดังกล่าวไว้ดังนี้
พินัยกรรมมอบทรัพย์สินแก่ผู้อื่นจะมีผลต่อเมื่อทำไว้ไม่เกินเศษหนึ่งส่วนสามของทรัพย์สินของมัยยิต ส่วนการแบ่งสัดส่วนตามพินัยกรรมที่คลุมเครือก็ขึ้นอยู่กับความมั่นใจ แม้ว่าควรจะแบ่งให้มากเท่าที่จะสันนิษฐานได้

 



[1] มูซะวี, บุจนูรดี, ซัยยิดฮะซัน, อัลเกาะวาอิดุ้ลฟิกฮียะฮ์,เล่ม 6,หน้า 291,สำนักพิมพ์อัลฮาดี, กุม อิหร่าน,ครั้งแรก, ..1419

[2] ชู้ชตะรี, มุฮัมมัด ตะกี, อันนัจอะฮ์ ฟีชัรฮิ้ลลุมอะฮ์,เล่ม 8,หน้า 230,ร้านหนังสือเศาะดู้ก,เตหราน,ครั้งแรก,..1406

[3] อัลฮิจร์,44

[4] ฏูซี,อบูญะฟัร,มุฮัมมัด บิน ฮะซัน, ตะฮ์ซีบุลอะฮ์กาม,เล่ม 9,หน้า 209, ฮะดีษที่ 828, ดารุลกุตุบิลอิสลามียะฮ์,เตหราน อิหร่าน,ครั้งที่สี่,..1407

[5] อันนัจอะฮ์ ฟีชัรฮิ้ลลุมอะฮ์,เล่ม 8,หน้า 233

[6] กุมี,เศาะดู้ก,มุฮัมมัด บิน อลี บิน บาบะวัยฮ์,มันลายะฮ์ฏุรุฮุ้ลฟะกีฮ์, แปล:ฆ็อฟฟารี,อลีอักบัร, เล่ม 6,หน้า 50,เศาะดู้ก,เตหราน,ครั้งแรก,..1409

[7] ฮิลลี, มิกด้าด บิน อับดุลลอฮ์, กันซุ้ลอิรฟาน ฟี ฟิกฮิ้ลกุรอาน, แปล: บัคชอเยชี,อับดุรเราะฮีม อะกีกี,เล่ม 2,หน้า 585,กุม อิหร่าน,ครั้งแรก และ อามิลี,ซัยยิด มุฮัมมัด ฮุเซน ตัรฮีนี, อัซซุบดะตุลฟิกฮียะฮ์ ฟีชัรฮิร ร็อวเฎาะตุ้ลบะฮียะฮ์,เล่ม 6,หน้า 38,สำนักพิมพ์ดารุลฟิกฮ์,กุม อิหร่าน,ครั้งที่สี่,..1427

[8] อันนัจอะฮ์ ฟีชัรฮิ้ลลุมอะฮ์,เล่ม 8,หน้า 233

[9] โคมัยนี, ซัยยิดรูฮุ้ลลอฮ์ มูซะวี,ประมวลปัญหาศาสนา (อิมามโคมัยนี),หน้า 578,ปัญหาที่ 2589,พิมพ์ครั้งแรก,..1426

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • เพราะเหตุใดจึงได้เลือก อัดลฺ ซึ่งเป็นหนึ่งในคุณลักษณะของพระเจ้า เป็นหลักศรัทธา?
    6940 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/08/22
    หลักอุซูลของชีอะฮฺประกอบด้วย เตาฮีด, อัดลฺ, มะอาด, นะบูวัต, และอิมามะฮฺ. อัดลฺ แม้ว่าจะเป็นซิฟัตหนึ่งของอัลลอฮฺ แต่ในหลักการศรัทธาแล้วก็เหมือนกับ ซิฟัตอื่นๆ ของพระองค์ จำเป็นต้องวิพากในเตาฮีด แต่เนื่องจากความสำคัญของอัดลฺ จึงได้แยกอธิบายไว้ต่างหาก สาเหตุที่ อัดลฺ มีความสำคัญเนื่องจาก อัดลฺ คือสาเหตุของการแยกระหว่างหลักเทววิทยาของฝ่าย อัดลียะฮฺ (ชีอะฮฺและมุอฺตะซิละฮฺ) ออกจากฝ่ายอะชาอิเราะฮฺ ซิฟัตหนึ่งถ้าพิสูจน์ว่ามีหรือไม่มี จะได้ผลลัพธ์ที่แตกต่างกันและตรงข้ามกัน แน่นอน จำเป็นต้องกล่าวว่าฝ่ายอะชาอิเราะฮฺ ปฏิเสธไม่ยอมรับเรื่องความยุติธรรมของพระเจ้า ทว่ากล่าวว่า ความยุติธรรม หมายถึงอัลลอฮฺกระทำภารกิจของพระองค์ แม้ว่าในแง่ของสติปัญญา สิ่งนั้นจะเป็นความอธรรมก็ตาม ...
  • กรุณาเล่าถึงพจนารถของอิมามอลี(อ.)ที่ว่า อะไรคือสิ่งจำเป็นและอะไรคือสิ่งจำเป็นกว่า อะไรคือปัญหาและอะไรคือปัญหาที่ใหญ่กว่า สิ่งใดน่าฉงนใจและสิ่งใดน่าฉงนใจกว่า สิ่งใดอยู่ใกล้ และสิ่งใดอยู่ใกล้กว่า?
    6189 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/15
    อัลลามะฮ์มัจลิซีได้รายงานฮะดีษบทหนึ่งไว้ในหนังสือบิฮารุลอันว้ารว่า “มีผู้สอบถามอิมามอลีว่าอะไรคือสิ่งจำเป็นและอะไรคือสิ่งจำเป็นกว่าอะไรคือปัญหาและอะไรคือปัญหาที่ใหญ่กว่าสิ่งใดน่าฉงนใจและสิ่งใดน่าฉงนใจกว่าสิ่งใดอยู่ใกล้และสิ่งใดอยู่ใกล้กว่า? แต่ก่อนที่ชายผู้นั้นจะถามจนจบท่านอิมามได้ตอบด้วยบทกวีที่ว่า...توب رب الورى واجب علیهمو ترکهم للذنوب اوجب‏و الدهر فی صرفه عجیبو غفلة الناس فیه اعجب‏
  • ทั้งที่พจนารถของอิมามบากิรและอิมามศอดิกมีมากมาย เหตุใดจึงไม่มีการรวบรวมไว้ในหนังสือสักชุดหนึ่ง?
    6377 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/07
    หากจะพิจารณาถึงสังคมและยุคสมัยของท่านอิมามบากิร(อ.)และอิมามศอดิก(อ.)ก็จะเข้าใจได้ว่าเหตุใดจึงไม่มีการรวบรวมตำราดังกล่าวขึ้นอย่างไรก็ดีฮะดีษของทั้งสองท่านได้รับการรวบรวมไว้ในบันทึกที่เรียกว่า “อุศู้ลสี่ร้อยฉบับ” จากนั้นก็บันทึกในรูปของ”ตำราทั้งสี่” ต่อมาก็ได้รับการเรียบเรียงเป็นหมวดหมู่ฟิกเกาะฮ์ในหนังสือวะซาอิลุชชีอะฮ์กว่าสามสิบเล่มโดยท่านฮุรอามิลีแต่กระนั้นก็ต้องทราบว่าแม้ว่าฮะดีษของอิมามสองท่านดังกล่าวจะมีมากกว่าท่านอื่นๆก็ตามแต่หนังสือดังกล่าวก็มิได้รวบรวมเฉพาะฮะดีษของท่านทั้งสองแต่ยังรวมถึงฮะดีษของอิมามท่านอื่นๆอีกด้วย ทว่าปัจจุบันมีการเรียบเรียงหนังสือในลักษณะเจาะจงอยู่บ้างอาทิเช่นมุสนัดอิมามบากิร(อ.) และมุสนัดอิมามศอดิก(
  • เพราะสาเหตุอันใด มนุษย์จึงลืมเลือนอัลลอฮฺ?
    8347 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/10/22
    การหยุแหย่ของชัยฏอนมารร้าย,เกี่ยวข้องทางโลกเท่านั้นอันเป็นความผิดที่เกิดจากความหลงลืมองค์พระผู้อภิบาลซึ่งในทางตรงกันข้ามนมาซ, กุรอาน, การใคร่ครวญในสัญลักษณ์ต่างๆของพระเจ้าการใช้ประโยชน์จากเหตุผลและข้อพิสูจน์
  • กรุณาอธิบายเกี่ยวกับฮูรุลอัยน์ และถามว่าจะมีฮูรุลอัยน์เพศชายสำหรับสุภาพสตรีชาวสวรรค์หรือไม่?
    11074 การตีความ (ตัฟซีร) 2554/07/16
    สรวงสวรรค์นับเป็นความโปรดปรานที่พระองค์ทรงมอบเป็นรางวัลสำหรับผู้ศรัทธาและประพฤติดีโดยไม่มีข้อจำกัดทางเพศจากการยืนยันโดยกุรอานและฮะดีษพบว่า “ฮูรุลอัยน์”คือหนึ่งในผลรางวัลที่อัลลอฮ์ทรงมอบให้ชาวสวรรค์น่าสังเกตุว่านักอรรถาธิบายกุรอานส่วนใหญ่ต่างเห็นพ้องต้องกันว่าในสวรรค์ไม่มีพิธีแต่งงานส่วนคำว่าแต่งงานกับฮูรุลอัยน์ที่ปรากฏในกุรอานนั้นตีความกันว่าหมายถึงการมอบฮูรุลอัยน์ให้เคียงคู่ชาวสวรรค์โดยไม่ต้องแต่งงาน.นอกจากนี้คำว่าฮูรุลอัยน์ยังสามารถใช้กับเพศชายและเพศหญิงได้ทำให้มีความหมายกว้างครอบคลุมคู่ครองทั้งหมดในสวรรค์ไม่ว่าจะเป็นเนื้อคู่สาวสำหรับชายหนุ่มผู้ศรัทธาหรืออาจจะเป็นเนื้อคู่หนุ่มสำหรับหญิงสาวผู้ศรัทธา[i]นอกจากเนื้อคู่แล้วยังมี“ฆิลมาน”หรือบรรดาเด็กหนุ่มที่คอยรับใช้ชาวสวรรค์ทั้งชายและหญิงอีกด้วย[i]ดีดอเรย้อร(โลกหน้าในครรลองวะฮีย์),อ.มะการิมชีรอซี,หน้า
  • มัสญิดฎิรอร มีความหมายว่าอะไร? เรื่องราวความเป็นมาเกี่ยวกับการสร้างมัสญิดคืออะไร?
    8238 ประวัติสถานที่ 2555/05/17
    คำว่า “ฎิรอร” มาจากริยาในรูปของ บาบมุฟาอะละ ในพจนานุกรมหมายถึง การทำให้สูญเสีย[1] โดยเจตนา[2] เรื่องราวของมัสยิด ฎิรอร ถูกกล่าวไว้ในบทเตาบะฮฺ สาเหตุที่ตั้งชื่อมัสญิดนี้ว่า ฎิรอร ก็เนื่องจากว่า มีมุนาฟิกีน (พวกกลับกลอก) กลุ่มหนึ่งต้องการให้แผนการชั่วร้ายของตนที่มีต่ออิสลาม ซึ่งพวกเขาได้วางไว้ให้บรรลุเป้าหมาย พวกเขาจึงได้สร้างมัสญิดหลังหนึ่งขึ้นมาใน เมืองมะดีนะฮฺ โดยมีเจตนาให้มัสญิดดังกล่าวเป็นฐานสร้างอันตรายแก่นบี (ซ็อล ฯ) บรรดามุสลิมและอิสลาม[3] เรื่องราวโดยสรุปของการสร้างมัสญิด ฎิรอร คือ : กลุ่มมุนาฟิกีน (สับปลับ) ได้มาหาท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) เพื่อขออนุญาตท่านศาสดาสร้างมัสญิดขึ้นในหมู่ชนเผ่า ...
  • สามารถกุรบานสัตว์ (เชือดพลี) ในพิธีฮัจญฺ นอกเขตมุนาได้หรือไม่?
    5231 สิทธิและกฎหมาย 2554/06/22
    ท่านอายะตุลลอฮฺอัลอุซมาฟาฎิลลันกะรอนียฺ :ตอบว่า, ไม่อนุญาตเนื่องจากการเชือดพลีแกะเป็นวาญิบประการหนึ่งของพิธีฮัจญฺซึ่งต้องทำให้มุนาหรือสถานที่ปัจจุบันได้กระทำกันอยู่และต้องเชือดพลีในช่วงเทศกาลฮัจญฺเท่านั้นท่านอายะตุลลอฮฺอัลอุซมามะการิมชีรอซียฺ :ตอบว่า, ก่อนหน้านี้ได้ออกคำวินิจฉัยประเด็นนี้ไปแล้วว่าฮุจญาตสามาถเลือกได้ว่าจะเชือดพลีในมักกะฮฺหรือที่เมืองของตนแต่ต้องพิจารณาและเอาใจใส่เงื่อนไขต่างๆของการกุรบานอย่างสมบูรณ์ ...
  • ในพิธีขว้างหินที่ญะมารอตหากต้องการเป็นตัวแทนให้ผู้ที่ไม่สามารถขว้างหินเองได้ อันดับแรกจะต้องขว้างหินของเราเองก่อนแล้วค่อยขว้างหินของผู้ที่เราเป็นตัวแทนให้เขาใช่หรือไม่?
    7322 สิทธิและกฎหมาย 2555/02/05
    ดังทัศนะของมัรญะอ์ตักลีดทุกท่านรวมไปถึงท่านอิมามโคมัยนี (ร.) อนุญาตให้ผู้ประกอบพิธีฮัจญ์สามารถขว้างหินของตัวแทนของตนก่อนก่อนที่จะขว้างหินของตนเอง[i][i]มะฮ์มูดี, มูฮัมหมัดริฏอ, พิธีฮัจญ์ (ภาคผนวก),หน้าที่
  • จะพิสูจน์ตำแหน่งอิมามและเคาะลีฟะฮ์ของท่านอิมามอลี(อ.)ได้อย่างไร?
    6252 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/07/20
    อิสลามเป็นสถาบันศาสนาที่จำเป็นต้องได้รับการขับเคลื่อนและดูแลรักษาโดยผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมทั้งนี้ก็เพื่อถ่ายทอดสารธรรมคำสอนของอิสลามแก่ชนรุ่นหลังตลอดจนบังคับใช้บทบัญญัติในสังคมมุสลิมอย่างรอบคอบจากการที่การชี้นำมนุษย์สู่หนทางที่เที่ยงตรงถือเป็นจุดประสงค์หลักที่อัลลอฮ์ทรงสร้างสากลจักรวาลวิทยปัญญาแห่งพระองค์ย่อมกำหนดว่าภายหลังการจากไปของท่านนบี(ซ.ล.) ควรจะต้องมีผู้สืบทอดตำแหน่งผู้นำต่อไปทั้งนี้ก็เพื่อธำรงค์ไว้ซึ่งศาสนาและทางนำสำหรับมนุษยชาติและไม่ทอดทิ้งมนุษย์ให้อยู่กับสติปัญญา(ซึ่งเสี่ยงต่อการถูกกิเลสครอบงำ)
  • สร้อยนามหมายถึงอะไร? แล้ว “อบุลกอซิม”สร้อยนามของท่านนบีนั้นได้มาอย่างไร?
    10526 تاريخ بزرگان 2555/03/04
    ตามธรรมเนียมของชาวอรับแล้ว ชื่อที่มีคำว่า “อบู”(พ่อของ...) หรือ “อุมมุ”(แม่ของ...) นำหน้านั้น เรียกกันว่า “กุนียะฮ์” (สร้อยนาม) ในทัศนะของอรับเผ่าต่างๆนั้น ธรรมเนียมการตั้งสร้อยนามถือเป็นการยกย่องบุคคล ตัวอย่างสร้อยนาม อบุลกอซิม, อบุลฮะซัน, อุมมุสะละมะฮ์, อุมมุกุลษูม ฯลฯ[1] ศาสนาอิสลามก็ให้ความสำคัญแก่สร้อยนามเช่นกัน ฆ็อซซาลีกล่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ว่า “ท่านนบี(ซ.ล.)มักจะให้เกียรติเรียกเหล่าสหายด้วยสร้อยนามเพื่อเป็นการเชื่อมสัมพันธไมตรี ส่วนผู้ที่ไม่มีสร้อยนาม ท่านก็จะเลือกสร้อยนามให้เขา และจะเรียกสร้อยนามนั้น กระทั่งผู้คนก็เรียกตามท่าน แม้กระทั่งผู้ที่ไม่มีบุตรที่จะนำมาตั้งสร้อยนาม ท่านนบี(ซ.ล.)ก็จะตั้งให้เขา ยิ่งไปกว่านั้น ท่านยังตั้งสร้อยนามแก่เด็กๆด้วย อาทิเช่นเรียกว่าอบูนั้น อบูนี้ เพื่อเชื่อมสัมพันธ์กับเด็กๆ”[2] รายงานจากอิมามริฎอ(อ.)ว่า إذا كان الرجل حاضرا فكنه و إن ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59459 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56918 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41723 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38476 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38463 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33496 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27572 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27294 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27190 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25265 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...