การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
6478
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/11/21
 
รหัสในเว็บไซต์ fa1631 รหัสสำเนา 19010
คำถามอย่างย่อ
อิมามซะมาน (อ.) มีความคล้ายเหมือนและมีความต่างอย่างไร กับผู้ถูกสัญญาในศาสนาอื่นทั้งศาสนาที่มาจากฟากฟ้าและมิได้มาจากฟากฟ้า?
คำถาม
อิมามซะมาน (อ.) มีความคล้ายเหมือนและมีความต่างอย่างไร กับผู้ถูกสัญญาในศาสนาอื่นทั้งศาสนาที่มาจากฟากฟ้าและมิได้มาจากฟากฟ้า?
คำตอบโดยสังเขป

ศาสนาที่มีชื่อเสียงบนโลกนี้โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ศาสนาแห่งฟากฟ้าหรือศาสนาที่นับถือพระเจ้าจะมีจุดร่วมเดียวกัน กล่าวคือจะมีชายคนหนึ่งปรากฏกายออกมา ซึ่งบุคคลนั้นจะมีคุณค่ามากมาย และรัฐบาลสากลของเขาจะสร้างความยุติธรรม ความสงบสุข อีกทั้งยังความปลอดภัยแก่ประชาชนทั่วโลก ผลกระทบของการฉ้อฉลอธรรมและความหยิ่งยโสจะไม่หลงเหลืออีกต่อไป เขาจะช่วยเหลือผู้ได้รับกดขี่ให้รอดพ้นจากกงเล็บของผู้กดขี่รุกรานทั้งหลาย ภารกิจของโลกจะถูกมอบให้แก่ผู้ได้รับการกดขี่ข่มเหง เขาจะเป็นผู้พึ่งพาความยุติธรรม สร้างดุลยภาพให้บังเกิดบนโลกนี้ และประชาโลกทั้งหลายจะอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขสันติบนพื้นฐานความเป็นพี่น้องกัน

กระนั้นบนพื้นฐานดังกล่าวนี้ยังมีความแตกต่างกันอยู่มาก เอกลักษณ์ของผู้ปลดปล่อยในบางศาสนาคือ ศาสดาแห่งศาสนานั้น และบางศาสนาก็มิได้อธิบายให้ชัดเจนแต่อย่างใด หรือบกพร่องและไม่เป็นที่รับรู้, บุคลิกภาพ, คุณลักษณะต่างๆ, การมีชีวิตอยู่, ช่วงของการปรากฏกาย, การปรากฏรูปลักษณ์ของผู้ปลดปล่อย, การรอคอยเขา, ชื่อและฉายานาม และอีกมากมายหลายประการอันเป็นปัญหาที่มีความแตกต่างกัน และมีความเห็นไม่ตรงกัน

คำตอบเชิงรายละเอียด

การแนะนำผู้ได้ถูกสัญญาไว้ในยุคสุดท้ายของการมีอายุขัยของมนุษย์ เป็นคำสั่งหนึ่งที่ศาสนาและนิกายต่างๆ ได้ให้ความสำคัญเอาไว้อย่างมาก, เพียงแต่ว่าจำนวนศาสนาอันมากมายด้านหนึ่ง ประกอบกับหัวข้อนี้เป็นประเด็นใหญ่ที่มีคำถามเกิดขึ้นมาก อีกแง่หนึ่งการที่จะวิเคราะห์ในทุกแง่ทุกมุมที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนั้นเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยาก

อีกแง่หนึ่งการเปลี่ยนแปลงและการอุปโลกน์จำนวนมาก และความเป็นไปไม่ได้ที่จะพิจารณาต้นฉบับของคัมภีร์แห่งฟากฟ้าฉบับแรกๆ (ยกเว้นอิสลาม) สิ่งนี้ได้กลายเป็นสาเหตุสำคัญที่ไม่สามารถกล่าวได้อย่างสมบูรณ์ถึงความน่าเชื่อถือ ของศาสนาเหล่านั้น

ในบทความสั้นๆ นี้พยายามที่จะกล่าวอย่างรวบรัดในเชิงสรุปความ บนพื้นฐานของตำรับตำราและแหล่งอ้างอิงที่มีอยู่ของศาสนาเหล่านั้น อาทิเช่น ศาสนาอิสลาม, ยะฮูดียฺ, คริสต์, และพุทธศาสนา

ดังนั้น กรอบของการพูดคุยทั่วไปสามารถแบ่งได้ดังนี้ ...

) วิสัยร่วมกันของศาสนาต่างๆ

1.สัญญาของการแจ้งข่าวการปรากฏกาย

2.บุคลิกภาพอันสูงส่งและการเลือกสรรผู้ช่วย

3.รัฐบาลสากล

4.สถาปนาความยุติธรรม ความสงบ และทำลายความอธรรม

5.การเป็นผู้สืบทอดการปกครองบนหน้าแผ่นดิน ของบ่าวผู้บริสุทธิ์ถูกอธรรม

) วิสัยที่แตกต่างของศาสนาต่างๆ

1.สัญลักษณ์ของผู้ปลดปล่อย คำสัญญา และฉายานาม

2.สถานภาพและฐานันนดรทางจิตวิญญาณของผู้ถูกสัญญา

) วิสัยร่วมกันของศาสนาต่างๆ

1.สัญญาของการแจ้งข่าวการปรากฏกาย :

อิสลาม

ประเด็นดังกล่าวนี้เป็นหลักความเชื่อแน่นอนของศาสนาอิสลาม ทั้งอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซอิสลาม (โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสายธารชีอะฮฺ) ได้มีการอธิบายไว้อย่างกว้างขวาง[1]

อัลลอฮฺ (ซบ.) ตรัสในโองการว่า :

"وعدالله الذین آمنوا منکم و عملوا الصالحات لیستخلفنهم فی الارض"

อัลลอฮฺทรงสัญญากับบรรดาผู้ศรัทธาในหมู่สูเจ้าและกระทำความดีทั้งหลายว่า พระองค์จะทรงให้พวกเขาเป็นตัวแทนสืบทอดบนแผ่นดิน[2]

โองการนี้พระองค์ทรงสัญญาเรื่องการปรากฏกายเอาไว้, มีรายงานจากท่านอิมามมุฮัมมัดตะกียฺ (.) กล่าวว่า : กออิมของเราก็คือมะฮฺดียฺผู้ถูกสัญญาเอาไว้ ...ฉันขอสาบานต่ออัลลอฮฺ พระผู้ทรงแต่งตั้งให้มุฮัมมัดเป็นนบี และส่งเขามา และทรงแต่งตั้งให้พวกเราเป็นอิมามะฮฺเฉพาะว่า มาตรแม้นว่าโลกจะมีอายุขัยเพียงแค่วันเดียว อัลลอฮฺ จะทรงทำให้วันนั้นยาวนานออกไป, เพื่อมะฮฺดียฺจะได้ปรากฏกายออกมา และทำให้โลกนี้เปี่ยมไปด้วยความยุติธรรม, ดุจดังเช่นที่โลกเคยเปี่ยมไปด้วยความอธรรมมาแล้ว[3]

ยะฮูดีย์

ตามคำสอนของศาสนายะฮูดียฺได้มีการกล่าวถึง การปรากฏกายของ มาชีฮ์ (mashiah) ซ้ำหลายครั้ง[4] ในวันนั้นเสียงแตรสังข์ของ มะกาอีลี จะดั่งสนั่น....และผู้ที่นอนอยู่ในพื้นดิน (คนตาย) จะฟื้นคืนชีพขึ้นมามากมาย บางคนฟื้นขึ้นมาเพื่อการมีชีวิตนิรันดร์ และบางคนฟืนขึ้นมาเพื่อชีวิตตกต่ำรันทดตลอดไป[5]

คำพูดดังกล่าววิพากถึงเรื่องการรัจญฺอัต (ย้อนกลับคืน) ในสมัยการปรากฏกายของอิมามมะฮฺดียฺ (.) ซึ่งได้รับการเน้นย้ำไว้อย่างมากมายในหลักความเชื่อของมุสลิม

ศาสนาคริสต์

ผู้ปฏิบัติตามตริสตศาสนา (คาทอลิค ออโทรดอกซ์ และโปรแตสแตนต์) ต่างรอคอยผู้มาช่วยเหลือที่ถูกสัญญาไว้เช่นกันเนื่องพระบุตรซึ่งเป็นมนุษย์ที่จะมาในพระสิริของพระองค์ และบรรดาทวยเทพต่างลงประทับบนบัลลังก์อันยิ่งใหญ่[6]

ฉันได้ถามพระบิดาว่าจะมีการมอบอำนาจอื่นแก่พระองค์อีกไหม เพื่อว่าพระองค์จะธำรงไปตลอดกาล, หมายถึงจิตวิญญาณเที่ยงแท้ ซึ่งโลกไม่อาจมองเห็นได้[7]

โซโรอัสเตอร์

บรรดาผู้ติดตามศาสนานี้ต่างรอคอยผู้ถูกสัญญา 3 ท่าน ซึ่งแต่ละท่านจะปรากฏกายโดยมีระยะเวลาห่างกันประมาณ 1,000 ปี และทั้งหมดเป็นโอรสของ พระโซโรอัสเตอร์ โอรสที่สามมีนามว่า อัสทรัตอิราตา (Astrat- Ersta) ซึ่งตามคำสอนของศาสนานี้ถือว่าเป็นผู้ถูกสัญญาองค์สุดท้าย

คัมภีร์ อเวสตะ เป็นคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาโซโรอัสเตอร์ตอนหนึ่งได้กล่าวว่า   โอ้ ผู้บริสุทธิ์จะปรากฏมาในวันรุ่งอรุณที่สดใส ส่องสว่างไปด้วยพระรัศมี พระองค์จะบำรุงศาสนาที่เที่ยงธรรมให้มั่นคง และประกาศเชิญชวนให้ผู้คนมาสู่ศาสนาของพระองค์ด้วยวิทยปัญญาและสันติวิธี แล้วผู้ใดเล่าที่ละทิ้งศาสนาของพระองค์ ขณะที่ผู้ตอบรับคำเชิญได้กลายเป็นมิตรและผู้ปลดปล่อยพระองค์ ดังนั้น เพื่อแจ้งข่าวการปรากฏกายของผู้ปลดปล่อยเราขอแต่งตั้งเจ้า โอ้อาหุรา

ข้าขอสรรเสริญต่อพระผู้ทรงพลานุภาพ ผู้ทรงสร้างแสงอันเรืองรอง,....ขณะที่พระองค์สร้างโลกใหม่....ในเวลานั้นเมื่อผู้ตายได้ฟื้นคืนชีพขึ้นมา เพื่อกลับสู่การดำรงชีวิตนิรันดร์[8]

บุคลิกภาพอันสูงส่งและการเลือกสรรผู้ช่วย

ตามคำสอนของศาสนาต่างๆ จะพบว่ามีบุคคลผู้ให้การช่วยเหลือทีได้ถูกสัญญาไว้อยู่ในตำแหน่งสูงส่งทางศาสนา, เพียงแต่ว่าอิสลามได้ให้ความสำคัญพิเศษเกี่ยวกับบุคคลดังกล่าวไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านอิมามมะฮฺดียฺ ซอฮิบุซซะมาน (.)

ตามทัศนะของอิสลาม (โดยเฉพาะอย่างยิ่งชีอะฮฺ) ผู้ให้การช่วยเหลือในยุคสุดท้ายนั้น ต้องมีคุณลักษณะพิเศษแห่งความเป็นมนุษย์ชาติและต้องได้รับการเลือกสรรจากพระเจ้า, เช่น ต้องเป็นผู้บริสุทธิ์, ต้องเป็นสื่อกลางแห่งพระมหากรุณาธิคุณ, เป็นผู้รับความเมตตาธิคุณ และความจำเริญทั้งปวงของพระเจ้า, ศูนย์กลางของการดำรงอยู่และเป็นสาเหตุแห่งความสงบผ่อนคลายในระบบของการดำรงอยู่ เหล่านี้คือลักษณะที่โดดเด่นของผู้ที่จะมาให้การช่วยเหลือโลก ซึ่งอิสลามได้มอบหมายภารกิจนี้แด่ท่านอิมามมะฮฺดียฺ (.) ส่วนในศาสนาอื่นๆ ก็มีการกล่าวถึงคุณลักษณะพิเศษของผู้ถูกสัญญาเอาไว้อย่างสวยงามเช่นกัน ซึ่งท่านผู้อ่านสามารถค้นคว้าได้จากคำสอนของคัมภีร์ในศาสนาเหล่านั้น

3. รัฐบาลสากล

ศาสนาที่สำคัญและยิ่งใหญ่ของโลกต่างกล่าวว่า ผู้ให้การช่วยเหลือโลกนั้นจะสถาปนารัฐบาลสากลขึ้น ซึ่งรัฐบาลของท่านจะปกครองเหนือชาวโลกทั้งปวง, ในลักษณะทีว่าทุกประเทศและทุกเชื้อชาติ, ทุกศาสนาและทุกวัฒนธรรมต่างอยู่ภายใต้ธงชัยผืนเดียวกัน หรือเป็นความสุขและเป้นความพึงพอใจของสังคมทั้งหมด

อิสลาม

พระองค์คือ ผู้ส่งศาสนทูตของพระองค์มาพร้อมด้วยคำแนะนำและศาสนาแห่งสัจจะ เพื่อที่จะทรงให้ศาสนาแห่งสัจจะนั้นประจักษ์เหนือศาสนาทุกศาสนา และแม้ว่าบรรดาผู้ตั้งภาคีจะชิงชังก็ตาม[9]

จากโองการดังกล่าวเข้าใจได้ว่า ด้วยการปรากฏกายของท่านอิมามมะฮฺดียฺ (.) รัศมีแห่งอิสลามจะขจรขจายไปทั่วสารทิศบนโลกนี้ ประชาโลกทั้งหลายต่างน้อมรับและจำนนต่ออิสลาม, หรือจะพินาศภายใต้ใบมีดอันคมกริบของความยุติธรรม และธงชัยแห่งอิสลามจะถูกชักสูยอดเสาด้วยเกียรติยศและศักดิ์ศรีในทุกที่ 

ยะฮูดียฺ

เซยูร ดาวิด (.) กล่าวว่าโอ้ ข้าพระผู้เป็นเจ้า,โปรดมอบกฎเกณฑ์และบทบัญญัติของพระองค์,กรรมสิทธิ์และบทบัญญัติของพระองค์ ให้แก่ผู้ปลดปล่อย เพื่อว่าเขาจะได้ปกครองโลกตั้งแต่มหาสมุทรสู่มหาสมุทร จากน่านน้ำสู่น่านน้ำ จนกระทั่งไปถึงจุดที่ไกลโพ้นที่สุด[10]

คริสเตียน

ชนทุกเชื้อชาติและเผ่าพันธุ์จะรวบรวมอยู่  เขา[11]

4.สถาปนาความยุติธรรม ความสงบ และทำลายความอธรรม

การสถาปนาความยุติธรรม และความสงบบนโลกนี้ พร้อมกับทำลายความอยุติธรรมให้หมดไป ซึ่งโดยปกติแล้วไม่ว่าที่ใดก็ตามเมื่อมีการกล่าวถึงผู้ปลดปล่อยโลก ประเด็นนี้จะได้รับการเน้นย้ำเป็นพิเศษ

อิสลาม

การแจ้งข่าวอันจำเริญยิ่งมากกว่าสิ่งใดแก่บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลายคือ การให้สัญญาเรื่องการสถาปนารัฐบาลสากลบนหน้าแผ่นดิน, การได้รับชัยชนะเหนือผู้กดขี่และความอธรรมทั้งหลาย พร้อมกับการดำรงชีวิตอยู่ด้วยความสงบสุขปราศจากภยันตรายและความหวาดกลัวทั้งปวง ดำรงชีวิตอย่างมีความสุขและมีความพึงพอใจพิเศษอัลลอฮฺทรงสัญญากับบรรดาผู้มีศรัทธาในหมู่พวกเจ้าและบรรดาผู้กระทำความดีทั้งหลายว่า พระองค์จะทรงให้พวกเขาเป็นตัวแทนสืบทอดบนหน้าแผ่นดินเสมือนดังที่พระองค์ ทรงให้บรรดาชนก่อนพวกเขาเป็นตัวแทนสืบทอดมาก่อนแล้ว และพระองค์จะทรงทำให้ศาสนาของพวกเขา ซึ่งพระองค์ทรงโปรดปรานเป็นที่มั่นคง เป็นเกียรติแก่พวกเขา และแน่นอนพระองค์จะทรงเปลี่ยนแปลงให้พวกเขาได้รับความปลอดภัยหลังจากความกลัวของพวกเขา โดยที่พวกเขาจะต้องเคารพภักดีข้า ไม่ตั้งภาคีอื่นใดต่อข้า[12]

ยะฮูดียฺ

และเขาจะตัดสินหมู่ชนของเจ้าด้วยความยุติธรรม ทำให้วิถีชีวิตของเจ้าดำเนินไปอย่างราบเรียบ ... ทำความผู้อธรรมทั้งปวงบนโลกนี้.... ในยุคสมัยของเขาท่านจะพบบ่าวผู้บริสุทธิ์จำนวนมากมาย...และประชาชาติทั้งหมดบนโลกนี้จะสร้างพึงพอใจแก่เขา[13]

ใครคือผู้วางรากฐานความยุติธรรม  เบื้องเท้าของเขา...และทำให้เขากลายเป็นมหาจักรพรรดิปกครอง[14]

ตามคำสอนของศาสนาฮินดูกล่าวว่าวิถีการดำเนินชีวิตบนโลกในยุคสุดท้าย ได้ถูกมอบแด่พระมหาจักรพรรดิผู้มีความยุติธรรม ซึ่ง ...”[15]

5.การเป็นผู้สืบทอดการปกครองบนหน้าแผ่นดิน ของบ่าวผู้บริสุทธิ์ถูกอธรรม

ประเด็นดังกล่าวนี้ได้ถูกกล่าวไว้ในคำสอนของศาสนาต่างๆ เช่นเดียวกัน และเป็นความหวังสำหรับทุกคนว่า วันหนึ่งผู้กดขี่และเป็นมหาอำนาจจะประสบความปราชัยอย่างใหญ่หลวง และผู้ได้รับการกดขี่จะกลับกลายเป็นผู้มั่นคงแข็งแรง กลับมามีอำนาจบนโลกนี้

อิสลาม

และเราปรารถนาที่จะให้ความโปรดปรานแก่บรรดาผู้ที่อ่อนแอในแผ่นดิน และเราจะทำให้พวกเขาเป็นผู้นำและจะทำให้พวกเขาเป็นผู้รับมรดก[16]

และแท้จริงนั้น เราได้บันทึกไว้ในคัมภีร์อัซซะบูร หลังจากการตักเตือน ว่าแผ่นดินนี้จะสืบทอดโดยบรรดาบ่าวของฉันที่ดี[17]

ยะฮูดียฺ

เซยูร ..ส่วนบรรดาผู้มอบหมายแด่พระเจ้าเขาจะได้เป็นผู้ปกครองโลก ..ส่วนพวกที่อ่อนน้อมถ่อมตนที่ได้เป็นผู้สืบทอดบนหน้าแผ่นดินนั้น เขาจะมีความสุขและความศานติอย่างมากมาย ... และบรรดาผู้ซื่อสัตย์ที่ได้สืบทอดเขาจะได้พำนักอยู่ในนั้นตลอดไป[18]

โซโรอัสเตอร์

“...ด้วยนามของซูชิยานัต ผู้ครองชัยชนะ ซึ่งจะครอบคลุมเหนือเพื่อนพร้องทั้งหมด.. ส่วนคนชั่วที่สร้างบาปกรรมจะถูกทำลายทิ้งหมดสิ้น และผู้ใช้เล่ห์เพทุบายจะถูกขับไล่และถูกเนรเทศ[19] คำว่าซูชิยานัต หมายถึงผู้ให้การช่วยเหลือนั่นเอง

วิสัยที่แตกต่างของศาสนาต่างๆ

เนื่องจากมีความจำกัดในคำตอบของเรา ดังนั้น จะขอกล่าวคร่าวๆ เฉพาะ 2 ประเด็นสำคัญอันเป็นพื้นฐานหลักที่สุดของความต่าง

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • ความสำคัญ และปรัชญาของการจัดพิธีกรรมรำลึกถึงท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) คืออะไร?
    7489 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/12/20
    สำหรับการติดตามผลอย่างมีนัยของการให้ความสำคัญและปรัชญาของการจัดพิธีกรรมรำลึกถึงท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) จำเป็นต้องพิจารณาประเด็นสำคัญดังต่อไปนี้:1. ...
  • แถวนมาซญะมาอะฮฺควรตั้งอย่างไร? การเคลื่อนในนมาซทำให้บาฎิลหรือไม่?
    6575 สิทธิและกฎหมาย 2554/06/21
    เกี่ยวกับคำถามของท่านในเรื่องการจัดแถวนมาซญะมาอะฮฺมีกล่าวไว้แล้วในหนังสือฟิกฮต่างๆ :1. มะอฺมูมต้องไม่ยืนล้ำหน้าอิมามญะมาอะฮฺ[1]2. มุสตะฮับถ้าหากมะอฺมูม,เป็นชายเพียงคนเดียว, ให้ยืนด้านขวามือของอิมามญะมาอะฮฺ[2], และเป็นอิฮฺติยาฏวาญิบให้ยืนถอยไปด้านหลังของอิมามญะมาอะฮฺแต่ถ้ามีมะอฺมูมหลายคนให้ยืนด้านหลังของอิมามญะมาอะฮฺ[3]ดังนั้นโดยทั่วไปของเรื่องนี้ต้องการให้แต่ละคนจากมะอฺมูมคนที่ 1 และ 2 ปฏิบัติหน้าที่ของตนส่วนคำตอบสำหรับคำถามที่ว่ามะอฺมูมคนที่สองเป็นสาเหตุทำให้มะอฺมูมคนแรกต้องเคลื่อนที่ในนมาซญะมาอะฮฺอันเป็นสาเหตุทำให้นมาซของเขาบาฏิลหรือไม่นั้น, ต้องกล่าวว่า: การกระทำใดก็ตามที่ทำให้รูปแบบของมนาซต้องสูญเสียไปถือว่านมาซบาฏิล, เช่นการกอดอกหรือการกระโดดและฯลฯ[4]มัรฮูมซัยยิดกาซิมเฎาะบาเฏาะบาอียัซดีกล่าวว่า[5]ขณะนมาซ,ถ้าได้เคลื่อนเพื่อหันให้ตรงกับกิบละฮฺ[6]ถือว่าถูกต้อง,แม้ว่าจะถอยไปสองสามก้าวหรือมากกว่านั้น, เนื่องจากการเคลื่อนเพียงเท่านี้ไม่นับว่าเป็นอากับกริยาเพิ่มในนมาซทั้งที่มิได้มีการเคลื่อนมากมายและไม่ถือเป็นการทำลายรูปลักษณ์ของนมาซหรือเคลื่อนมากไปกว่านั้นก็ยังไม่ถือว่าทำลายรูปลักณ์ของนมาซอยู่ดีด้วยเหตุนี้มีรายงานอนุญาตให้กระทำเช่นนั้นด้วย
  • ในเมื่อการกดขี่เป็นที่แพร่หลายไปทั่วโลกแล้ว เหตุใดอิมามมะฮ์ดี (อ.) จึงยังไม่ปรากฏกาย
    6293 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/11/21
    เมื่อคำนึงถึงประเด็นต่อไปนี้จะทำให้เราค้นหาคำตอบได้ง่ายยิ่งขึ้น1.     เราจะเห็นประโยคที่ว่าیملأ الارض قسطا و عدلا کما ملئت ظلما و جورا" ในหลายๆฮะดิษ[1] (ท่านจะเติมเต็มโลกทั้งผองด้วยความยุติธรรมแม้ในอดีตจะเคยคละคลุ้งไปด้วยความอยุติธรรม) สิ่งที่เราจะเข้าใจได้จากฮะดีษดังกล่าวก็คือ
  • ทัศนะของอัลกุรอาน เกี่ยวกับความประพฤติสงบสันติของชาวมุสลิม กับศาสนิกอื่นเป็นอย่างไร?
    14546 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/09/29
    »การอยู่ร่วมกันด้วยความสงบสันติของศาสนาต่างๆ« คือแก่นแห่งแนวคิดของอิสลาม อัลกุรอานมากมายหลายโองการ ได้เน้นย้ำเกี่ยวกับประเด็นนี้เอาไว้ในรูปแบบต่างๆ ทั้งกล่าวโดยตรงสมบูรณ์ หรือกล่าวเชิงเปรียบเปรย ทัศนะของอัลกุรอาน ถือว่าการทะเลาะวิวาท การสงคราม และความขัดแย้งกัน เนื่องจากแตกต่างทางความเชื่อ ซึ่งบางศาสนาได้กระปฏิบัติเช่นนั้น เช่น สงครามไม้กางเกงของชาวคริสต์ เป็นสิ่งที่ไม่มีประโยชน์ อิสลามห้ามการเป็นศัตรู และมีอคติกับผู้ปฏิบัติตามศาสนาอื่น และถือว่าวิธีการดูถูกเหยียดหยามต่างๆ ที่มีต่อศาสนาอื่น มิใช่วิธีการของศาสนา อัลกุรอาน ได้แนะนำและสนับสนุนการอยู่ร่วมกันอย่างสันติวิธี ด้วยแนวทางต่างๆ มากมาย แต่ ณ ที่นี้จะขอกล่าวถึงประเด็นสำคัญที่สุด อาทิเช่น : 1.ความเสรีทางความเชื่อและความคิด 2.ใส่ใจต่อหลักศรัทธาร่วม 3.ปฏิเสธเรื่องความนิยมในเชื้อชาติ 4.แลกเปลี่ยนความคิดด้วยสันติวิธี
  • จุดประสงค์ของคำว่า “บุรูจญ์” ในกุรอานหมายถึงอะไร?
    12491 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/05/20
    โดยปกติความหมายของโองการที่มีคำว่า “บุรุจญ์” นั้นหมายถึงอัลลอฮฺ ตรัสว่า : เราได้ประดับประดาท้องฟ้า – หมายถึงด้านบนเหนือขึ้นไปจากพื้นดิน – อาคารและคฤหาสน์อันเป็นสถานพำนักของดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์, เราได้ประดับให้สวยงามแก่ผู้พบเห็น และเครื่องประดับเหล่านั้นได้แก่หมู่ดวงดาวทั้งหลาย คำๆ นี้ตามความหมายเดิมหมายถึง ปราสาทและหอคอยที่แข็งแรงมั่นคง, ซึ่งอัลกุรอานก็ถูกใช้ในความหมายดังกล่าวด้วย หรือหมายถึง เครื่องประดับที่ทุกวันนี้ทั่วโลกได้นำไปประดับประดาสร้างความสวยงาม ตระการตา. ...
  • ท่านนบี(ซ.ล.)เคยกล่าวไว้ดังนี้หรือไม่? “หากผู้คนล่วงรู้ถึงอภินิหารของอลี(อ.) จะทำให้พวกเขาปฏิเสธพระเจ้าเพราะจะโจษขานว่าอลีก็คือพระเจ้านั่นเอง(นะอูซุบิลลาฮ์)”
    8982 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/19
    เราไม่พบฮะดีษที่คุณยกมาในหนังสือเล่มใดแต่มีฮะดีษชุดที่มีความหมายคล้ายคลึงกันปรากฏอยู่ในตำราหลายเล่มซึ่งขอหยิบยกฮะดีษบทหนึ่งจากหนังสืออัลกาฟีมานำเสนอพอสังเขปดังนี้อบูบะศี้รเล่าว่าวันหนึ่งขณะที่ท่านนบี(ซ.ล.)นั่งพักอยู่ท่านอิมามอลี(อ.)ก็เดินมาหาท่านท่านนบีกล่าวแก่อิมามอลี(อ.)ว่า “เธอคล้ายคลึงอีซาบุตรของมัรยัมและหากไม่เกรงว่าจะมีผู้คนบางกลุ่มยกย่องเธอเสมือนอีซาแล้วฉันจะสาธยายคุณลักษณะของเธอกระทั่งผู้คนจะเก็บดินใต้เท้าของเธอไว้เพื่อเป็นสิริมงคล ...
  • เราสามารถที่จะใช้เงินคุมุสที่เกิดขึ้นจากการออมทรัพย์เพื่อการซื้อบ้านได้หรือไม่?
    5448 สิทธิและกฎหมาย 2554/08/08
    ก่อนที่จะตอบคำถามของคุณจะต้องกล่าวว่า: ตามทัศนะของท่านอายาตุลลอฮ์อุซมาคอเมเนอีเงินออมจากกำไรของผลประกอบการนั้นแม้จะเป็นการออมเพื่อใช้ชำระในชีวิตประจำวันแต่เมื่อถึงปีคุมุสแล้วจะต้องชำระคุมุสนอกจากได้มีการออมเพื่อซื้อของใช้จำเป็นในชีวิตหรือค่าใช้ชำระจำเป็น
  • เป็นไปได้ไหมที่จะอธิบาย อัรบะอีน, อิมามฮุซัยนฺ ให้ชัดเจน?
    8315 تاريخ بزرگان 2555/05/20
    เกี่ยวกับพิธีกรรมอัรบะอีน, สิ่งที่ปรากฏอยู่ในวัฒนธรรฒศาสนาของเรา, คือการรำลึกถึงช่วง 40 วัน แห่งการเป็นชะฮาดัตของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ซัยยิดุชชุฮะดา ซึ่งตรงกับวันที่ 20 เดือนเซาะฟัร, ท่านอิมามฮะซันอัสการียฺ (อ.) ได้กล่าวถึงสัญลักษณ์ของผู้ศรัทธา »มุอฺมิน« ไว้ 5 ประการด้วยกัน กล่าวคือ : การดำรงนมาซวันละ 51 เราะกะอัต, ซิยารัตอัรบะอีน, สวมแหวนทางนิ้วมือข้างขวา, เอาหน้าซัจญฺดะฮฺแนบกับพื้น และอ่านบิสมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม ในนมาซด้วยเสียงดัง[1] ทำนองเดียวกันนักประวัติศาสตร์บันทึกไว้ว่า ท่านญาบิร บิน อับดุลลอฮฺ อันซอรียฺ,พร้อมกับอุฏ็อยยะฮฺ เอาฟีย์ ประสบความสำเร็จต่อการเดินทางไปซิยาเราะฮฺอิมามฮุซัยนฺ (อ.) หลังจากถูกทำชะฮาดัตในช่วง 40 วันแรก
  • สัมพันธภาพระหว่างศรัทธาและความสงบมั่นที่ปรากฏในกุรอานเกิดขึ้นได้อย่างไร?
    6631 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/03/07
    อีหม่านให้ความหมายว่าการให้การยอมรับ ซึ่งตรงข้ามกับการกล่าวหาว่าโกหก แต่ในสำนวนทั่วไป อีหม่านหมายถึงการยอมรับด้วยวาจา ตั้งเจตนาในใจ และปฏิบัติด้วยสรรพางค์กาย ส่วน “อิฏมินาน” หมายถึงความสงบภายหลังจากความกระวนกระวายใจ ความแตกต่างระหว่างอีหม่านและความสงบมั่นทางจิตใจก็คือ ในบางครั้งสติปัญญาของคนเราอาจจะยอมรับเรื่องใดเรื่องหนึ่งด้วยกระบวนการพิสูจน์เชิงเหตุและผล ทว่ายังไม่บังเกิดความสงบมั่นใจจิตใจ แต่ถ้าลองได้มั่นใจในสิ่งใดแล้ว ความมั่นใจนี้จะนำมาซึ่งความสงบมั่นทางจิตใจในที่สุด มีผู้ถามอิมามริฎอ(อ.)ว่า ท่านนบีอิบรอฮีม(อ.)มีความเคลือบแคลงสงสัยหรืออย่างไร? ท่านตอบว่า “หามิได้ ท่านมีความมั่นใจจริง แต่ทว่าท่านขอให้พระองค์ทรงเพิ่มพูนความมั่นใจแก่ตนเองอีก” ...
  • เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตอยู่บนดาวเคราะห์ดวงอื่น,อิสลามมีทัศนะอย่างไรบ้าง?
    12008 การตีความ (ตัฟซีร) 2554/06/22
    แนวคิดที่ว่ามีสิ่งมีชีวิตอยู่บนเส้นทางช้างเผือกหรือดาวเคราะห์ดวงอื่นหรือมีสิ่งมีสติปัญญาอื่นอยู่อีกหรือไม่, เป็นหนึ่งในคำถามที่มนุษย์เฝ้าติดตามค้นหาคำตอบอยู่จนถึงปัจจุบันนี้, แต่ตราบจนถึงเดี๋ยวนี้ยังไม่ได้รับคำตอบที่แน่นอน. อัลกุรอานบางโองการได้กล่าวถึงสิ่งมีชีวิตอื่นในชั้นฟ้าเอาไว้อาทิเช่น1. ในการตีความของคำว่า “มินดาบะติน” ในโองการที่กล่าวว่า :”และหนึ่งจากบรรดาสัญญาณ (อำนาจ) ของพระองค์คือการสร้างชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดินและสิ่งที่ (ประเภท) มีชีวิตทั้งหลายพระองค์ทรงแพร่กระจายไปทั่วในระหว่างทั้งสองและพระองค์เป็นผู้ทรงอานุภาพที่จะรวบรวมพวกเขาเมื่อพระองค์ทรงประสงค์”

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59625 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57021 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41834 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38639 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38535 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33630 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27648 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27443 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27286 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25344 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...