การค้นหาขั้นสูง

ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจถึงบริบททางประวัติศาสตร์ที่ต่างกัน ตลอดจนมุมมองของมัซฮับอื่นๆ(นอกเหนือจากชีอะฮ์)ที่มีต่อบรรดาอิมามสามท่านที่เอ่ยมา จึงจะเข้าใจเหตุผลที่มีการรวบรวมพจนารถอิมามอลี(อ.)ไว้ในนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ ทว่ามิได้มีปรากฏการณ์เดียวกันนี้เกิดขึ้นในภรณีของอิมามท่านอื่นๆ ดังข้อสังเกตุต่อไปนี้:

1.อิมามอลี(อ.)คืออิมามท่านเดียวที่มีโอกาสขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นเคาะลีฟะฮ์และผู้นำประชาคมมุสลิม แม้จะเพียงห้าปีที่ท่านมีอำนาจ  แต่ท่านก็มีโอกาสมากพอที่จะถ่ายทอดธรรมเทศนามากหมายหลายบทแก่ประชาชน ขณะเดียวกันนักบันทึกก็มีอิสระที่จะบันทึกธรรมเทศนาเหล่านั้นเพื่อเผยแพร่แก่ผู้อื่นต่อไป และแม้ว่าผู้ยึดถือมัซฮับอื่นๆมิได้ถือว่าท่านเป็นเคาะลีฟะฮ์ที่แต่งตั้งโดยตรงจากท่านนบี(ซ.ล.) แต่อย่างน้อยพวกเขาก็บันทึกพจนารถของท่านไว้ในตำราของฝ่ายตน[1] เนื่องจากยอมรับว่าท่านเป็นหนึ่งในสี่เคาะลีฟะฮ์รอชิดีน

  1. 2. ความพยายามในการแจกแจงหลักการศาสนาของอิมามบากิร(อ.)และอิมามศอดิก(อ.)เกิดขึ้นในช่วงผลัดอำนาจจากราชวงศ์อุมะวีสู่ราชวงศ์อับบาซิด ถึงแม้ว่าสภาวะดังกล่าวจะเป็นโอกาสทองในการเผยแพร่สารธรรมและสอนสั่งสานุศิษย์ และแม้ว่านักวิชาการฝ่ายอะฮ์ลิซซุนนะฮ์จำนวนมากเข้าร่วมศึกษาด้วย แต่กระนั้นก็มิได้ทำให้ท่านทั้งสองมีสถานภาพทางสังคมเหมือนอิมามอลี(อ.) เพราะยังต้องระมัดระวังอากัปกิริยาพอสมควรเพื่อความปลอดภัยในชีวิตของสานุศิษย์ และเพื่อมิให้ราชวงศ์ใดราชวงศ์หนึ่งฉวยโอกาส ด้วยเหตุนี้ ท่านจึงหลีกเลี่ยงการกล่าวคุฏบะฮ์บทยาวดังกรณีของอิมามอลี(อ.) แต่เน้นตอบคำถามประชาชนเป็นหลัก ที่น่าสนใจก็คือ บางครั้งท่านอิมามบากิร(อ.)ถึงกับต้องยกให้ท่านญาบิรเป็นสายรายงานของตน เพื่อที่จะอ้างอิงฮะดีษสักบทถึงท่านนบี(ซ.ล.)หรืออิมามอลี(อ.) ทั้งนี้ก็เพื่อให้พี่น้องมัซฮับอื่นๆยอมรับได้[2]
  2. 3. ต้องเรียนชี้แจงว่าพจนารถของบรรดาอิมาม ไม่ว่าจะอิมามอลี(อ.)หรืออิมามท่านใดก็ตาม ต่างก็มิได้รับการเรียบเรียงเป็นรูปเล่มในสมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ นักรายงานฮะดีษหรือผู้ประพันธ์จะรวบรวมพจานารถบางส่วนไว้เท่านั้น นักรายงานฮะดีษบางคนเรียบเรียงเฉพาะฮะดีษที่ตนรายงาน และตั้งชื่อบันทึกประภทนี้ว่า “อัศล์” โดยได้เผยแพร่แก่บุคคลอื่นๆด้วย ทำให้มีการรวบรวมภายใต้ชื่อ “อัศล์สี่ร้อยฉบับ” อัลลามะฮ์ มัจลิซีได้นำเสนอรายนามอัศล์เหล่านี้ไว้ในส่วนแรกของหนังสือบิฮารุลอันว้าร อัศล์เหล่านี้จึงถือเป็นแหล่งอ้างอิงฮะดีษในระดับเบื้องต้น ซึ่งในภายหลังได้รับการเรียบเรียงในนาม “กุตุ้บอัรบะอะฮ์” (ตำราทั้งสี่)

อย่างไรก็ดี ฮะดีษต่างๆในตำราชุดดังกล่าวมิได้คัดเฉพาะอิมามบากิร(อ.)และอิมามญะฟัร(อ.)เท่านั้น หากแต่รวมฮะดีษของอิมามท่านอื่นๆไว้ด้วย แต่ถึงกระนั้น ฮะดีษของอิมามสองท่านดังกล่าวมีมากกว่าท่านอื่นๆ เนื่องด้วยเสรีภาพที่มีในยุคนั้น

  1. 4. ในยุคที่ยังสามารถติดต่อกับบรรดาอิมาม(อ.)ได้ ชีอะฮ์ยังไม่มีความจำเป็นนักที่จะต้องพึ่งพาตำราที่รวบรวมฮะดีษจากทุกหมวดหมู่และทุกสายรายงาน แต่เมื่อไม่สามารถติดต่อกับอิมาม(อ.)ในยุคเร้นกายได้ทั้งโดยตรงและผ่านตัวแทน ก็เพิ่งจะเล็งเห็นความสำคัญดังกล่าว ทำให้เหล่านักวิชาการชีอะฮ์มีดำริที่จะรวบรวมพจนารถอิมาม(อ.)
    ด้วยเหตุนี้เองที่ตำราประเภทนี้ประพันธ์ขึ้นในศตวรรษที่สามถึงห้าเป็นส่วนใหญ่ อาทิเช่น กุตุ้บอัรบะอะฮ์, ตุฮะฟุ้ลอุกู้ล, โดยส่วนใหญ่จะบันทึกพจนารถของอิมามทุกท่าน แต่ก็มีตำราอย่างนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ และ ฆุเราะรุ้ลฮิกัม ที่เจาะจงเฉพาะอิมามอลี(อ.)ท่านเดียว
  2. 5. วิธีเรียบเรียงที่เป็นประโยชน์สำหรับนักวิชาการอิสลามมากที่สุดคือการเรียบเรียงและจัดหมวดหมู่ตามเนื้อหาฮะดีษของบรรดาอิมาม(อ.)ทุกท่าน มิไช่การเรียบเรียงในลักษณะเจาะจงอิมามแต่ละท่าน (แม้ว่าจะมีคุณค่าในระดับหนึ่งเช่นกัน)
    อย่างไรก็ดี เนื่องจากฮะดีษของบรรดาอิมามมีคุณค่าสูงส่งเท่าเทียมกันหมด กอปรกับการที่ผู้รู้มักจะค้นหาฮะดีษตามรายเนื้อหาเพื่อใช้อ้างอิงในเชิงฟิกเกาะฮ์ เทววิทยา ฯลฯ จึงสรุปได้ว่าวิธีเรียบเรียงตำราอย่างปัจจุบันเหมาะสมที่สุด
  3. 6. ในสมัยนั้น บรรดาเคาะลีฟะฮ์แห่งราชวงศ์อับบาซิดที่กุมอำนาจอยู่ รวมทั้งพี่น้องอะฮ์ลิสซุนนะอ์ทุกมัซฮับ ต่างก็มิได้เป็นปฏิปักษ์กับอิมามอลี(อ.) ยิ่งไปกว่านั้น บางครั้งยังแสดงท่าทีให้เกียรติท่านด้วย ในสภาพสังคมเช่นนี้เองที่ทำให้ท่านซัยยิด เราะฎี รวบรวมพจนารถของอิมามอลี(อ.)และเรียบเรียงเป็น “นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์” โดยไม่ถูกแรงต่อต้านใดๆเลย ทั้งที่ซัยยิดพำนักอยู่ที่กุรงแบกแดด เมืองหลวงของอับบาซิด ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่าโวหารเหล่านี้ปรากฏอยู่ในตำราของอะฮ์ลิสซุนนะฮ์เช่นกัน[3]

แต่หากจะเรียบเรียงหนังสือที่บันทึกฮะดีษของบรรดาอิมาม โดยเฉพาะอิมามบากิร(อ.)และอิมามศอดิก(อ.) (ที่กล่าวฮะดีษไว้มากเป็นพิเศษ) ก็อาจจะก่อให้เกิดปฏิกิริยาเชิงลบจากเหล่าเคาะลีฟะฮ์ราชวงศ์อับบาซิดได้  ทั้งนี้เพราะท่านอิมามศอดิก(อ.)เคยแสดงท่าทีคัดค้านราชวงศ์นี้มาตั้งแต่เถลิงอำนาจ[4] บรรดาอิมามหลังจากท่านก็เคยแสดงท่าทีดังกล่าวเช่นกัน

ฉะนั้น นอกเหนือจากฮะดีษของอิมามอลี(อ.)แล้ว การที่จะเรียบเรียงตำราฮะดีษของบรรดาอิมามที่แม้จะเป็นอิมามยุคก่อนอับบาซิดก็ตาม ล้วนจะถูกราชวงศ์นี้เพ่งเล็งเป็นพิเศษ เนื่องจากเป็นการตอกย้ำทฤษฎีที่ว่าตำแหน่งเคาะลีฟะฮ์เป็นกรรมสิทธิของวงศ์วานอิมามอลี(อ.) ด้วยเหตุนี้เอง เพื่อไม่ให้เป็นที่เพ่งเล็งจากอำนาจรัฐ นักวิชาการชีอะฮ์จึงเลือกที่จะรายงานฮะดีษของบรรดาอิมามท่านอื่นๆเคียงข้างฮะดีษจากท่านนบี(ซ.ล.)และอิมามอลี(อ.)ในตำราอย่าง อัลกาฟีย์, ตะฮ์ซีบ, มันลายะฮ์ฎุรุฮุ้ลฟะกีฮ์ ฯลฯ

  1. 7. วิธีดังกล่าวถือปฏิบัติกันมาจนถึงยุคที่มีการเรียบเรียงตำราอย่างเช่น บิฮารุลอันว้าร, วะซาอิลุชชีอะฮ์ ...ฯลฯ ซึ่งแม้ว่าฮะดีษจากอิมามบากิรและอิมามศอดิกจะได้รับการบันทึกในตำราเหล่านี้เป็นจำนวนมาก แต่ก็ไม่มีความจำเป็นอันใดที่จะต้องจำแนกออกจากกัน แต่ปัจจุบันได้มีการจำแนกฮะดีษของอิมามแต่ละท่านและเรียบเรียงเป็นหนังสือ อาทิเช่น หนังสือมุสนัด อิมามบากิร(อ.) และมุสนัดอิมามศอดิก(อ.) เรียบเรียงโดยคุณ อะซีซุลลอฮ์ อะฏอรุดี โดยแต่ละชุดก็มีหลายเล่มด้วยกัน[5] นอกจากนี้ยังมีโครงการที่จะผลิตโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่จำแนกฮะดีษตามรายนามอิมามแต่ละท่าน

หากคุณได้มีโอกาสค้นหาแหล่งอ้างอิงทางฮะดีษเล่มต่างๆก็ย่อมจะได้ข้อสรุปว่า ฮะดีษส่วนใหญ่ล้วนรายงานจากอิมามสองท่านนี้

 

[1] อนึ่ง เรามิได้หมายรวมถึงกลุ่มเคาะวาริจและกลุ่มผู้เกลียดชังวงศ์วานนบี ซึ่งมีจำนวนไม่มากนักในสังคมมุสลิม

[2] ริญาล กัชชี,หน้า 41,สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมัชฮัด,ฮ.ศ.1348

[3] ดู: อิบนิ อบิลฮะดี้ด, อธิบายนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์,เล่ม 1,หน้า 204,หอสมุดอายะตุลลอฮ์มัรอะชี,กุม,ฮ.ศ.1404

[4] ดู: มัจลิซี,มุฮัมมัดบากิร, บิฮารุลอันว้าร,เล่ม 47,หน้า 162,หมวดที่ 6,สำนักพิมพ์อัลวะฟา,เบรุต,เลบานอน,ฮ.ศ.1404

[5] ผู้เขียนท่านนี้ได้เรียบเรียงตำราในลักษณะเดียวกันนี้กรณีอิมามท่านอื่นๆด้วยเช่นกัน

คำถามสุ่ม

  • ความตายคืออะไร และเราสามารถยึดเวลาความตายออกไปได้ไหม ?
    10031 เทววิทยาดั้งเดิม 2553/12/22
    ความตายในทัศนะของนักปรัชญาอิสลามหมายถึงจิตวิญญาณได้หยุดการบริหารและแยกออกจากร่างกายแน่นอนทัศนะดังกล่าวนี้ได้สะท้อนมาจากอัลกุรอานและรายงานซึ่งตัวตนของความตายไม่ใช่การสูญสิ้นส่วนในหลักการของอิสลามมีการตีความเรื่องความตายแตกต่างกันออกไปซึ่งทั้งหมดมีจุดคล้ายเหมือนกันอยู่ประการหนึ่งกล่าวคือความตายไม่ใช่ความสูญสิ้นหรือดับสูญแต่อย่างใดทว่าหมายถึงการเปลี่ยนหรือการโยกย้ายจากบ้านหลังหนึ่งไปยังบ้านอีกหลังหนึ่งเนื่องจากมนุษย์นั้นประกอบไปด้วยร่างกายและจิตวิญญาณอีกอย่างหนึ่งความตายเท่ากับเป็นหยุดการทำงานของร่างกายภายนอกส่วนจิตวิญญาณได้โยกย้ายเปลี่ยนไปอยู่ยังปรโลกด้วยเหตุนี้ความตายจึงได้ถูกสัมพันธ์ไปยังมนุษย์
  • เพราะเหตุใดจึงต้องกลัวความตายด้วย?
    6655 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/05/20
    ความกลัวตายสามารถกล่าวได้ว่า มีสาเหตุและปัจจัยหลายประการ ซึ่งในที่นี้จะขอกล่าวโดยสรุปถึงปัจจัยเหล่านั้น กล่าวคือ 1.ผู้คนส่วนใหญ่มักคิดและอธิบายว่า ความตายคือการสูญสิ้น หรือการดับสลาย ไม่มีอีกต่อไป เป็นที่ทราบกันดีว่าปกติแล้วมนุษย์มักกลัวการสูญสิ้น ไม่มี. ดังนั้น ถ้ามนุษย์อธิบายความตายว่า มีความหมายตามกล่าวมา แน่นอนเขาก็จะเป็นคนหนึ่งที่หลีกหนีและกลัวตาย, ด้วยเหตุนี้ แม้ว่าจะมีสภาพชีวิตที่ดีที่สุด,ถ้าคิดถึงความตายเมื่อใด, เหมือนกับสภาพชีวิตของเขาจะช็อกไปชั่วขณะ ในมุมมองนี้เขาจึงเป็นกังวลตลอดเวลา 2.มีมนุษย์บางกลุ่มเชื่อว่า ความตาย มิใช่จุดสิ้นสุดชีวิต, และเขายังเชื่อเรื่องการฟื้นคืนชีพ แต่ด้วยเหตุผลที่ว่าเขาได้กระทำการงานไม่ดี จึงกลัวความตายและหวาดหวั่นต่อสิ่งนั้นเสมอ, เนื่องจากความตายคือการเริ่มต้นไปถึงยังผลลัพธ์อันเลวร้าย และการงานของตน ด้วยเหตุนี้, เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกตรวจสอบจากพระเจ้า และการลงโทษของพระองค์ พวกเขาจึงต้องการให้ความตายล่าช้าที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ บุคคลหนึ่งได้ถามท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ว่า : เพราะเหตุใดฉันจึงไม่ชอบความตายเอาเสียเลย? ท่านศาสดา กล่าวว่า : ...
  • การรับประทานล็อบสเตอร์ หอย และปลาหมึกผิดหลักศาสนาหรือไม่?
    16954 สิทธิและกฎหมาย 2554/08/25
    การรับประทานล็อบสเตอร์หอยและปลาหมึกถือว่าผิดหลักศาสนาดังที่บทบัญญัติทางศาสนาได้กำหนดเงื่อนไขบางประการเพื่อจำแนกเนื้อสัตว์ที่ทานได้ออกจากเนื้อสัตว์ที่ไม่อนุมัติให้ทานเห็นได้จากการกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับสัตว์บกสัตว์น้ำและสำหรับสัตว์ปีกฯลฯมาตรฐานที่กำหนดไว้สำหรับสัตว์น้ำที่ฮะลาลคือจะต้องมีเกล็ดเท่านั้นในฮะดีษหนึ่งได้กล่าวไว้ว่ามุฮัมหมัดบินมุสลิมได้ถามจากอิมามบากิร (อ.) ว่า “มีคนนำปลาที่ไม่มีเปลือกหุ้มมาให้กระผมอิมามได้กล่าวว่า “จงทานแต่ปลาที่มีเปลือกหุ้มและชนิดใหนไม่มีเปลือกหุ้มจงอย่าทาน”[1]เปลือกหุ้มในที่นี้หมายถึงเกล็ดดังที่ได้ปรากฏในฮะดีษต่างๆ[2]บรรดามัรญะอ์ตักลีดจึงได้ใช้ฮะดีษดังกล่าวเป็นบรรทัดฐานสำหรับสัตว์น้ำ โดยได้ถือว่านัยยะของฮะดีษต่างๆระบุว่าห้ามรับประทานสัตว์น้ำ(เนื่องจากผิดหลักศาสนา) เว้นแต่ปลาประเภทที่มีเกล็ดเท่านั้นแต่กุ้งมิได้อยู่ในบรรทัดฐานทั่วไปดังกล่าวมีฮะดีษที่อนุมัติให้รับประทานกุ้งเป็นการเฉพาะที่กล่าวว่า “การรับประทานกุ้งไม่ถือว่าฮะรอมและกุ้งถือเป็นปลาประเภทหนึ่ง”[3]ถึงแม้ว่าโดยลักษณะทั่วไปกุ้งอาจไม่ถือว่ามีเกล็ดแต่ในแง่บทบัญญัติแล้วกุ้งรวมอยู่ในจำพวกปลาที่มีเกล็ดและสามารถรับประทานได้กล่าวคือแม้ว่ากุ้งไม่มีเกล็ดแต่ก็ถูกยกเว้นให้สามารถกินได้ทั้งนี้ก็เนื่องจากมีฮะดีษต่างๆอนุมัติไว้เป็นการเฉพาะแม้เราไม่อาจจะทราบเหตุผลเกี่ยวกับเรื่องนี้[4]ส่วนกรณีที่เนื้อปูถือว่าฮะรอมก็เนื่องจากมีฮะดีษที่ระบุไว้โดยเฉพาะที่ว่า “การทานญัรรี(ปลาชนิดหนึ่ง), เต่าและปูถือเป็นฮะรอม[5]ดังนั้นล็อบสเตอร์, ปลาหมึกฯลฯยังคงอยู่ในเกณฑ์ของสัตว์ที่ไม่สามารถรับประทานได้อนึ่งแม้ว่าสัตว์บางประเภทไม่สามารถรับประทานได้แต่ก็มิได้หมายความว่าห้ามเพาะเลี้ยงหรือซื้อขายสัตว์ชนิดนั้นเสมอไปเนื่องจากการรับประทานและการค้าขายเป็นสองกรณีที่จำแนกจากกันบางสิ่งอาจจะเป็นฮะรอมในการดื่มหรือรับประทานแต่สามารถซื้อขายได้อย่างเช่นเลือดซึ่งห้ามรับประทานเนื่องจากฮะรอมแต่ด้วยการที่เลือดมีคุณประโยชน์ในทางอื่นๆด้วยจึงสามารถซื้อขายได้ดังนั้นการซื้อขายล็อบสเตอร์, หอยฯลฯในตลาดหากไม่ได้ซื้อขายเพื่อรับประทานแต่ซื้อขายเพื่อให้เกิดประโยชน์ในด้านอื่นๆที่คนทั่วไปยอมรับกันก็สามารถกระทำได้เพราะล็อบสเตอร์และหอยอาจจะมีประโยชน์อื่นๆอีกมากมายก็เป็นได้
  • ฮะดีษร็อฟอ์ (เพิกถอน) คืออะไร?
    7129 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/02/04
    ฮะดีษร็อฟอ์เป็นชื่อเรียกของฮะดีษสองบทจากท่านนบี(ซ.ล.) ซึ่งหนึ่งในสองบทกล่าวถึงการผ่อนผันข้อบังคับหรือสถานะนานาประเภทรวมทั้งผลต่อเนื่องต่างๆในอิสลามให้พ้นจากผู้บรรลุนิติภาวะในลักษณะบทเฉพาะกาล อีกบทหนึ่งกล่าวถึงการผ่อนผันข้อบังคับบางประการเฉพาะสำหรับบุคคลบางกลุ่มฮะดีษแรกแม้จะมีข้อแตกต่างเกี่ยวกับรายละเอียดของภาระที่ผ่อนผันอยู่บ้างแต่ก็ปรากฏอยู่ในตำราที่มีชื่อเสียงส่วนใหญ่ของชีอะฮ์ทั้งยุคแรกและยุคหลังโดยอิมามศอดิก(อ.) และอิมามริฎอ(อ.)รายงานจากท่านนบี(ซ.ล.) และถือว่ามีสายรายงานที่เศาะฮี้ห์เนื้อหาเบื้องต้นของฮะดีษที่คัดเฉพาะบทที่มีรายละเอียดสมบูรณ์ที่สุดมีดังนี้ “ประชาชาติมุสลิมได้รับการผ่อนผันเก้าสิ่งต่อไปนี้หนึ่ง. ความผิดพลาดสอง.การหลงลืมสาม. สิ่งที่ไม่รู้สี่. สิ่งที่ไม่สามารถกระทำได้ห้า. สิ่งที่กระทำโดยไม่มีทางเลือกหก. สิ่งที่ถูกบังคับให้กระทำเจ็ด. การกระทำที่ฤกษ์ไม่ดีแปด. ความคิดฟุ้งซ่านเกี่ยวกับการสร้างโลกเก้า. ความริษยาตราบเท่าที่ยังไม่สำแดงออก”[i]ฮะดีษชุดนี้นอกจากจะได้รับการอรรถาธิบายโดยผู้เชี่ยวชาญด้านวิชาอุศูลุลฟิกห์แล้ว (เกี่ยวกับหลักมุจมั้ลและมุบัยยันในตำราของพี่น้องซุนนะฮ์ยุคแรก) ยังได้รับการศึกษาอย่างละเอียดถี่ถ้วนโดยผู้เชี่ยวชาญวิชาอุศู้ลในสายอิมามียะฮ์อีกด้วย (ใช้ตัวบทที่ว่าمالایعلمون เพื่อพิสูจน์หลักบะรออะฮ์ในข้อสงสัยเชิงฮุก่มหักห้าม)ฮะดีษอีกบทหนึ่งที่เป็นที่รู้จักในนาม (ร็อฟอุ้ลเกาะลัม) เป็นสายรายงานของฝ่ายอะฮ์ลิสซุนนะฮ์ที่รายงานจากท่านนบีผ่านท่านอิมามอลี(อ.) และอาอิชะฮ์
  • การบนบานแบบใหนสัมฤทธิ์ผลตามต้องการมากที่สุด?
    13363 สิทธิและกฎหมาย 2554/06/28
    นะซัร(บนบานต่ออัลลอฮ์) คือวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้ได้รับในสิ่งที่ต้องการซึ่งมีพิธีกรรมเฉพาะตัวอาทิเช่นจะต้องเปล่งประโยคเฉพาะซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นภาษาอรับตัวอย่างเช่นการเปล่งประโยคที่ว่า“ฉันขอนะซัรว่าเมื่อหายไข้แล้ว
  • อิบนิอะเราะบีมีทัศนะเกี่ยวกับอิมามมะฮ์ดี(อ.)อย่างไรบ้าง?
    6558 تاريخ بزرگان 2554/07/16
     หากได้ศึกษาผลงานของอิบนิอะเราะบีก็จะทราบว่าเขามีความคิดเห็นเกี่ยวกับอิมามมะฮ์ดี(อ.)อย่างไร อิบนิอะเราะบีกล่าวไว้ในหนังสือ“ฟุตูฮาตอัลมักกียะฮ์”บทที่ 366 (เกี่ยวกับกัลญาณมิตรและมุขมนตรีของอิมามมะฮ์ดีในยุคสุดท้าย)ว่า“อัลลอฮ์ทรงกำหนดไว้ซึ่งตัวแทนซึ่งยังมีชีวิตอยู่ท่านจะเผยกายในยุคสมัยที่โลกนี้คราคร่ำไปด้วยการกดขี่และอบายมุขท่านจะเติมเต็มความยุติธรรมแก่โลกทั้งผองและแม้ว่าโลกนี้จะเหลืออายุขัยเพียงวันเดียวอัลลอฮ์ก็จะขยายวันนั้นให้ยาวนานจนกว่าท่านจะขึ้นปกครองท่านสืบเชื้อสายจากท่านรอซู้ล(ซ.ล.) และฮุเซนบินอลี(อ.)คือปู่ทวดของท่าน”อิบนิอะเราะบีมีตำราเล่มหนึ่งที่ชื่อว่า “อัลวิอาอุ้ลมัคตูมอะลัซซิรริลมักตูม”ซึ่งเนื้อหาในนั้นล้วนเกี่ยวกับอิมามมะฮ์ดีในฐานะผู้ปกครองเหนือเงื่อนไขใดๆท่านสุดท้ายและยังกล่าวถึงเหตุการณ์ช่วงการเผยกายของท่านอีกด้วยทัศนะของอิบนิอะเราะบีมีส่วนคล้ายคลึงชีอะฮ์เป็นอย่างยิ่งดังที่เขายืนยันว่า“ท่านมะฮ์ดี(อ.)คือบุตรของท่านฮะซันอัลอัสกะรี(อ.) ถือกำเนิดกลางเดือนชะอ์บานในปี255ฮ.ศ. และท่านจะยังมีชีวิตอยู่ตราบจนท่านนบีอีซาเข้าร่วมสมทบกับท่าน”นอกจากนี้อิบนิอะเราะบียังเชื่อว่าอิมามมะฮ์ดีอยู่ในสถานะผู้ปราศจากบาปกรรมและเชื่อว่าความรู้ของอิมามมะฮ์ดี(อ.)ได้รับมาจากการดลใจของพระองค์. ...
  • จะเชิญชวนชาวคริสเตียนให้รู้จักอิสลามด้วยรหัสยนิยมอิสลาม(อิรฟาน)ได้อย่างไร?
    10217 รหัสยทฤษฎี 2554/08/14
    คุณสามารถกระทำได้โดยการแนะนำให้รู้จักคุณสมบัติเด่นของอิรฟาน(รหัสยนิยมอิสลาม) และเล่าชีวประวัติของบรรดาอาริฟที่มีชื่อเสียงของอิสลามและสำนักคิดอะฮ์ลุลบัยต์1). อิรฟานแบ่งออกเป็นสองประเภทด้วยกันอิรฟานเชิงทฤษฎีและอิรฟานภาคปฏิบัติเนื้อหาหลักของวิชาอิรฟานเชิงทฤษฎีก็คือก. แจกแจงเกี่ยวกับแก่นเนื้อหาของเตาฮี้ด(เอกานุภาพของอัลลอฮ์)ข. สาธยายคุณลักษณะของมุวะฮ์ฮิด(ผู้ยึดถือเตาฮี้ด)ที่แท้จริงเตาฮี้ดในแง่อิรฟานหมายถึงการเชื่อว่านอกเหนือจากพระองค์แล้วไม่มีสิ่งใดที่“มีอยู่”โดยตนเองทั้งหมดล้วนเป็นภาพลักษณ์ของอัลลอฮ์ในฐานะทรงเป็นสิ่งมีอยู่เพียงหนึ่งเดียวทั้งสิ้น
  • ความแตกต่างระหว่างจิตฟุ้งซ่านกับชัยฎอนคืออะไร?
    10102 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/10/22
    ตัวตนที่แท้จริงของมนุษย์ซึ่งได้ถูกตีความว่าเป็นตัวตนหรือจิต, มีหลายมิติด้วยกันซึ่งอัลกุรอานได้แบ่งไว้ 3 ระดับด้วยกัน (จิตอัมมาเราะฮฺ, เลาวามะฮฺ, และมุตมะอินนะฮฺ)
  • ท่านนบีเคยกล่าวปฏิญาณถึงตำแหน่งศาสนทูตของตน และตำแหน่งผู้นำของอิมามอลีในอะซานหรือไม่?
    7441 ชีวประวัติมะอฺซูม (อ.) 2554/06/22
    จากการที่คำถามข้างต้นมีคำถามปลีกย่อยอยู่สองประเด็นเราจึงขอแยกตอบเป็นสองส่วนดังนี้1. ท่านนบีกล่าวปฏิญาณถึงตำแหน่งของตนในอะซานหรือไม่?จากการศึกษาฮะดีษต่างๆพบว่าท่านนบีกล่าวยืนยันถึงสถานภาพความเป็นศาสนทูตของตนอย่างแน่นอนทั้งนี้ก็เพราะท่านนบีก็มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามศาสนกิจเฉกเช่นคนอื่นๆนอกเสียจากว่าจะมีหลักฐานยืนยันชัดเจนว่าท่านนบีได้รับการอนุโลมให้สามารถงดปฏิบัติตามบทบัญญัติใดบ้าง อย่างไรก็ดีไม่มีหลักฐานยืนยันว่าท่านได้รับการอนุโลมไม่ต้องเปล่งคำปฏิญาณดังกล่าวในอะซานในทางตรงกันข้ามมีหลักฐานยืนยันมากมายว่าท่านเปล่งคำปฏิญาณถึงเอกานุภาพของอัลลอฮ์และความเป็นศาสนทูตของตัวท่านเองอย่างชัดเจนและแน่นอน.2. ท่านนบีกล่าวปฏิญาณถึงตำแหน่งผู้นำของอิมามอลีหรือไม่?ต้องยอมรับว่าเราไม่พบหลักฐานที่บ่งชี้ชัดเจนว่าท่านเคยกล่าวปฏิญาณดังกล่าวนอกจากนี้ในสำนวนฮะดีษต่างๆจากบรรดาอิมามที่ระบุเกี่ยวกับบทอะซานก็ไม่ปรากฏคำปฏิญาณที่สาม(เกี่ยวกับวิลายะฮ์ของอิมามอลี)แต่อย่างใดอย่างไรก็ดีเรามีฮะดีษมากมายที่ระบุถึงผลบุญอันมหาศาลของการเอ่ยนามท่านอิมามอลี(อ)ต่อจากนามของท่านนบี(ซ.ล)(โดยทั่วไปไม่เจาะจงเรื่องอะซาน) ด้วยเหตุนี้เองที่อุละมาอ์ชีอะฮ์ล้วนฟัตวาพ้องกันว่าสามารถกล่าวปฏิญาณดังกล่าวด้วยเหนียต(เจตนา)เพื่อหวังผลบุญมิไช่กล่าวโดยเหนียตว่าเป็นส่วนหนึ่งของอะซานทั้งนี้ก็เนื่องจากมีข้อสันนิษฐานว่าประโยคดังกล่าวมิได้เป็นส่วนหนึ่งของอะซานอันถือเป็นศาสนกิจประเภทหนึ่ง. ...
  • จริงหรือไม่ที่ทุกคนมีญินเป็นคู่กำเนิด?
    13759 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/15
    มีฮะดีษหลายบทที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับคู่กำเนิดบางบทระบุว่าอัลลอฮ์ทรงมีดำรัสแก่อิบลีสว่า “ข้าจะไม่ประทานบุตรแก่มนุษย์คนใดเว้นแต่จะประทานบุตรแก่เจ้าเช่นกัน” ฉะนั้นมนุษย์แต่ละคนย่อมมีคู่กำเนิดเป็นญิน[1]ท่านนบี(ซ.ล.)เคยกล่าวว่า “พูดได้ว่าทุกคนต่างก็มีคู่กำเนิดเป็นญินด้วยกันทั้งสิ้น” สาวกถามว่าโอ้ศาสนทูตของพระองค์ท่านเองก็มีญินคู่กำเนิดด้วยหรือ? ท่านตอบว่า “มีสิแต่พระองค์ทรงทำให้เขายอมสยบต่อฉันโดยที่เขาไม่ทำอะไรนอกจากกำชับให้ทำความดี”[2]จากฮะดีษข้างต้นท่านนบี(ซ.ล.)ต้องการจะกำชับให้เราป้องกันและระวังภัยจากญินคู่กำเนิดที่จะล่อลวงเนื่องจากอยู่ใกล้ชิดเราดังนั้นเมื่อคำนึงถึงการที่อัลลอฮ์ทรงแต่งตั้งศาสดาเพื่อชี้นำมนุษยชาติและอีกด้านหนึ่งก็เป็นที่ทราบกันดีว่าชัยฏอนและพงศ์พันธุ์ของมันจ้องจะหลอกลวงให้มนุษย์หลงทางตลอดเวลาแน่นอนว่าบุคคลที่หลงลืมอัลลอฮ์เท่านั้นที่ชัยฏอนจะสามารถกุมบังเหียนได้ดังที่พระองค์ทรงตรัสในกุรอานว่า “และผู้ใดที่เพิกเฉยต่อการรำลึกถึงเราเราจะส่งชัยฏอนยังเขาเพื่อให้เป็นคู่สหาย”[3][1]มัจลิซี,มุฮัมมัดบากิร

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59417 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56857 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41692 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38452 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38446 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33473 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27556 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27264 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27170 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25239 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...