การค้นหาขั้นสูง

มิติบุคลิกภาพด้านต่างๆของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ลึกซึ้งและละเอียดอ่อนในลักษณะที่จะต้องได้รับการพินิจพิเคราะห์อย่างถี่ถ้วนเท่านั้นจึงจะสามารถประจักษ์ได้ ซึ่งการนี้จะสำเร็จได้ก็ต่อเมื่อมีการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับมิติด้านศีลธรรมและจิตใจ ความรู้ และการต่อสู้ของนางทั้งในเชิงการเมืองและสังคม
ขอหยิบยกบุคลิกภาพอันโดดเด่นของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์(ที่กล่าวถึงในตำราฝ่ายซุนหนี่และชีอะฮ์)มานำเสนอโดยสังเขปดังนี้


1. ท่านหญิงใช้ชีวิตเรียบง่ายและพอใจวิถีชีวิตสมถะ ทั้งที่สามารถจะได้รับความสะดวกสบายขั้นสูงสุด
2. บริจาคของรักของตนมากมายทั้งที่ยังจำเป็นต้องใช้
3. ทำอิบาอะฮ์และวิงวอนต่ออัลลอฮ์สม่ำเสมอด้วยความบริสุทธิใจ
4. เป็นภาพลักษณ์แห่งจริตกุลสตรีและความเหนียมอาย
5. แบบฉบับที่สมบูรณ์ด้านการสวมฮิญาบตามวิถีอิสลาม
6. มีความรู้อันกว้างขวาง ซึ่งประจักษ์ได้จากการรับทราบเนื้อหาในตำรา"มุศฮัฟ ฟาฏิมะฮ์"
7. ต่อสู้ทางการเมืองและสังคมเพื่อปกป้องตำแหน่งวะลีของท่านอิมามอลี(อ.)ภายหลังจากนบีเสียชีวิต

ตำราเล่มแล้วเล่มเล่าได้กล่าวถึงบุคลิกภาพและสถานะทางจิตวิญญาณที่สูงส่งของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ อัซซะฮ์รอ(ส.) แต่แม้ว่าปัญญามนุษย์จะถ่ายทอดความสูงส่งของเธอในรูปของหนังสือหรือสุนทรพจน์ให้มากกว่านี้อีกสักร้อยสักพันเท่า ก็ยังเทียบได้เพียงหยดน้ำในมหาสมุทรความดีงามของเธอ[1] และถึงแม้ว่าเราไม่อาจจะตีแผ่ทั้งหมด ก็ถือว่ายังดีที่ได้นำเสนอละอองความดีงามของเธอ ณ ที่นี้ ดังที่นักกวีได้ประพันธ์ไว้ว่า
แม้มิอาจดื่มทะเลให้เหือดแห้ง  อย่างน้อยขอจิบให้ได้แรงก็ยังดี

เกี่ยวกับบุคลิกภาพของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ อัซซะฮ์รอ(ส.) ปัญญาที่เฉียบแหลมที่สุดในหมู่มนุษยชาติก็ยังงุนงงกับความสูงส่งทางบุคลิกภาพ และหากต้องการจะเข้าใจบุคลิกภาพของเธออย่างลึกซึ้ง จำเป็นต้องน้อมรับฟังฮะดีษจากบรรดามะอ์ศูมีน(อ.)
มีฮะดีษที่เชื่อถือได้หลายบทระบุว่าบุคลิกภาพของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์เปรียบเสมือนแก่นแท้ของลัยละตุ้ลก็อดร์ เนื่องจากลัยละตุ้ลก็อดร์เป็นฐานรองรับการประทานอัลกุรอานที่เป็นรูปเล่ม ส่วนท่านหญิงฟาฏิมะฮ์เป็นฐานรองรับการประทานอัลกุรอานที่พูดได้(บรรดาอิมาม) ซึ่งล้วนเป็นผู้ที่พัฒนาถึงขีดสุดของความเป็นมนุษย์[2]

ฐานะภาพของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์(ส.)สูงส่งถึงขั้นที่ว่าความพึงพอใจและความกริ้วโกรธของเธอ ถือเป็นมาตรวัดความพึงพอใจและความพิโรธของท่านนบี(ซ.ล.)และพระองค์อัลลอฮ์ ดังที่มีฮะดีษระบุว่า "ฟาฏิมะฮ์คือส่วนหนึ่งของฉัน ผู้ใดที่ทำให้เธอสุขใจ ถือว่าทำให้ฉันมีความสุขด้วย และผู้ที่ทำให้ฉันมีความสุข ย่อมทำให้พระองค์ทรงพึงพอพระทัย..ฟาฏิมะฮ์คือมนุษย์ที่ประเสริฐสุดในสายตาของฉัน"[3] อีกฮะดีษหนึ่งท่านนบี(ซ.ล.)ระบุว่า "มัรยัมคือประมุขของสตรีในยุคของนาง ทว่าฟาฏิมะฮ์บุตรีของฉัน เป็นประมุขแห่งอิสตรีทั่วโลกนับแต่บรรพกาลจนถึงวันสิ้นโลก"[4] อีกฮะดีษกล่าวว่า "มีมะลาอิกะฮ์ตนหนึ่งได้แจ้งแก่ฉันว่า ฟาฏิมะฮ์(ส.)คือประมุขแห่งสตรีชาวสวรรค์ และเลอเลิศที่สุดในหมู่อิสตรี" [5]จะเห็นได้ว่าคุณงามความดีของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์สูงส่งยิ่งกว่าท่านหญิงมัรยัมและสตรีที่ได้รับการยกย่องอย่างเช่นท่านหญิงอาสิยะฮ์ เพราะเกียรติสูงสุดของท่านหญิงอาสิยะฮ์คือการได้รับโอกาสในการช่วยทำคลอดท่านหญิงฟาฏิมะฮ์[6]

ส่วนมิติด้านศีลธรรมจรรยาของท่านหญิงนั้น สังเกตุเห็นได้จากวิถีชีวิตอันเรียบง่ายและสมถะ ทั้งที่สามารถจะได้รับความสะดวกสบายขั้นสูงสุด เนื่องจากเธอมีฐานะเป็นธิดาของท่านนบี(ซ.ล.) ท่านนบี(ซ.ล.)ได้มอบที่ดินเกษตรกรรม"ฟะดัก"แก่เธอ[7] ซึ่งทำรายได้ให้กับเธอไม่น้อย เธอสามารถจะหาซื้อเครื่องอำนวยความสะดวกอย่างครบครันสำหรับครอบครัว แต่เธอเลือกบริจาคผลกำไรทั้งหมดแก่ผู้ยากไร้ โดยตนเองก็ทนใช้ชีวิตอย่างสมถะต่อไป

มิติทางบุคลิกภาพอีกประการหนึ่งของเธอก็คือ มิติแห่งการบริจาคและความเสียสละ ดังจะเห็นได้จากเรื่องราวการบริจาคชุดเจ้าสาวของตนแก่หญิงชราผู้ยากไร้ในคืนวิวาห์ หรือเมื่อครั้งที่ได้บริจาคอาหารแก่ผู้ยากไร้ เด็กกำพร้า และเชลยศึก ทั้งๆที่ครอบครัวของเธอไม่มีอาหารเพื่อละศีลอดเป็นเวลาสามคืนติดต่อกัน อันได้รับการตีแผ่ไว้ในซูเราะฮ์ อัดดะฮ์ริ (อัลอินซาน)

อีกมุมหนึ่งของคุณความดีของเธอก็คือการทำอิบาดะฮ์ ในเชิงปริมาณนั้น เธอทำอิบาดะฮ์ในทุกย่างก้าว เพราะไม่ว่าพฤติกรรมหรือวจีกรรมของเธอ ความเพียรพยายามของเธอ ลมหายใจเข้าออกของเธอทั้งวันและคืน ล้วนแล้วแต่เป็นอิบาดะฮ์ทั้งสิ้น[8] หลังจากที่เธอนำลูกๆเข้านอนและทำงานบ้านเสร็จเรียบร้อยแล้ว เธอจะทำนมาซตะฮัจญุดจนเท้าทั้งสองข้างบวมเป่ง[9] อิบาดะฮ์ของเธอเปี่ยมสว่างไสวถึงขั้นที่มวลมะลาอิกะฮ์แปลกใจที่เห็นลำรัศมีส่องสว่างจากบ้านของเธอ กระทั่งมลาอิกะฮ์ระดับสูงกว่าเจ็ดหมื่นตนพร้อมใจกันกล่าวสลามและอวยพรแด่เธอ[10]

หนึ่งในความภาคภูมิใจของชีอะฮ์ก็คือเศาะฮีฟะฮ์ฟาฏิมียะฮ์  ซึ่งญิบรออีลได้ถ่ายทอดความรู้บางประการแก่ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์[11]

ความเหนียมอายและจริตแห่งกุลสตรี นับเป็นอีกมิติหนึ่งของบุคลิกภาพอันงดงามของเธอ ซึ่งควรได้รับการเชิดชูเป็นแบบอย่างสำหรับสตรีในสังคม วันหนึ่งท่านนบี(ซ.ล.)ได้เอ่ยถามบรรดาสาวกว่า "วิถีชีวิตแบบใดเหมาะสมที่สุดสำหรับสตรี?" ท่านซัลมาน(ซึ่งเป็นชายชรา)ไม่สามารถตอบได้ จึงมาเยี่ยมเยียนและสอบถามจากท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ เธอตอบว่า "เหมาะสมที่สุดสำหรับสตรีคือ ไม่จ้องมองบุรุษเพศ และไม่ปล่อยให้บุรุษเพศจ้องมอง"[12]

ท้ายนี้ขอเน้นบุคลิกภาพของท่านหญิงที่สมควรอย่างยิ่งที่จะนำมาเป็นแบบอย่าง นั่นคือความกล้าหาญที่จะรักษาหลักวิลายะฮ์และอิมามัต เห็นได้จากการที่เธอสำแดงบทบาทดังกล่าวอย่างงดงามหมดจดหลังการจากไปของนบี(ซ.ล.)[13] เธอรู้จักผู้คนในยุคนั้นเป็นอย่างดี ทราบดีว่าคนในยุคนั้นไม่เข้าใจคำพูดของเธอ อีกทั้งไม่อาจหาญพอที่จะช่วยเหลือเธอ แต่เธอประสงค์จะให้เป็นเครื่องพิสูจน์ให้ชนรุ่นหลังได้ประจักษ์และแยกแยะสัจธรรมจากอธรรม  ดังที่กล่าวว่า "ฉันรู้ดีว่าพวกท่านตกอยู่ใต้อาณัติของความต้อยต่ำ พิษแห่งการนิ่งนอนใจได้ครอบคลุมพวกท่าน และเมฆแห่งความบิดพลิ้วที่ดำทะมึนได้ปกคลุมหัวใจพวกท่าน จะพูดอย่างไรได้ในเมื่อใจของฉันกระอักเลือด และไม่อาจเงียบเฉยได้อีกต่อไป"[14]

ตลอดเวลาที่เธอต่อสู้ทางความคิดและตีแผ่ให้เห็นถึงความไม่ชอบมาพากล ท่านหญิงไม่เคยท้อถอยยอมจำนน ทั้งนี้ก็เพื่อให้มุสลิมทุกยุคสมัยได้เข้าใจว่า ไม่ควรอดรนทนดูการรุกรานทางความเชื่อโดยไม่ทำอะไร เธอมิได้นิ่งนอนใจต่ออุตริกรรมและการบิดเบือนอิสลาม เธอผงาดสู้และเปิดโปงอธรรมอย่างเด็ดเดี่ยว ทั้งนี้ก็เพราะหยั่งรู้มาจากการบอกเล่าของญิบรออีลว่า ในอนาคตจะมีผู้มีศักยภาพพอที่จะช่วยเชิดชูอิมามัตให้รุ่งโรจน์ เมื่อนั้นจุดประสงค์ของการสรรสร้างมนุษย์ก็จะสัมฤทธิ์ผล[15]

เพื่อข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาอ่าน
รินน้ำเกาษัรอันบริสุทธิ์, มุฮัมมัดตะกี มิศบาห์ ยัซดี
ฟาฏิมะฮ์ อัซซะฮ์รอ จากประสูติกาลถึงชะฮาดัต, ซัยยิดมุฮัมมัดกาซิม ก็อซวีนี
วีรกรรมแห่งเกาษัร: การต่อสู้ของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ เอกธิดาของท่านนบี(ซ.ล.), มะญี้ด ซุญาญี คอชอนี

 


[1] รินน้ำเกาษัรอันบริสุทธิ์, มุฮัมมัดตะกี มิศบาห์ ยัซดี, หน้า 21

[2] อ้างแล้ว,หน้า17

[3] อะมาลี,เชคฏูซี,เล่ม 1,หน้า 24

[4] บิฮารุลอันว้าร,เล่ม 43,หน้า 24 ,ฮะดีษที่20

[5] อะมาลี,เล่ม 1,หน้า 457 และ ดะลาอิลุ้ลอิมามะฮ์,หน้า 8 และ ฆอยะตุ้ลมะรอม,หน้า 177 และ บิฮารุลอันว้าร,เล่ม 43,หน้า2

[6] อ้างแล้ว

[7] อัลกาฟี,เล่ม 1,หน้า 538, หมวด بَابُ الْفَيْ‏ءِ وَ الْأَنْفَالِ وَ تَفْسِيرِ الْخُمُسِ وَ حُدُودِهِ وَ مَا يَجِبُ فِيهِ

[8] อิห์กอกุ้ลฮักก์,เล่ม 4,หน้า481

[9] บิฮารุลอันว้าร,เล่ม 42,หน้า 177

[10] อ้างแล้ว,เล่ม 43,หน้า 12,ฮะดีษที่6

[11] อ้างจากคำสั่งเสียทางการเมืองของอิมามโคมัยนี,เศาะฮีฟะฮ์นู้ร,เล่ม 21,หน้า 171, : เราภูมิใจที่ดุอาอันตรึงใจ ซึ่งขนานนามกันว่ากุรอานที่เหิรสู่เบื้องบนนั้น มาจากอิมามมะอ์ศูมีนของเรา เราภูมิใจที่เรามีมุนาญาต ชะอ์บานียะฮ์จากบรรดาอิมาม และดุอาอะเราะฟาตจากอิมามฮุเซน และเศาะฮีฟะฮ์ ซัจญาดียะฮ์,ที่เปรียบดั่งคัมภีร์ซะบู้รของวงศ์วานนบี และเศาะฮีฟะฮ์ ฟาฏิมียะฮ์ ซึ่งเป็นหนังสือที่รวมการดลใจท่านหญิงฟาฏิมะฮ์โดยพระองค์.

[12] วะซาอิลุชชีอะฮ์,เล่ม 14,หน้า 43,172 และ บิฮารุลอันว้าร,เล่ม 43,หน้า 54

[13] รินน้ำเกาษัรอันบริสุทธิ์, มุฮัมมัดตะกี มิศบาห์ ยัซดี, หน้า 145

[14] กัชฟุ้ลฆุมมะฮ์,เล่ม 1,หน้า 491 และ อัลอิห์ติญ้าจ,หน้า 102 และ ดะลาอิลุลอิมามะฮ์,หน้า 37

[15] รินน้ำเกาษัรอันบริสุทธิ์, มุฮัมมัดตะกี มิศบาห์ ยัซดี, หน้า 149

คำถามสุ่ม

  • มีดุอาอฺขจัดความเกลียดคร้านและความเฉื่อยชาบ้างไหม?
    11281 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/05/17
    ภารกิจบางอย่างที่คำสอนศาสนาปฏิเสธไม่ยอมรับคือ ความเกลียดคร้านและความเฉื่อยชา, บรรดาอิมามมะอฺซูม (อ.) กล่าวตำหนิคุณสมบัติทั้งสองนี้ และขอความคุ้มครองจากพระเจ้าให้พ้นไปจากทั้งสอง ดังจะเห็นว่าบทดุอาอฺบางบทจากบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) ได้กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้ เช่น : 1. มุสอิดะฮฺ บุตรของ ซิดเกาะฮฺ กล่าวว่า : ฉันได้วอนขอให้ท่านอิมามซอดิก (อ.) ดุอาอฺต่ออัลลอฮฺเกี่ยวกับภารกิจการงานใหญ่ๆ ท่านอิมาม (อ.) กล่าวว่า ฉันจะสอนดุอาอฺของคุณปู่ของฉันท่านอิมามซัจญาด (อ.) แก่เธอ ซึ่งดุอาอฺของท่านอิมามซัจญาด (อ.) ได้วอนขอความคุ้มครองต่ออัลลอฮฺ เพื่อให้พ้นไปจากความความเกลียดคร้าน กล่าวว่า : : "...وَ أَعُوذُ بِكَ مِنَ ...
  • ถ้าหากไม่ทราบว่าและได้รับประทานเนื้อฮะรอมไป จะมีความผิดอันใดบ้าง?
    5468 สิทธิและกฎหมาย 2554/11/21
    บุคคลใดหลังจากรับประทานอาหารแล้ว, เพิ่งจะรู้ว่านั่นเป็นอาหารฮะรอม, ถ้าหากไม่คิดว่าสิ่งนั้นจะฮะรอมประกอบกับมีสัญลักษณ์ของฮะลาลด้วยเช่นมาจากร้านของมุสลิม, มิได้กระทำบาปอันใด
  • เพราะเหตุใดอัลกุรอานจึงเป็นโองการ โองการ? และซูเราะฮฺใดจากซูเราะฮฺต่างๆ ที่ได้ประทานแก่นะบี (ซ็อลฯ) ในครั้งเดียว?
    14986 วิทยาการกุรอาน 2555/09/29
    อัลกุรอานถูกประทานลงมาในสองลักษณะกล่าวคือ ลงมาคราวเดียวกัน และทยอยลงมา (เป็นโองการ โองการ และเป็นซูเราะฮฺ ซูเราะฮฺ) ขณะเดียวกันได้มีเหตุผลกล่าวไว้ถึงการทยอยประทานลงมา เช่น : 1.เพื่อสร้างความมั่นคงแก่จิตใจของนะบี 2.เพื่อความต่อเนื่องของวะฮฺยู และการทยอยประทานลงมานั้นได้สร้างความอบอุ่นใจแก่ท่านนะบี (ซ็อลฯ) และบรรดามุสลิมทั้งหลาย 3.เพื่อจะได้ทิ้งช่วงในการอ่านแก่ประชาชน เป็นการง่ายดายต่อการจดจำของพวกเขา สามารถคิดใคร่ครวญได้อย่างรอบคอบ และจดจำได้สะดวกขึ้น นอกจากนั้นยังให้ความรู้และการปฏิบัติตามใกล้ชิดมากยิ่งขึ้น และเนื่องจากว่ามีประเด็นเรื่องราวถูกกล่าวไว้ในอัลกุรอานมากมาย ด้วยเหตุนี้ จำเป็นต้องจัดแบ่งประเด็นเหล่านั้นให้เป็นหมวดหมู่ และหมวดหมู่เหล่านั้น ที่มีความเหมาะสมกันยังถูกจัดไว้ในหมวดเดียวกัน ซึ่งแยกไปจากหมวดอื่น ด้วยเหตุนี้เอง จึงเห็นว่าอัลกุรอานถูกจัดเป็นโองการๆ และเป็นบทแยกต่างหาก สิ่งจำเป็นต้องกล่าวถึงขอบข่าย การเริ่มต้น และสิ้นสุดของทุกโองการ ได้ถูกกระทำขึ้นตามคำสั่งของท่านนะบี (ซ็อลฯ) ซึ่งจำเป็นต้องยอมรับสิ่งนั้นโดยปริยาย แน่นอน อัลกุรอานบางบทอาจมีขนาดเล็ก ...
  • ฮัมมาดะฮ์เป็นผู้หญิงหรือผู้ชาย และมีบุคลิกอย่างไร?
    6988 تاريخ بزرگان 2555/03/08
    ตำราวิชาสายรายงานฮะดีษระบุว่ามีสตรีที่ชื่อ “ฮัมมาดะฮ์” สองคน คนหนึ่งชื่อ “ฮัมมาดะฮ์ บินติ เราะญาอ์” ส่วนอีกคนคือ “ฮัมมาดะฮ์ บินติ ฮะซัน” แต่สันนิษฐานว่าสองรายนี้คือคนๆเดียวกัน สุภาพสตรีท่านนี้เป็นสาวิกาของท่านอิมามศอดิก(อ.) ซึ่งกุลัยนีและเชคเศาะดู้กได้รายงานฮะดีษของอิมามศอดิกจากนาง[1] ท่านนะญาชีระบุว่าพี่ชายของนางชื่อซิยาด บิน อีซา อบูอุบัยดะฮ์ ฮิซาอ์ ส่วนเชคฏูซีระบุว่าพี่ชายของนางชื่อ เราะญาอ์ บิน ซิยาด จะเห็นได้ว่ามีทัศนะที่ขัดแย้งกันในเรื่องชื่อของพี่ชายและบิดาของนาง ทำให้เข้าใจได้ว่าน่าจะมีสตรีสองคนที่ชื่อฮัมมาดะฮ์ อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาถึงสำนวนของนะญาชีทำให้สามารถสันนิษฐานได้ว่าสองคนนี้แท้ที่จริงก็คือสตรีคนเดียวกัน เหตุผลที่นำมาชี้แจงก็คือ[2] อบูอุบัยดะฮ์ ฮิซาอ์ มีชื่อจริงว่า ซิยาด บิน อบีเราะญาอ์ (มิไช่แค่เราะญาอ์) ส่วนชื่อจริงของอบูเราะญาอ์คือ มุนซิร หรือซิยาด ผลที่ได้ก็คือ ...
  • การนอนในศาสนสถานที่ศักดิ์สิทธิ์เช่นบริเวณฮะร็อมมีฮุกุมอย่างไร?
    5102 สิทธิและกฎหมาย 2554/11/19
    ฮะร็อม(บริเวณสุสาน)ของบรรดาอิมามตลอดจนศาสนสถานถือเป็นสถานที่ที่มุสลิมให้เกียรติมาโดยตลอดเนื่องจากการแสดงความเคารพสถานที่เหล่านี้ถือเป็นการให้เกียรติบรรดาอิมามและบุคคลสำคัญต่างๆที่ฝังอยู่ณสุสานดังกล่าวฉะนั้นควรหลีกเลี่ยงการกระทำที่ส่อไปในทางลบหลู่ดูหมิ่นสถานที่เหล่านี้เท่าที่จะทำได้แต่ทว่าในแง่ของฟิกฮ์การนอนในสถานที่ศักดิ์สิทธิ์เช่นมัสยิด, ฮะร็อมฯลฯถือว่าไม่เป็นที่ต้องห้ามนอกจากคนทั่วไปจะมองว่าการนอนในสถานที่ดังกล่าวเป็นการไม่ให้เกียรติสถานที่ซึ่งในกรณีนี้เนื่องจากวิถีประชาเห็นว่าการกระทำนี้เป็นสิ่งที่ไม่บังควรก็จะถึอว่าไม่ควรกระทำไม่ว่าสถานที่เหล่านั้นจะเป็นมัสยิดหรือฮะร็อมของบรรดาอาอิมมะฮ์ฯลฯก็ตาม
  • ทำอย่างไรมนุษย์จึงจะกลายเป็นที่รักยิ่งของอัลลอฮฺ?
    5289 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/21
    คำว่า “มุฮิบบัต” มาจากรากศัพท์คำว่า “ฮุบ” หมายถึงมิตรภาพความรัก. ความรักของอัลลอฮฺ (ซบ.) ที่มีต่อปวงบ่าวข้าทาสบริพารมิได้มีความเข้าใจเหมือนกับความรักสามัญทั่วไป, เนื่องจากความสิ่งจำเป็นของความรักในความหมายของสามัญคือปฏิกิริยาแสดงออกของจิตใจและอารมณ์ซึ่งอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงบริสุทธิ์จากสิ่งเหล่านี้, ทว่าความรักที่อัลลอฮฺทรงมีต่อปวงบ่าว,
  • การมองอย่างไรจึงจะถือว่าฮะรอมและเป็นบาป?
    8637 สิทธิและกฎหมาย 2554/11/21
    คำถามนี้ไม่มีคำตอบแบบสั้น ปรดเลือกปุ่มคำตอบที่สมบูรณ์ ...
  • ในเมื่อนบีมูซาสังหารชายกิบฏี แล้วจะเชื่อว่าท่านไร้บาปได้อย่างไร?
    9064 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/08/17
    นบีทุกท่านล้วนเป็นผู้ปราศจากบาปและมีสถานะอันสูงส่งณอัลลอฮ์ (ตามระดับขั้นของแต่ละท่าน) และมีภาระหน้าที่ๆหนักกว่าคนทั่วไปโดยมาตรฐานของบรรดานบีแล้วการให้ความสำคัญต่อสิ่งอื่นนอกเหนืออัลลอฮ์ถือเป็นบาปอันใหญ่หลวงอย่างไรก็ดีนักวิชาการมีคำอธิบายเกี่ยวกับเหตุการณ์สังหารชายชาวกิบฏีหลายทัศนะคำอธิบายที่น่าสนใจที่สุดคือท่านมิได้ทำบาปใดๆเนื่องจากการสังหารชาวกิบฏีในครั้งนั้นไม่เป็นฮะรอมเพราะควรแก่เหตุเพียงแต่ท่านไม่ควรรีบลงมือเช่นนั้นสำนวนในโองการกุรอานก็มิได้ระบุว่าเหตุดังกล่าวคือบาปของท่านดังที่มะอ์มูนถามอิมามริฎอ(อ.)เกี่ยวกับคำพูดของนบีมูซาที่ว่า “นี่คือการกระทำของชัยฏอนมันคือศัตรูผู้ล่อลวงอย่างชัดแจ้ง” หรือที่กล่าวว่า “
  • ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์กฎการขวางด้วยหิน (ขวางให้ตาย) คืออะไร? การถือปฏิบัติกฎระเบียบดังกล่าว ตามหลักการอิสลามในยุคสมัยนี้ ไม่สร้างความเสื่อมเสียแก่อิสลามหรือ?
    8737 สิทธิและกฎหมาย 2555/08/22
    การลงโทษ โดยการขว้างด้วยก้อนหิน หรือเรียกว่า “รัจม์” เป็นที่ยอมรับในหมู่ประชาชาติ หมู่ชน และศาสนาต่างๆ ก่อนหน้าอิสลาม ซึ่งในอิสลามถือว่า การลงโทษดังกล่าวเป็นข้อกำหนดประเภทหนึ่งตามหลักชัรอียฺ แน่นอนและตายตัว ซึ่งจะใช้ลงโทษสำหรับการกระทำผิดที่หนักมาก ซึ่งมีรายงานจำนวนมากจากท่านศาสดา (ซ็อลฯ) กล่าวถึงประเด็นดังกล่าวไว้ เป้าหมายของอิสลามจากการลงโทษดังกล่าวคือ การปรับปรุงแก้ไขสังคม, อันเกิดจากความผิดปรกติด้านการก่ออาชญากรรม, เป็นการชำระผู้กระทำผิดอีกทั้งเป็นการลบล้างความผิดบาป ที่เกิดจากผลของความผิดนั้น, ดำเนินความยุติธรรมให้เกิดขึ้นในสังคม,ป้องกันความหันเห ความหลงผิดต่างๆ อันเกิดจากการทำลายความบริสุทธิ์ของสังคม กลับคืนสู่สังคมอีกครั้ง ตามทัศนะของอิสลามการลงโทษ การทำชู้ (หญิงที่มีสามี หรือชายที่มีภรรยา) จะถูกลงโทษด้วยเงื่อนไขอันเฉพาะด้วยการขว้างด้วยก้อนหินจนกระทั่งเสียชีวิต ถ้าหากการดำเนินกฎเกณฑ์ดังกล่าว หรือกฎเกณฑ์ข้ออื่นๆ นำไปสู่การดูถูกเหยียดหยามอิสลามแล้วละก็ วะลียุลฟะกีฮฺ หรือฮากิมชัรอียฺ สามารถเปลี่ยนแปลงวิธีการลงโทษได้ตามความเหมาะสม และต้องสอดคล้องกับกฎหมายอิสลาม ...
  • น้ำยาบ้วนปากซึ่งโดยปกติแล้วจะมีแอลกอฮอล์เป็นส่วนผสมอยู่ จะมีฮุกุ่มอย่างไร?
    7999 สิทธิและกฎหมาย 2554/08/08
    แอลกอฮอล์ชนิดที่ยังคลางแคลงใจว่าเป็นน้ำเมา[1]แต่เดิมหรือไม่นั้นให้ถือว่าสะอาดและสามารถค้าขายหรือใช้ผลิตพันธ์ที่มีแอลกอฮอล์ดังกล่าวเป็นส่วนผสมได้ตามปกติ[2]

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59415 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56857 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41692 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38450 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38446 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33471 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27556 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27264 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27169 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25239 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...