การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
13503
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/04/21
 
รหัสในเว็บไซต์ th13399 รหัสสำเนา 13579
หมวดหมู่ เทววิทยาใหม่
คำถามอย่างย่อ
สรรพสัตว์นั้นมีจิตวิญญาณหรือไม่ ถ้าหากมีชีวิตของสัตว์กับมนุษย์แตกต่างกันอย่างไร
คำถาม
สรรพสัตว์นั้นมีจิตวิญญาณหรือไม่ ถ้าหากมีชีวิตของสัตว์กับมนุษย์แตกต่างกันอย่างไร
คำตอบโดยสังเขป

ก่อนที่จะเข้าเรื่องสิ่งจำเป็นที่ต้องกล่าวถึงคือ พื้นฐานของคำตอบที่จะนำเสนอนั้นวางอยู่บนพื้นฐานของ ฮิกมัต มุตะอาลียะฮฺ (ฟัลซะฟะฮฺ ซ็อดรออีย์) ดังนั้น ในทัศนะดังกล่าวเกี่ยวกับเนื้อเรื่องที่เราจะกล่าวถึงนั้น จึงแบ่งเรื่องหลักออกเป็น 2 ส่วน และรายละเอียดเรื่องรองอีกสองสามเรื่องด้วยกัน

ในส่วนแรก เริ่มต้นด้วยหัวข้อว่าการมีชีวิตอยู่ในสรรพสัตว์ซึ่งจะกล่าวอธิบายถึงประเด็นต่อไปนี้

1. ในแงปรัชญาทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับชีวิต ชีวิตของสรพสัตว์เป็นหนึ่งในองค์ประกอบแน่นอนที่ได้กล่าวนามถึง แม้ว่าองค์ประกอบแต่ละประเภทจะมีความพิเศษในตัวเองก็ตาม และจากสาเหตุนี้เองที่ทำให้สิ่งนั้นมีความพิเศษกว่าสิ่งอื่น

2. บรรดาสรรพสัตว์ทั้งหลาย เนื่องจากมีชีวิตของความเป็นสัตว์อยู่ในตัว ถ้าสมมุติว่าเราจะตั้งสมมุติฐานว่าสัตว์ไม่มีชีวิต มันก็ไม่แตกต่างอะไรไปจากสภาพก่อนหน้าที่จะเป็นสัตว์ หรืออาจกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ สัตว์ไม่ได้เกิดขึ้นมาบนโลกเลย

3. จำนวนของสรรพสัตว์ เช่น ผึ้ง แมงมุม และฯลฯ บางครั้งจะเห็นร่องรอยการมีชีวิตของพวกมันได้อย่างชัดเจน

4. นักวิชาการได้กล่าวถึงการมีชีวิตในสรรพสัตว์ในแง่ของวิชาการ จากสิ่งที่ได้ค้นคว้าและวิจัยออกมา เช่น ความรู้ประจักษ์ของสัตว์ถึงการมีอยู่ของตัวเอง หรือการแทรกแซงความต้องการในกริยาของสรรพสัตว์ หรือการรวมรวบชีวิตสรรพสัตว์ในโลกอื่น ซึ่งทั้งหมดเหล่านี้บ่งบอกให้เห็นถึงชีวิตที่มีอยู่ในบรรดาสรรพสัตว์

5. เหตุผลที่บ่งบอกถึงการมีชีวิตอยู่ในสรรพสัตว์ หรือการสัมพันธ์ไปยังการรับรู้และความรู้สึกในรูปลักษณ์ของตัวอย่าง โดยสรรพสัตว์เหล่านั้น ตลอดจนการแสดงออกและร่องรอยต่างๆ ที่ไม่เหมือนกันของสัตว์เหล่านั้น

ประเด็นที่สอง ภายใต้หัวข้อที่ว่า ชีวิตที่แตกต่างระหว่างสรรพสัตว์กับมนุษย์ ประกอบด้วย

ชีวิตมนุษย์และสัตว์ถ้าหากจะพิจารณาด้านกายภาพแล้วจะเห็นว่ามีความแตกต่างกัน องค์ประกอบด้านกายภาพของมนุษย์นั้นมีความสมบูรณ์มากกว่าสัตว์ และทำนองเดียวกันในแง่ของชีวิตทั้งสองก็มีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ด้วยเหตุนี้ พื้นฐานความแตกต่างของมนุษย์กับสรรพสัตว์ เช่น มนุษย์มีศักยภาพในการสนทนา โดยใช้ประโยชน์จากพยัญชนะ คำ อักษร ความคิด และ ...เขาได้ถ่ายถอดสิ่งนั้นไปสู่คนอื่น หรือผลต่างๆ ด้านจิตวิทยาของเขาที่เผชิญอยู่กับปัจจัยต่างๆ ที่แตกต่างกัน เช่น หัวเราะ ร้องไห้ และ ฯลฯ

หรือการมีเทคโนโลยี ศิลปะ สถานภาพ และความสามารถของมนุษย์ ซึ่งไม่มีอยู่ในโลกของสรรพสัตว์ ทำนองเดียวกันความแตกต่างที่ว่า อะไรคือชีวิตของมนุษย์และสรรพสัตว์ ในแง่นี้จะเห็นว่าชีวิตมนุษย์นั้นเป็น ภูมิปัญญา ส่วนชีวิตของสรรพสัตว์นั้นเป็นจินตนาการ นอกจากสิ่งที่กล่าวมาแล้วความอดทนและความสามารถของบรรดาสรรพสัตว์ ยังเป็นสิ่งช่วยขจัดความต้องการต่างๆ ในแง่กายภาพและการขยายชีวิตมนุษย์ในยาวออกไป ในแง่ของวิชาการความรู้ จนกระทั่งถึงขั้นสูงสุดเท่าที่จะเป็นไปได้

คำตอบเชิงรายละเอียด

คำถามข้างต้น ได้รับการวิเคราะห์บนพื้นฐานของปรัชญา ซ็อดรอ และฮิกมัต มุตะอาลียะฮฺ ซึ่งจะเห็นว่าผลงานต่างๆ ของมัรฮูมมุลลาซ็อดรอ และบรรดาสานุศิษย์ของท่านเกี่ยวกับเรื่องชีวิต มะอาด ความรู้และการับรู้ หรือที่รู้จักกันในนามของ การรู้จักนั้น ได้ถูกถ่ายทอดสู่สังคมทั้งโดยการอ้างอิงถึง หรือโดยละเอียดมีจำนวนมากมาย ประเด็นที่สามารถอธิบายได้เกี่ยวกับ การมีชีวิตอยู่ในสรรพสัตว์ ได้ถูกแบ่งเป็นหัวข้อหลักไว้ 2 ประการ และหัวข้อย่อยอีก 5 ประการ หลังจากนั้นได้อธิบายถึงความแตกต่างระหว่างชีวิตของสรรพสัตว์กับชีวิตของมนุษย์:

. หลักของการมีชีวิตอยู่ในสรรพสัตว์

1. ชีวิตของสรรพสัตว์เป็นหนึ่งในองค์ประกอบของชีวิตบนโลกนี้

ปกติทั่วไป การวิพากษ์ในประเด็นของปรัชญาที่เกี่ยวข้องกับชีวิต ทุกที่เมื่อได้มีการนำเสนอการตีความ ชีวิตของสรรพสัตว์ มนุษย์ และวัตถุทั้งหลายจะถูกนับว่าเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่กล่าวถึง แม้ว่าองค์ประกอบแต่ส่วนเหล่านั้น จะมีคุณลักษณะพิเศษอันเฉพาะสำหรับตน ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เห็นความแตกต่างระหว่างพวกเขากับสิ่งอื่น แต่อย่างไรก็ตามทั้งหมดมีแก่นแห่งความจริงแท้ และองค์รูปที่ร่วมเป็นหนึ่งเดียวกัน นั่นคือชีวิตที่เป็นนามธรรมมิใช้กายภาพ ซี่งอวัยวะทุกส่วนของมันก็เป็นนามธรรมด้วย ไม่ว่าจะเป็นชีวิตที่เป็นภูมปัญญาและอวัยวะก็เป็นภูมิปัญญา หรือชีวิตที่เป็นสัตว์เดรัจฉานซึ่งอวัยวะทั้งหมดนั้นเป็นตัวอย่าง (บางครั้งอาจเป็นพืชซึ่งองค์ประกอบของมันก็ต้องมาจากสิ่งเดียว)

2. การให้ชีวิตสรรพสัตว์ ขั้นหนึ่งจากขั้นตอนที่เป็นการสร้างจากโลกของวัตถุ

มุลลาซ็อดรอ คือบุคคลที่เชื่อว่าการสร้างสิ่งที่เป็นวัตถุขึ้นอยู่กับขั้นตอน ซึ่งนับจากขั้นตอนที่เล็กและง่ายที่สุดของสรรพสิ่ง จนกระทั่งถึงขั้นตอนของการผสมเข้ากันอย่างสมบูรณ์

บางครั้งขั้นตอนเหล่านี้เพียงแค่ผสมเข้ากันเพียงอย่างเดียว ถือว่าไม่เข้ากันแต่อย่างใด ซึ่งความสมบูรณ์ของขั้นตอนนั้นและการกำเนิดของสรรพสิ่งอันเป็นความเฉพาะที่ส่งเสริมระบบการสร้าง มีความต้องการในแหล่งพลังที่มิใช่วัตถุแต่เป็นพลังผสม[1] เช่น ขั้นตอนนี้คือขั้นตอนการกำเนิดสรรพสัตว์ พลังที่เข้าร่วมในขั้นตอนนี้และทำให้มีสรรพสัตว์เกิดขึ้นมาคือ ชีวิตของสัตว์ ดังนั้น มิใช่สัตว์เพียงอย่างเดียวที่มีชีวิต ทว่าถ้าปราศจากชีวิตของสัตว์ สัตว์จะไม่มีวันเกิดขึ้นได้อย่างเด็ดขาด การที่ชีวิตได้เข้าร่วมกับสารประกอบของวัตถุเป็นหนึ่งในความเฉพาะของโลกแห่งวัตถุ[2]

และกฎเกณฑ์นั้นเองที่ได้ใช้กับมนุษย์และพืช พลังที่นอกเหนือจากวัตถุ หรือพลังจิต มีจุดที่แตกต่างกันของสิ่งที่มีอยู่ในแง่ของวัตถุ ซึ่งบางส่วนจากสิ่งเหล่านั้น เช่น หิน เป็นต้น แต่บางครั้งการมีอยู่ของบางสิ่งก็มีความแตกต่างกัน ในขั้นของจิตวิญญาณของสรรพสิ่งที่มีจิตวิญญาณเหล่านั้น ชีวิตของพืชเป็นสิ่งที่มีอยู่ชนิดต่ำสุด ส่วนชีวิตของมนุษย์นั้นสูงส่งที่สุด ส่วนชีวิตของสรรพสัตว์อยู่ในระดับกลาง

3. ตัวอย่างต่างๆ ภายนอกของชีวิตในบรรดาสรรพสัตว์ 

การปรากฏร่องรอยของสรรพสัตว์บางชนิด เหมือนกับการสร้างรวงรังหกเหลี่ยมของผึ้ง หรือการทักทอใยแมงมุมโดยแมงมุมทั้งหลาย การลอกเรียนแบบจากมนุษย์ทั้งนกแก้ว และลิง หรือคุณลักษณะพิเศษบางประการ เช่น ความสง่างามของม้า หรือการเป็นเจ้าป่าของสิงโต ความซื่อสัตย์ของสุนัข เล่ห์เหลี่ยมของสุนัขจิ้งจอก และ ฯลฯ ในมุมมองของมุลลาซ็อดรอ สิ่งที่บ่งบอกให้เห็นถึงความรู้สึกในสัตว์ หรือแม้แต่ระดับของสรรพสัตว์เหล่านั้น บางครั้งก็มีความใกล้เคียงกับความเป็นมนุษย์[3] 

4. หลักฐานด้านวิชาการที่บ่งบอกถึงการมีชีวิตในสรรพสัตว์

บรรดาสรรพสัตว์ทั้งหลายมีชีวิตที่เป็นจินตนาการ ซึ่งคล้ายกับชีวิตของมนุษย์อยู่ในสภาพของนามธรรม[4] ชีวิตของสรรพสัตว์อยู่ในสภาพนามธรรมบัรซัคคีและมิซอลลีเท่านั้น กล่าวคืออยู่ในระดับของโลกแห่งความรู้สึกและสติปัญญาเท่านั้น ระดับสุดท้ายของสัตว์คือ การจินตนาการเท่านั้น ดังนั้น ในความเป็นจริงชีวิตของสรรพสัตว์จึงเป็นได้แค่การจินตนาการ และเนื่องจากเป็นนามธรรมรวมกับพลังที่อยู่ด้านในของตน ทำให้เกิดศักยภาพพอที่จะมีความรู้ประจักษ์เมื่อสัมพันธ์ไปยังตนเอง[5] ขณะที่ไม่สิ่งใดที่เป็นวัตถุมีความสามารถพอที่จะมีศักยภาพเช่นนี้ได้

ในทัศนะของมัรฮูม มุลลาซ็อดรอ เชื่อว่าภารกิจทั้งหมดบนโลกนี้ได้ทุกกระทำขึ้นตามความประสงค์ แม้กระทั่งพืช และสรรพสัตว์ทั้งหลาย เพียงแต่ว่าความประสงค์นี้อยู่ในระดับที่สูงกว่าสติปัญญาและชีวิต ส่วนพืชและหินเป็นไปโดยการกำหนด ภายใต้ความประสงค์ แต่ในสรรพสัตว์และมนุษย์วางอยู่บนพื้นฐานของงาน จนกระทั่งไปถึงระดับของความประสงค์ หลังจากนั้น จึงได้กระทำโดยผ่านจิตวิญญาณของสิ่งเหล่านั้น และเนื่องจากการกระทำของสรรพสัตว์และมนุษย์มีความหลากหลาย ขณะที่ในพืชและหินนั้นมีบริบทอันเดียวกัน[6] ปฏิกิริยาของสรรพสัตว์คือ การจินตนาการส่วนในมนุษย์คือสติปัญญาและการกระทำ[7] ดังนั้นทั้งการจินตนาการ การคิด สติปัญญา และความประสงค์ ทั้งหมดเล่านี้ถือว่าเป็นตัวอย่างชีวิต และเป็นหนึ่งในการมีอยู่ที่แตกต่างกันของสรรพสิ่งมีชีวิต กับสรรพสิ่งที่ไร้ชีวิต

นอกจากนั้นแล้ว บนพื้นฐานของโลกแห่งชีวิตสามารถย้อนกลับไปสู่มะอาด การรวมตัวของร่างกายและจิตวิญญาณของสรรพสิ่งที่มีชีวิต ด้วยเหตุนี้เอง บุคคลที่กล่าวถึงเรื่องมะอาดจึงได้มีบทเฉพาะการ ที่กล่าวถึงเรื่องมะอาดของชีวิตสรรพสัตว์ เงื่อนไข และรายละเอียดของการย้อนกลับ

5. เหตุผลที่บ่งบอกถึงมีการมีอยู่ของชีวิตในบรรดาสรรพสัตว์

บรรดาสรรพสัตว์ทั้งหลายนั้นมีชีวิต ซึ่งเป็นหนึ่งนามธรรม เนื่องจากสัตว์นั้นมีพลังแห่งการจินตนาการในตัว มันจึงสามารถรับรู้ถึงความคล้ายเหมือนและรูปร่างบางอย่างได้ ซึ่งรูปลักษณ์เหล่านั้นไม่สามารถรับรู้ได้ด้วยความรู้สึก ดังนั้น สิ่งดังกล่าวจึงไม่ได้อยู่ในโลก (หมายถึงไม่ได้จัดอยู่ในสิ่งที่เป็นวัตถุ) ฉะนั้น ประเด็นของรูปลักษณ์เหล่านี้ความเข้าใจและการมีอยู่ของมันก็ไม่สามารถบ่งชี้ได้ 

ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • ถ้าหากพิจารณาบทดุอาอฺต่างๆ ในอัลกุรอาน จะเห็นว่าดุอาอฺเหล่านั้นได้ให้ความสำคัญต่อตัวเองก่อน หลังจากนั้นเป็นคนอื่น เช่นโองการอัลกุรอาน ที่กล่าวว่า “อะลัยกุม อันฟุซะกุม” แต่เมื่อพิจารณาดุอาอฺของท่านหญิงฟาฏิมะฮฺจะพบว่าท่านหญิงดุอาอฺให้กับคนอื่นก่อนเป็นอันดับแรก, ดังนั้น ประเด็นนี้จะมีทางออกอย่างไร?
    8852 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/12/21
    ในตำแหน่งของการขัดเกลาจิตวิญญาณและยกระดับจิตใจตนเองนั้น, มนุษย์ต้องคำนึงถึงตัวเองก่อนบุคคลอื่นเพราะสิ่งนี้เป็นคำสั่งของอัลกุรอานและรายงานนั่นเอง, เนื่องจากถ้าปราศจากการขัดเกลาจิตวิญญาณแล้วการชี้แนะแนวทางแก่บุคคลอื่นจะบังเกิดผลน้อยมาก, แต่ส่วนในตำแหน่งของดุอาอฺหรือการวิงวอนขอสิ่งที่ต้องการจากพระเจ้า,ถือว่าเป็นความเหมาะสมอย่างยิ่งที่มนุษย์จะวอนขอให้แก่เพื่อนบ้านหรือบุคคลอื่นก่อนตัวเอง, ...
  • เหตุใดซิยารัตอาชูรอจึงมีการประณามบนีอุมัยยะฮ์แบบเหมารวม “لَعَنَ اللَّهُ بَنى اُمَیَّةقاطِبَةً” คนดีๆในหมู่บนีอุมัยยะฮ์ผิดอะไรหรือจึงต้องถูกประณามไปด้วย?
    6560 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2554/06/28
    อิสลามสอนว่าไม่ว่าจะในโลกนี้หรือโลกหน้าอัลลอฮ์ไม่มีทางลงโทษบุคคลใดหรือกลุ่มใดเนื่องจากบาปที่ผู้อื่นก่อนอกเสียจากว่าเขาจะมีส่วนร่วมหรือพึงพอใจหรือไม่ห้ามปราม กุรอานและฮะดีษสอนว่าสิ่งที่จะเชื่อมโยงบุคคลให้สังกัดในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งคือความคล้ายคลึงกันในแง่ของแนวคิดและวิธีปฏิบัติดังที่กุรอานไม่ถือว่าบุตรชายผู้ดื้อรั้นของนบีนู้ฮ์เป็นสมาชิกครอบครัวท่านทั้งนี้ก็เนื่องจากมีแนวคิดและวิธีปฏิบัติที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิงฉะนั้นบนีอุมัยยะฮ์ที่ถูกประณามในที่นี้หมายถึงผู้ที่มีแนวคิดและวิธีปฏิบัติสอดคล้องกับบรรพบุรุษที่เคยมีบทบาทในการสังหารโหดท่านอิมามฮุเซน(อ.) หรือเคยยุยงต่อต้านสัจธรรมแห่งอิมามัตรวมถึงผู้ที่ละเว้นการตักเตือนเท่านั้นทว่าเชื้อสายบนีอุมัยยะฮ์ที่ไม่มีประวัติด่างพร้อยใดๆย่อมไม่ถูกประณาม ...
  • มีรายงานจากอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) เกี่ยวกับผลบุญของการสาปแช่งบรรดาศัตรูบ้างไหม?
    6052 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2554/12/21
    มีรายงานจำนวนมากมายปรากฏในตำราฮะดีซของฝ่ายชีอะฮฺที่กล่าวเกี่ยวกับผลบุญของการสาปแช่งบรรดาศัตรูของอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) ท่านอิมามริฎอ (อ.) ได้กล่าวแก่ชะบีบบิน
  • จะปฏิบัติตามบทบัญญัติอิสลามได้อย่างไรในสภาพสังคมบริโภคนิยม มีความแตกแยก และโกหกหลอกลวงกันอย่างแพร่หลาย?
    7381 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/05/31
    บทบัญญัติอิสลามสามารถนำมาใช้ได้สองมิติด้วยกัน บางประการเกี่ยวข้องกับปัจเจกบุคคล และบางประการเกี่ยวข้องกับสังคม ส่วนที่เกี่ยวข้องกับปัจเจกนั้น สามารถปฏิบัติได้ในทุกสภาพสังคม กล่าวคือ หากมุสลิมประสงค์จะปฏิบัติตามบทบัญญัติอิสลามเชิงปัจเจก อาทิเช่น นมาซ ถือศีลอด ฯลฯ แม้สังคมนั้นๆจะเสื่อมทราม แต่ก็ไม่อาจจะเป็นอุปสรรคต่อกิจวัตรส่วนตัวมากนัก แต่บทบัญญัติบางข้อเกี่ยวข้องกับกิจกรรมในสังคมที่สามารถประยุกต์ใช้ในสังคมได้ และเนื่องจากมนุษย์ไฝ่ที่จะอยู่ในสังคม จึงจำเป็นจะต้องอาศัยอยู่และสนองความต้องการของตนภายในสังคม ในมุมมองนี้บุคคลควรปกป้องคุณธรรมศาสนาเท่าที่จะมีความสามารถ และมีหน้าที่จะต้องกำชับกันในความดีและห้ามปรามความชั่วตามสำนึกที่มีต่อสังคม ซึ่งแม้ไม่สัมฤทธิ์ผลก็ถือว่าได้ทำตามหน้าที่แล้ว อนึ่ง ในกรณีที่ต้องใช้ชีวิตในสภาพสังคมเช่นนี้ ควรพึ่งพาตนเองให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ...
  • มีผู้ทำพินัยกรรมเกี่ยวกับ “ทรัพย์สินส่วนหนึ่ง” โดยมิได้ระบุจำนวน เราจะแบ่งอย่างไร?
    6164 สิทธิและกฎหมาย 2555/02/13
    จากการที่บรรดาอุละมาอ์ให้การยอมรับสายรายงานฮะดีษของทั้งสองกลุ่มความหมายจึงได้เสนอข้อยุติไว้แตกต่างกันดังต่อไปนี้1. ในอดีตเจ้าของทรัพย์สินมักจะแบ่งทรัพย์สินเป็นส่วนๆบ้างก็แบ่งเป็นสิบส่วนบ้างก็แบ่งเป็นเจ็ดส่วนฉะนั้นจะต้องพิจารณาว่าผู้ตายเคยแบ่งทรัพย์สินอย่างไรขณะมีชีวิตอยู่2.
  • ฐานะภาพของบรรดาอิมามสูงส่งกว่าบรรดานบีจริงหรือ?
    6650 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/12/20
    ฮะดีษมากมายระบุว่าบรรดาอิมามมีความสูงส่งเหนือบรรดานบีทั้งนี้ก็เนื่องจากรัศมีทางจิตใจของบรรดาอิมามหลอมรวมกับท่านนบีมุฮัมมัด (ซ.ล.) ฉะนั้นในเมื่อท่านนบีมีศักดิ์เหนือบรรดานบีท่านอื่นๆวุฒิภาวะที่บรรดาอิมามได้รับการถ่ายทอดจากนบีมุฮัมมัด (ซ.ล.) จึงเหนือกว่านบีทุกท่าน ประเด็นที่ว่ามนุษย์มีศักดิ์ที่สูงกว่ามลาอิกะฮ์นั้นถือเป็นสิ่งที่อิสลามยอมรับฉะนั้นการที่อิมามผู้ไร้บาปจะมีศักดิ์เหนือกว่ามลาอิกะฮ์จึงไม่ไช่เรื่องที่เหนือความคาดหมายแต่อย่างใด ...
  • บางครั้งอัลกุรอานได้กล่าวแก่ท่านศาสดาของพระองค์ว่า เจ้ามิใช่ผู้รับผิดชอบอีมานของประชาชน และประเด็นเหล่านี้ขัดแย้งกับการญิฮาดอิบติดาอียฺ หรือไม่ ?
    6219 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/04/21
    ทัศนะของอัลกุรอานเกี่ยวกับการญิฮาดมี 2 ลักษณะกล่าวคือญิฮาดอิบติดาอียฺหรือญิฮาดดะฟาอ์ทั้งสองมีวัตถุประสงค์คือฟื้นฟูสิทธิความเป็นมนุษย์และสิทธิของเตาฮีดซึ่งถือได้ว่าเป็นสิทธิของมนุษย์ที่มีความสำคัญยิ่งเตาฮีดจัดว่าเป็นขบวนการธรรมชาติที่สุดซึ่งอิสลามได้กำหนดญิฮาดขึ้นมาก็เพื่อปกป้องสิทธิเหล่านี้ดังนั้นการญิฮาดในอิสลามจึงได้รับอนุญาตทำนองเดียวกันการกำชับความดีและห้ามปรามความชั่วก็อยู่ในทิศทางเดียวกันด้วยเหตุนี้
  • ความหมายของประโยคที่กล่าวว่า «السلام علیک یا حجة الله لا تخفی» คืออะไร?
    7178 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/03/08
    เป็นประโยคหนึ่งจากซิยาเราะฮ์ท่านอิมามมะฮ์ดี(อ.) ซึ่งได้บันทึกไว้ในหนังสือฮะดีษและดุอาอ์ต่าง ๆ[1] เกี่ยวกับประโยคดังกล่าวสามารถสันนิษฐานได้ 2 ประการ อิมามมะฮ์ดี(อ.) เป็นฮุจญะฮ์ของอัลลอฮ์ (ซ.บ.) และการเป็นฮุจญะฮ์ได้รับการพิสูจน์โดยเหตุผลทางสติปัญญาและฮะดีษแล้ว[2] ดังนั้นการเป็นอิมามของท่านเป็นที่ชัดเจนแน่นอน และเป็นที่ยอมรับสำหรับทุกคนที่มีความคิดและสติปัญญาที่สมบูรณ์ อิมามมะฮ์ดี(อ.) ซึ่งเป็นฮุจญะฮ์ของอัลลอฮ์ (ซ.บ.) อยู่ในหมู่พวกเรา และไม่ได้จากไปไหน แต่ทว่าเรามองไม่เห็นท่าน เสมือนดวงอาทิตย์ที่อยู่หลังก้อนเมฆ[3] ดังนั้น แม้ว่าร่างกายของอิมามมะฮ์ดี(อ.) จะไม่ปรากฏให้สาธารณะชนเห็นเนื่องด้วยภัยคุกคามหรือเหตุผลอื่นๆ แต่การรู้จักท่าน ตลอดจนภาวะการเป็นอิมามของท่านเป็นที่ประจักษ์สำหรับผู้คนอย่างชัดเจน และทุกคนรับรู้ในสิ่งนี้เป็นอย่างดี ท่านอยู่ในดวงใจของผู้ศรัทธามิเสื่อมคลาย และประชาชนต่างดำเนินชีวิตอยู่ด้วยคำแนะนำและภายใต้การดูแลของท่านเสมอมา อ่านเพิ่มเติมได้ที่
  • เพราะเหตุใดจึงต้องคลุมฮิญาบ และทำไมอิสลามจำกัดสิทธิสตรี?
    14593 ปรัชญาของศาสนา 2554/06/21
    สุภาพบุรุษและสุภาพสตรีมีความคล้ายคลึงกันในแง่ของการที่มีต้นกำเนิดเดียวกันและการที่ควรได้รับความเสมอภาคทางสังคมอาทิเช่นการศึกษา, การแสดงความเห็น...ฯลฯอย่างไรก็ดีในแง่สรีระและอารมณ์กลับมีข้อแตกต่างหลายประการข้อแตกต่างเหล่านี้เองที่ส่งผลให้เกิดบทบัญญัติพิเศษอย่างเช่นการสวมฮิญาบในสังคมทั้งนี้ก็เนื่องจากสุภาพสตรีมีความโดดเด่นในแง่ความวิจิตรสวยงามแต่สุภาพบุรุษมีความโดดเด่นในแง่ผู้แสวงหาด้วยเหตุนี้จึงมีการเน้นย้ำให้สุภาพสตรีสงวนตนในที่สาธารณะมากกว่าสุภาพบุรุษทั้งนี้และทั้งนั้นหาได้หมายความว่าจะมีข้อจำกัดด้านการแต่งกายเพียงสุภาพสตรีโดยที่สุภาพบุรุษไม่ต้องระมัดระวังใดๆไม่. ...
  • ความตายจะเกิดขึ้นในสวรรค์หรือนรกหรือไม่?
    6800 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/08/15
    โองการกุรอานฮะดีษและเหตุผลเชิงสติปัญญาพิสูจน์แล้วว่าหลังจากที่มนุษย์ขึ้นสวรรค์และลงนรกแล้วความตายจะไม่มีความหมายอีกต่อไป กุรอานขนานนามวันกิยามะฮ์ว่า “เยามุ้ลคุลู้ด”(วันอันเป็นนิรันดร์) และยังกล่าวถึงคุณลักษณะของชาวสวรรค์ว่า “คอลิดีน”(คงกระพัน) ส่วนฮะดีษก็ระบุว่าจะมีสุรเสียงปรารภกับชาวสวรรค์และชาวนรกว่า “สูเจ้าเป็นอมตะและจะไม่มีความตายอีกต่อไป(یا اهل الجنه خلود فلاموت و یا اهل النار خلود فلا ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59405 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56853 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41682 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38439 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38436 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33464 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27550 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27251 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27151 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25225 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...