การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
5786
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2550/09/29
คำถามอย่างย่อ
เหตุผลของการเลือกบรรดาศาสดาและอิมาม ท่ามกลางปวงบ่าวอื่นๆ?
คำถาม
เหตุผลของการเลือกบรรดาศาสดาและอิมาม ท่ามกลางปวงบ่าวอื่นคืออะไร? เพราะเหตุใดมุฮัมมัดจึงเป็นผู้ถูกเลือกสรรของพระเจ้า และเป็นบ่าวที่ดีที่สุด? แล้วประเด็นนี้เกี่ยวข้องกับช่วงเวลาก่อนการประสูติของท่านด้วยหรือไม่?
คำตอบโดยสังเขป

บนพื้นฐานของเหตุผลทั่วไปแห่งสภาวะการเป็นศาสดา คือ การชี้นำมวลมนุษยชาติ, พระองค์จึงเลือกสรรประชาชาติบางคนจากหมู่พวกเขาในฐานะของแบบอย่าง, เพื่อเป็นตัวแทนและเป็นผู้ชี้นำทาง แน่นอนการเลือกสรรนี้มิได้ปราศจากเหตุผล

คำอธิบาย ศักยภาพในการเป็นเคาะลิฟะฮฺของพระเจ้า ได้ถูกมอบแก่มนุษย์ทุกคนแล้ว เพียงแต่ว่ามิใช่มนุษย์ทุกคนจะไปถึงขั้นนั้นได้, มีเฉพาะบางคนเท่านั้นที่มีศักยภาพพอ และด้วยการอิบาดะฮฺทำให้เขาได้ไปถึงยังตำแหน่งของการเป็นตัวแทนของพระองค์บนหน้าแผ่นดิน และพวกเขาจะไม่กระทำความผิดตามเจตนารมณ์เสรีของตน, อัลลอฮฺ ทรงรอบรู้ถึงสภาพของพวกเขาทั้งก่อนการสร้างในรูปแบบภายนอก และทรงรอบรู้ถึงสภาพและความประพฤติของพวกเขาเป็นอย่างดี, การตอบแทนผลรางวัลแก่การงานของพวกเขา, พระองค์ทรงเลือก มอบสาส์น และความคู่ควรการเป็นผู้นำสังคมแก่พวกเขา, ดังนั้น ความเร้นลับในการเลือกสรรจึงวางอยู่บน 2 เหตุผล กล่าวคือ

1.การแสดงความเคารพสมบูรณ์ของหมู่มิตรของพระเจ้าที่มีต่อพระองค์

2.ความเมตตาและความการุณย์พิเศษของพระเจ้า ที่มีต่อหมู่มิตรของพระองค์

สรุป ความเมตตาการุณย์ของพระเจ้าที่ทรงมีต่อบรรดาศาสดา และบรรดาอิมาม (อ.) เนื่องจากว่า หนึ่ง : วางอยู่บนศักยภาพและความเพียรพยายามของพวกเขา และสอง : การมอบความเมตตานี้ ตามความเป็นจริงแล้วเป็นความเมตตาประเภทหนึ่งที่มีต่อปวงบ่าวทุกคน เพื่อการชี้นำทางพวกเขา, ซึ่งวางอยู่บนวิทยปัญญาและความยุติธรรม.

คำตอบเชิงรายละเอียด

บนเหตุผลทั่วไปของการเป็นศาสดา, อัลลอฮฺทรงเลือกสรรประชาชาติบางคนในหมู่พวกเขา ให้เป็นแบบอย่างและเป็นผู้ช้ำนำแก่พวกเขา ซึ่งบรรดาผู้ที่พระองค์ทรงเลือกสรรนั้นมีคุณสมบัติพิเศษ เช่น มีความรู้ และความบริสุทธิ์ ด้วยเหตุนี้เอง ไม่ต้องสงสัยเลยว่าบรรดาศาสดาและบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) ต่างได้รับความการุณย์พิเศษจากพระเจ้า ทว่าความการุณย์พิเศษที่พระองค์ทรงมอบให้นี้เกิดจากศักยภาพ ความดีงาม และความปรารถนาของบรรดาผู้บริสุทธิ์, กล่าวคือ อัลลอฮฺ ทรงรอบรู้ด้วยวิทยปัญญาอันสมบูรณ์และนิรันดร์ของพระองค์ว่า มีบางกลุ่มชนจากปวงบ่าวทั้งหลายมีศักยภาพเหนือกว่าบุคคลอื่น และเป็นผู้เชื่อฟังปฏิบัติตามพระองค์โดยจริงใจและบริสุทธิ์ใจยิ่ง ด้วยเหตุนี้เอง พระองค์จึงเลือกพวกเขาจากหมู่ประชาชาติทั้งหลาย และทรงมอบความเมตตาพิเศษตลอดจนรางวัลแก่พวกเขา และพระองค์ทรงรอบรู้ดียิ่งว่า พวกเขาจะไปถึงยังตำแหน่งของผู้บริสุทธิ์สมบูรณ์ด้วยความรู้ และความปรารถนาของตนเอง เพื่อว่าจะได้ประสบความสำเร็จในการชี้นำทาง และเป็นที่เชื่อถือและมั่นใจสำหรับบุคคลอื่น

อัลกุรอาน และรายงานจำนวนมากมายได้บ่งชี้ถึงประเด็นดังกล่าว ซึ่งจะขอหยิบยกมาอธิบายบางส่วน ดังนี้, อัลลอฮฺ ตรัสไว้ในอัลกุรอานว่า : และจากพวกเขา เราได้ตั้งให้พวกเขาเป็นผู้นำ เพื่อจะได้ชี้แนะแนวทางที่ถูกต้อง (แก่ประชาชน) ตามคําบัญชาของเรา เนื่องจากพวกเขามีความอดทนและมีความเชื่อมั่นต่อโองการทั้งหลายของเรา.[1]

ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวถึงประเด็นดังกล่าวว่า : แน่นอน อัลลอฮฺ ทรงเลือกสรรมนุษย์จากบุตรหลานของอาดัม ทรงทำให้การถือกำเนิดและร่างกายของพวกเขาสะอาดบริสุทธิ์ แล้วทรงปกป้องพวกเขาไว้ในไขสันหลังของบุรุษ และรังไข่ของสตรี มิใชเป็นเพราะว่าอัลลอฮฺทรงปรารถนาจึงเป็นเช่นนั้น, ทว่าอัลลอฮฺ ทรงทราบดียิ่งนับตั้งแต่เริ่มสร้างว่า พวกเขาจะเชื่อฟังปฏิบัติตามพระบัญชาของพระองค์ พวกเขาจะแสดงความเคารพภักดีต่อพระองค์เสมอ โดยพวกเขาจะไม่ตั้งภาคีเทียบเทียมพระองค์ [แม้แต่ภาคีชนิดเบาบางที่สุด] ดังนั้น พวกเขาจึงถูกประทานลงมาจากพระเจ้า เนื่องจากพวกเขาเป็นผู้เชื่อฟังปฏิบัติตามพระบัญชาของพระองค์ และเป็นผู้มีเกียรติอันสูงส่ง ณ พระองค์[2]

ตอนเริ่มแรกของดุอาอฺ นุดบะฮฺ กล่าวว่า : โอ้ อัลลอฮฺ ขอขอบคุณพระองค์, พระองค์ทรงวางเงื่อนไขกับพวกเขา (หมู่มิตรของพระองค์) ว่า จงอย่าลุ่มหลงต่อความสวยงาม และตำแหน่งทางโลก จงอย่าคิดถึงตำแหน่งใด นอกจากความใกล้ชิดต่อพระองค์ และพวกเขาก็ได้ยอมรับเงื่อนไขต่างๆ เหล่านี้ และพระองค์ทรงรอบรู้ดียิ่งว่าพวกเขาต้องปฏิบัติตามเงื่อนไข พระองค์จึงทรงยอมรับพวกเขา และให้พวกเขาเป็นผู้ใกล้ชิดต่อพระองค์ ด้วยความดีงามเหล่านี้นั่นเอง พระองค์จึงทรงประทานมลาอิกะฮฺลงมายังพวกเขา และทรงยกเกียรติยศของพวกเขาด้วยวะฮฺยูของพระองค์ และพวกเขาได้อ่านความรู้อันไร้พรมแดนจำกัดของพระองค์[3]

สรุป ศักยภาพการเป็นตัวแทนของอัลลอฮฺ ได้ถูกบรรจุอยู่ในตัวมนุษย์ทุกคน เพียงแต่ใช่ว่าทุกคนจะไปถึงยังตำแหน่งนั้น[4] การเลือกบรรดาศาสดาและบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) สืบเนื่องจากการได้รับประโยชน์อย่างความสมบูรณ์แบบของพวกเขา จากศักยภาพต่างๆ ที่อัลลอฮฺทรงมอบให้ในวิถีของการแสดงความเคารพภักดีต่อพระเจ้า และอัลลอฮฺ ทรงรอบรู้สิ่งนี้ด้วยความรู้นิรันดร์ของพระองค์ กล่าวคือ พระองค์ทรงทราบเป็นอย่างดีว่ากลุ่มชนเหล่านี้ จะใช้ศักยภาพและความสามารถทั้งหมดที่มีอยู่ไปในหนทางของพระองค์ พระองค์จึงทรงตอบแทนพวกเขา ด้วยการมอบความการุณย์อันเฉพาะพิเศษ กล่าวคือ ตำแหน่งการเป็นศาสดาและอิมามแก่พวกเขา

อย่างไรก็ตาม, การประทานความการุณย์พิเศษจากอัลลอฮฺ วางอยู่บนความเหมาะสมของบุคคล, ด้วยเหตุนี้ บางคนมิได้อยู่ในขอบข่ายของความการุณย์ดังกล่าว ก็ด้วยเหตุผลที่ว่า การมีศักยภาพดังกล่าวมิได้เป็นความเหมาะสมสำหรับพวกเขา และพวกเขาก็ไม่รู้ถึงคุณค่าเหล่านั้นด้วย

จะกล่าวถึงตัวอย่างสองสามประการจากอัลลอฮฺ เพื่อเราจะได้รู้ว่าปวงบ่าวบางคนได้รับความประเสริฐเหล่านั้น แต่เนื่องจากการนำไปใช้ประโยชน์ในทางไม่ดี ความการุณย์เหล่านั้นได้กลายเป็นการลงโทษพวกเขาในบัดดล. การมอบความการุณย์พิเศษจากอัลลอฮฺ แก่ปวงบ่าวบางคนที่บริสุทธิ์มิได้ปราศจากวิทยปัญญา เนื่องจาก อัลลอฮฺผู้ทรงรอบรู้เหตุการณ์ ทรงรู้ดีว่าจะมอบสาส์นของพระองค์แก่ผู้ใด และผู้ใดมีศักยภาพพอสำหรับการรับสาส์นั้น

อัลลอฮฺ ตรัสถึงบ่าวบางคนจากหมู่ชนของมูซา (อ.) ซึ่งตามรายงานเรียกเขาว่า บิลอิลม์ ตรัสว่า : เราได้ยกย่องปวงบ่าวบางคน, และเราได้ให้รางวัลอันเฉพาะแก่เขา นอกจากนั้นยังมอบเกียรติยศแก่เขา [แน่อน มิใช่ตำแหน่งนบีหรือศาสดา] แต่เขากลับนำเอาความการุณย์พิเศษของพระเจ้า ไปเป็นทาสรับใช้อำนาจฝ่ายต่ำของตน และใช้สิ่งนั้นไปในหนทางไม่ดี และเนื่องด้วยการนำไปใช้ประโยชน์ในทางที่ไม่ดีนั่นเอง ไม่เพียงแต่เขาจะไม่ได้รับการยกย่องอีกต่อไป ทว่าเขายังต่ำต้อยยิ่งกว่าสุนัขเสียอีก[5]

เมื่อพิจารณาสิ่งที่กล่าวมา,จะได้คำตอบชัดเจนจากคำถามที่ว่า การเลือกสรรศาสดานั้น เกี่ยวข้องกับช่วงเวลาก่อนการถือกำเนิดขึ้นมาบนโลกนี้หรือไม่? เป็นที่ประจักษ์ชัดว่า มาตรฐานคือการงานบนโลกนี้, ดังเช่นความหมายของรายงานหนึ่ง เหมือนที่ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวไว้ว่า : อัลลอฮฺ ทรงมีบัญชาแก่เหล่าสหายฝ่ายขวาว่า จงโดดเข้าไปในกองเพลิงเถิด พวกเขาได้ตอบรับ และกระโดดเข้าไปในกองเพลิง ส่วนเหล่าสหายฝ่ายเหนือดื้อดึง และไม่ยอมกระโดดเข้ากองเพลิง[6] ดังนั้น เป็นที่ชัดเจนว่าวัตถุประสงค์ของบุคคล ที่ได้ประพฤติปฏิบัติตนด้วยการเลือกสรรและเจตนารมณ์เสรี พวกเขาได้ก้าวไปสู่การเป็นสหายฝ่ายขวา หรือฝ่ายเหนือ ซึ่งธาตุแท้ของพวกเขาได้ถูกแสดงให้เห็นตั้งแต่ก่อนที่จะลงมายังโลกมนุษย์

ไม่ว่าอย่างไรก็ตามความประเสริฐและความดีกว่า ของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) และบรรดาอิมาม (อ.) เมื่อเทียบกับบุคคลอื่นเป็นที่ประจักษ์ชัดเจนอยู่แล้ว, ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวถึงประเด็นนี้ว่า : เมื่ออัลลอฮฺ ทรงเริ่มการสร้างสรรค์สรรพสิ่ง พระองค์ทรงให้สิ่งเหล่านั้นปรากฏอยู่ ณ เบื้องพระพักตร์ของพระองค์ และถามพวกเขาว่า ใครคือพระผู้อภิบาลของพวกเจ้า? มีบุคคลหนึ่งได้ตอบโดยกล่าวว่า พระองค์คือพระผู้อภิบาลของพวกเรา, บุคคลนั้นคือ ท่านเราะซูล (ซ็อล ฯ) อิมามอะลี และบรรดาอิมามท่านอื่นๆ (อ.) ดังนั้น อัลลอฮฺ จึงทรงมอบให้พวกเขาเป็นผู้รับผิดชอบความรู้และศาสนา[7]

หรือในบางรายงานท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า : »อัลลอฮฺทรงสร้างฉัน อะลี ฟาฏิมะฮฺ ฮะซัน และฮุซัยนฺ 7000 ปี ก่อนที่จะสร้างโลกนี้«[8] ซึ่งวัตถุประสงค์ของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) คือ การสร้างประกายรัศมีและความเร้นลับด้านจิตวิญญาณ มิใช่หมายถึงการสร้างด้านกายภาพและร่างกาย ซึ่งต้องอาศัยกาลเวลาและสถานที่ สรุปก็คือ ความโปรดปรานของอัลลอฮฺที่มีต่อบรรดาศาสดา และบรรดาอิมาม (อ.) คือ วางอยู่บนพื้นฐานของศักยภาพและความเพียรพยายามของพวกเขา สอง : การให้ความการุณย์พิเศษนี้ ตามความเป็นจริงแล้วเป็นความโปรดปรานชนิดหนึ่ง ที่ทรงมอบแก่ปวงบ่าวทุกคน เพื่อการชี้นำทางพวกเขา, และสิ่งนั้นวางอยู่บนวิทยปัญญาและความยุติธรรม.

 


[1] อัลกุรอาน บทซัจญฺดะฮฺ, 24.

[2] บิฮารุลอันวาร, เล่ม 10, หน้า 170.

[3] ซีดีวิชาการ พะรัซเซมอน

[4] อายะตุลลอฮฺ มิซบาฮฺ ยัซดี, พิช เนยอซฮอเยะ มุดีรียัต อิสลามมี, หน้า 56

[5] อายะตุลลอฮฺ มิซบาฮฺ ยัซดี, ดัรพัรทูร วิลายะฮฺ, หน้า 56.

[6] บิฮารุลอันวาร, เล่ม 5, หน้า 241.

[7] อ้างแล้วเล่มเดิม, หน้า 224

[8] อ้างแล้วเล่มเดิม, เล่ม 54, หน้า 43.

 

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • ใครเป็นผู้ประพันธ์ริซาละฮ์เศาะฟี้รซีโม้รก์? มีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร?
    6715 รหัสยทฤษฎี 2555/02/18
    ผู้ประพันธ์ริซาละฮ์เศาะฟี้รซีโม้รก์คือ ชะฮาบุดดีน ยะฮ์ยา บิน ฮะบัช บิน อมีร็อก อบุลฟุตู้ฮ์ ซุฮ์เราะวัรดี หรือที่รู้จักกันในฉายา “เชคอิชร้อก”“เศษะฟี้ร” หมายถึงเสียงที่ลากยาว รื่นหู และปราศจากคำพูดที่เปล่งจากริมฝีปากทั้งสอง ส่วน “ซีโม้รก์” เป็นชื่อสัตว์ปีกชนิดหนึ่งที่เปรียบเสมือนราชาแห่งฝูงวิหคในนิยาย ในเชิงวิชาอิรฟานหมายถึงผู้เฒ่าผู้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์แบบ อย่างไรก็ดี เรื่องราวของซีโม้รก์ได้รับการเล่าขานหลากเรื่องราวในตำรับตำราด้านวรรณกรรมเปอร์เซียและรหัสยนิยม(อิรฟาน)ในหนังสือเล่มนี้ เชคอิชร้อกได้แสดงถึงความสำคัญของการจาริกทางจิตวิญญาณสู่อัลลอฮ์ อีกทั้งอธิบายถึงสภาวะและอุปสรรคนานัปการในหนทางนี้ ...
  • ในมุมมองของรายงาน,ควรจะประพฤติตนอย่างไรกับผู้มิใช่มุสลิม?
    7359 สิทธิและกฎหมาย 2555/08/22
    อิสลาม เป็นศาสนาที่วางอยู่บนธรรมชาติอันสะอาดยิ่งของมนุษย์ ศาสนาแห่งความเมตตา ได้ถูกประทานลงมาเพื่อชี้นำมนุษย์ไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง และความผาสุกของมนุษย์ชาติทั้งหมด อีกด้านหนึ่งการเลือกนับถือศาสนาเป็นความอิสระของมนุษย์ ดังนั้น ในสังคมอิสลามนั้นท่านจะพบว่ามีผู้มิใช่มุสลิมปะปนอยู่ไม่มากก็น้อย อิสลามมีคำสั่งให้รักษาสิทธิ ประพฤติดี และอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสงบสันติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับบุคคลที่นับถือศาสนา ไม่ว่าพวกเขาจะใช้ชีวิตอยู่ในสังคมอิสลาม ภายใต้การปกครองของรัฐอิสลาม หรือบุคคลที่อยู่ในสังคมอื่นที่มิใช่อิสลาม, ผู้ปฏิเสธศรัทธาที่ดำรงชีวิตอยู่ภายใต้รัฐอิสลาม จำเป็นรักษาเงื่อนไขของผู้ร่วมอาศัยด้วย ถ้าหากไม่รักษาเงื่อนไขของผู้ร่วมอาศัย หรือทรยศหักหลังก็จำเป็นต้องถูกลงโทษตามกฎหมายอิสลาม ...
  • การทำหมันแมวเพื่อป้องกันมิให้จรจัด แต่ก็มีผลกระทบไม่ดีด้านความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม ฮุกุ่มเป็นอย่างไรบ้าง?
    8136 สิทธิและกฎหมาย 2555/01/23
    สำนักฯพณฯท่านผู้นำอายะตุลลอฮฺอัลอุซมาคอเมเนอี (ขออัลลอฮฺทรงคุ้มครองท่าน):
  • การกระทำใดบ้างที่ส่งผลให้คนเราแลดูสง่ามีราศี?
    6011 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/28
    ในมุมมองของอิสลามความสง่างามแบ่งได้เป็นสองประเภทอันได้แก่ความงดงามภายนอกและภายใน.ปัจจัยที่สร้างเสริมความสง่างามภายในตามที่ฮะดีษบ่งบอกไว้ก็คือความอดทนความสุขุมความยำเกรง...ฯลฯ
  • มีการกล่าวถึงรายชื่อบุคคลทั้งห้าในคัมภีร์เตารอตและคัมภีร์อินญีลหรือไม่?
    5561 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/12/11
    ดังที่ฮะดีษบางบทกล่าวไว้ว่ารายชื่อของบุคคลทั้งห้าผู้เป็นชาวผ้าคลุม (อ.) อันประกอบด้วยท่านศาสดา (ซ.ล.), อิมามอลี (อ.), ท่านหญิงฟาติมะฮ์ (ซ.), อิมามฮะซัน (อ.), อิมามฮุเซน (อ.) มีการกล่าวถึงในคัมภีร์เตารอตและคัมภีร์อินญีลซึ่งในการถกระหว่างอิมามริฏอ (อ.) กับบาทหลวงคริสต์และแร็บไบยิวได้มีกล่าวถึงประเด็นดังกล่าวด้วย ...
  • อิสลามและอิมามโคมัยนีมีทัศนคติอย่างไรเกี่ยวกับการหยอกล้อและการพักผ่อนหย่อนใจ?
    6734 สิทธิและกฎหมาย 2554/09/20
    เป้าประสงค์ของการสร้างมนุษย์ตามทัศนะของอิสลามคือการอำนวยให้มนุษย์มีพัฒนาการเพราะทุกสรรพสิ่งบนโลกล้วนถูกสร้างมาเพื่อเป้าหมายดังกล่าวทั้งนี้เนื่องจากมนุษย์คือสิ่งถูกสร้างที่ประเสริฐสุดดังที่กุรอานกล่าวว่า "ข้ามิได้สร้างมนุษย์และญินมาเพื่ออื่นใดเว้นแต่ให้สักการะภักดีต่อข้า"[i] นักอรรถาธิบาย(ตัฟซี้ร)ลงความเห็นว่าการสักการะภักดีในที่นี้หมายถึงภาวะแห่งการเป็นบ่าวซึ่งเป็นปัจจัยสำหรับพัฒนาการที่แท้จริงของมนุษย์เพื่อการนี้อิสลามให้ความสำคัญต่อทั้งด้านร่างกายและจิตใจมนุษย์ดังที่อิมามอลี(อ.)กล่าวไว้ว่าผู้ที่มีอีหม่านจะต้องมีสามช่วงเวลาในแต่ละวันของเขา: ส่วนหนึ่งสำหรับการอิบาดะฮ์ส่วนหนึ่งสำหรับการทำมาหากินและกิจการทางโลกส่วนหนึ่งสำหรับความบันเทิงที่ฮะล้าลและใช้ประโยชน์จากความโปรดปรานของพระองค์โดยที่ส่วนสุดท้ายจะช่วยให้สองส่วนแรกเป็นไปอย่างราบรื่น[ii]อิสลามไม่เคยคัดค้านการพักผ่อนหย่อนใจหรือการหยอกล้อที่ถูกต้องไม่เคยห้ามว่ายน้ำในทะเลซ้ำบรรดาอิมาม(อ.)ได้สอนสาวกให้ทราบเกี่ยวกับเรื่องนี้ในเชิงปฏิบัติท่านนบี(ซ.ล.)เองก็เคยหยอกล้อกับมิตรสหายเพื่อให้มีความสุขท่านอิมามโคมัยนีไม่เคยคัดค้านการพักผ่อนหย่อนใจและการหยอกล้อที่อยู่ในขอบเขตท่านกล่าวเสมอว่าการพักผ่อนหย่อนใจควรเป็นไปอย่างถูกต้องท่านไม่เคยคัดค้านรายการบันเทิงตามวิทยุโทรทัศน์บางครั้งท่านชื่นชมยกย่องทีมงานของรายการต่างๆเหล่านี้ด้วยแต่ท่านก็ให้คำแนะนำอันทรงคุณค่าเกี่ยวกับประเด็นนี้โดยถือว่าทุกรายการจะต้องมีจุดประสงค์เพื่อรับใช้อิสลามและแฝงไว้ซึ่งคำสอนทางจริยธรรมอย่างไรก็ดีการที่จะศึกษาทัศนะของอิมามโคมัยนีนั้นจำเป็นต้องอ้างอิงจากเว็บไซต์ของศูนย์เรียบเรียงและเผยแพร่ผลงานของอิมามโคมัยนีหรือหาอ่านจากหนังสือชุดเศาะฮีฟะฮ์นู้รตามลิ้งค์ด้านล่างนี้ (เปอร์เซีย)http://www.imam-khomeini.org/farsi/main/main.htm[i]ซูเราะฮ์
  • ตามคำสอนของศาสนาอื่น นอกจากอิสลาม, สามารถไปถึงความสมบูรณ์ได้หรือไม่? การไปถึงเตาฮีดเป็นอย่างไร?
    9601 เทววิทยาใหม่ 2554/06/21
    แม้ว่าปัจจุบันนี้จะมีความถูกต้องอยู่บ้างในบางศาสนาดั่งที่เราได้เห็นประจักษ์กับสายตาตัวเอง, แต่รูปลักษณ์ที่สมบูรณ์ของความจริงซึ่งได้แก่เตาฮีด, มีความประจักษ์ชัดเฉพาะในศาสนาอิสลามเท่านั้น, เหตุผลหลักสำหรับการพิสูจน์คำพูดดังกล่าว,คือการไม่มีหลักฐานที่เชื่อถือได้การถูกบิดเบือนและความบกพร่องต่างๆทางปัญญาในศาสนาต่างๆขณะที่ด้านตรงข้าม, การไม่ถูกเปลี่ยนแปลงและไม่ถูกสังคายนาของอัลกุรอาน, มีหลักฐานและประวัติที่เชื่อถือได้, คำสอนที่ครอบคลุมของอิสลาม, การเข้ากันได้อย่างเป็นธรรมชาติของคำสอนอิสลามกับสติปัญญาสมบูรณ์ ...
  • อิสลามมีทัศนะอย่างไร เกี่ยวกับใบยาสูบ?
    8925 สิทธิและกฎหมาย 2555/07/16
    อิสลามได้ห้ามการบริโภค ดื่ม และการใช้สิ่งต่างๆ ที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย และสุขภาพ และถ้าอันตรายยิ่งมีมากเท่าใด การห้ามโดยสาเหตุก็ยิ่งหนักหน่วงและรุนแรงขึ้นไปตามลำดับ, จนถึงระดับของการ ฮะรอม ท่านอิมามโคมัยนี (รฎ.) กล่าวว่า : “การบริโภคสิ่งของที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อมนุษย์ถือว่า ฮะรอม”[1] เป็นที่ประจักษ์ชัดเจนว่า เกณฑ์ของฮะรอม, ขึ้นอยู่กับอันตราย กล่าวคือไม่ว่าอันตรายจะเกิดจากการบริโภค หรือเกิดจากแนวทางอื่นก็ตาม, มิได้มีการระบุไว้ตายตัวแน่นอน. บุหรี่เป็นหนึ่งในสิ่งต่างๆ เหล่านั้น ซึ่งการสูบบุหรี่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์ แต่อันตรายนั้นจะถึงขั้นที่ว่า การสูบบุหรี่เป็นฮะรอมหรือไม่? บรรดาแพทย์ส่วนใหญ่และผู้เชี่ยวชาญเรื่องนี้, ต่างมีความเห็นพร้องต้องกันว่า บุหรี่เป็นอันตรายสำคัญและผลเสียเกิดขึ้นตามมามากมาย หนังสือและตำราต่างๆ จำนวนมากได้กล่าวอธิบายถึงอันตรายและผลเสียต่างๆ ที่เกิดจากการใช้ใบยาสูบ,โดยเฉพาะอย่างยิ่งบุหรี่,ซึ่งได้กลายเป็นสาขาหนึ่งที่มีการวิเคราะห์วิจัยออกมาอย่างกว้างขวาง[2] ...
  • ความแตกต่างระหว่างจิตฟุ้งซ่านกับชัยฎอนคืออะไร?
    10095 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/10/22
    ตัวตนที่แท้จริงของมนุษย์ซึ่งได้ถูกตีความว่าเป็นตัวตนหรือจิต, มีหลายมิติด้วยกันซึ่งอัลกุรอานได้แบ่งไว้ 3 ระดับด้วยกัน (จิตอัมมาเราะฮฺ, เลาวามะฮฺ, และมุตมะอินนะฮฺ)
  • ได้ยินว่าผู้บริจาคเศาะดะเกาะฮ์จะพ้นจากภยันตรายต่างๆ ถามว่าผู้รับเศาะดะเกาะฮ์จะประสบกับภยันตรายเหล่านั้นแทนหรือไม่?
    10379 بیشتر بدانیم 2557/02/12
    “เศาะดะเกาะฮ์” ในแง่ภาษาอรับแล้ว ถือเป็นอาการนาม ให้ความหมายว่า “การมอบให้เพื่อจะได้รับผลบุญ” และมีรากศัพท์จากคำว่า “ศิดกุน” พหูพจน์ของเศาะดะเกาะฮ์คือ “เศาะดะกอต” [1] นิยามของเศาะดะเกาะฮ์ เศาะดะเกาะฮ์หมายถึง สิ่งที่บุคคลมอบให้ผู้ขัดสน ผู้ยากไร้ เพื่ออัลลอฮ์ อันเป็นการพิสูจน์ความจริงใจในแนวทางของพระองค์[2] บทบัญญัติเกี่ยวกับเศาะดะเกาะฮ์ และผลบุญที่จะได้รับ อิสลามมีบทบัญญัติเกี่ยวกับเศาะดะเกาะฮ์สองประเภทด้วยกัน 1. เศาะดะเกาะฮ์ภาคบังคับ (วาญิบ) ซึ่งก็หมายถึง “ซะกาต” นั่นเอง ดังโองการที่กล่าวว่า خُذْ مِنْ أَمْوَالِهِمْ صَدَقَةً تُطَهِّرُهُمْ وَ تُزَکِّیهِمْ بِهَا وَ صَلِّ عَلَیْهِمْ إِنَّ صَلاَتَکَ سَکَنٌ ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59405 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56853 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41682 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38440 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38437 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33464 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27550 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27251 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27152 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25225 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...