การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
8129
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2555/04/07
คำถามอย่างย่อ
จนถึงปัจจุบันมีผู้ใดบ้างได้ยืนหยัดต่อสู้กับชัยฎอน และแนวทางการต่อสู้ของเขาเป็นอย่างไร?
คำถาม
ชัยฏอนและพลพรรคทั้งหลายของมาร เป็นญินประเภทหนึ่งซึ่งได้เผ้าโจมตีปวงผู้ศรัทธาทั้งหลาย มาอย่างช้านานแล้ว เพื่อโน้มน้าวให้พวกเขาปฏิเสธและตั้งภาคีกับพระเจ้า และจนถึงปัจจุบันมีผู้ใดบ้างได้ยืนหยัดต่อสู้กับชัยฎอน และแนวทางการต่อสู้ของเขาเป็นอย่างไร? ขอบคุณสำหรับคำตอบ
คำตอบโดยสังเขป

ตามทัศนะของอัลกุรอาน ชัยฏอนไม่อาจมีอิทธิพลเหนือปวงบ่าวที่บริสุทธิ์ของพระเจ้าได้ ปวงบ่าวที่เป็น มุคลิซีน หมายถึง บุคคลที่ได้ไปถึงยังตำแหน่งหนึ่ง ซึ่งชัยฏอนไม่อาจมีอำนาจเหนือพวกเขาได้ แน่นอน การต่อสู้กับชัยฏอนจำเป็นต้องมีสื่อและอุปกรณ์จำเป็นประกอบการต่อสู้ ซึ่งการมีอุปกรณ์เหล่านี้สามารถยืนหยัดต่อสู้กับชัยฏอนได้ และจะได้รับชัยชนะในการต่อสู้ ซึ่งจะขอยกตัวอย่างอุปกรณ์บางอย่างเหล่านั้น ได้แก่

1.อีมาน : อัลกุรอานกะรีมกล่าวว่า อีมาน คือ ตัวการหลักที่ขัดขวางการมีอิทธิพลของชัยฏอนเหนือผู้ศรัทธา

2. ตะวักกัล : อีกหนึ่งตัวการที่สามารถเอาชนะชัยฏอนและพลพรรคได้ คือการตะวักกัลป์ มอบหมายภารกิจแด่อัลลอฮฺ

3. อิสติอาซะฮฺ : หมายถึงการขอความช่วยเหลือ หรือสถานพักพิงต่ออัลลอฮฺ

4. การรำลึกถึงอัลลอฮฺ : การรำลึกถึงอัลลอฮฺ จะให้ความสว่างแก่มนุษย์ และจะช่วยให้เขาออกห่างจากการหยุแหย่ของชัยฏอน อีกทั้งได้ปิดกั้นแนวทางที่ชัยฏอนจะมีอิทธิพลเหนือมนุษย์

5. ตักว่า : ผลของความเคยชินของตักวา และการทำเสริมสร้างให้แข็งแรง, จะช่วยให้ตาใจเปิดสว่างไม่หลงกลต่อการหยุแหย่ของชัยฏอน และจะป้องกันมนุษย์ให้รอดพ้นจากบ่วงของชัยฏอน

คำตอบเชิงรายละเอียด

ในทัศนะของอัลกุรอาน ชัยฏอนไม่อาจมีอิทธิพลเหนือปวงบ่าวผู้มีความบริสุทธิ์ได้. ทั้งที่ชัยฏอนได้สาบานว่ามันจะลวงล่อปวงบ่าวทั้งหมดให้หลงทาง นอกเสียจากบ่าวที่บริสุทธิ์ อัลกุรอานกล่าวว่า

"قَالَ فَبِعِزَّتِكَ لَأُغْوِيَنَّهُمْ أَجْمَعِينَ ‏‏ إِلاَّ عِبَادَكَ مِنْهُمُ الْمُخْلَصِينَ"؛

“ชัยฏอนพูดว่า ฉันขอสาบานต่ออำนาจของพระองค์ว่า ฉันจะหลอกลวงพวกเขาทั้งหมดให้หลงทาง เว้นเสียแต่บ่าวผู้บริสุทธิ์ของพระองค์”

หรือบางที่อัลลอฮฺ (ซบ.) ตรัสว่า

" إِنَّ عِبادي لَيْسَ لَكَ عَلَيْهِمْ سُلْطانٌ إِلاَّ مَنِ اتَّبَعَكَ مِنَ الْغاوينَ "؛

"แท้จริง ปวงบ่าวของข้า เจ้าจะไม่มีอำนาจใด ๆ เหนือพวกเขา เว้นแต่ผู้ที่เชื่อฟังเจ้าในหมู่ผู้หลงผิดเท่านั้น"[1]

จากโองการทั้งสองที่กล่าวมาจะเห็นว่า กลุ่มที่เป็นมุคละซีน[2] จะอยู่นอกเหนืออำนาจและบ่วงของชัยฏอน, และสิ่งนี้คือวความสัตย์จริงที่แม้แต่ชัยฏอนก็สารภาพและยอมรับ, อีกทั้งอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงกำชับไว้พระองค์ตรัสว่า :

"إِنَّ عِبَادِي لَيْسَ لَكَ عَلَيْهِمْ سُلْطَانٌ"

"แท้จริง ปวงบ่าวของข้า เจ้าจะไม่มีอำนาจใด ๆ เหนือพวกเขา”

แนวทางยืนหยัดต่อสู้กับชัยฏอน

มุคละซีน หมายถึง บุคคลที่ได้ไปถึงยังตำแหน่งหนึ่ง ซึ่งชัยฏอนไม่อาจมีอำนาจเหนือพวกเขาได้ แน่นอน การต่อสู้กับชัยฏอนจำเป็นต้องมีสื่อและอุปกรณ์จำเป็นประกอบการต่อสู้ ซึ่งการมีอุปกรณ์เหล่านี้สามารถยืนหยัดต่อสู้กับชัยฏอนได้ และจะได้รับชัยชนะในการต่อสู้ ซึ่งจะขอยกตัวอย่างอุปกรณ์บางอย่างเหล่านั้น ได้แก่

1.อีมาน : อัลกุรอานกะรีมกล่าวว่า อีมาน คือ ตัวการหลักที่ขัดขวางการมีอิทธิพลของชัยฏอนเหนือผู้ศรัทธา:

‏"إِنَّهُ لَيْسَ لَهُ سُلْطَانٌ عَلَى الَّذِينَ آمَنُواْ وَ..."؛

“แท้จริงมารไม่มีอำนาจใด ๆ เหนือบรรดาผู้มีศรัทธา ...”[3]

2. ตะวักกัล : อีกหนึ่งตัวการที่สามารถเอาชนะชัยฏอนและพลพรรคได้ คือการตะวักกัล มอบหมายภารกิจแด่อัลลอฮฺ :

إِنَّهُ لَيْسَ لَهُ سُلْطَانٌ عَلَى الَّذِينَ ... وَعَلَى رَبِّهِمْ يَتَوَكَّلُونَ

“แท้จริงมารไม่มีอำนาจใด ๆ เหนือบรรดาผู้มีศรัทธา โดยที่พวกเขาได้มอบหมาย (การงาน) ต่อพระผู้อภิบาลของพวกเขา”[4]

ดังนั้น อีมานต่ออัลลอฮฺ (ซบ.) และบรรดาโองการต่างๆ ของพระองค์คือ อุปสรรคสำคัญที่กีดขวางอำนาจการควบคุมของชัยฏอนที่มีเหนือมนุษย์ จะปกป้องพวกเขาให้อยู่ภายในกำบังแห่งความปลอดภัยของอีมาน โดยมอบหมายภารกิจทั้งหมดแด่อัลลอฮฺ, ซึ่งไม่มีช่องให้อำนาจของมารมีอิทธิพลเหนือเขาแม้เพียงเล็กน้อย แน่นอน อำนาจของชัยฏอน จะมีเฉพาะแต่บุคคลที่ยอมรับอำนาจของชัยฏอนเท่านั้น โดยพวกเขาจะตั้งภาคีและปฏิเสธพระเจ้า อัลกุรอานกล่าวว่า :

"إِنَّمَا سُلْطَانُهُ عَلَى الَّذِينَ يَتَوَلَّوْنَهُ وَالَّذِينَ هُم بِهِ مُشْرِكُونَ"؛

“แท้จริง อำนาจของมารจะมีเหนือบรรดาผู้เป็นมิตรกับมัน และบรรดาผู้ที่ตั้งภาคีกับพระองค์เท่านั้น”[5]

3. อิสติอาซะฮฺ : หมายถึงการขอความช่วยเหลือ หรือสถานพักพิงต่ออัลลอฮฺ ซึ่งสถานพักพิงนี้,บางครั้งเป็นตักวีนียฺ และบางครั้งก็เป็นตัชรีอียฺ, ดังนั้น สำหรับการกำจัดความเลวร้ายทางธรรมชาติ จำเป็นต้องพึ่งพิงสถานพำนักที่เป็นตักวีนียฺของพระเจ้า ซึ่งสิ่งนั้นได้แก่ : ประมวลกฎเกณฑ์ต่างๆ หรือแบบฉบับของพระเจ้า ซึ่งจะมาในลักษณะของสาเหตุและปัจจัยทางธรรมชาติ ในระบบแห่งการสร้างสรรค์ของพระองค์, ดังนั้น เพื่อความปลอดภัยจากความชั่วร้ายแห่งจิต ดังที่อัลกุรอาน บทนาสได้กล่าวถึง จึงจำเป็นต้องอาศัยสถานพำนักที่เป็นตัชรีอียฺของพระเจ้า ซึ่งสิ่งนั้นได้แก่ : ประมวลคำสอนของพระเจ้า ซึ่งอยู่ในฐานะของพื้นฐานสำคัญของความเชื่อศรัทธา และโครงการอบรมสั่งสอนต่างๆ ในศาสนา ซึ่งได้ถูกกำหนดไว้แล้ว :

" وَ إِمَّا يَنْزَغَنَّكَ مِنَ الشَّيْطانِ نَزْغٌ فَاسْتَعِذْ بِاللَّهِ إِنَّهُ سَميعٌ عَليم‏"

“และหากมีการยั่วยุใด ๆ จากชัยฏอนกำลังยั่วยุเจ้าอยู่ ก็จงขอความคุ้มครองต่ออัลลอฮฺเถิด แท้จริงพระองค์เป็นผู้ทรงได้ยินผู้ทรงรอบรู้"[6]

โดยทั่วไป เตาฮีด จะเป็นตัวกำหนดว่า มนุษย์หากต้องการประโยชน์และความดีต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ และเริ่มต้นทุกภารกิจการงานด้วยคำว่า “บิสมิลลาฮฺ” นอกจากนั้นเพื่อขจัดอันตรายและความเลวร้ายทั้งหลายให้พ้นไปจากตัวเอง ก็จงขอความช่วยเหลือจากพระองค์ และเริ่มต้นภารกิจต่างๆ ด้วยการกล่าวว่า “อะอูซุบิลลาฮฺ” เนื่องจากตามทฤษฎีแห่งเตาฮีดแล้วไม่มีสิ่งใดจะก่อผลกระทบให้เกิดกับโลกได้นอกจาก เตาฮีด เท่านั้น

4. การรำลึกถึงอัลลอฮฺ : การรำลึกถึงอัลลอฮฺ จะให้ความสว่างแก่มนุษย์ และจะช่วยให้เขาออกห่างจากการหยุแหย่ของชัยฏอน อีกทั้งได้ปิดกั้นแนวทางที่ชัยฏอนจะมีอิทธิพลเหนือมนุษย์

تَذَكَّرُوا فَإِذا هُمْ مُبْصِرُون "

“พวกเขาจะรำลึกได้ แล้วทันใดพวกเขาก็จะมองเห็น”[7]

ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า : ชัยฏอนไม่มีอำนาจอันใดที่จะหยุแหย่มนุษย์ได้,เว้นเสียแต่ว่าเมื่อเขาได้ละเว้นการรำลึกถึงอัลลอฮฺ”[8]

ท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวว่าว่า การรำลึกถึงอัลลอฮฺ คือ สาเหตุของการปฏิเสธชัยฏอน "ذکرالله مطردة الشیطان."[9]

5. ตักว่า : ผลของความเคยชินของตักวา และการทำเสริมสร้างให้แข็งแรง, จะช่วยให้ตาใจเปิดสว่างไม่หลงกลต่อการหยุแหย่ของชัยฏอน และจะป้องกันมนุษย์ให้รอดพ้นจากบ่วงของชัยฏอน :

" إِنَّ الَّذينَ اتَّقَوْا إِذا مَسَّهُمْ طائِفٌ مِنَ الشَّيْطانِ تَذَكَّرُوا فَإِذا هُمْ مُبْصِرُون‏"

“แท้จริงบรรดาผู้ที่มีความสำรวมตน เมื่อมีการยุยงใด ๆ จากชัยฏอนประสบแก่พวกเขา พวกเขาก็รำลึก (ถึงอัลลอฮฺ รางวัล และการลงโทษ) ได้ (และในการรำลึกถึงอัลลอฮฺ เขาก็จะพบความจริง) แล้วทันใดพวกเขาก็มองเห็น”[10]

คำว่า “ฏออิฟ” หมายถึง ผู้ที่เวียนว่ายอยู่รอบๆ ประหนึ่งเสียงหยุแหย่ของชัยฏอนที่เวียนวนอยู่รอบ ราวกับว่าเป็นผู้เวียนรอบอยู่เหนือจิตวิญญาณ และความคิดของมนุษย์ จนกระทั่งว่ามารได้พบหนทางที่จะมีอิทธิพลเหนือมนุษย์

แน่นอน ชัยฏอนไม่อาจมีอำนาจเหนือบุคคลที่มีจิตวิญญาณและความสำรวมตนเข้มแข็งได้, แต่มิได้หมายความว่า ชัยฏอน จะละเลยเขา มันยังคงรอโอกาสเหมาะที่จะโจมตีเขา ซึ่งบางครั้งอารมณ์และอำนาจฝ่ายต่ำ เช่น ราคะตัณหา, ความโมหะ, ความอิจฉา, และการแก้แค้นต่างๆ ได้ลุกโชติช่วงขึ้นมา จนกระทั่งว่าได้สบโอกาสเหมาะชัยฏอนจะสร้างอิทธิพลเหนือพวกเขาโดยทันที และจะทำให้เขาหลงทาง

บางคนได้แนะนำหนทางยืนหยัดต่อสู้กับชัยฏอนเอาไว้ ซึ่งได้แก่ : การรำลึกถึงบรรดาอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.), การสร้างความเป็นมิตรกับอะฮฺลุลบัยตฺ, หรือการพยายามที่จะนำเอารหัสยะของบุคคลที่มิได้อยู่ภายใต้อิทธิพลอของมาร ..

บทสรุป :

ความเชื่อศรัทธาที่มีต่ออัลลอฮฺ, คือปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการกีดขวางมนุษย์ เพื่อป้องกันเขาให้ห่างไกลจากความชั่วร้าย และการทำบาป นอกจากนั้นการใส่ใจต่ออำนาจและวิทยปัญญาของพระเจ้า พร้อมกับการนำภารกิจการงานทั้งหมดกลับคืนสู่อาตมันบริสุทธิ์ของพระองค์ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นสาเหตุสำคัญที่สนับสนุน จิตวิญญาณของบ่าวคนหนึ่งให้สามารถยืนหยัดต่อสู้กับอำนาจของชัยฏอน, นอกจากนี้แล้วยังเป็นการสนับสนุนส่งเสริมอีมาน การมอบหมายความไว้วางใจต่ออัลลอฮฺ และความสำรวมตนที่มีอยู่ในตัว ยังช่วยส่งเสริมให้มีการรำลึกถึงอัลลอฮฺ อยู่เสมอ และการปฏิบัติภารกิจที่สร้างความลำบาก เป็นตัวการสำคัญที่ปฏิเสธชัยฏอน และในบั้นปลายการขอความช่วยเหลืออย่างแท้จริง เมื่อไปถึงยังความชั่วร้ายและความเสื่อมทรามที่มาจากชัยฏอนมารร้าย, เหล่านี้ล้วนเป็นย่างก้าวที่สำคัญเพื่อเตรียมตัวป้องกันการมีอิทธิพลของชัยฏอน มีคำกล่าวว่าเหล่านี้ทั้งหมดถ้าปราศจากการตะวัซซุลกับบรรดาอะฮฺลุลบัยตฺอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) และความการุณย์จากพวกเขาแล้ว ไม่อาจเป็นไปได้อย่างแน่นอน

หัวข้อต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง :

แนวทางการมีอิทธิพลของชัยฏอนที่มีเหนือมนุษย์, 165 (ไซต์ : 1052)

วัตถุประสงค์และโครงการต่างๆ ของชัยฏอน, 13586 (ไซต์ : th13412)

 


[1] อัลกุรอาน บทฮิจญฺร์ 42.

[2] มุคละซีน ได้แก่บุคคลที่ได้ปล่อยวางจิตใจให้ว่างเว้นจากความมืดมัวตามธรรมชาติ ทรัพย์สิน และวัตถุปัจจัยต่างๆ ชำระขัดเกลาจิตใจของเขาให้สะอาดจากสิ่งอื่นนอกจากอัลลอฮฺ ซึ่งเขาได้เติมเต็มความรักในอัลลอฮฺ (ซบ.) จนเต็มล้นหัวใจ

[3] อัลกุรอาน บทอันนะฮฺลุ 99.

[4] อัลกุรอาน บทอันนะฮฺลุ 99.

[5] อัลกุรอาน บทอันนะฮฺลุ 100.

[6] อัลกุรอาน บทอะอฺรอฟ, 200, บทฟุซซิลัต, 36.

[7] อัลกุรอาน บทอะอฺรอฟ, 201.

[8] มุฮัมมัด นูรียฺ, มุสตัดร็อกวะซาอิล, เล่ม 1, หน้า 178, สถาบันอาลุลบัยตฺ, กุม, 1408,มัจญฺลิซซียฺ, มุฮัมมัดบากิร, บิฮารุลอันวาร, เล่ม 72, หน้า 124, สถาบัน อัลวะฟาอฺ, เบรูต 1404.

[9] ออมะดี ตะมีมี, อับดุลวาฮิด, ฆอรรุลฮิกัม วะดุรรุลกะลิม, หน้า 188, มักตับอัลอิอฺลามุลอิสลามียฺ, กุม 1366.

[10] อัลกุรอาน บทอะอฺรอฟ, 201.

 

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • กฏการโกนเคราและขนบนร่างกายคืออะไร?
    14714 สิทธิและกฎหมาย 2554/09/25
    เฉพาะการโกนเคราบนใบหน้า[1]ด้วยมีดโกนหรือเครื่องโกนหนวดทั่วไปถึงขั้นที่ว่าบุคคลอื่นเห็นแล้วกล่าวว่าบนใบหน้าของเขาไม่มีหนวดแม้แต่เส้นเดียว, ฉะนั้นเป็นอิฮฺติยาฏวาญิบถือว่าไม่อนุญาต
  • ในเมื่อการกดขี่เป็นที่แพร่หลายไปทั่วโลกแล้ว เหตุใดอิมามมะฮ์ดี (อ.) จึงยังไม่ปรากฏกาย
    6213 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/11/21
    เมื่อคำนึงถึงประเด็นต่อไปนี้จะทำให้เราค้นหาคำตอบได้ง่ายยิ่งขึ้น1.     เราจะเห็นประโยคที่ว่าیملأ الارض قسطا و عدلا کما ملئت ظلما و جورا" ในหลายๆฮะดิษ[1] (ท่านจะเติมเต็มโลกทั้งผองด้วยความยุติธรรมแม้ในอดีตจะเคยคละคลุ้งไปด้วยความอยุติธรรม) สิ่งที่เราจะเข้าใจได้จากฮะดีษดังกล่าวก็คือ
  • การสมรสจะช่วยส่งเสริมหรือเป็นตัวยับยั้งพัฒนาการทางศีลธรรมกันแน่? ศาสนาอิสลามและคริสต์เห็นต่างในเรื่องนี้อย่างไรบ้าง?
    6105 ปรัชญาของศาสนา 2554/09/11
    การสมรสเปรียบดั่งศิลาฤกษ์ของสังคมซึ่งมีคุณประโยชน์มากมายอาทิเช่นเพื่อบำบัดกามารมณ์สืบเผ่าพันธุ์มนุษย์เสริมพัฒนาการของมนุษย์ความร่มเย็นและระงับกิเลสตัณหาฯลฯในปริทรรศน์ของอิสลามการสมรสได้รับการเชิดชูในฐานะเกราะป้องกันกึ่งหนึ่งของศาสนาในเชิงสังคมการสมรสมีคุณประโยชน์อย่างเอนกอนันต์เนื่องจากจะเสริมสร้างครอบครัวให้เป็นดั่งรวงรังอันอบอุ่นที่คนรุ่นหลังสามารถพึ่งพิงได้
  • เราสามารถที่จะทำน้ำนมาซหรืออาบน้ำยกฮะดัษทั้งที่ได้เขียนตาไว้หรือไม่?
    5800 สิทธิและกฎหมาย 2555/02/05
    ในการทำน้ำนมาซหรือการอาบน้ำยกฮะดัษจะต้องไม่มีสิ่งกีดขวางใดๆที่จะสกัดกั้นมิให้น้ำไหลถึงผิวได้ดังนั้นหากได้เขียนในวงขอบตาการอาบน้ำนมาซและการอาบน้ำยกฮะดัษถือว่าถูกต้องแต่ถ้าหากได้เขียนบริเวณรอบตาหรือบริเวณคิ้วก็จะต้องพิจารณาว่ามีความหนาแน่นถึงขั้นสกัดมิให้น้ำเข้าไปถึงบริเวณที่จะต้องทำน้ำนมาซหรือการอาบน้ำยกฮะดัษหรือไม่?เนื่องจากประเด็นดังกล่าวเป็นประเด็นที่บรรดาฟุกะฮาอ์มีทัศนะเอกฉันท์จึงขอยกคำวินิจฉัยเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวของท่านอายาตุลลอฮ์บะฮ์ญัตมาณที่นี้“หากได้เขียนบริเวณรอบนอกของดวงตาและที่เขียนตามีความมันจนคนทั่วไปเชื่อว่าจะสกัดกั้นมิให้น้ำเข้าถึงและมั่นใจว่าเขียนขอบตาก่อนที่จะทำการอาบน้ำยกฮะดัษจะต้องอาบน้ำยกฮะดัษใหม่”[1][1]บะฮ์ญัต, มุฮัมหมัดตะกี, การวินิจฉัย, เล่มที่ 1,สำนักพิมพ์ท่านอายาตุลลอฮ์บะฮ์ญัต
  • กรุณาแจกแจงความสำคัญของฮะดีษกิซาอ์
    8357 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2554/12/21
    ฮะดีษกิซาอ์ที่ปรากฏในตำราฮะดีษและหนังสือมะฟาตีฮุลญินานของเชคอับบาสกุมีมีความสำคัญเป็นพิเศษในแง่อิมามัตและอิศมัต(ภาวะไร้บาป)ตำแหน่งอิมามและวิลายะฮ์ของอะฮ์ลุลบัยต์ได้รับการพิสูจน์จากเบาะแสในฮะดีษบทนี้เนื่องจากกริยาและวาจาของท่านนบี(ซ.
  • ทำอย่างไรจึงจะลดความรีบร้อน?
    7518 จริยธรรมทฤษฎี 2555/05/23
    ความรีบร้อนลนลานถือเป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงในทัศนะของศาสนา ซึ่งในที่นี้ก็หมายถึงการรีบกระทำสิ่งใดโดยพละการนั่นเอง การรีบร้อนแตกต่างจากการรีบเร่งทั่วไป เพราะการรีบเร่งหมายถึงการรีบกระทำการใดทันทีที่ทุกอย่างพร้อม สิ่งที่ตรงข้ามกับการรีบร้อนก็คือ “ตะอันนี” และ “ตะษับบุต”อันหมายถึงการตรึกตรองอย่างรอบคอบก่อนลงมือกระทำการใดๆ เมื่อพิจารณาถึงข้อเสียของการรีบร้อน และข้อดีของการตรึกตรองอันเป็นคุณลักษณะของกัลยาณชนเฉกเช่นบรรดาศาสดา ทำให้ได้ข้อสรุปว่าก่อนกระทำการใดควรตรึกตรองอย่างมีสติเสมอ และหากหมั่นฝึกฝนระยะเวลาหนึ่ง แม้จะเป็นเรื่องยากก็ตาม แต่สุดท้ายก็จะติดเป็นนิสัย อันจะลบเลือนนิสัยรีบร้อนที่มีอยู่เดิม และจะสร้างเสริมให้เป็นผู้ที่มีความสุขุม ...
  • อนุญาตให้แขวนภาพเขียนมนุษย์และสัตว์ภายในมัสญิดหรือไม่?
    7270 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/03
    ก่อนที่จะตอบ เราขอเกริ่นนำเบื้องต้นดังนี้1. บรรดาอุละมาอ์ให้ทัศนะไว้ว่า สถานที่แห่งหนึ่งที่ถือเป็นมักรู้ฮ์(ไม่บังควร)สำหรับนมาซก็คือ สถานที่ๆมีรูปภาพหรือรูปปั้นสิ่งที่มีชีวิต เว้นแต่จะขึงผ้าปิดรูปเสียก่อน ฉะนั้น การนมาซในสถานที่ๆมีรูปภาพคนหรือสัตว์ ไม่ว่าจะเป็นมัสญิดหรือสถานที่อื่น ไม่ว่ารูปภาพจะแขวนอยู่ต่อหน้าผู้นมาซหรือไม่ก็ตาม[1] ...
  • สตรีสามารถที่จะติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นในโลกไซเบอร์โดยไม่ขออนุญาตจากสามีหรือไม่?
    5335 สิทธิและกฎหมาย 2555/02/05
    คำตอบของบรรดามัรยิอ์เกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวมีดังนี้อายาตุลลอฮ์คอเมเนอี “หากไม่จำเป็นที่จะต้องครอบครองทรัพย์สินของสามีก็ถือว่าไม่จำเป็นที่จะต้องขออนุญาตแต่จะต้องคำนึงว่าการติดต่อสื่อสารกับผู้ที่ไม่ใช่มะฮ์รอมส่วนใหญ่จะทำให้เกิด... หรืออาจจะทำให้ตกในการกระทำบาปซึ่งไม่อนุญาต”อายาตุลลอฮ์ซิซตานี “การติดต่อสื่อสารกับผู้ที่ไม่ใช่มะฮ์รอมถือว่าไม่อนุญาต”อายาตุลลอฮ์ศอฟีกุลฟัยกานี “โดยรวมแล้วการติดต่อสื่อสารในลักษณะนี้แม้ว่าสามีอนุญาติก็ไม่ถือว่าสามารถจะกระทำได้”ฮาดาวีเตหะรานี “หากการติดต่อสื่อสารในโลกไซเบอร์อยู่ในขอบเขตที่อนุญาตและไม่เกรงที่จะเกิดบาปเป็นที่อนุญาตและไม่จำเป็นที่จะต้องขออนุญาติจากสามี” ...
  • ประโยคที่ว่า لاتعادوا الایام فتعادیکم หมายความว่าอย่างไร?
    5909 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/19
    ประโยคดังกล่าวแปลว่า “จงอย่าเป็นศัตรูกับวันเวลาแล้ววันเวลาจะไม่เป็นศัตรูกับท่าน”ประโยคนี้ปรากฏอยู่ในฮะดีษของท่านนบี(ซ.ล.)บางบทอัยยามในที่นี้หมายถึงวันเวลาในรอบสัปดาห์สำนวนนี้ต้องการชี้ให้เห็นความสำคัญของวันเวลาและไม่ควรมองวันเวลาในแง่ลบเพราะอาจจะทำให้ประสบเคราะห์กรรมได้ควรคิดว่าวันเวลาเปี่ยมด้วยความเมตตาของพระองค์ที่เราจะต้องขวนขวายไว้อย่างไรก็ดีประโยคนี้ยังสามารถอธิบายได้อีกรูปแบบหนึ่งซึ่งจะนำเสนอในคำตอบแบบสมบูรณ์ ...
  • เพราะเหตุใดกอบีลจึงสังหารฮาบีล?
    9949 วิทยาการกุรอาน 2554/06/22
    จากโองการอัลกุรอานเข้าใจได้ว่าสาเหตุที่กอบีลได้สังหารฮาบีลเนื่องจากมีความอิจฉาริษยาหรือไฟแห่งความอิจฉาได้ลุกโชติช่วงภายในจิตใจของกอบีลและในที่สุดเขาได้สังหารฮาบีลอย่างอธรรม ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59405 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56853 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41682 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38439 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38436 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33464 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27550 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27251 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27151 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25225 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...