การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
8222
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/12/04
 
รหัสในเว็บไซต์ fa7318 รหัสสำเนา 19451
คำถามอย่างย่อ
ท่านอิมามฮุเซน(อ.)มีบุตรสาวคนหนึ่งชื่อรุก็อยยะฮ์ไช่หรือไม่?
คำถาม
บางคนตั้งข้อสงสัยว่าท่านหญิงรุก็อยยะฮ์มีตัวตนจริงหรือไม่ และพยายามจะแพร่กระจายข้อสงสัยดังกล่าวให้แพร่หลายในสังคม ขอความกรุณาช่วยตอบโดยอ้างหลักฐานเพื่อให้เป็นที่กระจ่างชัดแก่สังคมเกี่ยวกับเรื่องนี้ เพื่อเราจะได้นำไปชี้แจงแก่สาธารณชนให้ได้ทราบ อินชาอัลลอฮ์
คำตอบโดยสังเขป

คำถามนี้ไม่มีคำตอบแบบสั้น ปรดเลือกปุ่มคำตอบที่สมบูรณ์

คำตอบเชิงรายละเอียด

หลักฐานทางประวัติศาสตร์ของเหตุการณ์สำคัญอย่างวีรกรรมกัรบะลา ที่อุดมไปด้วยคุณงามความดีของวีรบุรุษท่านต่างๆนั้น บางครั้งก็พลาดโอกาสที่จะนำเสนอเรื่องราวของเยาวชนคนชายขอบอย่างที่ควรจะเป็น เรื่องราวของท่านหญิงรุก็อยยะฮ์เกือบจะกลืนหายไปในเรื่องราวของอิมามฮุเซน(.)และเหล่าวีรชนในกัรบะลาท่านอื่นๆ ด้วยเหตุนี้เอง ตำราทางประวัติศาสตร์จึงมิได้กล่าวถึงลูกสาววัยเยาว์ของท่านอิมามฮุเซน(.) ที่มีนามว่ารุก็อยยะฮ์ ทว่าตำราที่เกี่ยวกับเหตุการณ์กัรบะลาอ้างถึงคำพูดของอิมามฮุเซน(.)ว่า 

یا اُختَاه، یا اُم کُلثُوم وَ اَنتِ یا زَینَب وَ اَنتِ یا رُقَیّه وَ اَنتِ یا فاطِمَه و اَنتِ یا رُباب! اُنظُرنَ اِذا أنَا قُتِلتُ فَلا تَشقَقنَ عَلَیَّ جَیباً وَ لا تَخمُشنَ عَلَیَّ وَجهاً وَ لا تَقُلنَ عَلیَّ هِجراً[1]

"น้องสาวพี่ โอ้อุมมุกุลษูม และเธอ โอ้ซัยนับ และเธอโอ้รุก็อยยะฮ์ และเธอ ฟาฏิมะฮ์ และเธอ รุบ้าบ! ดูเถิด หากฉันถูกสังหารแล้ว จงอย่าระทมถึงขั้นฉีกเสื้อผ้า อย่าข่วนหน้าตา อย่ากล่าวคำที่ไม่เหมาะสม"[2]
เมื่อพิจารณาถึงเนื้อหาดังกล่าว คงยากที่จะเชื่อว่าท่านอิมามฮุเซนปรารภเช่นนี้กับเด็กหญิงวัยสามหรือสี่ขวบ

อีกฮะดีษหนึ่งรายงานว่า ท่านอิมามฮุเซนกล่าวว่า 

"اَلا یا زِینَب، یا سُکَینَة! یا وَلَدی! مَن ذَا یَکُونُ لَکُم بَعدِی؟ اَلا یا رُقَیَّه وَ یا اُمِّ کُلثُومِ! اَنتم وَدِیعَةُ رَبِّی، اَلیَومَ قَد قَرَبَ الوَعدُ"[3]

"โอ้ซัยนับ โอ้สะกีนะฮ์ โอ้ลูกพ่อ ใครจะอยู่กับพวกเธอภายหลังจากฉันเล่า? โอ้รุก็อยยะฮ์ โอ้อุมมุกุลษูม พวกเธอทุกคนคืออะมานะฮ์จากพระเจ้า บัดนี้ใกล้เวลาที่สัญญาไว้แล้ว"
จากเนื้อหาข้างต้น เป็นไปได้ว่ารุก็อยยะฮ์ในฮะดีษนี้ก็คือรุก็อยยะฮ์วัยสามปีนั่นเอง 

อย่างไรก็ดี ตำราที่เก่าแก่ที่สุดเกี่ยวกับเรื่องราวของเด็กหญิงวัยสามหรือสี่ปีคนนี้ก็คือ หนังสือ "กามิ้ล บะฮาอี" ประพันธ์โดย อิมาดุดดีน เฏาะบะรี หนังสือนี้รายงานว่า "อิมามฮุเซน(.)มีบุตรสาววัยสี่ปีอยู่หนึ่งคน  ซึ่งถวิลหาพ่อเป็นอย่างยิ่ง คืนหนึ่งเธอฝันว่าได้นั่งอยู่เคียงข้างพ่อ เมื่อตื่นขึ้นมาจึงเรียกหาพ่อว่า "พ่ออยู่ใหนจ๊ะ หนูทนไม่ไหวแล้ว" พี่ป้าน้าอาถามว่า "หนูฝันเห็นอะไรหรือ?" เธอตอบว่า "หนูนั่งข้างๆพ่อ และพ่อกอดหนู" เมื่อยะซีดได้ยินเสียงกรีดร้อง จึงสั่งการว่า "ทหาร! จงนำหัวของพ่อไปให้เด็กดูหน่อยซิ" เมื่อหนูน้อยเปิดผ้าคลุมถาดออกและเห็นศีรษะของพ่อในนั้น เธอกรีดร้องและสิ้นใจ"[4]

อย่างไรก็ดี บรรดาอุละมาอ์เชื่อว่าเด็กหญิงคนนี้มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ โดยพิสูจน์จากเบาะแสบางประการ ผู้ประพันธ์หนังสือ บุคลิกภาพของอิมามฮุเซน(.) เคยสอบถามจากท่านอายะตุลลอฮ์มัรอะชี นะญะฟี ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์และสายรายงานฮะดีษถึงเรื่องนี้ ท่านตอบว่า "แม้ว่าตำราที่มีชื่อเสียงจะไม่ได้กล่าวถึงเด็กน้อยคนนี้ แต่เรื่องดังกล่าวก็แพร่หลายเกินกว่าจะปฏิเสธได้"[5]

นิตยสาร ซาอิร จัดพิมพ์โดย ออสทอเน กุดส์ เราะเฎาะวี ฉบับที่ 135, เดือนอิสฟันด์ 1384 นำเสนอเรื่องเล่าที่น่าสนใจเกี่ยวกับกุโบรของท่านหญิงรุก็อยยะฮ์ไว้ โดยมีเนื้อหาโดยสังเขปดังนี้ "อายะตุลลอฮ์ มีรซอ ฮาชิม โครอซอนีเล่าว่า ท่านเชคมุฮัมมัด อลี ชามี ผู้รู้แห่งนครนะญัฟเล่าให้ฉันฟังว่า ตาของเขาที่ชื่อ ซัยยิด อิบรอฮีม ดิมัชกี (ซึ่งมีอายุมากกว่าเก้าสิบปี และสืบเชื้อสายถึงซัยยิดมุรตะฎอ) ท่านมีลูกสาวสามคน คืนหนึ่ง ลูกสาวคนโตฝันเห็นท่านหญิงรุก็อยยะฮ์ โดยท่านหญิงมาวานให้ช่วยไปบอกพ่อให้แจ้งแก่ผู้ว่าฯว่า มีน้ำซึมเข้ามาในกุโบรของฉัน และต้องได้รับการซ่อมแซม ลูกสาวเล่าให้ท่านฟัง แต่ท่านมิได้คิดจะจัดการใดๆ เพราะเกรงว่าจะเดือดร้อน (เนื่องจากผู้ว่าฯถือตามมัซฮับอื่น) ลูกสาวฝันเช่นนี้ถึงสามคืนติดกัน กระทั่งคืนที่สี่ ท่านซัยยิดฝันเห็นด้วยตนเองว่าท่านหญิงรุก็อยยะฮ์ปรารภอย่างฉุนเฉียวว่า ทำไมท่านไม่ไปแจ้งแก่ผู้ว่าฯให้มาซ่อมแซมกุโบรเล่า? รุ่งขึ้นท่านจึงไปหาผู้ว่าฯและเล่าความฝันให้เขาทราบ ผู้ว่าฯเรียกประชุมอุละมาอ์ซุนหนี่และชีอะฮ์ และขอให้ทุกคนอาบน้ำฆุสุลและเตรียมตัวเปิดกุญแจสุสาน โดยหากใครสามารถเปิดได้ก็ให้รับหน้าที่ขุดหลุมและนำศพออกมา ปรากฏว่าซัยยิดอิบรอฮีมเท่านั้นที่เปิดได้ เมื่อเข้าไปก็พบว่าน้ำซึมเข้ามาจริงๆ ท่านจึงวางศพเด็กน้อยไว้บนตักของตนถึงสามวันติดต่อกัน ระหว่างนี้ท่านร่ำไห้ตลอดเวลา และเมื่อถึงเวลานมาซ ท่านก็ประคองศพไปวางบนผ้าขาวบริสุทธิ์ หลังนมาซเสร็จจึงประคองศพวางบนตักเช่นเดิม โดยในระหว่างการซ่อมแซมกุโบรสามวันนี้ ซัยยิดไม่หิวกระหาย และไม่ง่วงเหงาหาวนอนเลย หลังจากสามวันจึงได้บรรจงวางศพในกุโบรที่ซ่อมเสร็จแล้วดังเดิม และวันที่ 23 เราะบีอุษษานี ..1323  ฮัจยีมีรซอ อลี อัศฆ็อร อะตาเบก อะมีนุสสุลฏอน สมุหนายกของอิหร่านเป็นผู้ปฏิสังขรกุโบร และตกแต่งเสร็จในปีฮ.. 1419 โดยช่างฝีมือชาวอิหร่านและใช้วัสดุจากประเทศอิหร่าน



[1] อิบนิฏอวู้ส,อบุลกอซิม อบุลฮะซัน บิน สะอ์ดุดดีน, อัลลุฮู้ฟ อะลา ก็อตลัต ฏุฟู้ฟ, หน้า 141 สำนักพิมพ์โอสเวะฮ์,กุม,พิมพ์ครั้งแรก, และ อะอ์ลามุ้ลวะรอ,หน้า 236

[2] คัดจากระเบียน ผลวิจัยทัศนะทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับท่านหญิงรุก็อยยะฮ์(.)

[3] คณะผู้เขียน,สารานุกรมพจนารถอิมามฮุเซน(.),หน้า 511, สำนักพิมพ์ ดารุ้ลมะอ์รู้ฟ,กุม,พิมพ์ครั้งแรก

[4] อิมาดุดดีน เฏาะบะรี, กามิล บะฮาอี,เล่ม 2,หน้า 179 (ศตวรรษที่หกฮ..) (หนังสือเล่มนี้ประพันธ์โดยผู้รู้ที่เลื่องชื่อ เชค อิมาดุดดีน ฮะซัน บิน อลี บิน มุฮัมมัด เฏาะบะรี ถือแนวอิมามียะฮ์ ซึ่งประพันธ์มอบแด่บะฮาอุดดีน ผู้ครองนครอิศฟะฮานในยุคฮุลากูคาน. ใน:  ญะวาด มุฮัดดิษี, ปทานุกรมอาชูรอ, หน้า 200 เรื่องราวดังกล่าวของรุก็อยยะฮ์รายงานจากมุนตะฮัลอาม้าลของเชคอับบาส กุมี,หน้า 437 เนื้อหาเดียวกันนี้มีรายงานใน ตารีค อัลฟี, หน้า 861, ส่วนหนังสือ มะอาลิสซิบฏ็อยน์,เล่ม 2,หน้า 127 ก็ระบุว่าเด็กหญิงคนนี้ชื่อรุก็อยยะฮ์

[5] บุคลิกภาพของอิมามฮุเซน(.),หน้า 615

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • หลักวิชามนุษย์ศาสตร์และจิตวิทยา ขึ้นอยู่กับความเชื่อมั่นตัวเอง ส่วนหลักคำสอนของศาสนาอิสลาม จริยธรรม และวิชารหัสยลัทธิ, จะกล่าวถึงการไว้วางใจและมอบหมายแด่พระเจ้า แล้วคุณคิดว่าทั้งสองมีความขัดแย้งกันไหม?
    12603 จริยธรรมปฏิบัติ 2553/12/22
    การที่จะรู้ถึงความแตกต่างและความไม่แตกต่างระหว่างความเชื่อมั่นตัวเองกับการไว้วางใจหรือมอบหมายขึ้นอยู่กับการได้รับความเข้าใจของทั้งสองคำความเข้าใจเกี่ยวกับความเชื่อมั่นตนเอง, สามารถอธิบายได้ 2 ความหมายกล่าวคือ :1. การรู้จักศักยภาพความสามารถการพึ่งพาและการได้รับเพื่อที่จะเข้าถึงตัวตนของความปรารถนาและสติปัญญาที่แท้จริงการเก็บเกี่ยวจะไม่ขัดแย้งกับวัฒนธรรมของความไว้วางใจเลยแม้แต่น้อย
  • ผมได้หมั้นหมายกับคู่หมั้นมานานเกือบ 10 ปี แล้วเราสามารถอ่านอักด์ชัรอียฺก่อนแต่งงานตามกฎหมายได้หรือไม่?
    6207 สิทธิและกฎหมาย 2555/04/07
    คำตอบจากบรรดามัรญิอฺตักลีดเกี่ยวกับปัญหาดังกล่าว ตามที่มีผู้ถามมา[1] ฯพณฯท่านอายะตุลลอฮฺ .. : 1. ฯพณฯ ท่านอายะตุลลอฮฺ คอเมเนอี : ด้วยการใส่ใจและตรวจสอบเงื่อนไขทางชัรอียฺแล้ว, โดยตัวของมันไม่มีปัญหาแต่อย่างใด 2.ฯพณฯ ท่านอายะตุลลอฮฺ ซิตตานียฺ : การอ่านอักด์นิกาห์กับหญิงสาวบริสุทธิ์ต้องขออนุญาตบิดาของเธอก่อน 3.ฯพณฯ ท่านอายะตุลลอฮฺ ซอฟฟี ฆุลภัยฆอนียฺ : การแต่งงานของชายผู้ศรัทธากับหญิงผู้ศรัทธา มีเงื่อนไขหลักหลายประการ (เช่น การได้รับอนุญาตจากผู้ปกครองของฝ่ายหญิงเป็นต้น) โดยตัวของมันแล้วไม่มีปัญหา แต่ถ้มีปัญหาอื่นจงเขียนคำถามมาให้ชัดเจน เพื่อจะได้ตอบไปตามความเหมาะสม 4.ฯพณฯ ท่านอายะตุลลอฮฺ มะการิม ชีรอซียฺ : ตามตัวบทกฎหมายของรัฐอิสลาม, การแต่งงานลักษณะนี้ไม่มีปัญหาแต่อย่างใด ...
  • การลงจากสวรรค์ของอาดัมหมายถึงอะไร?
    8852 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/10/22
    คำว่า “ฮุบูต” หมายถึงการลงมาด้านล่างจากที่สูง (นุซูล) ตรงกันข้ามกับคำว่า สุอูด (ขึ้นด้านบน), บางครั้งก็ใช้ในความหมายว่าหมายถึงการปรากฏในที่หนึ่งการวิพากถึงการลงมาของศาสดาอาดัม และความหมายของการลงมานั้น อันดับแรกขึ้นอยู่กับว่า สวรรค์ที่ศาสดาอาดัมอยู่ในตอนนั้นเราจะตีความกันว่าอย่างไร? สวรรค์นั้นเป็นสวรรค์บนโลกหรือว่าสวรรค์ในปรโลก? สิ่งที่แน่ชัดคือมิใช่สวรรค์อมตะนิรันดร์, ดังนั้นการลงมาของศาสดาอาดัม, จึงเป็นการลงมาในฐานะของฐานันดร, กล่าวคือวัตถุประสงค์ของอาดัมที่ลงจากสวรรค์, หมายถึงการขับออกจากสวรรค์ การกีดกันจากการใช้ชีวิตในสวรรค์ (สวรรค์บนพื้นโลก) การใช้ชีวิตบนพื้นโลก การดำเนินชีวิตไปพร้อมกับการเผชิญกับความยากลำบาก ดังที่อัลกุรอานหลายโองการได้กล่าวถึงไว้ ...
  • จะต้องชำระคุมุสกรณีของทุนทรัพย์ด้วยหรือไม่?
    6415 تاريخ بزرگان 2555/04/16
    ทัศนะของบรรดามัรญะอ์เกี่ยวกับคุมุสของทุนทรัพย์มีดังนี้ ในกรณีที่บุคคลได้จัดหาทุนทรัพยจำนวนหนึ่ง แต่หากต้องชำระคุมุสจะไม่สามารถทำมาหากินด้วยทุนทรัพย์ที่คงเหลือได้ อยากทราบว่าเขาจะต้องชำระคุมุสหรือไม่? มัรญะอ์ทั้งหมด (ยกเว้นท่านอายะตุลลอฮ์วะฮีด และอายะตุลลอฮ์ศอฟี) ให้ทัศนะว่า หากการชำระคุมุสจำนวนดังกล่าวทำให้ไม่สามารถประกอบอาชีพได้ (แม้จะชำระเป็นงวดก็ตาม) ถือว่าไม่จำเป็นต้องชำระคุมุสนั้น ๆ[1] อายะตุลลอฮ์ศอฟีย์และอายะตุลลอฮ์วะฮีดเชื่อว่าจะต้องชำระคุมุส แต่สามารถเจรจาผ่อนผันกับทางผู้นำทางศาสนา[2] ท่านอายะตุลลอฮ์นูรี, ตับรีซี, บะฮ์ญัตให้ทัศนะไว้ว่า ในส่วนของทุนทรัพย์ที่จำเป็นสำหรับการทำมาหากินนั้น ไม่จำเป็นจะต้องชำระคุมุส แต่หากมากกว่านั้น ถือว่าจำเป็นที่จะต้องชำระ[3] แต่ทว่าหากซื้อที่ดินนี้ด้วยกับเงินที่ชำระคุมุสแล้ว หรือได้ซื้อหลังจากปีคุมุสได้ผ่านพ้นไปแล้ว หรือได้ซื้อหลังจากปีคุมุสและขายไปก่อนที่จะถึงปีคุมุสหน้า ก็ไม่จำเป็นจะต้องชำระคุมุสแต่อย่างใด ทว่าหากได้กำไรจากการซื้อขายที่ดินดังกล่าว หากหลงเหลือจนถึงปีคุมุสถัดไปจำเป็นที่จะต้องชำระคุมุสด้วย
  • กรุณานำเสนอฮะดีษที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับความสำคัญของการญิฮาดในหนทางของอัลลอฮ์พร้อมกับระบุแหล่งอ้างอิงได้หรือไม่?
    6133 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/03/14
    ท่านอิมามอลี(อ.)เคยกล่าวว่า “ญิฮาดคือประตูสวรรค์บานหนึ่ง ซึ่งอัลลอฮ์ได้เปิดกว้างสำหรับกัลญาณมิตรของพระองค์ ญิฮาดคืออาภรณ์แห่งความยำเกรง เสื้อเกราะอันแข็งแกร่งของอัลลอฮ์ และโล่ห์ที่ไว้ใจได้ ฉะนั้น ผู้ใดที่ละทิ้งญิฮาดโดยไม่แยแส อัลลอฮ์จะทรงสวมอาภรณ์แห่งความต่ำต้อยแก่เขา อันจะทำให้ประสบภัยพิบัติ ความน่าอดสูจะกระหน่ำลงมาใส่เขา แสงแห่งปัญญาจะดับลงในใจเขา การเพิกเฉยต่อญิฮาดจะทำให้สัจธรรมผินหน้าจากเขา ความต่ำต้อยถาโถมสู่เขา และจะไม่มีผู้ใดช่วยเหลือเขาอีกต่อไป ...
  • เหตุใดในโองการที่สอง ซูเราะฮ์มุฮัมมัด وَ الَّذِینَ ءَامَنُواْ وَ عَمِلُواْ الصَّالِحَاتِ وَ ءَامَنُواْ بِمَا نُزِّلَ عَلىَ‏ محُمَّدٍ وَ...‏ มีการเอ่ยนามของท่านนบี ขณะที่โองการอื่นๆไม่มี?
    8612 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/18
    เหตุผลที่มีการเอ่ยนามอันจำเริญของท่านนบี(ซ.ล.)ไว้ในโองการที่กล่าวมาก็เพื่อแสดงถึงความสำคัญของประโยคนี้ในโองการทั้งนี้อัลลอฮ์ทรงประสงค์จะเทิดเกียรติท่านนบี(ซ.ล.)ด้วยการเอ่ยนามท่านนักอรรถาธิบายกุรอานบางคนเชื่อว่าอีหม่านในท่อนที่สองเป็นการเจาะจงเพราะท่อนที่สองเน้นย้ำถึงคำสอนของท่านนบี(ซ.ล.) กล่าวคือความศรัทธาต่ออัลลอฮ์จะไม่มีวันครบถ้วนสมบูรณ์ได้เว้นแต่จะต้องศรัทธาต่อคำสอนที่วิวรณ์แก่ท่านนบี(ซ.ล.)ด้วยบางคนเชื่อว่าการเอ่ยนามท่านนบี(ซ.ล.)มีจุดประสงค์เพื่อมิให้ชาวคัมภีร์อ้างได้ว่าเราศรัทธาเพียงอัลลอฮ์และบรรดาศาสดาตลอดจนคัมภีร์ของพวกเราเท่านั้น ...
  • การบริโภคเนื้อเต่าคือมีฮุกุมอย่างไร? ฮะลาลหรือฮะรอม?
    6737 สิทธิและกฎหมาย 2554/09/11
    การบริโภคเนื้อเต่าถือว่าเป็นฮะรอม[1]ในภาษาอาหรับเรียกเต่าว่า “ซุลฮะฟาต” และมีริวายะฮ์มากมายที่กล่าวว่าเป็นฮะรอม[2]
  • เหตุใดโองการที่สาม ซูเราะฮ์อัลอินซานที่ว่า اما شاکرا و اما کفورا กล่าวถึงการขอบคุณในรูปของอิสมุ้ลฟาอิ้ล แต่ในส่วนของการปฏิเสธกลับใช้ในรูปของศีเฆาะฮ์ มุบาละเฆาะฮ์
    10015 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/18
    คำว่า “ชากิร” เป็นอิสมุ้ลฟาอิ้ลจากรากศัพท์ “ชุกร์” และ กะฟู้ร เป็นศีเฆาะฮ์ มุบาละเฆาะฮ์จากรากศัพท์ “กุฟร์” เหตุที่คำหนึ่งใช้ในรูปอิสมุ้ลฟาอิ้ล และอีกคำหนึ่งใช้ในรูปศีเฆาะฮ์ มุบาละเฆาะฮ์นั้น นักอรรถาธิบายให้ทัศนะไว้ว่า เนื่องจากจำนวนของชากิร (ผู้ขอบคุณ) มีน้อยกว่าผู้ลำเลิกบุญคุณ จึงใช้อิสมุ้ลฟาอิ้ลกับการขอบคุณ และใช้ศีเฆาะฮ์มุบาละเฆาะฮ์กับการลำเลิก[1]ตัฟซี้รเนมูเนะฮ์ให้ทัศนะเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ว่า ...
  • เพราะเหตุใดจึงต้องกลัวความตายด้วย?
    6886 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/05/20
    ความกลัวตายสามารถกล่าวได้ว่า มีสาเหตุและปัจจัยหลายประการ ซึ่งในที่นี้จะขอกล่าวโดยสรุปถึงปัจจัยเหล่านั้น กล่าวคือ 1.ผู้คนส่วนใหญ่มักคิดและอธิบายว่า ความตายคือการสูญสิ้น หรือการดับสลาย ไม่มีอีกต่อไป เป็นที่ทราบกันดีว่าปกติแล้วมนุษย์มักกลัวการสูญสิ้น ไม่มี. ดังนั้น ถ้ามนุษย์อธิบายความตายว่า มีความหมายตามกล่าวมา แน่นอนเขาก็จะเป็นคนหนึ่งที่หลีกหนีและกลัวตาย, ด้วยเหตุนี้ แม้ว่าจะมีสภาพชีวิตที่ดีที่สุด,ถ้าคิดถึงความตายเมื่อใด, เหมือนกับสภาพชีวิตของเขาจะช็อกไปชั่วขณะ ในมุมมองนี้เขาจึงเป็นกังวลตลอดเวลา 2.มีมนุษย์บางกลุ่มเชื่อว่า ความตาย มิใช่จุดสิ้นสุดชีวิต, และเขายังเชื่อเรื่องการฟื้นคืนชีพ แต่ด้วยเหตุผลที่ว่าเขาได้กระทำการงานไม่ดี จึงกลัวความตายและหวาดหวั่นต่อสิ่งนั้นเสมอ, เนื่องจากความตายคือการเริ่มต้นไปถึงยังผลลัพธ์อันเลวร้าย และการงานของตน ด้วยเหตุนี้, เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกตรวจสอบจากพระเจ้า และการลงโทษของพระองค์ พวกเขาจึงต้องการให้ความตายล่าช้าที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ บุคคลหนึ่งได้ถามท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ว่า : เพราะเหตุใดฉันจึงไม่ชอบความตายเอาเสียเลย? ท่านศาสดา กล่าวว่า : ...
  • “ฟาฏิมะฮ์”แปลว่าอะไร? และเพราะเหตุใดท่านนบีจึงตั้งชื่อนี้ให้บุตรีของท่าน?
    23001 ชีวประวัติมะอฺซูม (อ.) 2554/06/12
    ไม่จำเป็นที่ชื่อของคนทั่วไปจะต้องสื่อความหมายพิเศษหรือแสดงถึงบุคลิกภาพของเจ้าของชื่อเสมอไปขอเพียงไม่สื่อความหมายถึงการตั้งภาคีหรือขัดต่อศีลธรรมอิสลามก็ถือว่าเพียงพอแต่กรณีปูชณียบุคคลที่ได้รับการขนานนามจากอัลลอฮ์เช่นท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ซะฮ์รอ(ส) นามของเธอย่อมมีความหมายสอดคล้องกับคุณลักษณะเฉพาะตัวอย่างแน่นอนนาม “ฟาฏิมะฮ์”มาจากรากศัพท์ “ฟัฏมุน” ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59944 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57293 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42073 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    39076 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38777 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33881 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27893 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27775 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27584 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25601 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...