การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
9159
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/07/07
 
รหัสในเว็บไซต์ fa933 รหัสสำเนา 14974
หมวดหมู่ เทววิทยาใหม่
คำถามอย่างย่อ
อะไรคืออุปสรรคของการเสวนาระหว่างอิสลามและศาสนาคริสต์?
คำถาม
อะไรคืออุปสรรคของการเสวนาระหว่างอิสลามและศาสนาคริสต์?`
คำตอบโดยสังเขป
คำถามนี้ไม่มีคำตอบแบบสั้น ปรดเลือกปุ่มคำตอบที่สมบูรณ์
คำตอบเชิงรายละเอียด

เพื่อไขข้อสงสัยดังกล่าว ขอให้ท่านผู้อ่านพิจารณาคำปาฐกถาของท่านอาจารย์ฮาดะวี เตฮะรอนี ที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ดังต่อไปนี้:

ในศตวรรษนี้ เราสามารถสัมผัสได้ถึงความกระวีกระวาดที่จะนำศาสนาเข้ามาในชีวิต ทั้งๆที่ในศตวรรษก่อนมีความพยายามที่จะลดบทบาทของศาสนาอย่างเป็นระบบ การถอยร่นของกระแสดังกล่าวกอปรกับการรุกคืบของขบวนการเคลื่อนไหวทางศาสนา(โดยเฉพาะการปฏิวัติอิสลามในอิหร่านซึ่งปูทางสู่การสถาปนาสาธารณรัฐอิสลาม) เป็นเหตุให้ปัจจุบันนี้มนุษย์เริ่มรับรู้และเปลี่ยนแปลงทัศนคติ จากที่ไม่เคยยี่หระต่อศาสนากลับกลายเป็นผู้ที่ยึดมั่นในศาสนา อีกทั้งกระหายศีลธรรมและข้อเท็จจริงในวันปรโลก

ด้วยเหตุนี้เอง การจัดประชุมเสวนาระหว่างศาสนาจึงเป็นที่แพร่หลายในไม่กี่ปีที่ผ่านมา อาทิเช่น การประชุมนานาชาติผู้นำศาสนาโลกในปี 2002 ที่ประเทศไทย, การประชุมสภาศาสนาในปี 2003 ที่สเปน, การประชุมศาสนาโลกที่คาซักสถานในปี 2003 และการประชุมศาสนาสายศาสดาอิบรอฮีมเพื่อสันติภาพในปี 2006 ที่อิตาลี.

อย่างไรก็ดี แม้จะมีการสนับสนุนให้มีการเสวนาระหว่างอิสลามและคริสเตียนอย่างเต็มที่ ในฐานะศาสนาลำดับท้ายๆของสายศาสดาอิบรอฮีม แต่ก็ยังมีอุปสรรคเสมอมา อาทิเช่น
1. การไม่ให้ความสำคัญต่อจุดร่วมระหว่างสองศาสนานี้เท่าที่ควร.
จุดร่วมที่กุรอานกล่าวว่าโอ้ชาวคัมภีร์ เชิญมาสู่วาทกรรมอันเท่าเทียมกันระหว่างเรากับพวกท่าน นั่นคือเราจะไม่เคารพภักดีผู้ใดเว้นแต่อัลลอฮ์ และจะไม่ยกใครในหมู่พวกเราให้เทียบเคียงพระเจ้า...”[1]
มีจุดร่วมมากมายระหว่างอิสลามและคริสต์ในด้านความเชื่อและสารธรรม สองศาสนานี้มีศักยภาพพอที่จะผนึกกันบริหารโลกเพื่อสร้างเสริมสันติภาพที่ยั่งยืน อย่างไรก็ดี ความร่วมมือดังกล่าวจำต้องอยู่ภายในกรอบแห่งเอกานุภาพของอัลลอฮ์(เตาฮีด) และจะต้องทำความเข้าใจร่วมกันว่า จะไม่มีการยกผู้ใดให้เทียบเคียงพระองค์เด็ดขาด แต่น่าเสียดายที่ปัจจุบันนี้ไม่อาจพบเห็นสองประการดังกล่าวได้เลย ทั้งนี้ก็เนื่องจากมหาอำนาจแสร้งหลงลืมหลักเอกานุภาพ เห็นได้จากการที่พวกเขาหมั่นกดขี่ชาติที่อ่อนแอกว่า ดังที่ได้ขัดขวางการพัฒนานิวเคลียร์เพื่อสันติภาพของอิหร่าน

2. การไม่คำนึงถึงคุณประโยชน์ของการเสวนาระหว่างสองศาสนานี้.
การเสวนาเปรียบเสมือนสะพานที่ทอดยาวสู่ความเข้าใจอันลึกซึ้งระหว่างสองศาสนา เพราะการศึกษาเปรียบเทียบในแง่ความเชื่อและสารธรรมจะขยายศักยภาพทางวิชาการและแนวปฏิบัติของทั้งสองศาสนา
ผลลัพท์เบื้องต้นที่จะได้รับจากความร่วมมือดังกล่าวก็คือ การได้รับข้อเสนอแนะที่มีประโยชน์ต่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ การประสานความร่วมมืออย่างมีประสิทธิภาพเพื่อระงับการเผชิญหน้าทางความคิดและเศรษฐกิจ เพื่อให้เกิดสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาศักยภาพของมนุษย์

3. การไม่ปรับทัศนคติเชิงลบที่แต่ละศาสนาเคยมีต่อกัน.
ทัศนคติเชิงลบมากมายเกิดจากการศึกษาจากแหล่งอ้างอิงที่ไม่น่าเชื่อถือหรือทัศนะอันผิดเพี้ยน  อันจะทำให้เข้าใจฝ่ายตรงข้ามอย่างผิดพลาด ก่อให้เกิดอคติต่อกันและตัดสินด้วยโทสะอย่างไม่รู้จบ

4. การที่ชาติมหาอำนาจคอยเสี้ยมให้ศาสนาต่างๆเผชิญหน้ากัน.
ก่อนสงครามจะเกิดขึ้นจะต้องมีความขัดแย้งเชิงลึกเสียก่อน และความขัดแย้งที่ลึกที่สุดก็คือความขัดแย้งเชิงศรัทธาและความเชื่อ ด้วยเหตุนี้ แกนนำชาติมหาอำนาจจึงพยายามตอกลิ่มความขัดแย้งทางศาสนาให้ลึกที่สุด เพราะถือว่าสงครามจะนำมาซึ่งผลประโยชน์สำหรับพวกตน เห็นได้ชัดเจนจากกรณีการ์ตูนล้อเลียนนบี(..)ในประเทศเดนมาร์ก ซึ่งไม่อาจจะตีความเป็นอื่นได้นอกจากเหตุผลดังที่กล่าวมา การที่ผู้ไม่หวังดีเลือกใช้ประเทศเดนมาร์กเพื่อหมิ่นประมาทปูชณียบุคคลที่สูงส่งอย่างท่านนบีมุฮัมมัด(..) ก็เนื่องจากธงชาติของประเทศนี้มีรูปกางเขนอยู่ พวกเขารู้ดีว่ามุสลิมจะตอบโต้ด้วยการเผาธงชาติ ซึ่งก็จะถูกนำไปขยายผลว่าเป็นการดูหมิ่นศาสนาคริสต์ อันจะนำไปสู่การเผชิญหน้าระหว่างมุสลิมกับคริสเตียนในที่สุด 

เมื่อหกเดือนก่อน ผมมีโอกาสได้เข้าพบพระสันตปาปาเบเนดิคต์ที่16 ผมได้ชี้แจงให้ท่านทราบ พร้อมกับขอให้ท่านช่วยชี้แจงแก่สาวกและสาวิกาของท่านว่า การเผาธงชาติมิไช่การดูหมิ่นสัญลักษณ์ไม้กางเขน แต่เป็นเพียงการประณามประเทศที่ปล่อยให้มีการดูหมิ่นศาสดามุฮัมมัด(..)เท่านั้น
เหตุการณ์ 11 กันยายน ก็ถือเป็นแผนการณ์ที่คล้ายคลึงกัน จากเบาะแสต่างๆเริ่มเป็นที่ชัดเจนแล้วว่าเป็นการจัดฉาก แท้ที่จริงเป็นการทำลายตึกด้วยขีปนาวุธเพื่อฟื้นตะเข็บสงครามครูเสดต่อมุสลิม ดังที่ประธานาธิบดีอเมริกาเคยระบุไว้ชัดเจน

ผมเชื่อว่าท่าทีที่ผ่านมาของพระสันตปาปาถือได้ว่าเป็นกลยุทธ์ต่อต้านศาสนาประเภทหนึ่ง แปดเดือนก่อนหน้านี้[2]ท่านได้กล่าวปาฐกถาโดยชี้ให้เห็นความสำคัญของการสานเสวนาระหว่างอิสลามและศาสนาคริสต์ และยังได้ออกแถลงการณ์เกี่ยวกับการประชุมเสวนาธรรมระหว่างอิสลามและศาสนาคริสต์ที่นครเอสซีซี แต่แล้วท่านกลับเปลี่ยนท่าที และกล่าวคำพูดอันไม่เหมาะสมกับฐานะภาพของท่านออกมา

5. การไม่ทำความเข้าใจคำสอนของศาสนาอื่นให้ถ่องแท้.
ข้อบกพร่องดังกล่าวสามารถพบเห็นได้บ่อยครั้ง แต่ที่ถือเป็นกรณีศึกษาที่ชัดเจนที่สุดก็คือบทปาฐกถาของพระสันตปาปาดังต่อไปนี้
. พระคุณท่านเข้าใจผิดว่า คำว่าญิฮาดซึ่งเป็นศัพท์เฉพาะของอิสลามนั้น คล้ายคลึงกับสงครามศักดิ์สิทธิที่เกิดขึ้นตลอดประวัติศาสตร์ของชาวคริสเตียน ท่านกล่าวว่าจักรพรรดิได้เริ่มกล่าวถึงประเด็นญิฮาด ซึ่งก็คือสงครามศักดิ์สิทธินั่นเอง
ต้องทราบว่าญิฮาดคือการพยายามขจัดอุปสรรคของการนำเสนอสัจธรรม และช่วยให้การภักดีต่อพระเจ้าเป็นไปอย่างราบรื่น ถ้าจะมีสงคราม ก็เป็นสงครามต่อผู้ที่ขัดขวางไม่ให้ประชาชนรู้จักและภักดีต่อพระองค์ และนี่เป็นเพียงญิฮาดระดับล่างเท่านั้น ญิฮาดยังหมายรวมถึงการพยายามรู้จักและขัดเกลาจิตใจ ซึ่งอิสลามถือว่านี่คือญิฮาดระดับสูง ในขณะที่สงครามศักดิ์สิทธิ(ของคริสเตียน)นั้น แฝงไว้ด้วยนัยยะของการพิชิตชัยชนะเหนือคนนอกรีตและขู่บังคับให้เข้ารีตตามคริสตศาสนา

จากคำบอกเล่าของนักวิชาการคริสเตียนชาวอาร์เมเนียทำให้ทราบว่า ประวัติศาสตร์ชาวอาร์เมเนียในอิหร่านและเลบานอนนั้น คราคร่ำไปด้วยการที่คริสเตียนต่างพื้นพยายามจะเปลี่ยนนิกายของคริสเตียนชาวอาร์เมเนีย ในขณะที่มุสลิมไม่เคยแสดงกิริยาเช่นนี้กับพวกเขาเลย

. พระคุณท่านไม่ทราบถึงความเป็นมาของกุรอานและลำดับการประทานซูเราะฮ์ต่างๆ
พระสันตปาปากล่าวว่าแน่นอนว่าจักรพรรดิย่อมรู้ดีว่า โองการที่ 256 ในบทที่สองของกุรอาน(อัลบะเกาะเราะฮ์)กล่าวไว้ว่า ไม่มีการขู่บังคับในเรื่องศาสนา...บท(ซูเราะฮ์)นี้นับเป็นบทแรกๆของกุรอาน ซึ่งประทานในช่วงที่มุฮัมมัดยังถูกข่มขู่และไม่มีอิทธิพลใดๆเลยต้องเรียนให้พระคุณท่านทราบว่า อายะฮ์นี้เป็นอายะฮ์ที่ประทานในนครมะดีนะฮ์ ยุคที่ท่านศาสดาได้สถาปนารัฐและมีอิทธิพลเต็มที่โดยไม่มีภัยคุกคามใดๆจากภายนอก มีฮะดีษที่อธิบายเหตุของการประทานโองการดังกล่าวว่า:
มีชายมุสลิมคนหนึ่งเข้ารีตเป็นคริสเตียนโดยการเชิญชวนของพ่อค้าชาวคริสต์ที่มาค้าขายที่มะดีนะฮ์ พ่อของเขาได้มาขอให้ท่านนบี(..)บีบบังคับให้บุตรชายหวนคืนสู่อิสลาม แต่ท่านนบี(..)ปฏิเสธที่จะทำเช่นนั้น  ทันใดนั้นโองการดังกล่าวก็ประทานลงมา
อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาเนื้อหาโองการดังกล่าวก็จะทราบว่ามิไช่โองการที่ประทานในยุคแรก เพราะส่วนต่อของโองการดังกล่าวมีอยู่ว่าแน่แท้หนทางสู่ความเจริญได้แยกแยะชัดเจนแล้วจากความหลงทางแน่นอนว่าสำนวนนี้ย่อมเหมาะต่อช่วงปลายอายุขัยท่านนบี มิไช่ช่วงเริ่มต้นเผยแผ่อิสลาม

3. พระคุณท่านกล่าวว่าทันใดนั้นจักรพรรดิหันไปยังคู่สนทนา และ... คำถามหลักของเราคือความสัมพันธ์ระหว่างศาสนาและความรุนแรง และจักรพรรดิได้กล่าวต่อไปว่า จงเล่าถึงสิ่งที่มุฮัมมัดริเริ่มนำมาเผยแพร่ซิ พวกท่านจะไม่พบสิ่งใดเลยนอกจากคำสอนอันคราคร่ำไปด้วยความต่ำทรามอมนุษย์ เช่นการสั่งให้เผยแพร่ศาสนาด้วยคมดาบ!
ผู้ที่มีใจเป็นกลางจะไม่พูดเช่นนี้ นักวิชาการคริสเตียนบางท่านได้เขียนหนังสือเกี่ยวกับภาระหน้าที่ๆชาวคริสเตียนควรเชื่อฟังศาสดามุฮัมมัด (..) โดยต้องการจะสื่อว่า ชาวคริสเตียนเองก็สามารถได้รับประโยชน์จากคำสอนของศาสดามุฮัมมัด โดยไม่จำเป็นต้องละทิ้งศาสนาคริสต์

เมื่อพิจารณาให้ดีจะพบว่า อิสลามได้เติมเต็มเนื้อหาที่เกี่ยวกับเอกานุภาพของพระเจ้า และได้สถาปนาแนวคิดทางอภิปรัชญาซึ่งไม่อาจหาที่ใดเปรียบเทียบได้ แนวคิดดังกล่าวปรากฏอยู่ในสำนักคิดฮิกมะฮ์ มุตะอาลียะฮ์ของท่านมุลลอ ศ็อดรอ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในแวดวงอภิปรัชญาโลก
นอกจากนี้ หลักศีลธรรมมากมายได้รับการต่อยอดโดยอิสลาม และนำสู่จุดสูงสุดโดยวิชาอิรฟานอิสลาม ส่งผลให้กลายเป็นหนทางสูงส่งสำหรับนักจาริกทางจิตวิญญาณต่อไป.

ชะรีอัตเองก็มีความสำคัญอย่างยิ่งยวดสำหรับอิสลาม เนื่องจากเป็นเสมือนประมวลกฏหมายที่อิสลามตราไว้ เพื่อสนองตอบแง่มุมต่างๆของมนุษย์
อิสลามไม่จำแนกกิจทางโลกออกจากกิจทางธรรมออกจากกัน  เห็นได้จากการที่อิสลามแฝงธรรมะขั้นสูงไว้ในกิจกรรมทางการเมือง เศรษฐกิจ และการศึกษา.
มุสลิมมีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างอารยธรรมมนุษย์ เนื่องจากได้ประดิษฐ์เครื่องใช้สอยหลากหลายประเภท ตลอดจนค้นพบสูตรฟิสิกข์และเคมีมากมายอันเป็นรากฐานวิทยาการปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งได้ต่อยอดวิทยาการสำคัญอย่างแพทยศาสตร์ให้ก้าวไกล
ความภาคภูมิใจเหล่านี้มีมากมายเสียจนเรียกกันว่ายุคทองแห่งวิทยาศาสตร์มุสลิมในอดีต เหตุใดพระคุณท่านจึงมองข้ามสิ่งเหล่านี้ แล้วนำคำพูดของบุคคลที่ไม่รู้จริงมาถ่ายทอดแก่สาธารณชน

4. พระคุณท่านกล่าวว่าจักรพรรดิได้อธิบายอย่างละเอียดว่า เพราะเหตุใดการเผยแพร่ศาสนาด้วยความรุนแรงจึงขัดต่อสติปัญญาพระคุณท่านกล่าวย้ำเหมือนจะสื่อให้เข้าใจว่า อิสลามเผยแผ่ด้วยความรุนแรงต่อผู้อื่นกระนั้น แต่แท้ที่จริงแล้ว หากศึกษาประวัติศาสตร์ของนิกายโรมันคาทอลิกจะพบว่าวิธีนี้น่าจะเป็นกลวิธีของนิกายดังกล่าวมากกว่า ส่วนอิสลามนั้น เป็นศาสนาแห่งความรู้ความเข้าใจ อิสลามเชื่อว่ามนุษย์มีอิสรภาพในการตัดสินใจ อัลลอฮ์ทรงรณรงค์ให้มนุษย์แสวงหาความรู้ ดังที่ได้กล่าวว่าผู้รู้กับผู้ไม่รู้จะเท่าเทียมกันได้อย่างไร?”[3] นอกจากนี้ การอ่านยังเป็นจุดเริ่มต้นของภารกิจศาสนทูตของท่านนบีจงอ่าน ด้วยพระนามของพระผู้อภิบาลของเจ้าที่ทรงสร้าง...”[4] และจงอ่าน เพราะพระองค์ทรงเกียรติเหนือผู้ใด พระองค์ทรงสอนด้วยปากกา และทรงสอนในสิ่งที่มนุษย์ไม่เคยทราบ[5]
จงแจ้งข่าวดีแก่ผู้ที่สดับฟังคำพูดและเลือกปฏิบัติตามสิ่งที่ดีที่สุด[6]
จงเชิญชวนสู่แนวทางของพระผู้อภิบาลของเจ้าด้วยวิทยปัญญาและคำตักเตือนที่รื่นหู และจงถกปัญหากับพวกเขาด้วยเหตุผลที่ดีที่สุด พระผู้อภิบาลของเจ้าทรงทราบดีว่าผู้ใดหลงออกจากแนวทางพระองค์และผู้ใดได้รับทางนำ[7]
จึงสามารถสรุปได้ว่า ศาสนาอิสลามคือศาสนาแห่งปัญญา การตักเตือนที่ดี และอุดมไปด้วยตรรกะและเหตุผล

พระสันตปาปายังได้กล่าวอีกว่าความรุนแรงและความก้าวร้าวเช่นนี้ ขัดต่อวิถีของพระเจ้าและวิถีของจิตวิญญาณ พระองค์ย่อมไม่โปรดที่จะเห็นการนองเลือด แน่นอนว่าพฤติกรรมอันไร้สติย่อมไม่สอดคล้องกับวิถีของพระเจ้า ความศรัทธาย่อมผุดขึ้นจากจิตวิญญาณ หาไช่กายหยาบไม่อย่างไรก็ดี คำพูดดังกล่าวควรใช้ตำหนิวิธีปฏิบัติของคริสเตียนในอดีต โดยเฉพาะนิกายโรมันคาทอลิค

5. พระคุณท่านยังได้กล่าวอีกว่าอิสลามเชื่อว่าพระประสงค์ของพระเจ้าไม่จำเป็นต้องมีเหตุผล ความเชื่อเช่นนี้ขัดต่อแนวคิดของเรา และขัดต่อสติปัญญาแล้วท่านก็ได้อ้างถึงตำราอธิบายกุรอานของของอิบนิ ฮัซม์ ที่เขากล่าวว่าไม่จำเป็นที่อัลลอฮ์จะต้องยืนยันตามดำรัสของพระองค์เอง ไม่จำเป็นที่พระองค์จะต้องตรัสความจริงกับมนุษย์ หากพระองค์ทรงประสงค์จะบังคับให้มนุษย์กราบไหว้เจว็ดก็ย่อมทำได้
สิ่งที่พระสันตปาปาได้อ้างมาทั้งหมด ชี้ให้เห็นว่าท่านไม่เคยตรวจสอบตำราเกี่ยวกับอภิปรัชญาและเทววิทยาของอิสลามเลย ตำราอภิปรัชญาอิสลามระบุไว้ว่า พระประสงค์ของอัลลอฮ์นั้นขึ้นอยู่กับเหตุและผล ทั้งนี้ก็เพราะพระประสงค์ของพระองค์เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับความรู้ของพระองค์ และเป็นหนึ่งเดียวกับอาตมันของพระองค์
ส่วนพระประสงค์เชิงปฏิบัติก็แสดงออกในรูปของการกระทำต่างๆของพระองค์ ทั้งนี้ การที่พระคุณท่านอ้างอิงคำพูดของอิบนิ ฮัซม์นั้น แสดงถึงความไม่เข้าใจของพระคุณท่าน เนื่องจากสำนักคิดของอิบนิฮัซม์นั้น มิได้รับความนิยมใดๆในหมู่มุสลิมเลย ตรงกันข้าม สำนักคิดแห่งอะฮ์ลุลบัยต์ซึ่งมีผู้เลื่อมใสไม่น้อยในปัจจุบัน  ยอมรับว่าสติปัญญาและการตัดสินใจมีผลต่อความศรัทธา ดังที่คัมภีร์กุรอานก็กล่าวยืนยันไว้ว่าและพวกเขาดื้อรั้นไม่ยอมรับทั้งที่รู้อยู่เต็มอก[8]
การที่คนเราสามารถปฏิเสธได้ทั้งที่รู้อยู่เต็มอก แสดงว่าการตัดสินใจของแต่ละคนมีอิทธิพลอย่างสูงต่อการเลือกศรัทธา ซึ่งหากจะกล่าวกันในเชิงอภิปรัชญาหรือหลักเทววิทยาแล้ว เราสามารถพิสูจน์ได้ว่า ความรู้มิได้ก่อให้เกิดศรัทธาเสมอไป 

คำพูดของอิบนิ ฮัซม์ ที่ว่าไม่มีสิ่งใดสามารถกำหนดพระประสงค์ของพระเจ้าได้นั้น ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทฤษฎีที่ปฏิเสธความผิดชอบชั่วดีที่รับรู้ได้โดยสติปัญญาแต่ในทางตรงกันข้าม ปรัชญาเมธีของชีอะฮ์ได้พิสูจน์ประเด็นดังกล่าวไว้แล้ว แม้ฝ่ายอะชาอิเราะฮ์จะมิได้เชื่อเช่นนี้ก็ตาม

อย่างไรก็ดี การเสวนาจะเป็นไปอย่างราบรื่นต่อเมื่อมีปัจจัยสองประการดังนี้
1. สันนิษฐานว่าคู่เสวนาของเราอาจนำเสนอสิ่งที่ถูกต้อง
2. 
สันนิษฐานว่าข้อมูลของฝ่ายเราอาจจะยังมีข้อบกพร่อง
ส่วนกรอบความเข้าใจที่จำเป็นต่อการเสวนา หรือที่เรียกว่าขอบฟ้า(Horizon)ในวิชาอรรถปริวรรตศาสตร์นั้น หมายถึงปริมนฑลที่ยอมรับร่วมกันในการเสวนานั้นๆ
นั่นหมายความว่า การเสวนาจะไม่เป็นไปอย่างราบรื่น หากปราศจากปัจจัยและกรอบเสวนาดังที่กล่าวไปแล้ว.

วัสลาม.



[1] ซูเราะฮ์อาลิอิมรอน,64

[2] ขณะเข้าพบพระสันตปาปาระหว่างการประชุมศาสนาสายศาสดาอิบรอฮีมเพื่อสันติ

[3] อัซซุมัร,9

[4] อัลอะลัก,1

[5] อัลอะลัก,3-4

[6] อัซซุมัร,19

[7] อันนะฮ์ลิ,125

[8] อันนัมลิ,14

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • เพราะเหตุใดจึงได้เลือก อัดลฺ ซึ่งเป็นหนึ่งในคุณลักษณะของพระเจ้า เป็นหลักศรัทธา?
    6885 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/08/22
    หลักอุซูลของชีอะฮฺประกอบด้วย เตาฮีด, อัดลฺ, มะอาด, นะบูวัต, และอิมามะฮฺ. อัดลฺ แม้ว่าจะเป็นซิฟัตหนึ่งของอัลลอฮฺ แต่ในหลักการศรัทธาแล้วก็เหมือนกับ ซิฟัตอื่นๆ ของพระองค์ จำเป็นต้องวิพากในเตาฮีด แต่เนื่องจากความสำคัญของอัดลฺ จึงได้แยกอธิบายไว้ต่างหาก สาเหตุที่ อัดลฺ มีความสำคัญเนื่องจาก อัดลฺ คือสาเหตุของการแยกระหว่างหลักเทววิทยาของฝ่าย อัดลียะฮฺ (ชีอะฮฺและมุอฺตะซิละฮฺ) ออกจากฝ่ายอะชาอิเราะฮฺ ซิฟัตหนึ่งถ้าพิสูจน์ว่ามีหรือไม่มี จะได้ผลลัพธ์ที่แตกต่างกันและตรงข้ามกัน แน่นอน จำเป็นต้องกล่าวว่าฝ่ายอะชาอิเราะฮฺ ปฏิเสธไม่ยอมรับเรื่องความยุติธรรมของพระเจ้า ทว่ากล่าวว่า ความยุติธรรม หมายถึงอัลลอฮฺกระทำภารกิจของพระองค์ แม้ว่าในแง่ของสติปัญญา สิ่งนั้นจะเป็นความอธรรมก็ตาม ...
  • เป้าหมายและโปรแกรมต่างๆ ของชัยฏอนคืออะไร?
    9120 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/04/21
    1.ลวงล่อให้มนุษย์ทั้งหลายหลงทาง2.เชิญชวนมนุษย์ทั้งหลายไปสู่การกระทำที่บิดเบือนและการอุปโลกน์ต่างๆ3. หยุแหย่มนุษย์ในการเปลี่ยนแปลงการสร้างสรรค์ของอัลลอฮฺ (ซบ.) และโปรแกรมต่างๆซึ่งอัลกุรอานได้พาดพิงถึงชัยฏอน ...
  • เมื่อกล่าวว่าอัลกุรอานมาจากพระเจ้า จุดประสงค์หมายถึงอะไร ? เฉพาะความหมายรวมๆ เท่านั้นที่มาจากพระเจ้า หรือว่าคำก็ถูกประทานจากพระเจ้าด้วยเช่นกัน
    8324 วิทยาการกุรอาน 2553/10/21
    ตามความเป็นจริงแล้วการที่กล่าวว่า อัลกุรอานมาจากอัลลอฮฺ ได้รับความสนใจเป็นพิเศษในระดับต่างๆ  อีกทั้งยังมีความหมายที่ลึกซึ่งและหลากหลาย ซึ่งในแต่ละประเด็นนั้นยังมีความหมายลึกและระเอียดลงไปอีก และในแต่ละคำพูดก็ยังมีคำพูดที่ระเอียดลงไปอีก :ก. เนื้อหาของอัลกุรอานนั้นมาจากพระเจ้าข. นอกจากนี้คำแต่ละคำยังมาจากพระเจ้าค. การรวมคำต่างที่ปรากฏอยู่ในโองการก็มาจากอัลลอฮฺเช่นกันง. โองการต่างๆ เหล่านี้เป็นสัญลักษณ์ที่ปรากฏอยู่ในบทต่างๆ มาจากอัลลอฮฺ
  • ในกุรอานมีกี่ซูเราะฮ์ที่มีชื่อเหมือนบรรดานบี?
    20169 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/03/04
    ในกุรอานมีหกซูเราะฮ์ที่มีชื่อคล้ายบรรดานบี ได้แก่ ซูเราะฮ์นู้ห์, อิบรอฮีม, ยูนุส, ยูซุฟ, ฮู้ด และ มุฮัมมัด อย่างไรก็ดี จากคำบอกเล่าของฮะดีษบางบททำให้นักอรรถาธิบายกุรอานเชื่อว่า ซูเราะฮ์บางซูเราะฮ์อย่างเช่น ฏอฮา[1], ยาซีน[2], มุดดัษษิร[3], มุซซัมมิ้ล[4] หมายถึงท่านนบีมุฮัมมัด(ซ.ล.) จึงอาจจะจัดได้ว่าซูเราะฮ์ต่างๆข้างต้นถือเป็นซูเราะฮ์ที่มีชื่อเหมือนบรรดานบีได้เช่นเดียวกัน คำถามนี้ไม่มีคำตอบเชิงรายละเอียด [1] มะการิม ชีรอซี,นาศิร,ตัฟซี้รเนมูเนะฮ์,เล่ม ...
  • เป็นไปได้หรือไม่ที่สังคมคนบาปจะรอดพ้นหรือได้รับการชลออะซาบเนื่องจากมีคนดีอาศัยอยู่ไม่กี่คน?
    5970 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/18
    กุรอานและฮะดีษสอนว่า มีปัจจัยบางประการที่ช่วยชลอหรือขจัดปัดเป่าอะซาบให้พ้นจากสังคม ในที่นี้ขอหยิบยกมานำเสนอบางประการดังต่อไปนี้:หนึ่ง. การที่สังคมยังมีท่านนบี หรือผู้ขออภัยโทษอาศัยอยู่:  وَماکانَاللَّهُلِیُعَذِّبَهُمْ
  • ท่านอิมามอลี(อ.)อธิบายถึงการก้าวสู่ตำแหน่งเคาะลีฟะฮ์ของเคาะลีฟะฮ์สามคนแรกไว้ในคุฏบะฮ์บทใด?
    6170 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/28
    ท่านอิมามอลี(อ.)กล่าวถึงการก้าวขึ้นดำรงตำแหน่งเคาะลีฟะฮ์ของเคาะลีฟะฮ์สามคนแรกไว้ในคุฏบะฮ์ที่สามซึ่งต่อมาเป็นที่รู้จักในนาม “คุฏบะฮ์ชิกชิกียะฮ์” จากคำที่ท่านกล่าวตอนท้ายคุฏบะฮ์คุฏบะฮ์นี้มีเนื้อหาครอบคลุมคำตัดพ้อของท่านอิมามอลี(อ.)เกี่ยวกับประเด็นคิลาฟะฮ์และเล่าถึงความอดทนต่อการสูญเสียตำแหน่งดังกล่าวอีกทั้งเหตุการณ์ที่ประชาชนให้สัตยาบันต่อท่านซึ่งจะนำเสนอรายละเอียดในคำตอบแบบสมบูรณ์ ...
  • กฎของการออกนอกศาสนาของบุคคลหนึ่ง, ต้องขึ้นอยู่กับการตัดสินของผู้ปกครองหรือไม่?
    5377 สิทธิและกฎหมาย 2555/05/17
    คำถามของท่าน สำนัก ฯพณฯ มัรญิอฺตักลีดได้ออกคำวินิจฉัยแล้ว คำตอบของท่านเหล่านั้น ดังนี้ ฯพณฯ ท่านอายะตุลลอฮฺ อัลอุซมาคอเมเนอี (ขออัลลอฮฺทรงคุ้มครองท่าน): การออกนอกศาสนา ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการตัดสินของผู้ปกครอง ซึ่งถ้าหากบุคคลนั้นได้ปฏิเสธหนึ่งในบัญญัติที่สำคัญของศาสนา ปฏิเสธการเป็นนบี หรือมุสาต่อท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือนำความบกพร่องต่างๆ มาสู่หลักการศาสนาโดยตั้งใจ อันเป็นสาเหตุนำไปสู่การปฏิเสธศรัทธา หรือออกนอกศาสนา หรือตั้งใจประกาศว่า ตนได้นับถือศาสนาอื่นนอกจากอิสลามแล้ว ทั้งหมดเหล่านี้ถือว่า เป็นมุรตัด หมายถึงออกนอกศาสนา หรือละทิ้งศาสนาแล้ว ฯพณฯ ท่านอายะตุลลอฮฺ อัลอุซมา มะการิม ชีรอซียฺ (ขออัลลอฮฺทรงคุ้มครองท่าน) : ถ้าหากบุคคลหนึ่งปฏิเสธหลักความเชื่อของศาสนา หรือปฏิเสธบทบัญญัติจำเป็นของศาสนาข้อใดข้อหนึ่ง และได้สารภาพสิ่งนั้นออกมาถือว่า เป็นมุรตัด ...
  • มีหนทางใดบ้างสำหรับรักษาสายตาอันร้ายกาจ?
    6961 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/07/16
    สายตาอันร้ายกาจเกิดจากผลทางจิตวิญญาณ ซึ่งไม่มีเหตุผลในการปฏิเสธแต่อย่างใด,ทว่ามีเหตุการณ์จำนวนมากมายที่เราได้เห็นกับตาตัวเอง มัรฮูมเชคอับบาส กุมมี (รฮ.) แนะนำให้อ่านโองการที่ 51 บทเกาะลัม เพื่อเยียวยาสายตาอันร้ายกาจ, ซึ่งเมื่อพิจารณาสาเหตุแห่งการประทานลงมาของโองการแล้ว เหมาะสมกับการรักษาสายตาอันร้ายกาจอย่างยิ่ง นอกจากโองการดังกล่าวแล้ว ยังมีรายงานกล่าวเน้นถึง การอ่านอัลกุรอานบทอื่นเพื่อรักษาสายตาอันร้ายกาจไว้อีก เช่น อัลกุรอานบท »นาส« »ฟะลัก« »ฟาติฮะฮฺ« »เตาฮีด« นอกจากนี้ตัฟซีรอีกจำนวนมากยังได้กล่าวเน้นให้อ่านอัลกุรอานบทที่กล่าวมา ...
  • ใครเป็นผู้ประพันธ์ริซาละฮ์เศาะฟี้รซีโม้รก์? มีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร?
    6692 รหัสยทฤษฎี 2555/02/18
    ผู้ประพันธ์ริซาละฮ์เศาะฟี้รซีโม้รก์คือ ชะฮาบุดดีน ยะฮ์ยา บิน ฮะบัช บิน อมีร็อก อบุลฟุตู้ฮ์ ซุฮ์เราะวัรดี หรือที่รู้จักกันในฉายา “เชคอิชร้อก”“เศษะฟี้ร” หมายถึงเสียงที่ลากยาว รื่นหู และปราศจากคำพูดที่เปล่งจากริมฝีปากทั้งสอง ส่วน “ซีโม้รก์” เป็นชื่อสัตว์ปีกชนิดหนึ่งที่เปรียบเสมือนราชาแห่งฝูงวิหคในนิยาย ในเชิงวิชาอิรฟานหมายถึงผู้เฒ่าผู้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์แบบ อย่างไรก็ดี เรื่องราวของซีโม้รก์ได้รับการเล่าขานหลากเรื่องราวในตำรับตำราด้านวรรณกรรมเปอร์เซียและรหัสยนิยม(อิรฟาน)ในหนังสือเล่มนี้ เชคอิชร้อกได้แสดงถึงความสำคัญของการจาริกทางจิตวิญญาณสู่อัลลอฮ์ อีกทั้งอธิบายถึงสภาวะและอุปสรรคนานัปการในหนทางนี้ ...
  • การบริโภคเนื้อเต่าคือมีฮุกุมอย่างไร? ฮะลาลหรือฮะรอม?
    6536 สิทธิและกฎหมาย 2554/09/11
    การบริโภคเนื้อเต่าถือว่าเป็นฮะรอม[1]ในภาษาอาหรับเรียกเต่าว่า “ซุลฮะฟาต” และมีริวายะฮ์มากมายที่กล่าวว่าเป็นฮะรอม[2]

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59368 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56821 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41644 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38394 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38389 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33427 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27522 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27214 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27111 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25181 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...