การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
7582
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2555/01/19
 
รหัสในเว็บไซต์ fa8506 รหัสสำเนา 20879
คำถามอย่างย่อ
การปฏิเสธฮะดีษโดยยึดถือเพียงกุรอานจะทำให้เกิดเอกภาพในหมู่มุสลิมจริงหรือ?
คำถาม
ล่าสุดมีบางกลุ่มที่ถือว่าตนไม่ไช่วะฮาบีแต่มีความเชื่อคล้ายพวกวะฮาบี อ้างว่าความขัดแย้งระหว่างมุสลิมเกิดจากการยึดถือฮะดีษ และเชื่อว่าวิชาริญ้าลไม่น่าเชื่อถือ เพราะทำให้ชีอะฮ์และซุนหนี่วินิจฉัยหุกุ่มศาสนาต่างกัน วิธีแก้ก็คือการยึดถือเพียงกุรอานและตัดฮะดีษออกไปจากสารบบนิติศาสตร์อิสลาม หน้าที่ที่จะต้องเชื่อฟังท่านนบีจำกัดเพียงในวงเนื้อหากุรอานเท่านั้น นอกเหนือจากนั้นให้ถือว่าเป็นคำแนะนำ มิไช่ข้อบังคับ
คำถามแรก. คำตอบใดตอบข้อกล่าวอ้างดังกล่าวได้ดีที่สุดจากมุมมองภายในและภายนอกศาสนา?
คำถามที่สอง. กลุ่มดังกล่าวเป็นใครมาจากใหนกันแน่?
คำตอบโดยสังเขป

ความเชื่อในการยึดถือเพียงกุรอานและปฏิเสธฮะดีษมีมาตั้งแต่ยุคแรกของอิสลาม แหล่งอ้างอิงทั้งฝ่ายซุนหนี่และชีอะฮ์ต่างบันทึกตรงกันว่า ช่วงบั้นปลายชีวิตของท่านนบี(..) เมื่อท่านสั่งให้นำปากกาและหมึกมาบันทึกคำสั่งเสียของท่าน เพื่อประชาชาติอิสลามจะไม่หลงทางภายหลังจากท่านนั้น เคาะลีฟะฮ์ที่สอง อุมัร บิน ค็อฏฏ้อบกลับคัดค้านคำสั่งดังกล่าวพร้อมกับกล่าวว่าคัมภีร์ของอัลลอฮ์(กุรอาน)เพียงพอแล้วสำหรับเรา (ไม่จำเป็นต้องใช้ซุนนะฮ์นบี)
ไม่มีใครสามารถจะอ้างได้ว่าไม่จำเป็นต้องมีฮะดีษ ถามว่ารายละเอียดหน้าที่ทางศาสนามีอยู่ในกุรอานอย่างครบถ้วนหรือไม่? ข้อปลีกย่อยของฟัรฎูต่างๆอาทิเช่น นมาซ, ศีลอด, ซะกาต, ฮัจย์ ฯลฯ มีในกุรอานกระนั้นหรือ?
กุรอานกล่าวว่าสิ่งที่ศาสนทูตนำมาก็จบรับไว้(ปฏิบัติตาม) และสิ่งที่เขาระงับก็จงหลีกเลี่ยง จงยำเกรงต่อพระองค์ เพราะพระองค์ทรงมีบทลงโทษอันรุนแรง[i]

แน่นอนว่าคำสั่งและข้อห้ามปรามของท่านนบี(..)ก็คือซุนนะฮ์ของท่านนั่นเอง ซึ่งเป็นสิ่งที่พระองค์ทรงบัญชาให้เราปฏิบัติตาม
อะห์มัด บิน ฮัมบัล หนึ่งในอิมามทั้งสี่ของพี่น้องซุนหนี่กล่าวไว้ในหนังสือมุสนัดว่า ท่านนบี(..)กล่าวว่าฉันได้ฝากฝังสองสิ่งเลอค่าซึ่งมีคุณค่าต่างกันไว้ในหมู่พวกท่าน นั่นคือ คัมภีร์ของอัลลอฮ์อันเปรียบดั่งสายเชือกที่เชื่อมโยงระหว่างฟากฟ้าและปฐพี และวงศ์วานอะฮ์ลุลบัยต์ของฉัน สองสิ่งนี้จะไม่พรากจากกันกระทั่งบรรจบกับฉัน  บ่อน้ำเกาษัร
จะเห็นได้ว่าในฮะดีษนี้ ท่านนบี(..)และอะฮ์ลุลบัยต์(.)ได้รับการจัดให้เคียงคู่กุรอาน อันหมายความว่า ดังที่มุสลิมทุกคนมีหน้าที่ต้องยึดถือกุรอานฉันใด พวกเขาก็จะต้องยึดถืออะฮ์ลุลบัยต์ในภาวะจำเป็นฉันนั้น สองสิ่งนี้จะสมบูรณ์เมื่อเคียงคู่กัน การเลือกยึดถืออย่างใดอย่างหนึ่งจะทำให้สิ่งนั้นบกพร่อง



[i] อัลฮัชร์,7

คำตอบเชิงรายละเอียด

ข้อครหาดังกล่าวมิไช่ประเด็นใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้น หากแต่เป็นประเด็นต้นๆที่เกิดขึ้นภายหลังนบีเสียชีวิต หรืออาจกล่าวได้ว่าเกิดขึ้นตั้งแต่ท่านนบี(..)ยังมีชีวิตอยู่แล้วโดยบุคคลบางคน
เราจึงขอเท้าความถึงภูมิหลังดังกล่าวเสียก่อน แล้วจึงวิเคราะห์และตอบคำถาม

ความเชื่อในการยึดถือเพียงกุรอานและปฏิเสธฮะดีษมีมาตั้งแต่ยุคแรกของอิสลาม แหล่งอ้างอิงทั้งฝ่ายซุนหนี่และชีอะฮ์ต่างบันทึกตรงกันว่า ช่วงบั้นปลายชีวิตของท่านนบี(..) ท่านสั่งให้นำปากกาและหมึกมาบันทึกคำสั่งเสียของท่าน เพื่อประชาชาติอิสลามจะไม่หลงทางภายหลังจากท่าน เคาะลีฟะฮ์ที่สอง อุมัร บิน ค็อฏฏ้อบกลับคัดค้านคำสั่งดังกล่าวพร้อมกับกล่าวว่าคัมภีร์ของอัลลอฮ์(กุรอาน)เพียงพอแล้วสำหรับเรา (ไม่จำเป็นต้องใช้ซุนนะฮ์นบี)

เราขออ้างอิงจากตำราที่น่าเชื่อถือที่สุดของพี่น้องซุนหนี่ดังนี้
เศาะฮี้ห์บุคอรี, มุสลิม, มุสนัดอะห์มัด ฯลฯ รายงานว่า อิบรอฮีม บิน มูซารายงานจาก ฮิชาม บินมุอัมมัร จากอับดุลลอฮ์ บินมุฮัมมัด จากอับดุรร็อซซ้าก จากมุอัมมัร จากซุฮ์รี จากอุบัยดิลลาฮ์ บิน อับดุลลอฮ์ บิน อับบาสว่า อิบนิ อับบาสเคยกล่าวว่า ช่วงบั้นปลายอายุขัยของท่านนบี(..)มีเศาะฮาบะฮ์กลุ่มหนึ่งเข้าพบท่านนบี ซึ่งอุมัร บิน ค็อฏฏ้อบก็อยู่ในจำนวนนั้นด้วย ท่านนบี(..)กล่าวว่าจงมาใกล้ๆเถิด เพื่อจะเขียนบางสิ่งที่พวกท่านจะไม่มีวันหลงทางหลังจากฉันอุมัรพูดขึ้นว่าความเจ็บปวดมีอิทธิพลเหนือท่าน พวกเจ้ามีกุรอานอยู่แล้ว คัมภีร์ของอัลลอฮ์เพียงพอแล้วสำหรับเรา[1] พลันเศาะฮาบะฮ์เกิดมีปากเสียงต่อหน้าท่านนบี(..) ท่านจึงสั่งว่าจงลุกไปจากฉัน ไม่บังควรที่จะต่อล้อต่อเถียงกันต่อหน้าฉัน[2]
อุบัยดุลลอฮ์เล่าว่า อิบนิ อับบาสโอดครวญว่าโศกนาฏกรรมเริ่มตั้งแต่พวกเขาขวางกั้นมิให้ท่านบันทึกคำสั่งเสีย[3]

คำตอบต่อไปนี้เป็นคำตอบจากมุมมองภายในและภายนอกศาสนา และยังถือเป็นคำตอบสำหรับแนวคิดของเคาะลีฟะฮ์ที่สองได้อีกด้วย

เหตุผลที่หนึ่ง: สติปัญญา
สมมุติว่ามุสลิมทั้งโลกเชื่อว่ากุรอานเพียงพอแล้ว และไม่จำเป็นต้องพึ่งพาฮะดีษ ถามว่าความเชื่อนี้ตรงกับข้อเท็จจริงหรือไม่?
หากจะเชื่อถือเพียงกุรอาน ถามว่าทุกคนเข้าใจกุรอานไปในทิศทางเดียวกันหรือไม่?
แม้ว่าทุกคนทราบคำตอบได้ด้วยสามัญสำนึก แต่เราขอชี้แจงเรื่องดังกล่าวพอสังเขปตามแนวคิดที่ว่าเราจะเชื่อว่าสิ่งใดเกิดขึ้น ต้องสังเกตุว่าสิ่งนั้นเกิดขึ้นจริงแล้วหรือยัง

. เป็นที่ทราบกันดีว่าในหมู่พี่น้องมุสลิมเอง ไม่ว่าซุนหนี่หรือชีอะฮ์ ก็มิได้เข้าใจโองการกุรอานในทิศทางเดียวกัน กล่าวได้ว่ามีหลักศรัทธาหรือข้อบังคับไม่กี่ข้อที่นักอธิบายกุรอานทุกคนจะมีทัศนะเป็นเอกฉันท์[4]

. ไม่มีใครสามารถจะอ้างได้ว่าไม่จำเป็นต้องมีฮะดีษ ทั้งนี้ ถามว่ารายละเอียดข้อบังคับศาสนามีอยู่ในกุรอานอย่างครบถ้วนหรือไม่? ข้อปลีกย่อยของฟัรฎูต่างๆอาทิเช่น นมาซ, ศีลอด, ซะกาต, ฮัจย์ ฯลฯ มีในกุรอานกระนั้นหรือ?

. หากเราเชื่อดังที่กล่าวมา แล้วจะทำอย่างไรกับตำราฮะดีษที่มีจำนวนมากมายมหาศาลของพี่น้องซุนหนี่ อาทิเช่น เศาะฮี้ห์บุคอรี มุสลิม สุนันอบีดาวู้ด สุนันติรมิซี สุนันนะซาอี สุนันอิบนิมาญะฮ์ และอีกเป็นร้อยเป็นพันเล่ม

เหตุผลที่สอง: มติปวงปราชญ์(อิจมาอ์)
ปัจจุบันนี้ ทุกมัซฮับไม่ว่าจะเป็นมัซฮับหลักความเชื่อหรือมัซฮับฟิกเกาะฮ์ล้วนเห็นพ้องกันว่าเราขาดฮะดีษไม่ได้ ไม่มีฟะกี้ฮ์หรือนักเทววิทยามุสลิมคนใดที่เชื่อว่ามุสลิมไม่จำเป็นต้องพึ่งพาฮะดีษในภาคความเชื่อและภาคปฏิบัติ[5]

เหตุผลที่สาม: กุรอาน
กุรอานกล่าวว่าสิ่งที่ศาสนทูตมอบให้ก็จงรับไว้(ปฏิบัติตาม) และสิ่งที่ศาสนทูตยับยั้งก็จงหลีกเลี่ยง จงยำเกรงต่อพระองค์ แท้จริงพระองค์ทรงมีบทลงโทษอันรุนแรง[6]
แม้ว่าโองการข้างต้นจะประทานมาในเหตุการณ์แบ่งสินสงครามบนีนะฎี้รก็ตาม แต่เนื่องจากเป็นพระดำรัสในเชิงกว้าง จึงครอบคลุมวิถีชีวิตของมุสลิมทุกคน[7] และเป็นหลักฐานบ่งชี้ว่าสามารถยึดถือซุนนะฮ์นบี(..)ได้[8]

หลักการดังกล่าวสอนว่ามุสลิมทุกคนมีหน้าที่จะต้องเชื่อฟังคำสั่งของท่านนบี(..)โดยดุษณี ไม่ว่าจะในด้านการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ อิบาดะฮ์ และด้านอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โองการดังกล่าวเตือนว่าผู้ฝ่าฝืนจะถูกลงโทษแสนสาหัส[9]

แน่นอนว่าคำสั่งและข้อห้ามปรามของท่านนบี(..)ก็คือซุนนะฮ์ของท่านนั่นเอง ซึ่งเป็นสิ่งที่พระองค์ทรงบัญชาให้เราปฏิบัติตาม
ในจุดนี้ บางท่านอาจสงสัยว่าเหตุใดอัลลอฮ์จึงสั่งให้มนุษยชาติเชื่อฟังท่านนบี(..)โดยปราศจากข้อแม้ใดๆ?
เราจะตอบปัญหาข้างต้นได้ก็ต่อเมื่อยอมรับเสียก่อนว่าท่านและวงศ์วานของท่านล้วนเป็นผู้มีภาวะไร้บาป(มะอ์ศูม)
ฮะดีษมากมาย[10]ระบุว่า เหตุที่อัลลอฮ์ทรงประทานอำนาจหน้าที่แก่ท่านนบีถึงเพียงนี้ก็เพราะว่าทรงพิจารณาแล้วว่าท่านนบีเป็นผู้ที่เปี่ยมด้วยจริยธรรมอันยิ่งใหญ่[11] 

เหตุผลที่สี่: ฮะดีษ
มีฮะดีษมากมายทั้งฝ่ายซุนหนี่และชีอะฮ์ที่รณรงค์ให้ยึดถือฮะดีษ อาทิเช่นฮะดีษษะเกาะลัยน์ที่ปรากฏในตำราฮะดีษของซุนหนี่และชีอะฮ์อย่างเป็นเอกฉันท์
อะห์มัด บิน ฮัมบัล หนึ่งในอิมามทั้งสี่ของพี่น้องซุนหนี่กล่าวไว้ในหนังสือมุสนัดว่า อัสวัด บินอามิร รายงานจากอบูอิสรออีล (อิสมาอีล บิน อิสฮ้าก มุลาอี) จากอะฎียะฮ์ จากอบูสะอี้ด รายงานว่าท่านนบี(..)กล่าวว่าฉันได้ฝากฝังสองสิ่งเลอค่าซึ่งมีคุณค่าต่างกันไว้ในหมู่พวกท่าน นั่นคือ คัมภีร์ของอัลลอฮ์อันเปรียบดั่งสายเชือกที่เชื่อมโยงระหว่างฟากฟ้าและปฐพี และวงศ์วานอะฮ์ลุลบัยต์ของฉัน สองสิ่งนี้จะไม่พรากจากกันกระทั่งบรรจบกับฉัน  บ่อน้ำเกาษัร[12]
จะเห็นได้ว่าในฮะดีษนี้ ท่านนบี(..)และอะฮ์ลุลบัยต์(.)ได้รับการจัดให้เคียงคู่กุรอาน อันหมายความว่า ดังที่มุสลิมทุกคนมีหน้าที่ต้องยึดถือกุรอานฉันใด พวกเขาก็จะต้องยึดถืออะฮ์ลุลบัยต์ในภาวะจำเป็นฉันนั้น สองสิ่งนี้จะสมบูรณ์เมื่อเคียงคู่กัน การเลือกยึดถืออย่างใดอย่างหนึ่งจะทำให้สิ่งนั้นบกพร่อง

สรุปคือ หนึ่ง.เป็นไปไม่ได้ที่จะปฏิบัติตามข้อบังคับและดำเนินชีวิตตามวิถีมุสลิมโดยปราศจากฮะดีษ สอง. สมมุติว่าไม่พึ่งพาฮะดีษ ความขัดแย้งก็หาได้ลดลงไม่ อาจจะมากกว่าที่เป็นอยู่ด้วยซ้ำ



[1] บทที่รายงานโดยอิบนิอุมัร “...แท้จริงนบีกำลังเพ้อเจ้อ”,นะฮ์ญุ้ลฮักวะกัชฟุศศิดก์,หน้า 333

[2] เศาะฮี้ห์บุคอรี,เล่ม 17,หน้า 417,ฮะดีษที่ 5237, และเศาะฮี้ห์มุสลิม,เล่ม 8,หน้า 414, และมุสนัดอะห์มัด,เล่ม 6,หน้า 368,478, ที่มา: http://www.al-islam.com

[3] ฮิลลี่,นะฮ์ญุ้ลฮักวะกัชฟุศศิดก์,หน้า 333,สำนักพิมพ์ดารุ้ลฮิจเราะฮ์,กุม,..1407

[4] กรุณาศึกษาเพิ่มเติมจากตำราตัฟซี้รของอะฮ์ลิสซุนนะฮ์

[5] อิจมาอ์ในที่นี้มิได้หมายถึงอิจมาอ์เชิงฟิกเกาะฮ์ แต่หมายถึงทัศนะอันเป็นเอกฉันท์ที่สามารถเป็นหลักฐานสำหรับเราได้

[6] อัลฮัชร์, 7 وَ ما آتاکُمُ الرَّسُولُ فَخُذُوهُ وَ ما نَهاکُمْ عَنْهُ فَانْتَهُوا وَ اتَّقُوا اللَّهَ إِنَّ اللَّهَ شَدیدُ الْعِقابِ

[7] المورد لا یخصّص الوارد

[8] ฟัครุดดีน รอซี, อบูอับดิลลาฮ์ มุฮัมมัด บินอุมัร, มะฟาตีฮุ้ลฆ็อยบ์,เล่ม 29,หน้า 507,สำนักพิมพ์ดารุอิห์ยาอิตตุร้อษ อัลอะเราะบี,เบรุต,พิมพ์ครั้งที่สาม,..1420

[9] و الأجود أن تکون هذه الآیة عامة فی کل ما آتى رسول اللَّه و نهى عنه و أمر الفی‏ء داخل فی عمومه : เฏาะบาเฏาะบาอี,ซัยยิดมุฮัมมัดฮุเซน,อัลมีซานฟีตัฟซีริลกุรอาน,เล่ม 19,หน้า 353,สำนักพิมพ์อินติชาร้อตอิสลามีของญามิอะฮ์มุดัรริซีน สถาบันการศาสนาเมืองกุม,พิมพ์ครั้งที่ห้า /อายะฮ์นี้มิได้จำกัดเนื้อหาไว้เพียงเหตุการณ์ที่ประทานลงมาในเรื่องสัดส่วนของสินสงคราม แต่ครอบคลุมคำสั่งและข้อห้ามปรามทั้งหมดของท่านนบี(..)

[10] มะการิม ชีรอซี,นาศิร,ตัฟซี้รเนมูเนะฮ์,เล่ม 23,หน้า 507- 508, สำนักพิมพ์ดารุลกุตุบอัลอิสลามียะฮ์,เตหราน,พิมพ์ครั้งแรก,1375

[11] มีฮะดีษที่กล่าวถึงประเด็นนี้จำนวนมาก โปรดอ่านตัฟซี้รนูรุษษะเกาะลัยน์,เล่ม 5,หน้า 279-283
ตัฟซี้รเนมูเนะฮ์,เล่ม 23,หน้า 509,510

[12] มุสนัดอะห์มัด,เล่ม 22,หน้า 226,252,324 เล่ม 39,หน้า 308

حَدَّثَنَا أَسْوَدُ بْنُ عَامِرٍ أَخْبَرَنَا أَبُو إِسْرَائِیلَ یَعْنِی إِسْمَاعِیلَ بْنَ أَبِی إِسْحَاقَ الْمُلَائِیَّ عَنْ عَطِیَّةَ عَنْ أَبِی سَعِیدٍ قَالَ قَالَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَیْهِ وَسَلَّمَ إِنِّی تَارِکٌ فِیکُمْ الثَّقَلَیْنِ أَحَدُهُمَا أَکْبَرُ مِنْ الْآخَرِ کِتَابُ اللَّهِ حَبْلٌ مَمْدُودٌ مِنْ السَّمَاءِ إِلَى الْأَرْضِ وَعِتْرَتِی أَهْلُ بَیْتِی وَإِنَّهُمَا لَنْ یَفْتَرِقَا حَتَّى یَرِدَا عَلَیَّ الْحَوْضَ

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • อะไรคือตาบู้ตที่อัลลอฮ์สั่งให้ท่านนบี(ซ.ล.)ส่งมอบแก่ท่านอิมามอลี(อ.)ในวันเฆาะดี้ร?
    7539 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/19
    ในฮะดีษเฆาะดี้รมีคำว่าตาบู้ตอยู่จริงซึ่งกุรอานก็กล่าวถึงเช่นกัน... أَنْ یَأْتِیَکُمُ التَّابُوتُ فیهِ سَکینَةٌ مِنْ رَبِّکُمْ ... โองการนี้ต้องการจะสื่อว่า  แม้ศาสนทูตอิชมูอีลจะแจ้งแก่บนีอิสรออีลว่าตอลู้ตได้รับภารกิจจากอัลลอฮ์แต่พวกเขาก็ยังเคลือบแคลงสงสัยอยู่และขอให้ศาสนทูตระบุหลักฐานให้ชัดเจนศาสนทูตจึงกล่าวว่าสัญลักษณ์การปกครองของเขาก็คือเขาจะมายังพวกท่านพร้อมกับตาบู้ต(หีบบรรจุพันธะสัญญา)ส่วนที่ว่าตาบู้ตหรือหีบแห่งพันธะสัญญาของบนีอิสรออีลคืออะไรใครเป็นคนสร้างขึ้นบรรจุสิ่งใดบ้างนั้นมีคำอธิบายมากมายจากฮะดีษตัฟซี้รและบทพันธะสัญญาเดิม (โตร่าห์) แต่ที่ค่อนข้างชัดเจนที่สุดก็คือคำอธิบายที่ได้จากฮะดีษของอะฮ์ลุลบัยต์และทัศนะของนักตัฟซี้รบางท่านที่ว่า:   ตาบู้ตเป็นหีบไม้ที่มารดาของท่านนบีมูซา(อ.)ได้ใช้วางทารกไว้ตามพระบัญชาของอัลลอฮ์และปล่อยไปตามกระแสของแม่น้ำไนล์ สามารถเชื่อมโยงสองเหตุการณ์ระหว่างการที่บนีอิสรออีลเรียกร้องให้ตอลู้ตแสดงหีบตาบู้ตให้เห็นกับการที่อัลลอฮ์ทรงบัญชาให้ท่านนบี(ซ.ล.)ส่งมอบศาสตราวุธและหีบตาบู้ตให้แก่ท่านอิมาม(อ.)ในวันเฆาะดี้รโดยได้ข้อสรุปว่าอุปกรณ์เหล่านี้คือสิ่งที่ส่งมอบกันมาจากรุ่นสู่รุ่นจนถึงอิมามท่านสุดท้ายและอิมามมะฮ์ดี(อ.)จะแสดงหีบและศาสตราวุธนี้เป็นสัญลักษณ์ให้ชาวโลกประจักษ์ ...
  • อิมามฮุเซน (อ.) เคยเขียนจดหมายถึงฮะบีบบินมะซอฮิรโดยมีความว่า من الغریب الی الحبیب ไช่หรือไม่?
    5579 تاريخ بزرگان 2554/12/10
    เราไม่เจอประโยคที่กล่าวว่าمن الغریب الی الحبیب (จากผู้พลัดถิ่นถึงฮะบีบ)ในหนังสือฮาดีษหรือตำราที่เกี่ยวกับการไว้อาลัยของชีอะฮ์เช่นลุฮูฟของซัยยิดอิบนิฏอวูสแต่อย่างใดจึงไม่สามารถยืนยันได้ว่าอิมามฮุเซน (อ.)กล่าวประโยคดังกล่าวสิ่งที่ยืนยันได้ก็คือฮะบีบบินมะซอฮิรเป็นหนึ่งในสาวกที่มีความซื่อสัตย์ต่ออิมามฮุเซน (อ.) เขาเข้าร่วมในการรบและเป็นชะฮีด[1]
  • เราสามารถที่จะใช้เงินคุมุสที่เกิดขึ้นจากการออมทรัพย์เพื่อการซื้อบ้านได้หรือไม่?
    5341 สิทธิและกฎหมาย 2554/08/08
    ก่อนที่จะตอบคำถามของคุณจะต้องกล่าวว่า: ตามทัศนะของท่านอายาตุลลอฮ์อุซมาคอเมเนอีเงินออมจากกำไรของผลประกอบการนั้นแม้จะเป็นการออมเพื่อใช้ชำระในชีวิตประจำวันแต่เมื่อถึงปีคุมุสแล้วจะต้องชำระคุมุสนอกจากได้มีการออมเพื่อซื้อของใช้จำเป็นในชีวิตหรือค่าใช้ชำระจำเป็น
  • อัลกุรอาน บทนิซาอฺ โองการที่ 29 กล่าวว่า(... إِلاَّ أَن تَكُونَ تِجَارَةً عَن تَرَاضٍ مِّنكُمْ): ทำไมจึงกล่าวว่า تَرَاضٍ مِّنكُمْ ความพอใจในหมู่สูเจ้า เพราะเหตุใดไม่กล่าวว่า تراض بینکم ความพอใจระหว่างพวกเจ้า
    8378 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/05/17
    อัลกุรอาน กล่าวว่า »โอ้ บรรดาผู้มีศรัทธา! จงอย่ากินทรัพย์ของสูเจ้าในระหว่างสูเจ้ากันเองโดยทุจริต (ได้มาโดยวิธีต้องห้าม) นอกจากจะเป็นการค้าขายที่เกิดจากความพอใจในหมู่สูเจ้ากันเอง[1]« โองการนี้เป็นหนึ่งบทบัญญัติของอิสลามที่ว่าด้วยเรื่อง การค้าขายแลกเปลี่ยนและธุรกรรมการเงิน ด้วยเหตุนี้ บทบัญญัติอิสลาม จึงได้ใช้โองการข้างต้นพิสูจน์ปัญหาเรื่องการค้าขาย ประโยคที่กล่าวว่า «إلَّا أَنْ تَكُونَ تِجارَةً عَنْ تَراضٍ» “นอกจากจะเป็นการค้าขายที่เกิดจากความพอใจในหมู่สูเจ้ากันเอง” ในโองการข้างต้น, เป็นการละเว้นเด็ดขาดจากบทบัญญัติทั่วไปก่อนหน้านี้, ด้วยคำอธิบายว่า การหยิบจ่ายใช้สอยทรัพย์สินของคนอื่นแบบไม่ถูกต้อง (บาฏิล) หรือไม่ยุติธรรมและไม่เป็นที่พอใจของเขา หรือไม่ถูกต้องตามหลักการคำสอน, ถือว่าฮะรอมและบาฏิล เว้นเสียแต่ว่าจะได้มาโดยการทำการค้าขาย (การเป็นเจ้าของด้วยเงื่อนไขการกำหนดข้อตกลง) แต่สิ่งนั้นก็ยังต้องขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของทั้งสองฝ่าย ที่ได้ตกลงทำการค้าขายกัน, ด้วยเหตุนี้ ธุรกรรมการเงินทั้งหมด และการค้าขายทุกประเภทต้องเกิดจากความพอใจทั้งสองฝ่ายแล้ว ...
  • เหตุใดจึงห้ามกล่าวอามีนในนมาซ?
    10315 สิทธิและกฎหมาย 2555/04/02
    มีฮะดีษจากอะฮ์ลุลบัยต์ระบุว่าการกล่าวอามีนในนมาซไม่เป็นที่อนุมัติ และจะทำให้นมาซบาฏิล โดยหลักการแล้ว ไม่จำเป็นต้องพิสูจน์ถึงการไม่เป็นที่อนุมัติ ทั้งนี้ก็เพราะการนมาซเป็นอิบาดะฮ์ประเภทหนึ่ง ซึ่งย่อมไม่สามารถจะเพิ่มเติมได้ตามใจชอบ ฉะนั้น หากไม่สามารถจะพิสูจน์การเป็นที่อนุมัติของส่วนใดในนมาซด้วยหลักฐานทางศาสนา ก็ย่อมแสดงว่าพฤติกรรมนั้นๆไม่เป็นที่อนุมัติ เพราะหลักเบื้องต้นในการนมาซก็คือ ไม่สามารถจะเพิ่มเติมใดๆได้ หลักการสงวนท่าที(อิห์ติยาฏ)ก็หนุนให้งดเว้นการเพิ่มเติมเช่นนี้ เนื่องจากเมื่อเอ่ยอามีนออกไป ผู้เอ่ยย่อมไม่แน่ใจว่านมาซจะยังถูกต้องอยู่หรือไม่ ต่างจากกรณีที่มิได้กล่าวอามีน ...
  • เพราะสาเหตุใด การถอนคิ้วสำหรับสาววัยรุ่นทั้งหลาย จึงไม่อนุญาต?
    9006 สิทธิและกฎหมาย 2556/01/24
    คำตอบจากสำนักมัรญิอฺตักลีดทั้งหลาย เกี่ยวกับการถอนคิ้วของสาววัยรุ่น มีรายละเอียดดังนี้ มัรญิอฺตักลีดทั้งหมด : มีความเห็นพร้องต้องกันว่า การทำเช่นนี้โดยตัวของมันแล้วถือว่า ไม่มีปัญหาทางชัรอียฺ (แม้ว่าจะมองไม่ออกนักก้ตาม) ซึ่งโดยปกติต้องปกปิดหน้าตนจากชายที่สามารถแต่งงานกันได้[1] ฉะนั้น การกระทำดังกล่าว โดยตัวของมันแล้วถือว่าไม่มีปัญหา แม้ว่าในกรณีนี้บรรดามัรญิอฺตักลีด จะมีความเห็นว่าการใส่ใจต่อสาธารณเป็นสิ่งดีงามก็ตาม[2] [1] ข้อมูลจาก ซีดี เพรเซะมอน
  • ฮะดีษว่าด้วยการต่อสู่ในยุคสุดท้ายที่เริ่มจากอิหร่านเชื่อถือได้เพียงใด?
    16775 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/15
    ตำราทั้งฝ่ายชีอะฮ์และซุนหนี่รายงานพ้องกันว่าจะมีขบวนการต่อสู้ครั้งสำคัญเกิดขึ้นเพื่อเป็นการปูทางสู่การปรากฏกายของอิมามมะฮ์ดี(อ.) โดยเหล่าผู้ถือธงดำในขบวนการนี้จะเป็นผู้เตรียมความพร้อมก่อนที่อิมามมะฮ์ดีจะขึ้นปกครองโลกทั้งผอง[1]รัฐบาลตระเตรียมการของชาวอิหร่านเพื่อปูทางสู่รัฐของอิมามมะฮ์ดีมีสองระยะด้วยกัน:หนึ่ง. เริ่มต่อสู้โดยการชี้นำของบุรุษชาวเมืองกุมซึ่งเป็นไปได้ว่าขบวนการของเขาเป็นจุดเริ่มต้นของการปรากฏกายของอิมามเนื่องจากมีฮะดีษระบุว่าขบวนการของอิมามจะเริ่มจากทางทิศตะวันออก.[2]สอง. การเรืองอำนาจโดยซัยยิดโครอซอนีโดยการสนับสนุนของผู้บัญชาการทัพชื่อชุอัยบ์บินศอลิห์[3]ดังที่กล่าวไปแล้วฮะดีษที่เกี่ยวกับการปรากฏกายของอิมามมะฮ์ดีบทหนึ่งระบุว่า:....عَنْ عَلِیِّ بْنِ عِیسَى عَنْ أَیُّوبَ بْنِ یَحْیَى الْجَنْدَلِ عَنْ أَبِی الْحَسَنِ الْأَوَّلِ ع قَالَ رَجُلٌ مِنْ أَهْلِ قُمَّ یَدْعُو النَّاسَ إِلَى الْحَقِّ یَجْتَمِعُ مَعَهُ ...
  • เพราะเหตุใดพระเจ้าผู้ทรงสามารถปกปักรักษาอิมามมะฮฺดียฺ (อ.) ในช่วงของการเร้นกายให้ปลอดภัยได้, แต่พระองค์มิทรงสัญญาเช่นนั้น เพื่อว่าท่านจะได้ปรากฏกาย และปกป้องท่านจากทุกภยันตราย
    5986 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/11/21
    หนึ่งในประเด็นสำคัญยิ่งที่ท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) และอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) ได้ย้ำเตือนซ้ำแล้วซ้ำเล่าแก่ประชาชาติคือ คือการทำลายล้างอำนาจการกดขี่ข่มเหง และการขุดรากถอนโคนความอธรรมโดยน้ำมือของท่านอิมามมะฮฺดียฺ (อ.) ด้วยสาเหตุนี้เอง การดำรงอยู่ของท่านอิมามมะฮฺดียฺ (อ.) จึงได้รับความสนใจเป็นพิเศษจากชน 2 กลุ่ม, กลุ่มหนึ่งคือผู้ได้รับการอธรรมข่มเหงบนหน้าแผ่นดินหวังที่จะยื่นคำอุทรณ์และได้รับการสนับสนุน พวกเขาได้ชุมนุมกันเนื่องด้วยการดำรงอยู่ของท่านอิมาม ได้นำเสนอขบวนการและการต่อสู้ป้องกัน, กลุ่มที่สองคือ กลุ่มผู้อธรรมข่มเหง กลั่นแกล้งระราน ผู้ชอบการนองเลือดคอยควบคุมและกดขี่ประชาชาติผู้ด้อยโอกาส และเพื่อไปถึงยังผลประโยชน์ส่วนตัว และรักษาตำแหน่งของพวกเขาเอาไว้ พวกเขาจึงไม่กลัวเกรงการกระทำความชั่วร้าย และความลามกอนาจารใดๆ พวกเขาพร้อมที่จะให้ทุกประเทศเสียสละเพื่อตำแหน่งของพวกเขา คนกลุ่มนี้รู้ดีว่าการดำรงอยู่ของอิมามมะฮฺดียฺ (อ.) คือผู้ที่จะมากีดขวางและขัดผลประโยชน์ และเจตนาชั่วร้ายของพวกเขา อีกทั้งจะทำให้ตำแหน่งผู้นำและผู้บัญชาการของพวกเขาตกอยู่ในอันตราย พวกเขาจึงพยายามทุกวิถีทางที่จะขจัดท่านอิมามให้สูญสิ้นไป เพื่อพวกเขาจะได้ปลอดภัยจากภยันตรายอันใหญ่หลวงยิ่งนี้, แต่ทั้งหมดเหล่านี้ ถึงแม้ว่าอำนาจของอัลลอฮฺ (ซบ.) มิได้ถูกจำกัดให้คับแคบลงแต่อย่างใด เพียงแต่พระองค์ประสงค์ให้ทุกภารกิจการงานดำเนินไปตามธรรมชาติและหลักการทั่วไป มิได้เป็นเงื่อนไขเลยว่า เพื่อปกปักรักษาบรรดาศาสดา อิมามผู้บริสุทธิ์ และศาสนาศักดิ์สิทธิ์ของพระองค์ พระองค์จะหยุดยั้งการใช้วิธีการ สื่อ เครื่องมือ เหตุผล ...
  • การนอนในศาสนสถานที่ศักดิ์สิทธิ์เช่นบริเวณฮะร็อมมีฮุกุมอย่างไร?
    5081 สิทธิและกฎหมาย 2554/11/19
    ฮะร็อม(บริเวณสุสาน)ของบรรดาอิมามตลอดจนศาสนสถานถือเป็นสถานที่ที่มุสลิมให้เกียรติมาโดยตลอดเนื่องจากการแสดงความเคารพสถานที่เหล่านี้ถือเป็นการให้เกียรติบรรดาอิมามและบุคคลสำคัญต่างๆที่ฝังอยู่ณสุสานดังกล่าวฉะนั้นควรหลีกเลี่ยงการกระทำที่ส่อไปในทางลบหลู่ดูหมิ่นสถานที่เหล่านี้เท่าที่จะทำได้แต่ทว่าในแง่ของฟิกฮ์การนอนในสถานที่ศักดิ์สิทธิ์เช่นมัสยิด, ฮะร็อมฯลฯถือว่าไม่เป็นที่ต้องห้ามนอกจากคนทั่วไปจะมองว่าการนอนในสถานที่ดังกล่าวเป็นการไม่ให้เกียรติสถานที่ซึ่งในกรณีนี้เนื่องจากวิถีประชาเห็นว่าการกระทำนี้เป็นสิ่งที่ไม่บังควรก็จะถึอว่าไม่ควรกระทำไม่ว่าสถานที่เหล่านั้นจะเป็นมัสยิดหรือฮะร็อมของบรรดาอาอิมมะฮ์ฯลฯก็ตาม
  • การรับประทานล็อบสเตอร์ หอย และปลาหมึกผิดหลักศาสนาหรือไม่?
    16918 สิทธิและกฎหมาย 2554/08/25
    การรับประทานล็อบสเตอร์หอยและปลาหมึกถือว่าผิดหลักศาสนาดังที่บทบัญญัติทางศาสนาได้กำหนดเงื่อนไขบางประการเพื่อจำแนกเนื้อสัตว์ที่ทานได้ออกจากเนื้อสัตว์ที่ไม่อนุมัติให้ทานเห็นได้จากการกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับสัตว์บกสัตว์น้ำและสำหรับสัตว์ปีกฯลฯมาตรฐานที่กำหนดไว้สำหรับสัตว์น้ำที่ฮะลาลคือจะต้องมีเกล็ดเท่านั้นในฮะดีษหนึ่งได้กล่าวไว้ว่ามุฮัมหมัดบินมุสลิมได้ถามจากอิมามบากิร (อ.) ว่า “มีคนนำปลาที่ไม่มีเปลือกหุ้มมาให้กระผมอิมามได้กล่าวว่า “จงทานแต่ปลาที่มีเปลือกหุ้มและชนิดใหนไม่มีเปลือกหุ้มจงอย่าทาน”[1]เปลือกหุ้มในที่นี้หมายถึงเกล็ดดังที่ได้ปรากฏในฮะดีษต่างๆ[2]บรรดามัรญะอ์ตักลีดจึงได้ใช้ฮะดีษดังกล่าวเป็นบรรทัดฐานสำหรับสัตว์น้ำ โดยได้ถือว่านัยยะของฮะดีษต่างๆระบุว่าห้ามรับประทานสัตว์น้ำ(เนื่องจากผิดหลักศาสนา) เว้นแต่ปลาประเภทที่มีเกล็ดเท่านั้นแต่กุ้งมิได้อยู่ในบรรทัดฐานทั่วไปดังกล่าวมีฮะดีษที่อนุมัติให้รับประทานกุ้งเป็นการเฉพาะที่กล่าวว่า “การรับประทานกุ้งไม่ถือว่าฮะรอมและกุ้งถือเป็นปลาประเภทหนึ่ง”[3]ถึงแม้ว่าโดยลักษณะทั่วไปกุ้งอาจไม่ถือว่ามีเกล็ดแต่ในแง่บทบัญญัติแล้วกุ้งรวมอยู่ในจำพวกปลาที่มีเกล็ดและสามารถรับประทานได้กล่าวคือแม้ว่ากุ้งไม่มีเกล็ดแต่ก็ถูกยกเว้นให้สามารถกินได้ทั้งนี้ก็เนื่องจากมีฮะดีษต่างๆอนุมัติไว้เป็นการเฉพาะแม้เราไม่อาจจะทราบเหตุผลเกี่ยวกับเรื่องนี้[4]ส่วนกรณีที่เนื้อปูถือว่าฮะรอมก็เนื่องจากมีฮะดีษที่ระบุไว้โดยเฉพาะที่ว่า “การทานญัรรี(ปลาชนิดหนึ่ง), เต่าและปูถือเป็นฮะรอม[5]ดังนั้นล็อบสเตอร์, ปลาหมึกฯลฯยังคงอยู่ในเกณฑ์ของสัตว์ที่ไม่สามารถรับประทานได้อนึ่งแม้ว่าสัตว์บางประเภทไม่สามารถรับประทานได้แต่ก็มิได้หมายความว่าห้ามเพาะเลี้ยงหรือซื้อขายสัตว์ชนิดนั้นเสมอไปเนื่องจากการรับประทานและการค้าขายเป็นสองกรณีที่จำแนกจากกันบางสิ่งอาจจะเป็นฮะรอมในการดื่มหรือรับประทานแต่สามารถซื้อขายได้อย่างเช่นเลือดซึ่งห้ามรับประทานเนื่องจากฮะรอมแต่ด้วยการที่เลือดมีคุณประโยชน์ในทางอื่นๆด้วยจึงสามารถซื้อขายได้ดังนั้นการซื้อขายล็อบสเตอร์, หอยฯลฯในตลาดหากไม่ได้ซื้อขายเพื่อรับประทานแต่ซื้อขายเพื่อให้เกิดประโยชน์ในด้านอื่นๆที่คนทั่วไปยอมรับกันก็สามารถกระทำได้เพราะล็อบสเตอร์และหอยอาจจะมีประโยชน์อื่นๆอีกมากมายก็เป็นได้

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59368 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56822 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41645 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38397 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38392 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33428 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27522 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27214 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27111 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25182 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...