การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
8834
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/12/19
 
รหัสในเว็บไซต์ fa8096 รหัสสำเนา 19870
หมวดหมู่ تاريخ بزرگان
คำถามอย่างย่อ
จริงหรือไม่ที่อิมามฮุเซน (อ.) สมรสกับชะฮ์รบานู?
คำถาม
จริงหรือไม่ที่อิมามฮุเซน (อ.) สมรสกับชะฮ์รบานู? กรุณาระบุหลักฐานที่สามารถอ้างอิงทางประวัติศาสตร์ได้ เช่นหนังสือ ตารีคบัลอะมีย์
คำตอบโดยสังเขป

เกี่ยวกับประเด็นการสมรสระหว่างอิมามฮุเซน (.) กับชะฮ์รบานูซึ่งเป็นเชลยศึกของกองทัพมุสลิมนั้น มีหลายทัศนะด้วยกัน เนื่องจากบางรายงานเล่าว่าหญิงคนนี้ถูกจับเป็นเชลยในสมัยการปกครองของอุมัร บ้างกล่าวว่าสมัยอุษมาน อีกทั้งยังระบุนามของท่านและบิดาของท่านไว้แตกต่างกัน ด้วยเหตุนี้ ยากที่จะฟันธงว่าภรรยาขอของอิมามฮุเซน (.) และมารดาของอิมามซัยนุลอาบิดีน(.) เป็นชาวอิหร่าน ( อีกทั้งการที่มีนามว่าชะฮ์รบานู)

คำตอบเชิงรายละเอียด

เกี่ยวกับประเด็นของการสมรสของอิมามฮุเซน (.) กับบุตรีของยัซด์เกิร์ดที่สามนั้น นักประวัติศาสตร์และนักรายงานฮะดีษมีทัศนะที่แตกต่างกันดังนี้

1.   เชคศอดู้ก (.) ได้รายงานฮะดีษเกี่ยวกับมารดาของอิมามซัยนุลอาบิดีน (.) ว่า ซะฮ์ล บินกอซิม กล่าวว่าอิมามริฏอ (.) กล่าวกับฉันที่คุรอซานว่าเรากับท่านมีความเกี่ยวดองทางสายเลือดกันฉันได้กล่าวว่าเกี่ยวดองอย่างไรหรือท่าน?” ท่านตอบว่าสมัยที่อับดุลลอฮ์ บินอามิร บินกะรีซ ยึดแคว้นคุรอซานได้ เขาได้จับกุมบุตรสาวของยัซเกิร์ด กษัตรย์ของอิหร่านได้สองนาง และได้นำตัวพวกนางมามอบแก่อุษมาน บินอัฟฟาน เขาได้สองนางให้กับอิมามฮาซัน (.) และอิมามฮุเซน (.) ทั้งสองเสียชีวิตหลังคลอดบุตร  ภรรยาของอิมามฮุเซน (.) ได้ให้กำเนิดท่านอิมามซัยนุลอาบิดีน (.) ก่อนนางจะเสียชีวิต แต่หลังจากที่นางเสียชีวิตลง อิมามซัยนุลอาบิดีน (.) ก็ได้รับการเลี้ยงดูโดยหญิงรับใช้ของอิมามฮุเซน (.) นางหนึ่ง[1]รายงานนี้ระบุว่าบุตรีของยัซด์เกิร์ดถูกส่งตัวมายังมะดีนะฮ์ในยุคของอุษมาน มิไช่ยุคของอุมัร บินคอฏฏ้อบ

เชคอับบาส กุมี กล่าวถึงรายงานดังกล่าวว่าฮะดีษบทนี้ขัดกับบทอื่น  ที่ระบุว่าบุตรีของยัซเกิร์ดถูกนำตัวมาในสมัยของอุมัร บินคอฏฏ้อบ ซึ่งฮะดีษเหล่านี้เป็นที่ยอมรับและน่าเชื่อถือมากกว่า[2]

2.   กุลัยนี (.) อธิบายเกี่ยวกับมารดาของอิมามซัยนุลอาบิดีน (.) ด้วยฮะดีษที่ว่าเมื่อบุตรสาวของยัซด์เกิร์ดถูกนำตัวมามอบแด่อุมัร สตรีชาวมาดีนะฮ์ต่างเบียดเสียดกันจ้องมองนาง และเมื่อนางเข้ามายังมัสยิด ใบหน้านางขาวผ่องประดุจว่าทำให้มัสยิดสว่างไสว อุมัรมองนาง นางรีบปิดใบหน้าและกล่าวว่าโอ๊ฟ บีรู้จ บอดอ โฮ้รโมซอุมัรกล่าวขึ้นว่านางได้ด่าทอฉันว่าแล้วก็จ้องเขม็ง อิมามอลี (.) กล่าวกับอุมัรว่าท่านไม่มีสิทธิจะปองร้ายนาง ท่านควรที่จะมอบสิทธิแก่นางให้สามารถเลือกชายมุสลิมด้วยตนเอง แล้วจึงหักจากบัญชีสินสงครามของชายผู้นั้นจะได้รับ อุมัรได้ให้สิทธิ์นี้แก่นาง นางได้เดินมาและเอามือวางบนศีรษะของอิมามฮุเซน (.) อิมามอาลี (.) ได้ถามนางว่าเธอชื่ออะไร?” นางตอบว่าญะฮอนชอฮ์ท่านกล่าวว่าชื่อที่เหมาะแก่เธอคือ ชะฮ์รบอนูเยะฮ์

หลังจากนั้นได้กล่าวกับอิมามฮุเซน (.) ว่าโอ้อบาอับดิลลาฮ์ หญิงคนนี้จะให้กำเนิดบุคคลที่ยิ่งใหญ่ที่สุดบนหน้าแผ่นดิน และในที่สุดอิมามอาลี บินฮุเซน (.) ก็ถือกำเนิดจากนาง โดยได้รับฉายานามว่าอิบนุลคิยะเราะตัยน์” (บุตรของผู้ถูกคัดเลือกทั้งสอง) เนื่องจากบนีฮาชิมและชนชาติเปอร์เซียเป็นชนที่เลือกสรรโดยอัลลอฮ์ จากอรับและอะญัม[3]

เนื้อหาและสายรายงานของฮะดีษดังกล่าวถูกวิจารณ์โดยนักวิจัยบางส่วน เช่นการที่ฮะดิษบทนี้รายงานโดยอัมร์ บินชิมร์ซึ่งเป็นบุคคลที่ไม่น่าเชื่อถือในทัศนะของผู้เชี่ยวชาญด้านสายรายงาน[4]

ในแง่ของเนื้อหาก็อาจจะถูกวิจารณ์ได้หลายประเด็นดังนี้

-           การที่บุตรีคนหนึ่งของยัซด์เกิร์ดถูกจับเป็นเชลยนั้น ยังเป็นเรื่องที่ไม่แน่นอน

-           การที่อิมามฮุเซน (.) ได้แต่งงานกับสตรีคนหนึ่งในเวลานั้นเป็นที่เป็นที่น่าเคลือบแคลง เนื่องจากรานงานแรกระบุว่าหญิงผู้นี้ถูกจับเป็นเชลยในการพิชิตแคว้นคุรอซาน อันหมายถึงปีฮ.. 22 ในสมัยของอุษมาน
แต่รายงานที่สองระบุว่า เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นในสมัยการปกครองของอุมัร และหากเรายึดตามคำพูดนี้ ต้องทราบว่าขณะที่อิหร่านถูกยึดนั้น อิมามมีอายุระหว่าง 10-11 ปี เนื่องจากการยึดอิหร่านเกิดขึ้นในปีที่ 2 ของการปกครองของอุมัร ดังนั้นเป็นไปได้ยากที่อิมามจะสมรสในช่วงอายุดังกล่าว

-           ตำราทางประวัติศาสตร์ให้ข้อมูลแตกต่างกันในกรณีมารดาของอิมามซัยนุลอาบิดีน (.) ทั้งนี้ ยะอ์กูบี (เสียชีวิต 284 ..)[5], มุฮัมหมัด บินฮะซัน กุมีย์[6], กุลัยนี (เสียชีวิต 329 ..)[7], มุฮัมหมัด บินฮะซัน ศ็อฟฟาร กุมีย์ (เสียชีวิต 290 ..), อัลลามะฮ์มัจลิซีย์[8], เชคศอดู้ก (เสียชีวิต 381 ..)[9] และเชคมูฟีด (เสียชีวิต 413 ..)[10] เชื่อว่านางเป็นบุตรสาวของยัซด์เกิรด ถึงแม้ว่าจะมีความเห็นต่างกันในประเด็นชื่อของนางก็ตาม

นอกจากนี้ ยังมีทัศนะอื่นที่ระบุไว้ในตำรารุ่นแรกและรุ่นหลังของพี่น้องซุนหนี่มากมายที่เล่าว่านางเป็นชาวเมืองซิซตาน หรือแคว้นสินธุ หรืออาจเป็นชาวคาบุล และมีสายรายงานมากมายไม่ได้กล่าวถึงสถานที่จองจำของนาง เพียงแต่ได้กล่าวว่านางเป็นอุมมุวะลัด” (สาวใช้ที่มีบุตร) นั้นเอง[11]

บ้างก็เชื่อว่าบิดาของนางเป็นผู้มีชื่อเสียงชาวอิหร่านที่สันนิษฐานว่าชื่อ ซุบฮาน, ซินญาน, นุชญาน หรือชีรูเยะฮ์

หากเราต้องการที่จะวิเคราะห์รายงานเหล่านี้ เราไม่สามารถที่จะพึ่งพาสายรายงานของคำบอกเล่าเหล่านี้แต่อย่างใด เนื่องจากแต่ละสายรายงานไม่มีแหล่งอ้างอิงที่น่าเชื่อถือ นอกจากนี้ หนังสือประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ เช่นหนังสือประวัติศาสตร์ยะอ์กูบี ก็รายงานโดยไม่ได้ระบุถึงแหล่งข้อมูลเลย

ดังนั้น เราจะต้องวิเคราะห์ในแง่เนื้อหาเพียงอย่างเดียว ซึ่งในวิธีนี้เราจะประสบปัญหาต่าง  เช่น:

1.     ปัญหาหลักก็คือ รายงานเหล่านี้ไม่สอดคล้องกันในเรื่องชื่อของนางและชื่อบิดา เนื่องจากสายรายงานต่าง ๆระบุว่านางมีชื่อต่างๆดังนี้ ชะฮ์บานู, ซัลลาเคาะฮ์, ฆ็อซซาละฮ์

2.     ทัศนะที่ไม่ตรงกันเกี่ยวกับระยะเวลาที่นางได้ถูกจับเป็นเชลยก็เป็นอีกหนึ่งปัญหา ซึ่งบ้างก็เชื่อว่านางเป็นเชลยในสมัยของอุมัร และบ้างก็เชื่อว่าในสมัยอุษมาน และบางคน เช่น เชคมุฟี้ด เชื่อว่าเกิดขึ้นในสมัยของอิมามอลี (.)[12]

3.     โดยปกติแล้ว หนังสือบางเล่ม เช่น ตารีคเฏาะบะรี และอัลกามิล ของอิบนุอะษี้ร ซึ่งรายงานสงครามต่างๆระหว่างมุสลิมกับเปอร์เซียตามลำดับปี โดยได้ระบุเส้นทางการหลบหนีของยัซด์เกิร์ดที่ไปตามเมืองต่าง  ของอิหร่าน แต่กลับมิได้กล่าวถึงเหตุการณ์ที่ราชธิดาถูกจับเป็นเชลยแต่อย่างใด ทั้งๆ ที่ประเด็นนี้เป็นเรื่องที่มีความสำคัญมากกว่าเหตุการณ์ปลีกย่อยอื่นๆ ที่หนังสือดังกล่าวบันทึกไว้เสียอีก

4.     เมื่อนักประวัติศาสตร์ประพันธ์รุ่นแรกเช่น มัสอูดีกล่าวถึงบุตรธิดาของยัซด์เกิร์ด เขากล่าวเพียงราชธิดาที่มีนามว่า อัดรัก, ชอฮีน และมัรดอวันด์ ซึ่งไม่มีชื่อใดตรงกับชื่อที่มีรายงานไว้ว่าเป็นชื่อของมารดาอิมามซัยนุลอาบิดีน (.)เลย อีกทั้งไม่กล่าวถึงการถูกจับเป็นเชลยของพวกนางเลย[13]

อย่างไรก็ตาม เมื่อคำนึงถึงเบาะแสและทัศนะต่าง  เกี่ยวกับมารดาของอิมามซัยนุลอาบิดีน กอปรกับประเด็นที่ว่า นักรายงานที่มีชีวิตอยู่ก่อนศตวรรษที่สามส่วนใหญ่เชื่อว่านางเป็นสาวใช้จากแคว้นสินธุ หรือคาบูล[14] ทำให้ไม่สามารถแสดงทัศนะเชิงฟันธงเกี่ยวกับมารดาของอิมามซัยนุลอาบิดีน (.) ได้[15]



[1] อุยูน อัคบารุร ริฏอ, ภาค 2, หน้า 128, ฮะดีษที่ 6, ตรวจตราโดยซัยยิดมะฮ์ดี ฮุซัยนี ลอญะวาร์ดี, ..1377, สำนักพิมพ์มิรซอ มุฮัมหมัด ริฏอ มุฮ์ตะดี, พิมพ์ครั้งที่ 1, (คัดมาจากซีดีญามิอุลอะฮาดีษ นู้ร)

[2] กุมี, เชคอับบาซ, มุนตะฮัลอามาล, เล่ม 2, หน้า 30, สำนักพิมพ์ฮิจรัต

[3] อุศูลกาฟี, เล่ม 1, หน้า 467, สำนักพิมพ์ออคุนดี

[4] คุลาเซาะตุลอักวาล ฟี มะริฟะตุรริญาล, บทที่ 2, หน้า 241, คำว่า อัมร์, ดู: ชะฮ์รบานู ภรรยาของอิมามฮุเซน (.)

[5] ประวัติศาสตร์ยะอ์กูบี, เล่ม 2, หน้า 303

[6] ประวัติศาสตร์กุม, หน้า 195

[7] อุศูลกาฟี, เล่ม 2, หน้า 369

[8] บิฮารุลอันว้าร, เล่ม 46, หน้า 9

[9] อุยูนุ อัคบารุร ริฏอ, เล่ม 2, หน้า 369

[10] อัลอิรชาด, หน้า 492

[11] บิฮารุลอันว้าร, เล่ม 46, หน้า 9

[12] อัลอิรชาด, หน้า 492

[13] ประวัติของอลี บินฮุเซน (.), หน้า 12

[14] ชุอูบียะฮ์, หน้า 305

[15] ดู: มารดาของอิมามซัจญาด

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • ความตายคืออะไร และเราสามารถยึดเวลาความตายออกไปได้ไหม ?
    10016 เทววิทยาดั้งเดิม 2553/12/22
    ความตายในทัศนะของนักปรัชญาอิสลามหมายถึงจิตวิญญาณได้หยุดการบริหารและแยกออกจากร่างกายแน่นอนทัศนะดังกล่าวนี้ได้สะท้อนมาจากอัลกุรอานและรายงานซึ่งตัวตนของความตายไม่ใช่การสูญสิ้นส่วนในหลักการของอิสลามมีการตีความเรื่องความตายแตกต่างกันออกไปซึ่งทั้งหมดมีจุดคล้ายเหมือนกันอยู่ประการหนึ่งกล่าวคือความตายไม่ใช่ความสูญสิ้นหรือดับสูญแต่อย่างใดทว่าหมายถึงการเปลี่ยนหรือการโยกย้ายจากบ้านหลังหนึ่งไปยังบ้านอีกหลังหนึ่งเนื่องจากมนุษย์นั้นประกอบไปด้วยร่างกายและจิตวิญญาณอีกอย่างหนึ่งความตายเท่ากับเป็นหยุดการทำงานของร่างกายภายนอกส่วนจิตวิญญาณได้โยกย้ายเปลี่ยนไปอยู่ยังปรโลกด้วยเหตุนี้ความตายจึงได้ถูกสัมพันธ์ไปยังมนุษย์
  • ตามทัศนะของอัลกุรอาน, มนุษย์คือสิ่งมีอยู่ที่โง่เขลากดขี่,หรือว่าเป็นเคาะลีฟะตุลลอฮฺ?
    8973 การตีความ (ตัฟซีร) 2554/10/22
    1.ด้านหนึ่งอัลกุรอานได้ให้นิยามเกี่ยวกับตำแหน่งและฐานะภาพอันสูงส่งของมนุษย์เอาไว้, และอีกด้านหนึ่งโองการจำนวนมาก,ได้กล่าวประณามและดูหมิ่นมนุษย์เอาไว้เช่นกัน.2.การเคลื่อนไหวของมนุษย์มี 2 ลักษณะกล่าวคือ เคลื่อนไปสู่ความสูงส่งและความตกต่ำอย่างสุดโต่ง ชนิดที่ไม่มีขอบเขตจำกัดหรือมีพรมแดนแต่อย่างใด และสิ่งนี้สืบเนื่องมาจากศักยภาพอันสูงส่งในแง่ต่างๆ ของมนุษย์นั่นเอง3.มนุษย์คือสรรพสิ่งหนึ่งที่มี 2 องค์ประกอบสำคัญได้แก่, องค์ประกอบด้านจิตวิญญาณและกายภาพหรือสภาวะของความเป็นเดรัจฉาน4.มนุษย์แตกต่างไปจากสรรพสิ่งอื่น, เนื่องมนุษย์ใช้ประโยชน์จากความต้องการและเจตนารมณ์เสรี ขณะที่แนวทางการดำเนินชีวิตของเขาได้เลือกสรรไปตามพื้นฐานที่ได้ถูกวางและสะสมเอาไว้5.สำหรับบุคคลที่ได้เข้าถึงตำแหน่งเคาะลีฟะตุลลอฮฺ เขาก็จะได้รับการชี้นำจากอัลลอฮฺ และสามารถควบคุมอำนาจฝ่ายต่ำโดยเฉพาะอย่างยิ่งอำนาจแห่งความเป็นเดรัจฉานไว้ได้อย่างมั่นคง ...
  • มีการกล่าวถึงเงื่อนไขการทำความสะอาดด้วยแสงแดดว่า»ระยะห่างระหว่างพื้นดินกับอาคารซึ่งแสงแดดส่องไปถึงนั้น ภายในต้องไม่มีอากาศหรือสิ่งอื่นกีดขวางแสดงแดด... « ประโยคนี้หมายถึงอะไร ช่วยอธิบายด้วย?
    5638 สิทธิและกฎหมาย 2555/01/23
    คำอธิบาย:แสงแดด,
  • มีฮะดีษกล่าวว่า ใครก็ตามที่ได้ถือศิลอดในสามวันสุดท้ายของเดือนชะอ์บาน เขาจะได้รับมรรคผลเท่ากับการถือศิลอดหนึ่งเดือน จากฮะดีษดังกล่าวเราสามารถที่จะถือศิลอดสามวันนี้แทนการถือศิลอดกอฏอ(ชดเชย)สำหรับหนึ่งเดือนรอมฏอนได้หรือไม่?
    6816 สิทธิและกฎหมาย 2554/11/17
    ไม่สามารถทำเช่นนี้ได้ เนื่องจากฮะดีษต่างๆ ที่กล่าวถึงปริมาณและรายละเอียดผลบุญของการนมาซและถือศิลอดในวันต่างๆ และเดือนต่างๆ หรือผลบุญของการนมาซหรือการถือศิลอดในบางสถานที่ เช่นที่มักกะฮ์และมาดีนะฮ์นั้น บ่งชี้ให้ทราบเพียงว่า การกระทำดังกล่าวตามเงื่อนไขของเวลาและสถานที่ที่กำหนดไว้มีผลบุญที่มากมายมหาศาลเท่านั้น แต่หากต้องการที่จะทำอิบาดะฮ์เหล่านี้เพื่อชดเชยหรือทดแทนอิบาดะฮ์ต่างๆ ในอดีตที่เป็นวาญิบ อาทิเช่นนมาซ, การถือศิลอด ฯลฯ ในกรณีที่เนียต(ตั้งเจตนา)ว่าจะกระทำเพื่อชดเชย ก็จะถือว่าได้ชดเชยไปเทียบเท่ากับหนึ่งวัน หาใช่มากกว่านั้นแน่นอนว่าการถือศิลอดดังกล่าวจะถือเป็นการชดเชยศิลอดเดือนเราะมะฎอนก็ต่อเมื่อผู้ถือศิลอดจะต้องเนียตเกาะฎอ(ชดเชย)ศิลอดเดือนรอมฏอนด้วย มิเช่นนั้น หากเขาเนียตว่าจะถือศิลอดมุสตะฮับ การถือศิลอดนั้นจะไม่นับว่าชดเชยการถือศิลอดเดือนรอมฏอนแต่อย่างใด ซึ่งจริงๆแล้ว หากผู้ใดที่ยังมีหน้าที่ต้องถือศิลอดวาญิบชดเชย ย่อมไม่สามารถถือศิลอดมุสตะฮับ(สุหนัต)ได้ กรณีนี้ต่างจากการนมาซ เนื่องจากเราสามารถที่จะทำการนมาซมุสตะฮับได้ทั้งที่ยังมีภาระที่จะต้องกอฏอนมาซที่เคยขาด
  • อัลลอฮฺ ทรงพึงพอพระทัยผู้ใด? บุคคลใดที่พระองค์ทรงพึงพอพระทัย, ผู้นั้นจะได้เป็นเจ้าของสรวงสวรรค์แห่งความโปรดปรานหรือ? ถ้าเป็นเช่นนั้นแล้ว โองการที่ 28 บทอันบิยาอฺที่กล่าวว่า : และพวกเขาจะมิให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ใด, นอกจากผู้ที่พระองค์ทรงพอพระทัย จะไม่ขัดแย้งกันดอกหรือ? อีกนัยหนึ่ง : เจ้าของสรวงสวรรค์แห่งความพึงพอพระทัย จะเข้ากันได้อย่างไรกับชะฟาอะฮฺ?
    9131 การตีความ (ตัฟซีร) 2554/10/22
    อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงพึงพอพระทัยบุคคลที่มีศรัทธาและพึงปฏิบัติคุณงามความดี, เพียงแต่ว่าความศรัทธาและคุณงามความดีนั้นมีทั้งเข้มแข็งมั่นคงและอ่อนแอ อีกทั้งมีระดับชั้นที่แตกต่างกันออกไป, ความพึงพอพระทัยของอัลลอฮฺที่มีต่อพวกเขาจึงแตกต่างกันออกไปด้วยสรวงสวรรค์ ก็เช่นเดียวกันถูกแบ่งไปตามระดับชั้นของความศรัทธา คุณภาพ และปริมาณของคุณงามความดีที่ชาวสวรรค์ได้สั่งสม ซึ่งระดับชั้นของสวรรค์ก็มีความแตกต่างกันออกไป ส่วน “สวรรค์ชั้นริฎวาน” คือสวรรค์ชั้นสูงที่สุด เจ้าของสวรรค์ชั้นนี้ได้แก่ บรรดาศาสดาทั้งหลาย, บรรดาตัวแทนและบรรดาหมู่มิตรของอัลลอฮฺ (ซบ.), ตลอดจนบรรดาผู้ใกล้ชิดอัลลอฮฺ ชนกลุ่มนี้ไม่ต้องการชะฟาอะฮฺแต่อย่างใด เนื่องจากพวกเขาคือผู้ให้ชะฟาอะฮฺ และยังเป็นสักขีพยานในวันแห่งการฟื้นคืนชีพอีกต่างหาก. ด้วยเหตุนี้เอง วัตถุประสงค์ของประโยคที่ว่า “มะนิรตะฎอ” (ผู้ที่ได้รับความพึงพอพระทัยจากอัลลอฮฺ) ในโองการอัลกุรอานจึงไม่ใช่บุคคลที่เป็นเจ้าของสวรรค์ชั้นริฏวาน เพื่อว่าระหว่างตำแหน่งชั้นของพวกเขากับโองการจะได้ไม่ขัดแย้งกันอัลกุรอาน โองการดังกล่าวอยู่ในฐานะของการขจัดความสงสัยและความเข้าใจผิด ของบรรดาผู้ปฏิเสธที่วางอยู่บนความเข้าใจที่ว่า มลาอิกะฮฺจะให้ชะฟาอะฮฺแก่พวกเขา, เนื่องจากมลาอิกะฮฺคือเจ้าหน้าที่ของอัลลอฮฺ ซึ่งพวกเขาจะไม่ปฏิบัติสิ่งใดที่ขัดแย้งต่อบัญชาของพระองค์, พวกเขาจะให้ชะฟาอะฮฺแก่บุคคลผู้ซึ่ง ...
  • อัลกุรอานที่อยู่ในมือของเรา ณ ปัจจุบันนี้ ได้ถูกรวบรวมตั้งแต่เมื่อใด?
    8308 วิทยาการกุรอาน 2553/10/21
    คำถามนี้ไม่มีคำตอบแบบสั้น โปรดเลือกปุ่มคำตอบที่สมบูรณ์ ...
  • เหตุใดในโองการที่สอง ซูเราะฮ์มุฮัมมัด وَ الَّذِینَ ءَامَنُواْ وَ عَمِلُواْ الصَّالِحَاتِ وَ ءَامَنُواْ بِمَا نُزِّلَ عَلىَ‏ محُمَّدٍ وَ...‏ มีการเอ่ยนามของท่านนบี ขณะที่โองการอื่นๆไม่มี?
    8458 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/18
    เหตุผลที่มีการเอ่ยนามอันจำเริญของท่านนบี(ซ.ล.)ไว้ในโองการที่กล่าวมาก็เพื่อแสดงถึงความสำคัญของประโยคนี้ในโองการทั้งนี้อัลลอฮ์ทรงประสงค์จะเทิดเกียรติท่านนบี(ซ.ล.)ด้วยการเอ่ยนามท่านนักอรรถาธิบายกุรอานบางคนเชื่อว่าอีหม่านในท่อนที่สองเป็นการเจาะจงเพราะท่อนที่สองเน้นย้ำถึงคำสอนของท่านนบี(ซ.ล.) กล่าวคือความศรัทธาต่ออัลลอฮ์จะไม่มีวันครบถ้วนสมบูรณ์ได้เว้นแต่จะต้องศรัทธาต่อคำสอนที่วิวรณ์แก่ท่านนบี(ซ.ล.)ด้วยบางคนเชื่อว่าการเอ่ยนามท่านนบี(ซ.ล.)มีจุดประสงค์เพื่อมิให้ชาวคัมภีร์อ้างได้ว่าเราศรัทธาเพียงอัลลอฮ์และบรรดาศาสดาตลอดจนคัมภีร์ของพวกเราเท่านั้น ...
  • บางครั้งอัลกุรอานได้กล่าวแก่ท่านศาสดาของพระองค์ว่า เจ้ามิใช่ผู้รับผิดชอบอีมานของประชาชน และประเด็นเหล่านี้ขัดแย้งกับการญิฮาดอิบติดาอียฺ หรือไม่ ?
    6212 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/04/21
    ทัศนะของอัลกุรอานเกี่ยวกับการญิฮาดมี 2 ลักษณะกล่าวคือญิฮาดอิบติดาอียฺหรือญิฮาดดะฟาอ์ทั้งสองมีวัตถุประสงค์คือฟื้นฟูสิทธิความเป็นมนุษย์และสิทธิของเตาฮีดซึ่งถือได้ว่าเป็นสิทธิของมนุษย์ที่มีความสำคัญยิ่งเตาฮีดจัดว่าเป็นขบวนการธรรมชาติที่สุดซึ่งอิสลามได้กำหนดญิฮาดขึ้นมาก็เพื่อปกป้องสิทธิเหล่านี้ดังนั้นการญิฮาดในอิสลามจึงได้รับอนุญาตทำนองเดียวกันการกำชับความดีและห้ามปรามความชั่วก็อยู่ในทิศทางเดียวกันด้วยเหตุนี้
  • จะต้องงดเว้นบาปนานเท่าใดจึงจะหลาบจำไม่ทำบาปอีก?
    5628 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/08/09
    เราไม่พบโองการหรือฮะดีษใดเกี่ยวกับเรื่องนี้โดยตรงมีเพียงฮะดีษที่กล่าวว่า “ผู้ใดที่กระทำทุกอย่างด้วยความบริสุทธิใจต่ออัลลอฮ์ถึงสี่สิบวันอัลลอฮ์จะดลบันดาลให้วิทยปัญญาใหลรินจากหัวใจและปลายลิ้นของเขา”อย่างไรก็ดีควรคำนึงถึงสาระสำคัญต่อไปนี้1. ตราบเท่าที่มนุษย์ยังมีชีวิตอยู่ภัยคุกคามจากชัยฏอนก็ยังมีอยู่เสมอจึงไม่ควรจะคิดว่ามีภูมิคุ้มกันที่จะทำให้รอดพ้นการทำบาปได้ตลอดไป2. อย่าปล่อยให้ตนเองสิ้นหวังจากความเมตตาของอัลลอฮ์คนเราแม้จะทำบาปมากเท่าใดแต่ประตูแห่งการเตาบะฮ์ยังเปิดกว้างเสมอจึงต้องมีหวังในพระเมตตาของพระองค์ตลอดเวลา ...
  • ฮะดีษนี้น่าเชื่อถือหรือไม่? : "เราได้บันดาลให้อลี(อ.)ลูกเขยของเจ้า(นบี)ได้รับการบันทึกไว้ในซูเราะฮ์อินชิร้อห์"
    7042 การตีความ (ตัฟซีร) 2554/11/09
    เราไม่พบฮะดีษใดๆที่มีเนื้อหาเช่นนี้อย่างไรก็ดีในตำราตัฟซี้รเชิงฮะดีษมีฮะดีษหลายบทที่อรรถาธิบายโองการفإذا فرغت فأنصب وإلی ربک فارغب ว่า "เมื่อเจ้า(นบี)ปฏิบัติภารกิจศาสนทูตลุล่วงแล้วก็จงแต่งตั้งอลี(อ.)เป็นผู้นำเหนือปวงชน" หรือฮะดีษที่อธิบายโองการแรกของซูเราะฮ์นี้ที่รายงานจากอิมามศอดิก(

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59387 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56840 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41668 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38420 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38415 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33448 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27537 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27233 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27131 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25204 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...