การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
22698
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/06/12
 
รหัสในเว็บไซต์ fa4303 รหัสสำเนา 14512
คำถามอย่างย่อ
“ฟาฏิมะฮ์”แปลว่าอะไร? และเพราะเหตุใดท่านนบีจึงตั้งชื่อนี้ให้บุตรีของท่าน?
คำถาม
ดิฉันมีความรู้ไม่มากเกี่ยวกับชื่อของบางคน อย่างเช่นชื่อ“ฟาฏิมะฮ์”ที่รู้กันทั่วไปว่าเป็นชื่อของบุตรสาวของท่านนบี(ซ.ล.)ดิฉันคิดว่าต้องมีความหมายพิเศษอย่างแน่นอน จึงอยากทราบว่าจริงๆแล้ว“ฟาฏิมะฮ์”แปลว่าอย่างไร และทำไมท่านนบีจึงตั้งชื่อนี้แก่บุตรสาวของท่าน?
คำตอบโดยสังเขป

ไม่จำเป็นที่ชื่อของคนทั่วไปจะต้องสื่อความหมายพิเศษ หรือแสดงถึงบุคลิกภาพของเจ้าของชื่อเสมอไป ขอเพียงไม่สื่อความหมายถึงการตั้งภาคีหรือขัดต่อศีลธรรมอิสลามก็ถือว่าเพียงพอ
แต่กรณีปูชณียบุคคลที่ได้รับการขนานนามจากอัลลอฮ์เช่นท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ ซะฮ์รอ() นามของเธอย่อมมีความหมายสอดคล้องกับคุณลักษณะเฉพาะตัวอย่างแน่นอน
นามฟาฏิมะฮ์มาจากรากศัพท์ฟัฏมุนแปลว่าการแยกตัว ซึ่งเนื้อหาฮะดีษต่างๆอธิบายว่าหมายถึงการที่เธอแยกตนจากมลทินทุกประเภท และอีกความหมายหนึ่งคือ การที่เธอจะเป็นผู้คัดแยกมิตรแท้ให้พ้นจากไฟนรก.

คำตอบเชิงรายละเอียด

เราสามารถชี้แจงคำถามออกเป็นสองประเด็น:
1. 
ชื่อของผู้คน ไม่ว่าจะคนทั่วไปหรือแม้กระทั่งลูกหลานศาสดา จำเป็นต้องมีนัยยะพิเศษและต้องแฝงไว้ซึ่งบุคลิกภาพของคนๆนั้นเสมอไปหรือไม่?
2. เหตุใดท่านศาสดาจึงตั้งชื่อบุตรสาวว่าฟาฏิมะฮ์”? ชื่อนี้สะท้อนถึงข้อเท็จจริงใดหรือไม่?
สำหรับประเด็นแรก มีรายงานจากบรรดาอิมามของเราว่าการตั้งชื่อที่ดีและเหมาะสมแก่บุตรนั้น นับเป็นการประพฤติดีอันดับแรกของผู้ปกครอง[1] เป็นธรรมดาที่ผู้ปกครองจะตั้งชื่อลูกตามใจชอบ แม้ว่าอิสลามจะมีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับเรื่องนี้  ทว่ามิใช่ข้อบังคับทางศาสนาที่จะต้องกระทำตามอย่างเคร่งครัด อิสลามอนุญาตให้ตั้งชื่อบุตรได้ตามต้องการ[2] โดยมีข้อแม้ว่าจะต้องไม่ตั้งชื่อที่ส่อไปในทางตั้งภาคี(ชิริก)หรือขัดแย้งกับศีลธรรมจรรยา. ด้วยเหตุนี้หลังเสร็จสิ้นภารกิจเผยแผ่อิสลาม ท่านนบีจึงมิได้สั่งให้บรรดาสาวกเปลี่ยนชื่อเพื่อให้สอดคล้องกับอิสลามและหลักศรัทธา เราจึงสามารถพบเห็นชื่อที่ไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาศาสนาในหมู่อัครสาวกของท่านนบี อาทิเช่น อัมมาร, มุศอับ, มิกด้าด ฯลฯ
อย่างไรก็ดี มีบางรายงานระบุว่าท่านนบีเคยเปลี่ยนชื่อสาวกในกรณีที่มีความหมายหมิ่นเหม่ต่อการตั้งภาคี หรือมีความหมายอันไม่พึงประสงค์[3]
แม้ว่าผู้ปกครองสามารถตั้งชื่อบุตรหลานตามใจชอบ แต่จะเหมาะสมกว่าหากเราจะตั้งชื่อที่เหมาะสม เพื่อให้เป็นไปตามคำแนะนำของบรรดาอิมาม.
อิมามบากิร()กล่าวว่า:นามที่สัจจริงที่สุดคือนามที่สื่อความหมายถึงการเป็นบ่าวของพระองค์ และในจำนวนนี้ นามของบรรดานบีประเสริฐที่สุด[4]
เนื้อหาที่นำเสนอข้างต้นคือข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการตั้งชื่อ อย่างไรก็ตาม ดังที่ผู้ถามก็พอจะทราบมาบ้างว่า ชื่อบางชื่ออย่างเช่นฟาฏิมะฮ์ย่อมแตกต่างจากชื่ออื่นๆ เนื่องจากเป็นชื่อที่อัลลอฮ์ทรงเลือกและดลใจให้ท่านศาสดาตั้งชื่อนี้แก่บุตรีของท่าน ชื่อนี้จึงสะท้อนถึงบุคลิกภาพของเธอโดยเฉพาะ แต่ก็หาได้หมายความว่าชื่อนี้ผูกขาดเฉพาะบุตรีศาสดาไม่ เนื่องจากผู้อื่นก็สามารถตั้งชื่อนี้ได้เช่นกัน
ชื่อฟาฏิมะฮ์มีรากศัพท์จากคำว่าฟัฏมุนอันหมายถึงการแยกออกจากสิ่งใดสิ่งหนึ่ง.[5]
ต่อคำถามที่ว่าเพราะเหตุใดท่านนบีจึงตั้งชื่อนี้แก่บุตรีของท่าน? มีฮะดีษหลายบทที่อธิบายเหตุผลดังกล่าว ซึ่งแต่ละบทก็อธิบายแตกต่างกันออกไป อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาโดยรวมแล้วไม่พบความขัดแย้งใดๆในแง่เนื้อหา โดยแต่ละบทเสริมให้บทอื่นๆสมบูรณ์ยิ่งขึ้น อาทิเช่นฮะดีษต่อไปนี้:
. ยูนุส บิน ซ็อบยาน รายงานว่า อิมามศอดิก()ถามฉันว่า: ท่านสามารถตีความคำว่าฟาฏิมะฮ์ได้หรือไม่? ฉันตอบว่าโอ้นายท่าน ขอท่านอธิบายมาเถิด ท่านกล่าวว่า: ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์()ถูกจำแนกออกจากความด่างพร้อยทั้งปวง(فطمت من الشر) และมาตรว่าท่านอิมามอลี()มิได้สมรสกับนาง จะไม่มีชายใดนับตั้งแต่การสร้างมนุษย์จนถึงปัจจุบันคู่ควรกับนางอีกเลย.[6]
อิมามริฎอ()รายงานจากท่านนบีผ่านทางบรรพบุรุษของท่านว่า ท่านนบีเคยกล่าวว่า: ฉันตั้งชื่อบุตรสาวของฉันว่าฟาฏิมะฮ์ เพราะอัลลอฮ์จะทรงคัดแยกเธอและกัลญาณมิตรของเธอให้พ้นจากไฟนรก[7]
อิมามบากิร()เล่าจากบรรพบุรุษว่า: เมื่อครั้งที่ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์()ถือกำเนิด อัลลอฮ์ได้มอบหมายให้มะลาอิกะฮ์ดลใจท่านนบีให้เอ่ยนามนี้เพื่อให้เป็นชื่อของเธอ, แล้วพระองค์ก็ตรัสถึงเธอว่าข้าได้ฟูมฟักเจ้าด้วยวิทยปัญญา และคัดแยกเจ้าออกจากความด่างพร้อยทั้งปวง...”[8]
ท้ายนี้ขอย้ำอีกครั้งว่าบุตรีของท่านศาสดา(..)สมควรแล้วที่จะได้รับชื่อที่เหมาะสม เนื่องจากมีฮะดีษยืนยันทั้งในสายชีอะฮ์และซุนนะฮ์ว่าเธอเปรียบดั่งเรือนร่างของศาสดา และหากผู้ใดรังแกเธอก็เสมือนว่ารังแกท่านนบีโดยตรง[9] ชื่อของเธอจึงเป็นสื่อสะท้อนถึงบุคลิกภาพอันสูงส่งให้เป็นที่ประจักษ์แก่มวลมนุษย์  และด้วยเหตุผลเหล่านี้ เราจึงเชื่อว่าอัลลอฮ์ทรงเลือกสรรชื่อที่เหมาะสมกับเธอเป็นที่สุด.


[1] มุฮัมมัด ฮุร อามิลีย์, วะซาอิลุชชีอะฮ์, เล่ม 21, หน้า 388-389, ฮะดีษที่ 27374 ,สำนักพิมพ์อาลุลบัยต์, กุม, ..1409

[2] อ้างแล้ว.

[3] อ้างแล้ว, หน้า 390, ฮะดีษที่ 27379.

[4] อ้างแล้ว, หน้า 391, ฮะดีษที่ 27381.

[5] อิบนุ มันซูร, ลิซานุ้ล อรับ, เล่ม 12, หน้า 454.

[6] มุฮัมมัด บากิร มัจลิซี, บิฮารุลอันวาร, เล่ม 43, หน้า 10 ,หมวด 2, ฮะดีษ 1, สำนักพิมพ์ อัลวะฟา, เบรุต, ..1404

[7] อ้างแล้ว, หน้า 12, ฮะดีษ 4.

[8] อ้างแล้ว, หน้า 13, ฮะดีษ 9.

[9] เศาะฮี้ห์ บุคอรี, เล่ม 4, หน้า 219, ดารุลฟิกร์, เบรุต, ..1401

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59367 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56820 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41644 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38394 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38388 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33427 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27522 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27214 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27111 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25181 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...