การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
6430
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2553/12/22
 
รหัสในเว็บไซต์ fa2973 รหัสสำเนา 11561
คำถามอย่างย่อ
ความสัมพันธ์ระหว่างพระประสงค์ของพระเจ้ากับความต้องการของมนุษย์เป็นอย่างไร
คำถาม
ความสัมพันธ์ระหว่างพระประสงค์ของพระเจ้ากับความต้องการของมนุษย์เป็นอย่างไร
คำตอบโดยสังเขป

มนุษย์คือ การมีอยู่อยู่ประเภทที่เป็นไปได้ หมายถึงแก่นแท้แห่งการมีอยู่ของมนุษย์นั้นมาจากพระเจ้า พระเจ้าทรงรังสรรค์มนุษย์ขึ้นมาด้วยเจตนารมณ์เสรี และพระประสงค์ของพระองค์ และด้วยความพิเศษนี้เอง พระองค์ได้ทำให้เขามีความสูงส่งกว่าสิ่งมีชีวิตอื่น 

ด้วยเหตุนี้ มนุษย์คือสรรพสิ่งมีอยู่ที่ดีที่สุดพระองค์ทรงวางกฎหมายและมอบให้มนุษย์เป็นผู้ที่พระองค์กล่าวถึง อีกทั้งทรงอนุญาตให้มนุษย์สามารถตัดสินใจได้เองว่าจะเชื่อฟังปฏิบัติตามหรือจะปฏิเสธ อนุญาตให้มนุษย์เลือกและจัดการกับชะตากรรมของพวกเขาเอง

และนี่คือมนุษย์เขาสามารถเลือกในสิ่งดีงาม เพื่อเชื่อฟังปฏิบัติตามพระบัญชาชองพระเจ้า ผู้ทรงอำนาจสูงส่งยิ่ง และในขั้นตอนของความสูงส่ง มนุษย์สามารถเลือกปฏิบัติให้ตรงกับประสงค์ของตน หรือตรงกับกฎเกณฑ์ที่พระองค์ทรงวางเอไว้ ประยุกต์ความพึงพอใจของตนให้เข้ากับประสงค์อันเป็นตักวีนีย์ของพระเจ้า เพื่อพัฒนาไปสู่ตำแหน่งแห่งการเป็นเคาะลิฟะฮฺของพระเจ้า จนกระทั่งได้เข้าสู่สรวงสวรรค์ และในที่นั่นไม่ว่าเขาจะปรารถนาสิ่งใดอัลลอฮฺ (ซบ.) จักทรงตระเตรียมให้เขาทั้งสิ้น และเนื่องจากเขาได้เลือกความพึงพอพระทัยของพระเจ้า พระองค์จึงทรงพึ่งพอพระทัยในตัวเขา และทรงตอบแทนเขาทุกสิ่งในสวรรค์ เนื่องจากทรงปราบปลื้มและยินดีในตัวเขา ทำนองเดียวกันมนุษย์สามารถเลือกการละเมิด และการปฏิเสธ หรือดื้อดึงอวดดีไม่ปฏิบัติตามพระบัญชาของพระองค์ ฝ่าฝืนคำสั่งของพระองค์ตลอดไปจนกระทั่งจมดิ่งลงสู่ก้นบึ้งของนรก ซึ่งประเด็นนี้สามารถกล่าวได้ว่าประสงค์ของตนกับประสงค์ของพระเจ้าไม่เข้ากัน แต่ไม่สามารถกล่าวได้ว่าการฝ่าฝืนของตนอยู่เหนือพระประสงค์ของพระเจ้า เนื่องจากพระเจ้าทรงเสนอแนวทางแก่เขาแล้ว แต่เขาได้เลือกทางของเขาเอง

ดังนั้น พระประสงค์ของพระเจ้าครองคลุมอยู่เหนือโลกและจักรวาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งมนุษย์และการกระทำของเขาล้วนอยู่ภายใต้การควบคลุมของพระเจ้าทั้งสิ้น และเมื่อรวมกับประสงค์ของมนุษย์ที่อยู่ในแนวตั้ง ซึ่งในตรงนี้ไม่ได้หมายความว่าเป็นการรวมกันของสองเหคุผลอิสระ (สองปัจจัยสมบูรณ์อยู่ร่วมกันในแนวนอน) ที่อยู่เหนือผลอันเดียวกันซึ่งเป็นไปไม่ได้ ทว่าบนพื้นฐานของเตาฮีดอัฟอาล (ความเป็นเอกเทศในการกระทำ) จะเห็นว่ามีผู้กระทำอิสระบนโลกนี้เพียงคนเดียวเท่านั้น นั่นคือพระเจ้า ซึ่งสรรพสิ่งอื่นที่มี ในการมีอยู่และการกระทำของสิ่งเหล่านั้น ล้วนขึ้นอยู่กับพระเจ้าทั้งสิ้น การกระทำของสิ่งนั้น เช่น ความประสงค์ของพวกเขาไม่อาจเป็นเอกเทศได้ เนื่องจากสิ่งนั้นได้แยกตัวมาจากพระประสงค์ของพระเจ้า

ดังนั้น เราไม่อาจยอมรับเรื่องการบีบบังคับได้ เฉกเช่นที่อะชาอิเราะฮฺเชื่อว่า เฉพาะพระประสงค์ของพระเจ้าเท่านั้นที่ครอบคลุมและมีสิทธิ์เหนือทุกสิ่ง ซึ่งสรรพสิ่งอื่นไม่มีสิทธิใดๆ ทั้งสิ้น ทุกสิ่งเป็นไปตามพระประสงค์ของพระองค์

ขณะเดียวกันเราก็ไม่อาจยอมรับได้ในความมีอิสระสมบูรณ์ ตามแนวความเชื่อของฝ่ายมุอ์ตะซิละฮฺ ที่เชื่อว่าพระประสงค์ของพระเจ้าไม่มีอิทธิพลอันต่อมนุษย์ มนุษย์มีอิสระในการเลือกสรรการกระทำของตนเอง ไม่เกี่ยวข้องอันใดกับพระเจ้า ทว่าตามแนวทางของอะฮฺลุลบัยต์ (.) นั้นจะเห็นว่ามนุษย์นั้นคือผู้เลือกสรร ผู้บริหาร และมีหน้าที่รับผิดชอบต่อสิ่งที่ตนได้กระทำ ขณะเดียวกันการกระทำและการเลือกสรรของมนุษย์นั้นอยู่ภายใต้อำนาจ และประสงค์ของพระเจ้า และยังต้องพึ่งพิงอำนาจและพระประสงค์ของพระองค์

คำตอบเชิงรายละเอียด

ความต้องการของมนุษย์อยู่ภายใต้ความต้องการและพระประสงค์ของพระเจ้าในลักษณะที่ว่า ความต้องการของมนุษย์ขึ้นอยู่กับความต้องการของพระเจ้า ไม่อาจเป็นเอกเทศหรือปราศจากความต้องการไปยังพระเจ้าได้ ดังที่อัลกุรอานหลายโองการได้กล่าวถึงประเด็นนี้เอาไว้ เช่น กล่าวว่าและพวกเจ้าจะไม่สมประสงค์ เว้นเสียแต่ว่าอัลลอฮฺพระผู้อภิบาลแห่งสากลโลกจะทรงประสงค์[1]

ทว่าประเด็นนี้ ไม่มีความขัดแย้งกันกับการเลือกสรรและเจตนารมณ์เสรีของมนุษย์ หรือหน้าที่ความรับผิดชอบของมนุษย์ เจตคติและงานที่เขาได้กระทำ เนื่องจากมนุษย์คือผู้กระทำโดยตรงและเป็นผู้ตั้งเจตคติในการกระทำของตน ทว่าเพียงแต่ได้ใช้พละกำลังที่พระเจ้าทรงประทานให้มา และการอนุญาตในการเลือกสรรของตน ด้วยเหตุนี้ อัลกุรอานหลายโองการจึงได้กล่าวว่า เจตคติและการกระทำนั้นเกี่ยวข้องกับผู้กระทำ (มนุษย์) และมนุษย์มีหน้าที่รับผิดชอบการกระทำของตนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งในที่สุดแล้วพระองค์ทรงกำหนดหน้าที่และทรงสัญญาไว้กับเขา เช่น กล่าวว่าและมนุษย์จะไม่ได้อะไรเลย นอกจากสิ่งที่เขาได้ขวนขวายเอาไว้[2] หรืออีกโองการหนึ่งกล่าวว่าผู้ใดกระทำความดีก็จะได้แก่ตัวของเขา และผู้ใดกระทำ

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59392 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56844 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41675 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38426 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38419 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33450 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27540 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27236 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27133 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25210 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...