การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
6515
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2555/05/17
คำถามอย่างย่อ
จุดประสงค์ของโองการที่ 85-87 บทอัลฮิจญฺร์ คืออะไร?
คำถาม
จุดประสงค์ของโองการที่กล่าวว่า «وَ ما خَلَقْنَا السَّماواتِ وَ الْأَرْضَ وَ ما بَيْنَهُما إِلاَّ بِالْحَقِّ وَ إِنَّ السَّاعَةَ لَآتِيَةٌ فَاصْفَحِ الصَّفْحَ الْجَميلَ، إِنَّ رَبَّكَ هُوَ الْخَلاَّقُ الْعَليمُ، وَ لَقَدْ آتَيْناكَ سَبْعاً مِنَ الْمَثانی‏ وَ الْقُرْآنَ الْعَظيمَ» บทอัลฮิจญฺร์หมายถึงอะไร?
คำตอบโดยสังเขป

อัลลอฮฺ (ซบ.) กล่าวในโองการโดยบ่งชี้ให้เห็นถึง, ความจริงและการมีเป้าหมายในการชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดินของพระองค์ ทรงแนะนำแก่ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ว่า จงแสดงความรักและความห่วงใยต่อบรรดาผู้ดื้อรั้น, พวกโง่เขลาทั้งหลาย, บรรดาพวกมีอคติ, พวกบิดพลิ้วที่ชอบวางแผนร้าย, พวกตั้งตนเป็นปรปักษ์ด้วยความรุนแรง, และพวกไม่รู้, จงอภัยแก่พวกเขา และจงแสดงความหวังดีต่อพวกเขา

ในตอนท้ายของโองการ อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปลอบใจท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) และให้กำลังใจท่าน ว่าไม่ต้องเป็นกังวลหรือเป็นห่วงในเรื่องความรุนแรงจากฝ่ายศัตรู ผู้คนจำนวนมากกว่า สิ่งอำนวยความสะดวกที่ดีกว่า และทรัพย์สินจำนวนมากมายที่อยู่ในครอบครองของพวกเขา, เนื่องจากอัลลอฮฺ ทรงมอบความรัก ความเมตตา และเหตุผลในการเป็นศาสดาแก่ท่าน ซึ่งไม่มีสิ่งใดบนโลกนี้จะดีและเสมอภาคกับสิ่งนั้นโดยเด็ดขาด

คำตอบเชิงรายละเอียด

อัลลอฮฺ (ซบ.) ตรัสในโองการว่า : »และเราไม่ได้สร้างชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดิน และสิ่งที่อยู่ระหว่างทั้งสองเพื่ออื่นใด เว้นแต่เป็นความจริง และแท้จริงวันฟื้นคืนชีพ [กิยามะฮฺ]  จะมีมาอย่างแน่นอน  (ทุกคนจะได้รับรางวัลหรือการลงโทษ)   ดังนั้น เจ้าจงอภัยด้วยการอภัยที่ดี (แล้วจงอย่าประณามความไม่รู้ของพวกเขา) แท้จริงพระผู้อภิบาลของเจ้า เป็นพระผู้ทรงสร้าง พระผู้ทรงรอบรู้ และโดยแน่นอน เราได้ประทานแก่เจ้าเจ็ดอายาต (บทฟาติฮะฮฺ) ที่ถูกอ่านทวนซ้ำ และอัลกุรอานที่ยิ่งใหญ่«[1]

จุดประสงค์คำว่า »ฮัก« ในโองการที่กล่าวว่า «وَ ما خَلَقْنَا السَّماواتِ وَ الْأَرْضَ وَ ما بَيْنَهُما إِلَّا بِالْحَق»، คือความหมายที่ตรงกันข้ามกับคำว่า บาฏิล หรือเท็จไม่เป็นความจริง, ด้วยคำอธิบายดังกล่าวจะเห็นว่าชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดินถูกสร้างขึ้นมาโดยมิได้แยกไปจากความจริง, ทว่าทั้งหมดเหล่านั้นคือความสำคัญของความจริง ภายหลังจากการสร้างสุดท้าย ซึ่งในไม่ช้านี้ทั้งหมดจะกลับไปสู่วาระสุดท้ายนั้น, เนื่องจากถ้าหากไม่มีบั้นปลายหรือการสิ้นสุดในการสร้างแล้วละก็, ทุกสิ่งก็จะกลายเป็นเท็จและไร้สาระ[2] ฉะนั้น โองการจึงได้กล่าวต่อไปอีกว่า : «وَ إِنَّ السَّاعَةَ لَآتِيَةٌ» แท้จริงวันฟื้นคืนชีพจะมีมาอย่างแน่นอน เป็นเหตุผลที่บ่งบอกอย่างชัดเจนถึงข้ออ้าง, เนื่องจากเป็นการอธิบายให้เห็นว่าการสร้างนี้มีเป้าหมายอย่างแน่นอน[3] อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงมีคำสั่งแก่ศาสนทูตของพระองค์ว่า จงแสดงความรักความห่วงใยต่อบรรดาผู้ดื้อรั้น, พวกโง่เขลาทั้งหลาย, บรรดาพวกมีอคติ, พวกบิดพลิ้วที่ชอบวางแผนร้าย, พวกตั้งตนเป็นปรปักษ์ด้วยความรุนแรง, และพวกไม่รู้, จงอภัยแก่พวกเขา และจงแสดงความหวังดีต่อพวกเขา : และจงอภัยในความผิดบาปของเขา, ด้วยการอภัยที่ดี ดังกล่าวว่า:[4] «فَاصْفَحِ الصَّفْحَ الْجَمِيلَ» เนื่องจากท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) นั้นทราบดีถึงเหตุผลอันชัดแจ้งในบทบาทของ ผู้ที่หน้าที่เชิญชวนและประกาศสาส์น, และเพื่อการสร้างความมั่นคงให้เกิดขึ้นกับรากฐานความเชื่อในเรื่อง พระผู้ทรงสร้าง และวันฟื้นคืนชีพให้เกิดในหัวใจของประชาชน, ไม่จำเป็นต้องอาศัยความรุนแรงแต่อย่างใด, เนื่องจากเหตุผลและวิทยปัญญานั้นอยู่กับนบีอยู่แล้ว, นอกจากนั้นความรุนแรงต่อบรรดาพวกที่ไม่รู้ ไม่เข้าใจจะเป็นสาเหตุก่อให้เกิดความรุนแรงและความอคติมากยิ่งขึ้นเป็นทวีคูณ[5]

คำว่า “อัซซอฟฮะ” ตามหลักแล้วหมายถึง ด้าน หรือการวางทับบนสิ่งหนึ่ง[6] เหมือนกับด้านข้างของใบหน้า ด้วยเหตุนี้ คำว่า “ฟะอัซฟะฮฺ” จึงหมายถึง “การไม่ใส่ใจหรือการอภัย” และเนื่องจากการปล่อยวางและไม่ใส่ใจจากบางสิ่ง บางครั้งก็เกิดจากการไม่สนใจต่อสิ่งนั้น หรือการโกรธเคือง หรือสิ่งที่คล้ายคลึงกัน, บางครั้งก็เกิดจากการอภัยและอโหสิกรรมให้, ด้วยเหตุนี้ อัลกุรอาน โองการข้างต้นจึงได้กล่าวโดยฉับพลันในคำพูดต่อมาว่า “ญะมีล” (สายงาม) เป็นการอธิบายให้เห็นว่าความหมายที่สอง (อภัย) นั้นเหมาะสมกว่า[7]

รายงานฮะดีซ จากท่านอิมามริฎอ (อ.) กล่าวอธิบายถึงการตัฟซีรโองการข้างต้นว่า : »จุดประสงค์, หมายถึงการอภัยโดยไม่มีการถือโทษ หรือการลงทัณฑ์ หรือการประณามใดๆ ทั้งสิ้น«[8]

ประโยคที่กล่าวว่า «فَاصْفَحِ الصَّفْحَ الْجَمِيلَ» จงอภัยด้วยการอภัยที่ดี นี้ เป็นการแยกให้ห่างไปจากเรื่องก่อนหน้านี้ ซึ่งโดย ปกติ ฟาอ์ ตัฟรีอ์ จะให้ความหมายในลักษณะดังกล่าวอยู่แล้ว : ขณะที่การสร้างโลกถูกสร้างขึ้นมาโดยสัจจริง ซึ่งจะมีวันหนึ่งที่พวกเขาถูกสอบสวนในวันนั้น, ดังนั้น ไม่จำเป็นต้องเป็นกังวลต่อการมุสา การเย้ยหยัน และการดูถูกของพวกเขาอีกต่อไป จงอภัยให้พวกเขาเถิด[9]

ส่วนประโยคที่กล่าวว่า «إِنَّ رَبَّكَ هُوَ الْخَلَّاقُ الْعَلِيمُ»، แท้จริงพระผู้อภิบาลของเจ้า เป็นพระผู้ทรงสร้าง ซึ่งตามความเป็นจริงอยู่ในฐานะของเหตุผลที่ยืนยันถึงความจำเป็นในการอภัย การอโหสิกรรม และปล่อยวางโดยดี[10] และบุคคลที่มีคำสั่งให้ยกโทษให้คือ, อัลลอฮฺ ซึ่งพระองค์ทรงเป็นพระเจ้าซึ่งบริบาล สร้างสรรค์ และทรงรอบรู้ยิ่ง พระองค์ทรงรู้ดีว่าการอภัยนั้นมีผลต่อจิตวิญญาณ ต่อบุคคล สร้างแรงดึงดูดใจ และความก้าวหน้าต่อสังคมมากน้อยเพียงใด, ฉะนั้น คำสั่งที่ให้เจ้าอภัยจึงมิใช่ภารกิจหนักหนาแต่อย่างใดทั้งสิ้น[11]

ในตอนท้ายของโองการ อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปลอบใจท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) และให้กำลังใจท่าน ว่าไม่ต้องเป็นกังวลหรือเป็นห่วงในเรื่องความรุนแรงจากฝ่ายศัตรู ผู้คนจำนวนมากกว่า สิ่งอำนวยความสะดวกที่ดีกว่า และทรัพย์สินจำนวนมากมายที่อยู่ในครอบครองของพวกเขา, เนื่องจากอัลลอฮฺ ทรงมอบความรัก ความเมตตา และเหตุผลในการเป็นศาสดาแก่ท่าน ซึ่งไม่มีสิ่งใดบนโลกนี้จะดีและเสมอภาคกับสิ่งนั้นโดยเด็ดขาด[12] เนื่องจากเราได้ให้ ซูเราะฮฺฟาติฮะฮฺและอัลกุรอานอันยิ่งใหญ่แก่เจ้า ตรัสว่า  «وَ لَقَدْ ءَاتَيْنَاكَ سَبْعًا مِّنَ الْمَثَانىِ وَ الْقُرْءَانَ الْعَظِيمَ»

จุดประสงค์ของ เจ็ดโองการหมายถึงอะไร, โปรดศึกษาได้จากหัวข้อ “ปรัชญาการตั้งชื่อบทฟาติฮะฮฺว่า ซับบะอะ มะษานียฺ” คำถามที่ 1910 (ไซต์ : 3298)

 


[1] อัลกุรอาน บทอัลฮิจญฺร์ โองการ 85-87 กล่าวว่า :

: «وَ ما خَلَقْنَا السَّماواتِ وَ الْأَرْضَ وَ ما بَيْنَهُما إِلاَّ بِالْحَقِّ وَ إِنَّ السَّاعَةَ لَآتِيَةٌ فَاصْفَحِ الصَّفْحَ الْجَميلَ، إِنَّ رَبَّكَ هُوَ الْخَلاَّقُ الْعَليمُ، وَ لَقَدْ آتَيْناكَ سَبْعاً مِنَ الْمَثانی‏ وَ الْقُرْآنَ الْعَظيمَ»

[2] เฏาะบาเฏาะบาอียฺ, ซัยยิดมุฮัมมัด ฮุซัยนฺ, อัลมีซานฟี ตัฟซีรอัลกุรอาน, เล่ม 12, หน้า 188, ตัฟตัรอินเตชารอต อิสลามี, กุม, พิมพ์ครั้งที่ 5, ปี1417

[3] อ้างแล้วเล่มเดิม

[4] มะการิมชีรอซียฺ, นาซิร,ตัฟซีรเนมูเนะฮฺ, เล่ม 11, หน้า 127, ดารุลกุตุบ อัลอิสลามียะฮฺ, เตหะราน, พิมพ์ครั้งแรก, ปี 1374.

[5] อ้างแล้วเล่มเดิม

[6] วัตถุประสงค์ดังกล่าว, มุฮัมมัด บินมุกัรร็อม, ลิซานุลอาหรับ, เล่ม 2, หน้า 512, คำว่า (อัซซอฟฮะ) ดารุซอเดร, พิมพ์ครั้งที่ 3, เบรูต, ปี 1414, รอฆิบเอซฟาฮานียฺ, ฮุซัยนี บิน มุฮัมมัด, อัลมุฟรอดาต ฟี เฆาะรีบิลกุรอาน, ค้นคว้าโดย, ซอฟวาน อัดนาน ดาวูดี, หน้า 486, ดารุลอิลม์ อัดดารุชชามียะฮฺ, พิมพ์ครั้งแรก ดะมิชก์, เบรูต, ปี 1412, กุเรชีย์, ซัยยิด อะลี อักบัร, กอมูซ กุรอาน, เล่ม 4, หน้า 131, ดารุลกุตุบ อัลอิสลามียะฮฺ, เตหะราน, พิมพ์ครั้งที่ 6, ปี 1371.

[7] ตัฟซีรเนมูเนะฮฺ, เล่ม 11, หน้า 127, 128.

[8] เชคซะดูก, อุยูนนุลอัคบาร อัรริฎอ (อ.), ค้นคว้าโดย ลาญะวาดดียฺ, มุฮฺดียฺ, เล่ม 1, หน้า 294, พิมพ์ที่ฌะฮอน, เตหะราน, พิมพ์ครั้งแรก, ปี 1378,อะรูซีย์ ญะวีซียฺ, อับดุล อะลี บิน ญุมอะฮฺ, ตัฟซีรนูรุซซะเกาะลัยนฺ, ค้นคว้าโดย, เราะซูลลียฺ มะฮัลลาตตีย์, ซัยยิดฮาชิม, เล่ม 3, หน้า 27, สำนักพิมพ์ อิสมาอีลลียาน, พิมพ์ครั้งที่ 4, กุม, ปี 1415.

[9] อัลมีซาน ฟี ตัฟซีรอัลกุรอาน, เล่ม 12, หน้า 190.

[10] ตัฟซีรเนมูเนะฮฺ, เล่ม 11, หน้า 128.

[11] กะรออะตียฺ, มุฮฺซิน, ตัฟซีรนูร, เล่ม 6, หน้า 352, สำนักพิมพ์ ฟัรฮังกี บทเรียนจากอัลกุรอาน, เตหะราน พิมพ์ครั้งที่ 11, ปี 1383.

[12] ตัฟซีรเนมูเนะฮฺ, เล่ม 11, หน้า 129.

 

ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • ความสำคัญและความพิเศษ และคำวิจารณ์หนังสือบิฮารุลอันวาร?
    7031 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2554/12/21
    กลุ่มฮะดีซจากหนังสือบิฮารุลอันวาร,ถือได้ว่าเป็นผลงานที่สำคัญที่สุดของอัลลามะฮฺมัจญิลิซซียฺ, หรืออาจกล่าวได้ว่าหนังสือเล่มนี้เป็นดาอิเราะตุลมะอาริฟฉบับใหญ่ของชีอะฮฺซึ่งได้รวบรวมเอาปัญหาศาสนาเกือบทั้งหมด,เช่นตัฟซีรกุรอาน, ประวัติศาสตร์, ฟิกฮฺ, เทววิทยา, และปัญหาอื่นๆอีกบางส่วนที่สำคัญที่สุดและเป็นความพิเศษของหนังสือบิฮารุลอันวารคือ:เริ่มต้นบทใหม่ทุกบทจะกล่าวถึงโองการอัลกุรอาน
  • คำจำกัดความของท่านเกี่ยวกับวิทยาการ สติปัญญา และศาสนาเป็นอย่างไร ระหว่างทั้งสามมีความแตกต่างกันอย่างไร และประเด็นนี้มีความถูกต้องและเป็นไปได้อย่างไร ถูกต้องหรือไม่ที่ว่าแหล่งที่มาของความรู้ทั้งอยู่ในอัลกุรอาน ประเด็นนี้มีความถูกต้องมากน้อยเพียงใด
    7191 เทววิทยาใหม่ 2554/03/08
    คำว่าความรู้นั้นมี 3 ความหมายกับ 2 นิยามกล่าวคือ :บางครั้งคำว่าอิลม์หมายถึงความรู้บางครั้งหมายถึงวิทยาการและบางครั้งก็หมายถึงสิ่งที่ได้ถูกรู้แล้ว
  • เนื่องจากชาวสวรรค์ล้วนอยู่ในวัยหนุ่มสาว เหตุใดท่านอิมามฮะซันและอิมามฮุเซน(อ.)จึงได้เป็นประมุขทั้งที่ยังมีบรรดานบีและบรรดาอิมามท่านอื่นๆอยู่?
    8416 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/12/01
    ท่านอิมามฮะซันและอิมามฮุเซน(อ.) ผู้เป็นหลานรักของท่านนบี(ซ.ล.)นั้นมีสถานะภาพสูงกว่าชาวสวรรค์ทั่วไปอย่างไรก็ดีเนื่องจากชาวสวรรค์ทุกท่านล้วนอยู่ในวัยหนุ่มสาวบารมีดังกล่าวจึงเจาะจงชาวสวรรค์ที่เป็นชะฮีดหรือเสียชีวิตในวัยหนุ่มสาวเป็นพิเศษซึ่งแน่นอนว่าย่อมไม่ขัดกับบารมีของบรรดานบีและบรรดาเอาลิยาอ์ของอัลลอฮ์ท่านอื่นๆอย่างแน่นอนอนึ่งเมื่อพิจารณาเบาะแสต่างๆจะพบว่าฮะดีษดังกล่าวสื่อถึงความเป็นประมุขที่มีต่อชาวสวรรค์ทั่วไปมิได้เป็นประมุขของอิมามท่านอื่นๆหรือบรรดานบี ...
  • ท่านอิมามมะฮฺดียฺ (อ.) จะนำศาสนาใหม่และคัมภีร์ที่นอกเหนือจากอัลกุรอานลงมาหรือไม่?
    5723 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/11/21
    คำถามนี้ไม่มีคำตอบแบบสั้น ปรดเลือกปุ่มคำตอบที่สมบูรณ์ ...
  • เราจะมั่นใจได้อย่างไร สำหรับผู้รู้ที่ตักเตือนแนะนำและกล่าวปราศรัย มีความเหมาะสมสำหรับภารกิจนั้น?
    6867 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/08/22
    ตามคำสอนของอิสลามที่มีต่อสาธารณชนคือ จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับความเข้าในคำสอนศาสนา ตนต้องค้นคว้าและวิจัยด้วยตัวเองเกี่ยวกับบทบัญญัติของศาสนา หรือให้เชื่อฟังปฏิบัติตามอุละมาอฺ และเนื่องจากว่าประชาชนส่วนใหญ่ไม่สามารถกระทำเช่นนั้นได้ทั้งหมด กล่าวตนเข้าศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับคำสอนของศาสนา ด้วยเหตุนี้ จำเป็นอย่างยิ่งที่เขาต้องเข้าหาอุละมาอฺในศาสนา อิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) ได้กำหนดมาตรฐานสำหรับการรู้จักผู้รู้ที่คู่ควรและเหมาะสมเอาไว้ว่า การได้ที่เราจะสามารถพบอุละมาอฺที่ดี บริสุทธิ์ และมีความเหมาะสมคู่ควร สำหรับชีอะฮฺแล้วง่ายนิดเดียว เช่น กล่าวว่า “ผู้ที่เป็นอุละมาอฺคือ ผู้ที่ปกป้องตัวเอง พิทักษ์ศาสนา เป็นปรปักษ์กับอำนาจฝ่ายต่ำของตน และเชื่อฟังปฏิบัติตามบัญชาของอัลลอฮฺ ฉะนั้น เป็นวาญิบสำหรับบุคคลทั่วไปที่จะต้องปฏิบัติตามเขา นอกจาคำกล่าวของอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) แล้วยังมีวิทยปัญญาอันล้ำลึกของผู้ศรัทธา ไม่ว่าเขาจะอยู่ ณ ที่ใดก็ตามเขาจะใช้ประโยชน์จากมัน แม้ว่าจะอยู่ในหมู่ผู้ปฏิเสธศรัทธาก็ตาม ...
  • มีวิธีใดที่จะตักเตือนสามีเกี่ยวกับพฤติกรรมอันไม่พึงประสงค์ได้บ้าง?
    5837 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/05/01
    สิ่งหนึ่งที่สังเกตุเห็นได้ชัดเจนในคำถามก็คือ คุณสองคนยังรักกันตามปกติ อีกทั้งคุณต้องการจะทำหน้าที่ภรรยาอย่างสุดความสามารถ สมควรอย่างยิ่งที่จะคำนึงถึงสองจุดเด่นนี้ให้มากเพื่อจะช่วยผ่อนหนักเป็นเบาในเรื่องอื่นๆ บรรยากาศในครอบครัวควรอบอวลไปด้วยความรักความเข้าใจ มิไช่การยกตนข่มท่าน ด้วยเหตุนี้เอง บางปัญหาที่ว่าหนักเกินแบกรับ ก็สามารถแก้ไขได้อย่างไม่ยากเย็น บางเรื่องที่เรามองว่าเป็นจุดบกพร่องอาจจะมิไช่จุดบกพร่องเสมอไป ฉะนั้นจึงต้องเข้าใจอย่างถ่องแท้ว่าพฤติกรรมใดคือจุดบกพร่อง แล้วจึงคิดที่จะเยียวยารักษา เชื่อว่าหลักการง่ายๆเพื่อตักเตือนสามีก็คือ การเอาใจเขามาใส่ใจเรา ลองคิดว่าถ้าหากมีใครสักคนต้องการจะตักเตือนเรา เราอยากได้ยินคำตักเตือนลักษณะใด ให้ถือว่านั่นคือสิ่งที่ควรถือปฏิบัติ เมื่อคำนึงถึงการที่คุณสองคนเพิ่งจะแต่งงานกันได้ไม่นาน ย่อมจะยังไม่เข้าใจอุปนิสัยของคู่รักอย่างละเอียดละออนัก จึงไม่ควรจะด่วนสรุปจนกว่าจะเข้าใจกันและกันอย่างละเอียด หากทำได้ดังนี้ก็สามารถจะบรรลุเป้าหมายได้โดยต้องไม่สร้างแรงกดดันแก่คู่ครองของคุณ ...
  • ความแตกต่างระหว่างจริยธรรมกับจริยศาสตร์คืออะไร? สิ่งไหนครอบคลุมมากกว่ากัน? และการตีความเกี่ยวกับจริยศาสตร์กับจริยธรรมอันไหนครอบคลุมมากกว่า?
    20754 จริยธรรมทฤษฎี 2555/04/07
    คำว่า “อัคลาก” ในแง่ของภาษาเป็นพหูพจน์ของคำว่า “คุลก์” หมายถึง อารมณ์,ธรรมชาติ, อุปนิสัย, และความเคยชิน,ซึ่งครอบคลุมทั้งอุปนิสัยทั้งดีและไม่ดี นักวิชาการด้านจริยศาสตร์,และนักปรัชญาได้ตีความเกี่ยวกับจริยศาสตร์ไว้มากมาย. ซึ่งในหมู่การตีความทั้งหลายเหล่านั้นของนักวิชาการสามารถนำมารวมกัน และกล่าวสรุปได้ดังนี้ว่า “อัคลาก ก็คือคุณภาพทางจิตวิญญาณของมนุษย์ ซึ่งเป็นการปฏิบัติที่มีความเหมาะสม หรือพฤติกรรมอันเหมาะสมของมนุษย์ที่ปฏิบัติในชีวิตประจำวันตน” สำหรับ ศาสตร์ด้านจริยธรรมนั้น มีการตีความไว้มากมายเช่นกัน ซึ่งในคำอธิบายเหล่านั้นเป็นคำพูดของท่าน มัรฮูม นะรอกียฺ กล่าวไว้ในหนังสือ ญามิอุลสะอาดะฮฺว่า : ความรู้ (อิลม์) แห่งจริยศาสตร์หมายถึง การรู้ถึงคุณลักษณะ (ความเคยชิน) ทักษะ พฤติกรรม และการถูกขยายความแห่งคุณลักษณะเหล่านั้น การปฏิบัติตามคุณลักษณะที่แตกต่างกันในการช่วยเหลือให้รอดพ้น หรือการการปล่อยวางคุณลักษณะที่นำไปสู่ความหายนะ” ส่วนการครอบคลุมระหว่างจริยธรรมกับศาสตร์แห่งจริยธรรมนั้น มีคำกล่าวว่า,ความแตกต่างระหว่างทั้งสองมีอยู่เฉพาะในทฤษฎีเท่านั้นเอง ดังนั้น บนพื้นฐานดังกล่าวนี้ ถ้าหากจะกล่าวว่า สิ่งไหนมีความครอบคลุมมากกว่ากันจึงไม่มีความหมายแต่อย่างใด ...
  • อยากทราบว่ามีหลักเกณฑ์ใดในการกำหนดวัยบาลิกของเด็กสาวและเด็กหนุ่ม?
    14028 สิทธิและกฎหมาย 2555/04/16
    อิสลามได้กำหนดอายุบาลิกไว้เมื่อถึงวัยของการบรรลุนิติภาวะ กล่าวคือเมื่อบุคคลมีคุณลักษณะของการบรรลุนิติภาวะปรากฏขึ้น (ขั้นต่ำของลักษณะเหล่านี้คือการหลั่งอสุจิสำหรับเด็กหนุ่ม และประจำเดือนสำหรับเด็กสาว) ดังนั้น ถือว่าบุคคลดังกล่าวได้ถึงวัยแห่งบาลิกแล้ว แต่ทว่าในศาสนาอิสลาม นอกจากคุณลักษณะเหล่านี้แล้ว ได้กำหนดบรรทัดฐานในด้านของอายุในการบาลิกให้กับเด็กหญิงและเด็กหนุ่มไว้ด้วย ดังนั้น หากเด็กหญิงหรือเด็กหนุ่มยังไม่มีลักษณะโดยธรรมชาติ แต่ถึงอายุที่ศาสนาได้กำหนดไว้สำหรับการบาลิกของเขาแล้ว เขาจะต้องปฏิบัติตามหน้าที่ของตน เฉกเช่นผู้บาลิกคนอื่น ๆ ดังนั้น ไม่ใช่ว่าชาวซุนนีจะถือว่าเด็กสาวถึงวัยบรรลุนิติภาวะตามหลักเกณฑ์ธรรมชาติ แต่ชีอะฮ์นับจาก 9 ปีแต่อย่างใด แต่ทว่าหากเด็กสาวมีรอบเดือนหรือตั้งครรภ์แล้ว ทุกมัซฮับถือว่าเธอบรรลุนิติภาวะแล้ว ถึงแม้ว่าเธอจะยังไม่ถึงวัยที่ฝ่ายอะฮ์ลิสซุนนะฮ์ได้กำหนดไว้สำหรับการบรรลุนิติภาวะก็ตามa ...
  • ใครคือผู้ฝังร่ายอันบริสุทธ์ของอิมามฮุเซน (อ.)
    6984 تاريخ بزرگان 2554/11/29
    บรรดาผู้รู้มีทัศนะเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวแตกต่างกันออกไปแต่ทัศนะที่สอดคล้องกับริวายะฮ์และตำราทางประวัติศาสตร์ก็คือทัศนะที่ว่าอิมามซัยนุลอาบิดีนบุตรชายของท่านอิมามฮุเซน (อ.) เป็นผู้ฝังศพของท่านณแผ่นดินกัรบะลากล่าวคือ  ท่านอิมามซัยนุลอาบิดีน (อ.) ได้ล่องหนจากคุกของอิบนิซิยาดในกูฟะฮ์มายังกัรบาลาโดยใช้พลังเร้นลับเพื่อมาทำการฝังศพท่านอิมามฮุเซน (อ.) ผู้เป็นบิดาของท่านและบรรดาชะฮีดเนื่องจากมีกฎเกณฑ์ที่ว่า“ไม่มีใครสามารถอาบน้ำศพห่อกะฝั่นและฝังอิมามมะอ์ศูมได้นอกจากจะต้องเป็นอิมามมะอ์ศูมเช่นกัน”อิมามริฏอ (อ.) ได้กล่าวขณะถกปัญหากับบุตรของอาบูฮัมซะฮ์ว่า“จงตอบฉันว่าฮุเซนบินอลี (อ.) เป็นอิมามหรือไม่? เขาตอบว่า“แน่นอนอยู่แล้ว” อิมามได้กล่าวว่า“แล้วใครเป็นผู้ฝังศพของท่าน?”เขาได้กล่าวว่า“อลีบินฮุเซน (อ.)” อิมามได้ถามต่อว่า“ในเวลานั้นอลีบินฮุเซน (อ.) อยู่ที่ไหน?” เขาตอบว่า“อยู่ที่กูฟะฮ์และเป็นเชลยที่ถูกบุตรของซิยาดควบคุมตัวอยู่แต่ท่านได้ลอบเดินทางยังกัรบาลาโดยที่ทหารที่เฝ้าเวรยามไม่รู้ตัว  ท่านได้ทำการฝังร่างของบิดาหลังจากนั้นจึงได้กลับมายังคุกเช่นเดิมอิมามริฎอ (อ.) กล่าวว่าผู้ที่มอบอำนาจพิเศษแก่อลีบินฮุเซน (อ.) เพื่อให้สามารถเดินทางไปฝังบิดาของท่านที่กัรบะลาพระองค์ย่อมสามารถช่วยให้ฉันล่องหนไปยังแบกแดดเพื่อห่อกะฝั่นและฝังบิดาได้เช่นกันทั้งๆที่ในขณะนั้นฉันไม่ได้ถูกจองจำและไม่ได้ตกเป็นเชลยของใคร[1]ดังนั้นเมื่อคำนึงถึงเนื้อหาฮะดิษดังกล่าวจึงกล่าวได้ว่าอิมามซัยนุลอาบิดีน (อ.) คือผู้ที่ฝังศพบิดาด้วยตัวของท่านเอง
  • ต้องอ่านดุอาเป็นภาษาอรับจึงจะเห็นผลใช่หรือไม่?
    6405 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/28
    ไม่จำเป็นจะต้องอ่านดุอาตามบทภาษาอรับเพราะแม้ดุอากุนูตในนมาซก็อนุญาตให้กล่าวด้วยภาษาอื่นได้แต่อย่างไรก็ตามเป็นการสมควรอย่างยิ่งที่จะอ่านและพยายามครุ่นคิดในบทดุอาภาษาอรับที่บรรดาอิมามได้สอนไว้ทั้งนี้ก็เนื่องจากเหตุผลที่ว่า:ดังที่กุรอานคือพระวจนะของอัลลอฮ์ที่ใช้สนทนากับมนุษย์ดุอาที่บรรดาอิมาม(อ.)สอนเราไว้ก็คือบทเอื้อนเอ่ยที่มนุษย์วอนขอต่ออัลลอฮ์ดังที่ดุอาได้รับการเปรียบว่าเป็น“กุรอานที่เหิรขึ้นเบื้องบน” นั่นหมายความว่าดุอาเหล่านี้มีเนื้อหาลึกซึ้งแฝงเร้นอยู่ดังเช่นกุรอานและเนื้อหาเหล่านี้จะได้รับการตีแผ่อย่างสมบูรณ์ด้วยภาษาอรับเท่านั้นด้วยเหตุผลดังกล่าวมุสลิมจึงควรเรียนรู้ความหมายของนมาซและดุอาต่างๆเพื่อให้รู้ว่ากำลังเอ่ยขอสิ่งใดจากพระผู้เป็นเจ้าหากทำได้ดังนี้ก็จะส่งผลให้ศาสนกิจของตนอุดมไปด้วยสำนึกทางจิตวิญญาณและจะทำให้สามารถโบยบินสู่ความผาสุกอันนิรันดร์ได้.นอกเหนือปัจจัยดังกล่าวแล้วควรให้ความสำคัญกับปัจจัยอื่นๆด้วยอาทิเช่นเนื้อหาดุอาไม่ควรขัดต่อจารีตที่พระองค์วางไว้ควรศอละวาตแด่นบีและวงศ์วานเสมอผู้ดุอาจะต้องหวังพึ่งพระองค์เท่านั้นมิไช่ผู้อื่นให้บริสุทธิใจและคำนึงถึงความยากไร้ของตนปากกับใจต้องตรงกันยามดุอาเคร่งครัดในข้อบังคับและข้อห้ามทางศาสนากล่าวขอลุแก่โทษต่อพระองค์พยายามย้ำขอดุอามั่นใจและไม่สิ้นหวังในพระองค์.[1][1]มุฮัมมัดตะกีฟัลสะฟี,อธิบายดุอามะการิมุ้ลอัคล้าก,เล่ม1,หน้า ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59368 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56822 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41645 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38397 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38392 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33428 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27522 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27214 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27111 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25181 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...