การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
7242
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/03/08
 
รหัสในเว็บไซต์ fa1799 รหัสสำเนา 12543
คำถามอย่างย่อ
ทำไมอิมามฮุซัยน (อ.) จึงไม่ลุกขึ้นยืนในสมัยของมุอาวิยะฮ ?
คำถาม
ทำไมอิมามฮุซัยน (อ.) จึงไม่ลุกขึ้นยืนในสมัยของมุอาวิยะฮ ?
คำตอบโดยสังเขป

สำหรับคำตอบที่ว่าเพราะเหตุใดท่านอิมามฮุซัยนฺ (.) จึงไม่ลุกขึ้นยืนต่อสู้ในสมัยมุอาวิยะฮฺนั้น สามารถกล่าวได้ว่าอาจเป็นเพราะประเด็นเหล่านี้ :

1. เป็นเพราะการให้เกียรติและเคารพในสนธิสัญญาของพี่ชายและอิมามของท่าน ท่านอิมามฮะซัน มุจญฺตะบา (.) ซึ่งท่านได้ทำสนธิสัญญาฉบับนี้กับมุอาวิยะฮฺ และมุอาวิยะฮฺเองแสร้งให้เกียรติสนธิสัญญาดังกล่าวนั้น

2. มุอาวิยะฮฺหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้าด้วยเลือดกับอิมาม ฮุซัยนฺ (.) เนื่องจากเกียรติยศ ศักดิ์ศรี และชาติตระกูลของอิมามที่สูงส่งกว่า ประกอบคำทำนายของท่านนบีมุฮัมมัด (ซ็อล ) ที่ว่าราชวงศ์อุมัยยะฮฺต้องล่มสลายหลังจากชะฮาดัตของท่นอิมามฮุซัยนฺ (.) ซึ่งมุอาวิยะฮฺพยายามหลีกหนีความจริงข้อนี้ นอกจากนั้นแล้วเขายังได้สั่งเสียงให้ตนในตระกูลหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้าดังกล่าวด้วย แต่ยะซีดในฐานะที่เป็นคนหยิ่งผยอง เมาสุราเป็นนิจศีล เขาจึงไม่ได้ปฏิบัติตามคำสั่งเสียของบิดาของเขา ฉะนั้น ตั้งแต่วันแรกที่ขึ้นปกครอง เขาได้ประกาศการเผชิญหน้ากับท่านอิมามฮุซัยนฺ (.) และขีดเส้นตายว่าต้องสังหารท่านอิมามให้จงได้

3. มุอาวิยะฮฺ เป็นนักการเมืองที่มีฝีมือและชาญฉลาด ดูจากภายนอกเหมือนเป็นผู้รักษาระเบียบและข้อบังคับของอิสลาม แต่ยังสามารถปกปิดความเลวร้ายภายในที่เขาได้สร้างขึ้นต่อหน้าสาธารณชนได้เป็นอย่างดี เรียกว่าเป็นคนที่มากด้วยเล่ห์เพทุบาย ขณะยะซีดในฐานะที่เป็นคนหนุ่มและขาดประสบการณ์ และดำเนินชีวิตไปในทางเสียหายมากด้วยราคะ และชอบเล่นกับลิงและสุนัข ใช้ชีวิตแบบคนโง่เขลาทั่วไป ซึ่งไม่มีผู้ใดปฏิเสธได้เลยถึงพฤติกรรมที่ชั่วร้ายของเขา ดังนั้นการนิ่งเงียบของอิมามฮุซัยนฺ (.) ต่อพฤติกรรมชั่วร้ายของเขา ถือว่าเป็นการยืนยันและสนับสนุนความชั่วของเขา และนั้นหมายถึงการทำลายรากของศาสนาอิสลามใหสิ้นไป

4. แต่อิมาม (.) ได้ลุกขึ้นต่อสู้ในสมัยของมุอาวิยะฮฺ เป็นไปได้ที่มุอาวิยะฮฺ จะทำลายขบวนการของท่านอิมามฮุซัยนฺ (.) ให้จบลงอย่างง่ายดาย ด้วยวิธีการและอำนาจที่มีอยู่ในมือขณะนั้น เขาต้องโฆษณาอย่างกว้างขวางว่าตนเป็นฝ่ายถูกต้อง แต่เราจะพบว่ายะซีดไร้ความสามารถในการทำลายเป้าหมายของอาชูรอ สิ่งที่เขาได้กระทำลงไปมันละลายหายไปหมดสิ้น

5. การขาดการสนับสนุนอย่างจริงใจจากประชาชน สำหรับอิมาม (.) ในสมัยของมุอาวิยะฮฺซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญ ขณะที่ในสมัยของยะซีด, จะเห็นว่ามีจดหมายนับพันฉบับจากประชาชนชาวกูฟะฮฺ ที่ส่งมาเชิญท่านอิมาม (.) และพวกเขาพร้อมให้การสนับสนุนการยืนหยัดต่อสู้ของท่านอิมาม ดังนั้น ถ้าอิมาม (.) ไม่เข้าไปในอิรักเพื่อปฏิบัติตามคำเรียกร้อง ในทัศนะของประชาชนก็จะกล่าวว่าอิมามกลัวตาย หรือท่านอิมามไม่แยแสต่อความเลวร้ายหรือการอธรรม และอาชญากรรมที่พวกอุมัยยะฮฺได้ก่อขึ้น อีกด้านหนึ่งท่านอิมามไม่ใส่ใจต่อเสียงเรียกร้องของประชาชน ซึ่งทั้งหมดเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญ ที่ไม่อาจทดแทนได้]

คำตอบเชิงรายละเอียด

สถานการของรัฐบาล สถานภาพของประชาชน และสถานะของอิมาม ฮุซัยนฺ (,) ในยุคสมัยของมุอาวิยะฮฺและสมัยของยะซีดมีความแตกต่างกันมากมาย ซึ่งประเด็นที่สำคัญที่สุดได้แก่

1. อิมามฮะซัน มุจญฺตะบา (.) ในช่วงอายุขัยและช่วงการปกครองของท่านนั้น  เมื่อท่านขอความช่วยเหลือจากประชาชนให้สงครามกับมุอาวิยะฮฺ ท่านต้องพบกับความผิดหวังอย่างรุนแรง บรรดาแม่ทัพของท่านต้องถูกซื้อตัวไปด้วยเม็ดเงินของมุอาวิยะฮฺ พวกเขาได้ปลดปล่อยตัวเองออกไป ดังนั้น เพื่อปกป้องอิสลามให้ดำรงสืบต่อไป และปกป้องชีวิตของเหล่าบรรดาสาวกที่จงรักภักดีกับท่าน และเพื่อให้ข้อพิสูจน์เสร็จสิ้นสำหรับท่าน ประชาชน และมุอาวิยะฮฺ ท่านจึงต้องทำสนธิสัญญาเพื่อความสงบสันติขึ้น ทั้งที่ไม่ใช่ความประสงค์ของท่านเลยแม้แต่น้อย แต่เป็นวิธีการเดียวที่จะช่วยปกป้องอิสลามให้ดำรงสืบต่อไปได้ บางส่วนของสนธิสัญญากล่าวว่า  :

. มุอาวิยะฮฺจะต้องยุติการทำร้ายและกลั่นแกล้งพวกชีอะฮฺ;

. ข้อตกลงทางการเงิน เช่น จะต้องคืนเงินที่ปล้นสะดมคืนให้กับพวกชีอะฮฺ พวกอันซอร และโดยเฉพาะพวกที่จงรักภักดีกับท่านอิมามอะลี (.)

. ให้มุอาวิยะฮฺเลิกสาปแช่งท่านอิมามอะลี บุตรของอบูฏอลิบ (.) ในที่สาธารณะ;

. ห้ามไม่ให้มุอาวิยะฮฺใช้ฉายานาม"อะมีรุลมุอ์มินีน"สำหรับตัวเอง;

. ห้ามไม่ให้มุอาวิยะฮฺแต่งตั้งผู้แทนการปกตรองหลังจากตน[1]

อิมามฮุซัยนฺ (.) หลังจากการเป็นชะฮีดของท่านอิมามฮะซัน (.), ท่านได้หลีกเลี่ยงการเผชิญหน้ากับยะซี เนื่องจากให้เกียรติและเคารพสนธิสัญญาที่ท่านอิมามฮะซัน (.) ได้ทำไว้กับมุอาวิยะฮฺ[2] แต่หลังจากมุอาวิยะฮฺได้จากโลกไป ไม่จำเป็นต้องให้เกียรติและเคารพในสนธิสัญญานั้นอีกต่อไป ดังนั้น ด้วยการเป็นชะฮีดของท่านอิมามฮะซัน (.) ระยะเวลาของสัญญาก็สิ้นสุดลงด้วย

2. มุอายะฮฺเองก็พยายามหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้าและการนองเลือดกับอิมามฮุซัยนฺ (.) และเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบในการรักษาการปกครองของตน จำเป็นต้องอดทนต่ออิมามทั้งสองท่าน อีกทั้งได้สั่งห้ามและกำชับคนอื่นไม่ให้เผชิญหน้ากับท่านอิมามด้วยเช่นกัน ห้ามมิให้มีการติดต่อกับท่าน ด้วยเหตุนี้ แม้แต่การเอาสัตยาบันจากอิมาม มุอาวิยะฮฺยังได้กำชับกับยะชีดไว้นักหนาว่า อย่าใช้กำลังและความรุนแรงกับอิมามฮุซัยนฺอย่างเด็ดขาด แต่ยะซีดเนื่องจากเป็นคนหนุ่ม ขาดประสบการณ์ และมีความยโสโอหัง เขาไม่ประสงค์ที่จะปฏิบัติตามคำสั่งเสียของบิดา ซึ่งนับตั้งแต่วันแรกที่ขึ้นมาปกครองเขาได้สั่งผู้ปกครองมะดีนะฮฺว่า ให้เอาสัตยาบันจากอิมามฮุซัยนฺ (.)  ให้จงได้หรือไม่ก็ให้ตัดศีรษะส่งมาให้ฉัน

และนี่คือวิธีการของยะซีด ซึ่งทำให้ต้องเผชิญหน้ากับท่านอิมามโดยตรง เนื่องจากท่านอิมาม (.) จะไม่ยอมให้สัตยาบันกับยะซีดอย่างแน่นอน ซึ่งเราได้ประจักษ์กับสายตาแล้วว่าในแผ่นดินกัรบะลาอ์ได้เกิดอะไรขึ้น การกระทำของยะซีดนั่นเองเป็นเหตุทำให้รางวงศ์ของอุมัยยะฮฺต้องสิ้นสุดลง[3]

3. มุอาวิยะฮฺเป็นนักการเมืองที่มีฝีมือ และรู้จักรักษาภาพลักษณะต่อหน้าสาธารณะชนได้เป็นอย่างดี เขาสามารถปกปิดความไม่ดีของเขา การทุจริตภายใน และความเลวร้ายที่ก่อขึ้นต่อหน้าสาธารณชนได้เป็นอย่างดี สร้างค่าที่นิยมต่อประชาชนจนกระทั่งประชาชนยอมรับว่าเป็นมุสลิม และเป็นเคาะลิฟะฮฺของท่านศาสดา (ซ็อล ) อีกทั้งได้ส่งเสริมการภารกิจในอิสลาม แต่ยะซีดไม่ได้มีทักษะและประสบการณ์เหล่านี้ เขาก่อความเสียหาย และล่วงละเมิดทางเพศอย่างอย่างเห็นได้ชัดเจน และเป็นที่ประจักษ์แก่สายตาทั้งหมดยิ่งกว่าแสงแดดในตอนกลางวัน ทั้งโดยทั่วไปและเฉพาะเจาะจง เขาได้แสดงการปฏิเสธศรัทธาและไม่ยอมรับพระเจ้า เขามีความภาคภูมิใจต่อการเป็นผู้ตั้งภาคีของเหล่าบรรพชนของเขา ที่สำคัญเขาไม่เคยให้เกียรติท่านนบี (ซ็อล ) แม้แต่น้อย ด้วยเหตุนี้ จะเห็นว่าการดำรงสภาพความสันติในสมัยของยะซีด มีความหมายเท่ากับเป็นการสนับสนุนและส่งเสริมความชั่วร้ายที่เปิดเผย ซึ่งในที่สุดแล้วยิ่งเป็นการทำให้สังคมหลงผิดมากไปกว่าเดิม[4] และการสืบสานต่อการปกครองของยะซีด เท่ากับเป็นการอำลาจากอิสลาม และทำลายบทบัญญัติทั้งหมดของอิสลาม[5]

4. ก่อนหน้านี้ได้กล่าวไปแล้วว่ามุอาวิยะฮฺเป็นเจ้าเล่ห์เพทุบาย และเขาพยายามหลีกเลียงการเผชิญหน้ากับท่านอิมามฮุซัยนฺ (.) มาโดยตลอด แต่ถ้าอิมาม (.) ได้ลุกขึ้นยืนต่อสู้กับมุอาวิยะฮฺในตอนนั้น สถานการณ์จะเอื้ออำนวยให้แก่มุอาวิยะฮฺทันที่ เนื่องจากการโฆษณาชวนเชื่อ การเผยแพร่ข้อมูลในทางที่ผิดให้กว้างขวางออกไป ด้วยอุปกรณ์เครื่องต่างๆ และอำนาจที่มีอยู่ในมือขณะนั้น ซึ่งเป็นไปได้การเคลื่อนไหวของท่านอิมามฮุซัยนฺ (.) จะไร้ผลทันที ผู้คนจะไม่กล่าวขานถึงอีกต่อไป ที่สำคัญสถานการณ์จะกลายเป็นประโยชน์แก่มุอาวิยะฮฺทันที และอุมัยยะฮฺก็จะสามารถดำรงการปกครองสืบต่อไปอีกช้านาน แต่เนืองจากความโง่เขลาและการก่อกรรมชั่วร้ายของยะซีดอย่างเปิดเผย และการอ่อนประสบการณ์ด้านการเมือง ยะซีดจึงได้คิดจัดการกับอิมาม (.) ขั้นเด็ดขาด และหลังการชะฮาดัตของท่านอิมามฮุซัยน (.) ด้วยความไร้เดียงสาและการไม่ได้มีทักษะในการทำงาน เขาจึงไม่สามารถลบประวัติศาสตร์หน้านี้ให้หมดไปได้ มิหนำซ้ำนับวันประวัติศาสตร์หน้านี้ยิ่งถูกทำให้ยิ่งใหญ่ และกลายเป็นแบบอย่างของการต่อสู้ทั้งหลายบนหน้าแผ่นดิน สร้างความชัดเจนให้ประชาชนมากยิ่งขึ้น จนในที่สุดราชวงศ์อุมัยยะฮฺได้มาสิ้นสุดลงเนื่องจากฝีมือของเขา และนี่คือความแตกต่างที่เห็นได้อย่างชัดเจนจากการปกครองของทั้งสอง ซึ่งสิ่งนี้ไม่ได้เป็นที่คลุมเครือสำหรับอิมามเลยแม้แต่นิดเดียว 

5. ในสมัยของมุอาวิยะฮฺ จะเห็นว่าไม่มีการเชิญชวนให้อิมาม (.) ยืนหยัดต่อสู้กับความอธรรมเลยแม้แต่น้อย ไม่มีการประกาศว่าจะสนับสนุนและให้การช่วยเหลืออิมามแต่อย่างใด เนื่องจากพฤติกรรมเจ้าเล่ห์ของมุอาวิยะฮฺ แต่หลังจากมุอาวิยะฮฺได้จากไป และการปกครองได้ตกไปถึงมือยะซีด สถานการณ์ได้เปลี่ยนไปทันที การนองเลือดมุสลิม การอธรรม และการกดขี่ต่างๆ จนกระทั่งประชาชนชาวกูฟะฮฺได้ออกมาเรียกร้อง และส่งจดหมายเชิญท่านอิมาม (.) หลายพันฉบับด้วยกัน พวกเขาได้เรียกร้องให้ท่านอิมาม (.) ไปเป็นอิมามสำหรับพวกเขา และให้ยืนหยัดต่อสู้กับพวกอุมัยยะฮฺ โดยที่พวกเขาจะเป็นผู้ให้การสนับสนุนทุกอย่างแก่ท่านอิมาม (.)

หลังจากการตายของมุอาวิยะก็ทำให้ข้อตกลงสันติภาพหมดวาระไปด้วย ประกอบกับคนก่อกรรมชั่วเฉกเช่นยะซีดได้ขึ้นปกครอง อีกด้านหนึ่งจดหมายหลายพันฉบับที่ส่งถึงท่านอิมามฮุซัยนฺ (.) เพื่อเชิญชวนให้ท่านไปเป็นอิมามสำหรับพวกเขา สิ่งเหล่านี้ได้กลายเป็นเหตุผลที่ทำให้ไม่เหลือข้ออ้างอันใดอีกต่อไป ดังนั้น ถ้าอิมาม (.) ไม่ตอบรับคำเชิญและไม่เริ่มเคลื่อนไหวไปสู่อิรักในทัศนะของประชาชนทั่วไปแล้วการกระทำเช่นนั้น เท่ากับอิมาม (.) ไม่สนใจชะตากรรมของประชาชาติอิสลาม และในที่สุดแล้วเท่ากับไม่สนใจต่ออิสลาม ไม่สนใจต่อคำเรียกร้องของผู้ถูกกดขี่ ที่เรียกร้องให้ไปต่อสู้กับผู้ก่อความเสียหาย ผู้กดขี่และทุจริต และไม่มีความไม่เป็นธรรมแม้แต่น้อย แน่นอนว่าเรืองราวต่างๆ ก็จะไม่เกิดขึ้น แต่การออกไปของท่านอิมาม (.) ตรงกับช่วงเทศกาลฮัจญฺพอดีทุกสิ่งเป็นที่เปิดเผย เหตุการณ์อาชูรอจึงเป็นที่ชัดเจนที่ว่าโศกนาฎกรรมความโหดร้ายที่วงศ์วานบนีอุมัยยะฮฺ ได้สังหารลูกหลานของท่านเราะซูล (ซ็อล ) อย่างโหดร้ายที่สุด จับบรรดาเด็กและสตรีที่ยังมีชีวิตอยู่เป็นเชลยล่ามโซ่ตรวน ความชั่วร้ายที่อุมัยยะฮฺได้กระทำไว้นั้น กลายเป็นข้อพิสูจน์และเหตุผลสมบูรณ์สำหรับผู้ที่ใฝ่หาความจริง ตลอดหน้าประวัติศาสตร์จากเวลานั้นจนถึงบัดนี้และตราบที่โลกยังอยู่ ไม่มีที่ว่างสำหรับผู้ปกครองที่ปล้นสะดมอำนาจการปกครองอีกต่อไป แม้ว่าพวกเขาพยายามที่จะปกปิดความจริง และร่องรอยทางประวัติศาสตร์มากเท่าใด ผลกระทบและร่องรอยของขบวนการณ์ หมายถึงการฟื้นฟูหลักการและศาสนาของท่านเราะซูล (ซ็อล ) ก็จะยิ่งชัดเจนและทวีความสำเร็จมากยิ่งขึ้น แน่นอน การยืนหยัดต่อสู้ของท่านอิมามฮุซัยนฺ (.) จึงกลายเป็นประทีปนำทางและเป็นนาวาที่ให้ความช่วยเหลือประชาชาติให้รอดปลอดภัย ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ของพวกเราที่จะต้องรับสาส์นต่อจากท่านหญิงซัยนับ (.) และท่านอิมามซัยนุลอาบิดีน (.) และประกาศสาส์นนี้ออกไปให้ชาวโลกทั้งหลายได้ประจักษ์ความจริง พิธีกรรมการรำลึกถึงท่านอิมามฮุซัยนฺ (.) จึงกลายเป็นการฟื้นฟูอิสลามให้ดำรงสืบต่อไป และเป็นเหตุผลสำหรับผู้ที่ใฝ่หาความจริง

แหล่งอ้างอิงเพื่อการศึกษาเพิ่มเติมต่อไป :

บิลาซะรีย์, อินซาบุลอัชรอฟ, เล่ม 2

อิบนุอะซากิร ตะฮฺซีบุตตารีค ดามัสกัส, เล่ม. 2

อัลลามะฮฺ มัจญฺลิส, บิฮารุลอันวาร เล่ม. 44

อิบนุ อะซีร อัลกามิลฟิลตารีค, เล่ม 3

อัดดัยนูรี อิบนุกุตัยบะฮฺ อัลอิมามะฮฺ วัซซิยาซะฮฺ

เชคมุฟีด อัลเอรชาด

ยะอ์กูบี อิบนุวาฎิฮ์ ตารีคยะกูบี

มัสอูดดี มุรูจญฺ อัซซิฮับ

เอซฟาฮานี อบุลฟะรัจญ์ มะกอติล อัฏฏอลิบีน

อัลยาซีน มุฮัมมัด ฮะซัน อัลอิมามฮะซัน บิน อะลี (.)



[1]  อะมีน อามิลีย์ ซัยยิด มุอ์ซิน อิมามฮะซันและอิมามฮุซัยนฺ (.) หน้า 70,54

[2] อ้างแล้วเล่มเดิม หน้า 148

[3]  มุฮัดดะซีย์ ญะวาด ฟัรฮังอาชูรอ หน้า 27 38 และหน้า 428,430

[4]  นิมอเยะฮฺ ความชั่วร้ายในรัฐบาลอิสลาม คำถามที่ 103 (ไซต์ 1019)

[5]  มุฮัดดะซีย์ ญะวาด ฟัรฮังอาชูรอ หน้า 484, 482, [5]  อะมีน อามิลีย์ ซัยยิด มุอ์ซิน อิมา

ฮะซันและอิมามฮุซัยนฺ (.) หน้า 282, 276

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • สตรีสามารถที่จะติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นในโลกไซเบอร์โดยไม่ขออนุญาตจากสามีหรือไม่?
    5333 สิทธิและกฎหมาย 2555/02/05
    คำตอบของบรรดามัรยิอ์เกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวมีดังนี้อายาตุลลอฮ์คอเมเนอี “หากไม่จำเป็นที่จะต้องครอบครองทรัพย์สินของสามีก็ถือว่าไม่จำเป็นที่จะต้องขออนุญาตแต่จะต้องคำนึงว่าการติดต่อสื่อสารกับผู้ที่ไม่ใช่มะฮ์รอมส่วนใหญ่จะทำให้เกิด... หรืออาจจะทำให้ตกในการกระทำบาปซึ่งไม่อนุญาต”อายาตุลลอฮ์ซิซตานี “การติดต่อสื่อสารกับผู้ที่ไม่ใช่มะฮ์รอมถือว่าไม่อนุญาต”อายาตุลลอฮ์ศอฟีกุลฟัยกานี “โดยรวมแล้วการติดต่อสื่อสารในลักษณะนี้แม้ว่าสามีอนุญาติก็ไม่ถือว่าสามารถจะกระทำได้”ฮาดาวีเตหะรานี “หากการติดต่อสื่อสารในโลกไซเบอร์อยู่ในขอบเขตที่อนุญาตและไม่เกรงที่จะเกิดบาปเป็นที่อนุญาตและไม่จำเป็นที่จะต้องขออนุญาติจากสามี” ...
  • การบริหารแอโรบิกมีฮุกุมอย่างไร?
    7250 สิทธิและกฎหมาย 2555/05/19
    สำนักงานท่านอายาตุลลอฮ์ อัลอุซมา คอเมเนอี โดยรวมแล้ว หากกระทำไปโดยเคล้าเสียงดนตรีประเภทที่เหมาะแก่การสังสรรค์อันเป็นบาป หรือมีส่วนกระตุ้นอารมณ์ทางเพศ หรือนำมาด้วยการกระทำที่ฮะรอมและการอันไม่ควรนั้น ถือว่าไม่อนุญาต สำนักงานท่านอายาตุลลอฮ์ อัลอุซมา ซิซตานี หากดนตรีดังกล่าวเหมาะแก่การทำบาป ต้องงดการฟังอย่างตั้งอกตั้งใจ สำนักงานท่าอายาตุลลอฮ์ อัลอุซมา ศอฟี กุลพัยกานี หากกีฬาประเภทนี้มีการเต้นหรือบรรเลงดนตรี ถือว่าเป็นสิ่งต้องห้าม คำตอบของท่านอายาตุลลอฮ์ มะฮ์ดี ฮาดาวี เตหะรานี มีดังนี้ หากกีฬานี้มิได้กระทำพร้อมกับดนตรีที่เป็นฮะรอม และไม่ก่อให้เกิดสิ่งที่ชั่วร้ายและการอันไม่ควรนั้น ถือว่าอนุญาต แต่ในกรณีที่กีฬานี้กระทำไปพร้อมกับการกระทำที่เป็นฮะรอม เช่นไม่คลุมฮิญาบ (ต่อหน้าผู้ที่ไม่ใช่มะฮ์รอม) หรือมีการบรรเลงดนตรีที่จะกระตุ้นอารมณ์ทางเพศ หรือกรณีที่กีฬาชนิดดังกล่าวและการเคลื่อนไหวของร่างกายนั้น จะก่อให้เกิดอารมณ์ทางเพศ ...
  • อัคล้ากกับเชาวน์ปัญญามีความเกี่ยวพันกันอย่างไร?
    6129 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/02/18
    อัคล้าก (จริยธรรม) แบ่งออกเป็นสองประเภทเสมือนศาสตร์แขนงอื่นๆดังนี้ก. จริยธรรมภาคทฤษฎีข. จริยธรรมภาคปฏิบัติการเรียนรู้หลักจริยธรรมภาคทฤษฎีมีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับเชาวน์ปัญญา กล่าวคือ ยิ่งมีความเฉลียวฉลาดเท่าใด ก็ยิ่งเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพเท่านั้น แต่หากมีเชาวน์ปัญญาน้อย ก็จะทำให้เรียนรู้จริยศาสตร์ได้น้อยตามไปด้วยทว่าในส่วนของภาคปฏิบัติ (ซึ่งคิดว่าน่าจะเป็นจุดประสงค์หลักของผู้ถาม) จำเป็นต้องชี้แจงในรายละเอียดดังต่อไปนี้มีการนิยามคำว่าอัคล้ากว่า เป็นพหูพจน์ของ “คุ้ลก์” อันหมายถึง “ทักษะทางจิตใจของมนุษย์ที่ส่งผลให้กระทำการใดๆโดยอัตโนมัติ”ฉะนั้น อัคล้าก (จริยธรรม) ก็คือนิสัยและความเคยชินที่หยั่งรากลึกในจิตใจมนุษย์ ส่งผลให้ปฏิบัติกิจกรรมโดยไม่ต้องข่มใจ นั่นหมายความว่า การทำดีในลักษณะที่เกิดจากการไตร่ตรองไว้ก่อนนั้น แม้จะถือเป็นเรื่องที่น่าชื่นชม แต่ไม่ถือเป็นความประเสริฐทางอัคล้าก ผู้ที่มีอัคล้ากดีก็คือผู้ที่กระทำความดีจนกลายเป็นอุปนิสัย ...
  • บทบาทของผู้เป็นสื่อในการสร้างความใกล้ชิดกับอัลลอฮฺคืออะไร?
    7106 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/21
    สื่อมีความหมายกว้างมากซึ่งครอบคลุมถึงทุกสิ่งหรือทุกภารกิจอันเป็นสาเหตุนำเราเข้าใกล้ชิดพระผู้อภิบาลได้ถือว่าเป็นสื่อขณะที่โลกนี้วางอยู่บนพื้นฐานของระบบเหตุและผล,สาเหตุและสิ่งเป็นสาเหตุ, ได้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อการชี้นำมนุษย์ให้เจริญก้าวหน้าและพัฒนาไปสู่ความสมบูรณ์, ดังเช่นที่ความต้องการทางธรรมชาติของมนุษย์ทั้งหลายบรรลุและดำเนินไปโดยปัจจัยและสาเหตุทางวัตถุ, ความเมตตาอันล้นเหลือด้านศีลธรรมของพระเจ้า, เฉกเช่นการชี้นำทาง, การอภัยโทษ, การสอนสั่ง, ความใกล้ชิดและความสูงส่งของมนุษย์ก็เช่นเดียวกันวางอยู่บนพื้นฐานของระบบอันเฉพาะเจาะจงซึ่งได้ถูกกำหนดสำหรับมนุษย์แล้วโดยผ่านสาเหตุและปัจจัยต่างๆแน่นอนถ้าปราศจากปัจจัยสื่อและสาเหตุเหล่านี้ไม่อาจเป็นไปได้แน่นอนที่มนุษย์จะได้รับความเมตตาอันล้นเหลือจากพระเจ้าหรือเข้าใกล้ชิดกับพระองค์อัลกุรอานหลายโองการและรายงานจำนวนมากมายได้แนะนำปัจจัยและสาเหตุเหล่านั้นเอาไว้และยืนยันว่าถ้าปราศจากสื่อเหล่านั้นมนุษย์ไม่มีวันใกล้ชิดกับอัลลอฮฺได้อย่างแน่นอน ...
  • ทำไมเราจึงต้องมีเพียงสิบสองอิมามเท่านั้น ในยุคสมัยของอิมามที่ไม่ปรากฏตัว เราจะสามารถหาทางรอดพ้นได้อย่างไร?
    6334 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/10/03
    ตำแหน่งอิมามเป็นตำแหน่งที่ได้รับการแต่งตั้งจากพระผู้เป็นเจ้า การกำหนดตัวบุคคลที่จะขึ้นมาเป็นอิมามและจำนวนของอิมามนั้นขึ้นกับพระประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้าและทางเดียวที่เราจะสามารถรับรู้ถึงเจตนาดังกล่าวได้ก็คือฮะดีษของท่านศาสดาแห่งอิสลาม (ศ็อลฯ) นั่นเองท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้กล่าวถึงบุคคลและจำนวนของอิมาม(อ
  • จำเป็นต้องสวมแหวนทางมือขวาด้วยหรือ ?
    13699 สิทธิและกฎหมาย 2554/09/25
    หนึ่งในแบบฉบับของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) และอิมามผู้บริสุทธิ์คือการสวมแหวนทางนิ้วมือข้างขวาซึ่งมีรายงานกล่าวไว้ถึงประเภทของแหวนรูปทรงและแบบ. นอกจากคำอธิบายดังกล่าวที่ว่าดีกว่าให้สวมแหวนทางนิ้วมือข้างขวาแล้วบทบัญญัติทั้งหมดที่กล่าวเกี่ยวกับแหวนก็จะเน้นเรื่องการเป็นมุสตะฮับและเฉพาะผู้ชายเท่านั้นที่ห้ามสวมแหวนทอง (และเครื่องประดับทุกชนิดที่ทำจากทองคำ) ซึ่งได้ห้ามในลักษณะที่เป็นความจำเป็นด้วยเหตุนี้
  • กรุณานำเสนอตัวบทภาษาอรับของฮะดีษที่ระบุถึงความความสำคัญของประวัติศาสตร์และประวัติศาสตร์นิพนธ์ พร้อมทั้งแหล่งอ้างอิง
    5924 تاريخ کلام 2555/03/18
    มีโองการกุรอานและฮะดีษมากมายกล่าวถึงความสำคัญของประวัติศาสตร์และการครุ่นคิดถึงความเป็นไปของคนรุ่นก่อน ทั้งนี้ก็เพื่อให้สามารถเก็บเกี่ยวบทเรียนจากแนวประสบการณ์ของบุคคลในอดีตมาปรับประยุกต์ใช้ได้ในอนาคต จุดประสงค์ดังกล่าวปรากฏเด่นชัดในสำนวนฮะดีษจากท่านอิมามอลี(อ.) ด้วยเหตุนี้เราจึงขอนำเสนอฮะดีษจากท่าน ณ ที่นี้ อิมามอลี(อ.)ได้กล่าวไว้ในสาส์นที่มีถึงท่านอิมามฮะซันเกี่ยวกับความสำคัญของประวัติศาสตร์ว่า “ลูกพ่อ แม้ว่าพ่อจะมิได้มีอายุขัยเท่ากับอายุขัยของบรรพชนรวมกัน แต่เมื่อพ่อได้ไคร่ครวญถึงพฤติกรรมและข่าวคราวของบรรพชน และได้ท่องไปในความเป็นมาของพวกเขาทำให้พ่อรู้สึกราวกับว่าได้อยู่ในยุคของพวกเขา หรืออาจจะกล่าวได้ว่าการศึกษาประสบการณ์ของบรรพชนทำให้พ่อเสมือนมีชีวิตอยู่ตั้งแต่มนุษย์คนแรกจนถึงคนสุดท้าย” สอง. ท่านกล่าวไว้อีกเช่นกันว่า “จงพิสูจน์สิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้นด้วยกับสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว จงใช้ผลการศึกษาเรื่องราวในอดีตในการคาดการณ์เหตุการณ์ในอนาคต ทั้งนี้ก็เพราะปรากฏการณ์ในโลกคล้ายคลึงกัน จงอย่าเอาเยี่ยงอย่างผู้ที่ไม่รับฟังคำแนะนำจนกระทั่งประสบความยากลำบาก เพราะมนุษย์ผู้มีปัญญาจะต้องได้รับอุทาหรณ์ด้วยการครุ่นคิด มิไช่สัตว์สี่เท้าที่จะต้องเฆี่ยนตีเสียก่อนจึงจะเชื่อฟัง” ...
  • คำพูดทั้งหมดของพระศาสดา (ซ็อล ฯ) ถือว่าเป็นวะฮฺยูหรือไม่?
    7279 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/21
    มุมมองของผู้เชี่ยวชาญ,ในประเด็นที่กำลังกล่าวถึงแตกต่างกันบางคนได้พิจารณาการตีความของโองการที่ 3,4 ของอัลกุรอานบทนัจมฺ[i]ซึ่งเชื่อว่าคำพูดทั้งหมดของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ตลอดจนการกระทำต่างๆของท่านมาจากวะฮฺยูทั้งสิ้นบางคนเชื่อว่าโองการที่ 4 ของบทอันนัจมฺนั้นกล่าวถึงอัลกุรอานกะรีมและบรรดาโองการต่างๆที่ประทานให้แก่ท่านศาสดา,แม้ว่าซุนนะฮฺ (แบบฉบับ) ของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) จะเป็นข้อพิสูจน์และเป็นเหตุผลก็ตามซึ่งคำพูดการกระทำและการนิ่งเฉยของท่านมิได้เกิดจากอารมณ์อย่างแน่นอนสิ่งที่เข้าใจได้จากสิ่งที่กล่าวถึงในตรงนี้คือสามารถกล่าวได้อย่างมั่นใจว่าทั้งความประพฤติและแบบอย่างของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) มิได้กระทำลงไปโดยปราศจากวะฮียฺอย่างแน่นอนดังเช่นคำพูดของท่านก็เป็นเช่นนี้ด้วยแม้ว่าจะเป็นคำพูดประจำวันคำพูดสามัญทั่วไปตลอดการดำรงชีวิตของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ก็ตามสิ่งนั้นก็จะไม่เกิดจากอารมณ์อย่างเด็ดขาดซึ่งตามความเป็นจริงแล้วเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้แน่นอนว่าท่านศาสดา (ซ็อลฯ) จะล่วงละเมิดกระทำความผิด[i]
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27540 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • การประทานอัลกุรอานลงมาคราวเดียวและการทยอยประทานลงมาผ่านพ้นไปตั้งแต่เมื่อใด?
    17835 วิทยาการกุรอาน 2554/04/21
    การประทานอัลกุรอานในคราวเดียวกันบนจิตใจของท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อลฯ) ได้เกิดขึ้นเมื่อค่ำคืนแห่งอานุภาพ (ลัยละตุลก็อดฺร์) อันเป็นหนึ่งในค่ำคืนสำคัญยิ่งแห่งเดือนรอมฏอนและเมื่อได้ศึกษารายงานฮะดีซบางบทและอัลกุรอานบางโองการแล้วจะเห็นว่ารายงานและโองการเหล่านั้นได้สนับสนุนความเป็นไปได้ดังกล่าวว่าค่ำคืนแห่งอานุภาพนั้นก็คือค่ำคืนที่ 23 ของเดือนรอมฎอน

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59391 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56844 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41673 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38425 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38418 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33450 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27540 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27236 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27133 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25207 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...