การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
5772
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2555/02/19
 
รหัสในเว็บไซต์ fa17698 รหัสสำเนา 22080
คำถามอย่างย่อ
มีหลักฐานระบุว่าควรกล่าวตักบี้รและหันหน้าซ้ายขวาหลังกล่าวสลามหรือไม่?
คำถาม
การกล่าวตักบี้รและหันหน้าไปด้านขวาและซ้ายหลังนมาซถูกต้องหรือไม่? กรุณานำเสนอแหล่งอ้างอิงด้วยค่ะ
คำตอบโดยสังเขป

การผินหน้าไปทางขวาและซ้าย ถือเป็นมุสตะฮับภายหลังให้สลามสุดท้ายของนมาซ โดยตำราฮะดีษก็ให้การยืนยันถึงเรื่องนี้  อย่างไรก็ดี วิธีปฏิบัติที่ถูกต้องมีรายละเอียดดังต่อไปนี้:

1. ในกรณีของอิมามญะมาอัต ภายหลังให้สลามแล้ว ก่อนที่จะผินหน้าขวาซ้าย ให้มองไปทางขวาก่อน

2. ในกรณีของมะอ์มูม ให้กล่าวสลามแก่อิมามขณะอยู่ในทิศกิบละฮ์ หลังจากนั้นจึงให้สลามทางด้านขวาและซ้าย ทั้งนี้ การสลามด้านซ้ายจะกระทำต่อเมื่อมีมะอ์มูมหรือมีกำแพงอยู่ด้านซ้าย ส่วนด้านขวาจะกระทำทุกกรณี ไม่ว่าจะมีหรือไม่มีมะอ์มูมด้านขวาก็ตาม

3. ในกรณีที่นมาซฟุรอดา (คนเดียว) ให้กล่าวสลามครั้งเดียวขณะอยู่ในทิศกิบละฮ์ว่า อัสลามุอลัยกุม และหันด้านขวาในลักษณะที่ปลายจมูกเบนไปด้านขวาเล็กน้อย[1]

จากที่นำเสนอมาทั้งหมด ทำให้เข้าใจได้ว่าสิ่งที่เป็นมุสตะฮับสำหรับผู้ที่นมาซคนเดียวก็คือการเบนหน้าไปทางขวาให้ปลายจมูกหันทางขวาเล็กน้อย และสำหรับผู้ที่นมาซญะมาอัต ให้หันหน้าไปทางซ้ายและขวาตามที่ได้อธิบายไปข้างต้น

อนึ่ง การกล่าวตักบี้รสามครั้งรวมทั้งการยกมือถือเป็น “ตะอ์กี้บ”(ปฏิบัติหลังเสร็จสิ้นนมาซ) ซึ่งตำราฟิกเกาะฮ์ก็ระบุไว้[2]



[1] เชคเศาะดู้ก, มันลายะห์ฎุรุฮุ้ลฟะกี้ฮ์,เล่ม 1,หน้า 319-320,สำนักพิมพ์ญามิอะฮ์ มุดัรริซีน,กุม,..1413

[2] นะญะฟี, ผู้ประพันธ์อัลญะวาฮิร,มุฮัมมัด ฮะซัน,มัจมะอุ้ลมะซาอิ้ล (พร้อมภาคผนวก),หน้า 296,สถาบันศอฮิบุซซะมาน(.),มัชฮัด,อิหร่าน,..1415

คำตอบเชิงรายละเอียด
คำถามนี้ไม่มีคำตอแบบรายละเอียด
แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • คำพูดทั้งหมดของพระศาสดา (ซ็อล ฯ) ถือว่าเป็นวะฮฺยูหรือไม่?
    7239 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/21
    มุมมองของผู้เชี่ยวชาญ,ในประเด็นที่กำลังกล่าวถึงแตกต่างกันบางคนได้พิจารณาการตีความของโองการที่ 3,4 ของอัลกุรอานบทนัจมฺ[i]ซึ่งเชื่อว่าคำพูดทั้งหมดของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ตลอดจนการกระทำต่างๆของท่านมาจากวะฮฺยูทั้งสิ้นบางคนเชื่อว่าโองการที่ 4 ของบทอันนัจมฺนั้นกล่าวถึงอัลกุรอานกะรีมและบรรดาโองการต่างๆที่ประทานให้แก่ท่านศาสดา,แม้ว่าซุนนะฮฺ (แบบฉบับ) ของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) จะเป็นข้อพิสูจน์และเป็นเหตุผลก็ตามซึ่งคำพูดการกระทำและการนิ่งเฉยของท่านมิได้เกิดจากอารมณ์อย่างแน่นอนสิ่งที่เข้าใจได้จากสิ่งที่กล่าวถึงในตรงนี้คือสามารถกล่าวได้อย่างมั่นใจว่าทั้งความประพฤติและแบบอย่างของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) มิได้กระทำลงไปโดยปราศจากวะฮียฺอย่างแน่นอนดังเช่นคำพูดของท่านก็เป็นเช่นนี้ด้วยแม้ว่าจะเป็นคำพูดประจำวันคำพูดสามัญทั่วไปตลอดการดำรงชีวิตของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ก็ตามสิ่งนั้นก็จะไม่เกิดจากอารมณ์อย่างเด็ดขาดซึ่งตามความเป็นจริงแล้วเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้แน่นอนว่าท่านศาสดา (ซ็อลฯ) จะล่วงละเมิดกระทำความผิด[i]
  • เหตุใดท่านอิมามอลี(อ.)จึงวางเฉยต่อการหมิ่นประมาทท่านหญิงฟาฏิมะฮ์?
    7117 ประวัติหลักกฎหมาย 2554/10/09
    การที่ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ถูกทุบตีมิได้ขัดต่อความกล้าหาญของท่านอิมามอลี(อ.) เพราะในสถานการณ์นั้นท่านต้องเลือกระหว่างการจับดาบขึ้นสู้เพื่อทวงสิทธิของครอบครัวที่ถูกละเมิดหรือจะอดทนสงวนท่าทีแล้วหาทางช่วยเหลืออิสลามด้วยวิธีอื่นจากการที่การจับดาบขึ้นสู้ในเวลานั้นเท่ากับการต่อต้านและสร้างความแตกแยกในหมู่มุสลิมอันจะทำให้สังคมมุสลิมยุคแรกอ่อนเปลี้ยส่งผลให้กองทัพโรมันเหล่าศาสดาจอมปลอมและผู้ตกศาสนาจ้องตะครุบให้สิ้นซากท่านอิมามอลี(อ.)ยอมสละความสุขของตนและครอบครัวเพื่อผดุงไว้ซึ่งอิสลามศาสนาที่เป็นผลงานคำสอนทั้งชีวิตของท่านนบี(ซ.ล.)และการเสียสละของเหล่าชะฮีดในสมรภูมิต่างๆ ...
  • การโอนถ่ายพลังจากบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่งนั้นเป็นที่ยอมรับในศาสนาอิสลามหรือไม่? ประเด็นนี้มีฮุกุมเช่นไร?
    5923 สิทธิและกฎหมาย 2555/05/19
    เรื่องนี้รวมถึงการรักษาและผลพวงที่ว่ากันว่าจะได้รับจากการรักษาดังกล่าวยังไม่อาจพิสูจน์ได้ และอาจจะเป็นไปได้ว่าผู้ที่อยู่ในวงการนี้อาจจะอุปทานไปเอง ดังนั้นบรรดามะรอญิอ์ตักลีดก็ยังไม่ได้ให้คำตอบที่ชัดเจนเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว เนื่องจากเป็นประเด็นที่ยังมีความคลุมเคลืออยู่ อย่างไรก็ตามคำตอบของบรรดามัรญิอ์ตักลีดท่านอื่นเกี่ยวกับคำถามนี้มีดังนี้ สำนักงานของท่านอายาตุลลอฮ์ อัลอุซมา มะการิม ชีรอซี ประเด็นหลักของการรักษาทางพลังเอเนรจีนั้นไม่มีปัญหาอะไร แต่หากจะต้องขึ้นอยู่กับการกระทำฮะรอมถือว่าไม่อนุญาต คำตอบของท่านอายาตุลลอฮ์ มะฮ์ดี ฮาดะวี เตหะรานี มีดังนี้ การกระทำนี้ โดยตัวของมันเองแล้วนั้นถือว่าไม่มีข้อห้ามแต่อย่างใด ยกเว้นกรณีที่กระทำด้วยปัจจัยที่เป็นฮะรอม เช่นการถูกเนื้อต้องตัวกับผู้ที่ไม่ใช่มะฮ์รอม ฯลฯ ซึ่งไม่เป็นที่อนุญาต ทว่าหากการนำเสนอประเด็นนี้เป็นพื้นฐานในการสร้างความเชื่อที่ผิด ๆ และผู้นำเสนอในประเด็นดังกล่าวจะแอบอ้างว่าตนมีพลังและความสามารถที่พิเศษเหนือมนุษย์ ซึ่งจะทำให้เกิดความเบี่ยงเบนและหันเหไปทางที่ผิดทางความคิดในสังคมนั้น ก็จะถือว่าประเด็นดังกล่าวเป็นสิ่งที่ฮะรอม หมวดหมู่ที่เกี่ยวข้อง คำถามที่ 4864 (ลำดับในเว็บไซต์ ...
  • นามของสตรีสี่ท่านที่ได้รับการเลือกสรรและนามของบิดาของพวกเธอคืออะไร ?
    5725 تاريخ بزرگان 2554/09/25
    ท่ามกลางหมู่มิตรของอัลลอฮฺและหมู่กัลญาณชนตลอดหน้าประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาพวกเขาได้เสียสละในแนวทางของความเป็นเอกะและเป้าหมายของพระเจ้าอย่างมากมายนามชื่อของพวกเขาได้จารึกไว้ในหน้าประวัติศาสตร์มนุษย์แต่ท่ามกลางหมู่ชนแหล่งอ้างอิงและรายงานในอิสลามได้จารึกนามของสตรีสี่ท่านที่ได้รับการเลือกสรรเอาไว้ว่าเป็นสตรีที่ดีที่สุดมีเกียรติและฐานันดรสูงส่งที่สุดในฐานะที่เป็นสตรีที่ดีที่สุดและเป็นสตรีชาวสวรรค์ที่ดีที่สุดด้วยท่านศาสดา (ซ็อลฯ) กล่าวแก่ท่านอมีรุลมุอฺมินีน ...
  • เหตุใดจึงห้ามกล่าวอามีนในนมาซ?
    10290 สิทธิและกฎหมาย 2555/04/02
    มีฮะดีษจากอะฮ์ลุลบัยต์ระบุว่าการกล่าวอามีนในนมาซไม่เป็นที่อนุมัติ และจะทำให้นมาซบาฏิล โดยหลักการแล้ว ไม่จำเป็นต้องพิสูจน์ถึงการไม่เป็นที่อนุมัติ ทั้งนี้ก็เพราะการนมาซเป็นอิบาดะฮ์ประเภทหนึ่ง ซึ่งย่อมไม่สามารถจะเพิ่มเติมได้ตามใจชอบ ฉะนั้น หากไม่สามารถจะพิสูจน์การเป็นที่อนุมัติของส่วนใดในนมาซด้วยหลักฐานทางศาสนา ก็ย่อมแสดงว่าพฤติกรรมนั้นๆไม่เป็นที่อนุมัติ เพราะหลักเบื้องต้นในการนมาซก็คือ ไม่สามารถจะเพิ่มเติมใดๆได้ หลักการสงวนท่าที(อิห์ติยาฏ)ก็หนุนให้งดเว้นการเพิ่มเติมเช่นนี้ เนื่องจากเมื่อเอ่ยอามีนออกไป ผู้เอ่ยย่อมไม่แน่ใจว่านมาซจะยังถูกต้องอยู่หรือไม่ ต่างจากกรณีที่มิได้กล่าวอามีน ...
  • ในกรณีที่เป็นไปได้โปรดอธิบายถึงรายชื่อของสตรีที่เป็นนายหญิงแห่งโลก และนักวิชาการแห่งศตวรรษจากอดีตจนถึงปัจจุบัน?
    6756 تاريخ بزرگان 2555/04/07
    รายชื่อของสตรีบางคนในโลกนี้,ฟะกีฮฺ, มุฮัดดิซ, นักปรัชญา, และ ....นับตั้งแต่ศตวรรษในอดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งบันทึกอยู่ในแหล่งอ้างอิงทางประวัติศาสตร์ ตัวอย่างเช่น 1.ท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ มะอฺซูมมะฮฺ (อ.) บุตรีของท่านอิมามมูซา กาซิม (อ.) น้องสาวของท่านอิมามริฎอ (อ.) 2.ท่านอุมมุ กุลษูม โรฆันนี,แกซวีนียฺ เป็นมุจญฺตะฮิด และมุฮัดดิษ 3.เคาะดิญะฮฺ บัรฆอนียฺ แกซวีนียฺ,เป็นมุจญฺตะฮิด มุฮัดดิษ และนักเทววิทยา, ท่านมีความรู้ด้านเทววิทยาเป็นอย่างดี นอกจากนั้นยังเป็นนักท่องจำ และเป็นนักตัฟซีรอัลกุรอาน อีกด้วย 4.นักกิซ บัรฆอนียฺ แกซวีนียฺ,ป็นมุจญฺตะฮิด มุฮัดดิษ และนักเทววิทยา, ท่านมีความรู้ด้านเทววิทยา ไวยากรณ์ภาษาอาหรับ ความรู้เรื่องการเปลี่ยนแปลงคำ โครงสร้างของลำดับคำในประโยคและวลี ตรรกวิทยา ...
  • อยากทราบว่าปัจจุบันมีการเปรียบเทียบทองหนึ่งโนโค้ดอย่างไร เท่ากับทองกี่กรัม?
    5916 สิทธิและกฎหมาย 2555/03/04
    เมื่อแบ่งระยะรอบเดือนของภรรยาออกเป็นสามช่วงเท่าๆกัน หากสามีร่วมประเวณีทางช่องทางปกติในช่วงเวลาที่หนึ่ง โดยหลักอิห์ติยาฏแล้ว ต้องจ่ายสินไหมเป็นทองสิบแปดโนโค้ดแก่ผู้ยากไร้ ในกรณีร่วมประเวณีในช่วงเวลาที่สอง ต้องจ่ายทองเก้าโนโค้ด และหากเป็นช่วงเวลาที่สามต้องจ่ายทองสี่โนโค้ดครึ่ง[1] สิบแปดโนโค้ดเท่ากับหนึ่งมิษก้อลตามหลักศาสนา เทียบเท่าน้ำหนักสี่กรัมครึ่ง[2] อย่างไรก็ดี มีทัศนะแตกต่างกันเล็กน้อยในหมู่นักวิชาการศาสนาเกี่ยวกับเรื่องสินไหมดังกล่าว ซึ่งสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากตำราที่อ้างอิงในเชิงอรรถ คำตอบของท่านอายะตุลลอฮ์ มะฮ์ดี ฮาดะวี เตหรานีมีดังต่อไปนี้: การร่วมหลับนอนในช่วงมีประจำเดือนถือเป็นเรื่องต้องห้าม แต่ไม่จำเป็นต้องจ่ายสินไหมใดๆนอกจากการขออภัยโทษจากอัลลอฮ์ อย่างไรก็ดี เพื่อความรอบคอบจึงควรจ่ายสินไหมหนึ่งดีน้ารแก่ผู้ยากไร้หากร่วมหลับนอนในช่วงแรกของรอบเดือน ครึ่งดีน้ารในกรณีร่วมหลับนอนช่วงกลางรอบเดือน และเศษหนึ่งส่วนสี่ของดีน้ารสำหรับผู้ที่กระทำช่วงท้ายรอบเดือน หนึ่งดีน้ารในที่นี้เทียบเท่าทองสี่กรัมครึ่ง [1] ประมวลปัญหาศาสนาของอิมามโคมัยนี(พร้อมภาคผนวก), เล่ม 1,หน้า 261,ปัญหาที่ ...
  • ทำไมจึงให้สร้อยนามมะอ์ศูมะฮ์แก่ท่านหญิงฟาติมะฮ์ มะอ์ศูมะฮ์ ท่านดำรงสถานะมะอ์ศูมด้วยหรืออย่างไร?
    7068 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/06/23
    ชื่อของท่านหญิงมะอ์ศูมะฮ์ คือ“ฟาติมะฮ์” ตำราประวัติศาสตร์ก็ได้เอ่ยถึงท่านโดยใช้นามว่า ฟาติมะฮ์ บินติ มูซา บินญะอ์ฟัร (อ.) ท่านหญิงมะอ์ศูมะฮ์ไม่ได้เป็นมะอ์ศูมในความหมายทางหลักของศาสตร์แห่งเทววิทยาอิสลามอย่างที่ใช้กับบรรดาศาสดาและบรรดาอะอิมมะฮ์ แต่ทว่าเธอมีความบริสุทธิ์ทางจิตใจและความเพียบพร้อมทางด้านจิตใจที่สูงส่ง อนึ่ง ประเด็นของอิศมะฮ์และความบริสุทธิ์ถือเป็นประเด็นที่ต้องอาศัยการเปรียบเทียบกับสิ่งอื่น เมื่อคำนึงถึงฮะดีษหลายบทที่ได้กล่าวถึงฐานันดรและความสูงส่งของท่านหญิงมะอ์ศูมะฮ์แล้ว สามารถกล่าวได้ว่าท่านนั้นมีความสูงส่งในด้านของอิศมะฮ์ ในระดับสูง – แม้ไม่ถึงขั้นของอะอิมมะฮ์ ...
  • ฮะดีษที่ระบุว่า ในยุคของอิมามมะฮ์ดี(อ.)จะมีผู้คนบางกลุ่มสูญเสียศรัทธา ส่วนกาฟิรบางกลุ่มรับอิสลามนั้น หมายถึงบุคคลกลุ่มใดบ้าง?
    7761 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/04/02
    ฮะดีษที่คุณอ้างอิงจากหนังสือมีซานุลฮิกมะฮ์นี้ รายงานมาจากหนังสือ“อัลฆ็อยบะฮ์”ของท่านนุอ์มานี ซึ่งต้นฉบับดังกล่าวระบุถึงสถานภาพของเหล่าสาวกในยุคที่อิมามมะฮ์ดี(อ.)ลุกขึ้นสู้ว่า “รายงานจากอิบรอฮีมเล่าว่า มีผู้รายงานจากอิมามศอดิก(อ.)แก่ฉันว่า เมื่อมะฮ์ดี(อ.)ลุกขึ้นสู้ กลุ่มผู้ที่เคยคิดว่าตนเองเป็นสหายของท่านจะออกจากภารกิจนี้(การเชื่อฟังอิมาม) ส่วนกลุ่มที่คล้ายผู้บูชาสุริยันและจันทราจะเข้ามาสวามิภักดิ์ต่อท่านแทน”[1] แม้ว่าสายรายงานของฮะดีษนี้จะน่าเชื่อถือ แต่ยังถือว่าเป็นสายรายงานที่“มุรซั้ล”(ขาดตอน) เนื่องจากผู้รายงาน (อิบรอฮีม บิน อับดิลฮะมี้ดซึ่งเป็นสหายของอิมามกาซิม(อ.))นั้น กล่าวว่ารายงานจากบุคคลผู้หนึ่งที่ได้ยินจากอิมามศอดิก(อ.) โดยผู้รายงานมิได้เปิดเผยชื่อของบุคคลดังกล่าว ด้วยเหตุนี้ฮะดีษข้างต้นจึงถือว่าขาดตอนในแง่สายรายงาน ส่วนในแง่เนื้อหานั้น ฮะดีษข้างต้นมีใจความว่า ในยุคที่อิมามมะฮ์ดี(อ.)ปรากฏกายนั้น เหล่าสหายที่คิดว่าตนเองเป็นพรรคพวกของท่านจะบิดพริ้วไม่เชื่อฟังท่าน แต่ในขณะเดียวกันก็มีบุคคลบางกลุ่มที่มิไช่ผู้ศรัทธา(ซึ่งฮะดีษใช้สำนวนว่า “เปรียบดังผู้บูชาสุริยันจันทรา”) กลับเลื่อมใสและเข้าสวามิภักดิ์ต่อท่าน และกลายเป็นสาวกแท้จริงที่ช่วยเหลือภารกิจต่างๆของท่าน กล่าวได้ว่าฮะดีษข้างต้นต้องการจะตำหนิกลุ่มบุคคลที่อ้างว่าศรัทธาและภักดีต่อท่าน แต่แล้วเมื่อประสบกับการทดสอบในภาคปฏิบัติ ก็ไม่อาจจะทนอยู่ภายใต้อำนาจปกครองของท่านได้อีกต่อไป บุคคลเหล่านี้ไม่เพียงแต่ไม่ได้รับอานิสงส์ใดๆจากการปรากฏกายของอิมามมะฮ์ดี(อ.) แต่กลับต้องประสบกับความวิบัติอีกด้วย ซึ่งอาจจะหนักข้อถึงขั้นลุกขึ้นต่อต้านท่านอิมาม ทว่าในทางตรงกันข้าม บุคคลที่เคยมีความศรัทธาบกพร่อง (กาฟิรและมุชริกีนบางกลุ่ม) อาจจะเอือมระอาต่อการอยู่ใต้อาณัติของผู้กดขี่ เมื่อได้เห็นรัฐบาลที่เที่ยงธรรมของอิมามก็อาจจะเข้ารับอิสลามและสวามิภักดิ์ต่อท่านก็เป็นได้ อย่างไรก็ดี อัลลามะฮ์มัจลิซีได้รายงานฮะดีษนี้ตามสายรายงานเดียวกันนี้ ทว่ามีข้อแตกต่างในเนื้อหาเล็กน้อยว่า: “เมื่อมะฮ์ดี(อ.)ลุกขึ้นต่อสู้ บุคคลบางกลุ่มที่เคยคิดว่าตนเองเป็นสาวกของท่านจะออกจากแนวทางของท่าน และแปรสภาพประดุจเหล่าผู้บูชาสุริยันและจันทรา”[2] กล่าวคือผู้ที่มีศรัทธาสั่นคลอนนั้น ...
  • มีรายงานจากอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) เกี่ยวกับผลบุญของการสาปแช่งบรรดาศัตรูบ้างไหม?
    6005 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2554/12/21
    มีรายงานจำนวนมากมายปรากฏในตำราฮะดีซของฝ่ายชีอะฮฺที่กล่าวเกี่ยวกับผลบุญของการสาปแช่งบรรดาศัตรูของอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) ท่านอิมามริฎอ (อ.) ได้กล่าวแก่ชะบีบบิน

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59309 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56759 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41585 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38351 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38325 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33397 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27491 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27173 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27061 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25140 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...