การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
8493
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2555/02/18
 
รหัสในเว็บไซต์ fa17689 รหัสสำเนา 21903
คำถามอย่างย่อ
สรรเสริญ ยกย่อง และขอบคุณ แตกต่างกันอย่างไร?
คำถาม
ระหว่างคำว่าสรรเสริญ ยกย่อง และขอบคุณ มีข้อแตกต่างหรือไม่? เกี่ยวโยงกันอย่างไร?
คำตอบโดยสังเขป

ความหมายของสรรเสริญ ยกย่อง และขอบคุณ ในพจนานุกรมอรับและความหมายเฉพาะทางคือ:
1. คำว่า “ฮัมด์” (สรรเสริญ) หมายถึงการสดุดีและสรรเสริญ[1] ส่วนความหมายเฉพาะทางก็คือ การกระทำที่เหมาะสม หรือคุณลักษณะดีเด่นที่กระทำโดยสมัครใจ[2]

2. คำว่า “มัดฮ์” (ยกย่อง) หมายถึงการสรรเสริญ[3] ซึ่งกล่าวได้ว่าฮัมด์และมัดฮ์มีความหมายเดียวกันในแง่หนึ่ง[4] แต่ความหมายที่ต่างจากฮัมด์ก็คือ มัดฮ์เป็นการยกย่องการกระทำที่อยู่นอกเหนือความสามารถของมนุษย์[5] เมื่อทราบดังนี้จึงพอเข้าใจจุดร่วมและจุดต่างระหว่างฮัมด์และมัดฮ์ อนึ่ง ฮัมด์ที่กระทำต่ออัลลอฮ์นั้น หมายถึงการสดุดีความประเสริฐ[6]ของพระองค์

3. คำว่า “ชุกร์” (ขอบคุณ) หมายถึงการรำลึก กล่าวถึง และตีแผ่เนียะอ์มัตต่างๆ[7] ซึ่งตรงกับคำว่าเสะพ้อสในภาษาเปอร์เซีย[8] การชุกร์ต่อพระองค์หมายถึงการตอบแทนและการรู้คุณ[9] ด้วยเหตุนี้ พระองค์จึงเป็นทั้งชากิร และชะกู้ร[10]

ยังมีบางทัศนะที่น่าสนใจเกี่ยวกับข้อแตกต่างระหว่างชุกร์และฮัมด์ดังต่อไปนี้
ก. ชุกร์ ใช้สื่อถึงการขอบคุณเนียะอ์มัตใดเนียะอ์มัตหนึ่งด้วยวาจา ใจ หรือการกระทำ เมื่อเป็นเช่นนี้ ฮัมด์ที่กระทำด้วยวาจาจึงเป็นชุกร์ประเภทหนึ่ง[11]
ข. ฮัมด์ ใช้สื่อถึงการยกย่องอย่างไพเราะ เพื่อแสดงถึงการให้เกียรติเนียะอ์มัตและสิ่งอื่นๆที่ไม่ไช่เนียะอ์มัต แต่ชุกร์เป็นการแสดงความรู้คุณเพื่อการยกย่องเนียะอ์มัตเท่านั้น[12]



[1] ลิซานุลอรับ,เล่ม 3,หน้า 155 และ กิตาบอัลอัยน์,เล่ม 3,หน้า 188-189 คำว่าอัลฮัมด์และ พจนานุกรมลำดับอับญัดอรับ-เปอร์เซีย,หน้า 25

[2] เฏาะบาเฏาะบาอี,ซัยยิด มุฮัมมัด ฮเซน, อัลมีซาน ฟีตัฟซีริลกุรอาน,เล่ม 1,หน้า 19, สำนักพิมพ์อิสลามี,กุม,พิมพ์ครั้งที่ห้า,.. 1417  และ ฮุซัยนี ฮะมะดอนี,ซัยยิด มุฮัมมัด ฮุเซน, รัศมีอันเจิดจรัส,ค้นคว้าเพิ่มเติมโดย เบะฮ์บูดี,มุฮัมมัด บากิร,เล่ม 1,หน้า 15, ร้านหนังสือลุฏฟี,เตหราน,พิมพ์ครั้งแรก,..1404

[3] ลิซานุลอรับ,เล่ม 2,หน้า 589,คำว่าอัลมัดฮ์

[4] ซะมัคชะรี, มะฮ์มุ้ด, อัลกัชช้าฟ อัน ฮะกออิก เฆาะวามิฎิตตันซี้ล,เล่ม 1,หน้า 8, ดารุลกิตาบิลอะเราะบี,เบรุต,..1407

[5] อัลมีซาน ฟีตัฟซีริลกุรอาน,เล่ม,หน้า และ รัศมีอันเจิดจรัส,เล่ม 1,หน้า 15

[6] อัลมุฟเราะด้าต ฟีเฆาะรีบิลกุรอาน,หน้า 256

[7] ลิซานุลอรับ,เล่ม 4,หน้า 423 และ อัลมุฟเราะด้าต ฟีเฆาะรีบิลกุรอาน,หน้า 461 และ อัตตะห์กี้ก ฟีกะลิมาติ้ลกุรอานิลอะซีม,เล่ม 6,หน้า 99-100 คำว่าชุกร์

[8] อัตตะห์กี้ก ฟีกะลิมาติ้ลกุรอานิลอะซีม,เล่ม 2,หน้า 280 และ พจนานุกรมลำดับอับญัดอรับ-เปอร์เซีย,หน้า 81,512

[9] ลิซานุลอรับ,เล่ม 4,หน้า 423

[10] อัลบะเกาะเราะฮ์,158 และ อัลฟาฏิร, 30

[11] อัลกัชช้าฟ อัน ฮะกออิก เฆาะวามิฎิตตันซี้ล,เล่ม 1,หน้า 8,9

[12] มัจมะอุ้ลบะห์ร็อยน์,เล่ม 3,หน้า 39, คำว่าอัลฮัมด์

คำตอบเชิงรายละเอียด
คำถามนี้ไม่มีคำตอแบบรายละเอียด
แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • จนถึงปัจจุบันมีผู้ใดบ้างได้ยืนหยัดต่อสู้กับชัยฎอน และแนวทางการต่อสู้ของเขาเป็นอย่างไร?
    8122 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/04/07
    ตามทัศนะของอัลกุรอาน ชัยฏอนไม่อาจมีอิทธิพลเหนือปวงบ่าวที่บริสุทธิ์ของพระเจ้าได้ ปวงบ่าวที่เป็น มุคลิซีน หมายถึง บุคคลที่ได้ไปถึงยังตำแหน่งหนึ่ง ซึ่งชัยฏอนไม่อาจมีอำนาจเหนือพวกเขาได้ แน่นอน การต่อสู้กับชัยฏอนจำเป็นต้องมีสื่อและอุปกรณ์จำเป็นประกอบการต่อสู้ ซึ่งการมีอุปกรณ์เหล่านี้สามารถยืนหยัดต่อสู้กับชัยฏอนได้ และจะได้รับชัยชนะในการต่อสู้ ซึ่งจะขอยกตัวอย่างอุปกรณ์บางอย่างเหล่านั้น ได้แก่ 1.อีมาน : อัลกุรอานกะรีมกล่าวว่า อีมาน คือ ตัวการหลักที่ขัดขวางการมีอิทธิพลของชัยฏอนเหนือผู้ศรัทธา 2. ตะวักกัล : อีกหนึ่งตัวการที่สามารถเอาชนะชัยฏอนและพลพรรคได้ คือการตะวักกัลป์ มอบหมายภารกิจแด่อัลลอฮฺ 3. อิสติอาซะฮฺ : หมายถึงการขอความช่วยเหลือ หรือสถานพักพิงต่ออัลลอฮฺ 4. การรำลึกถึงอัลลอฮฺ : การรำลึกถึงอัลลอฮฺ จะให้ความสว่างแก่มนุษย์ ...
  • อิสลามมีทัศนะเกี่ยวกับการอ่านเร็วบางไหม? โปรดให้ความเห็นด้วยว่า อิสลามเห็นด้วยกับการอ่านเร็วไหมในประเด็นใด?
    20497 2555/05/17
    การอ่านเร็ว หรือการอ่านช้าขึ้นอยู่กับบุคคลที่ค้นคว้า ส่วนคำสอนศาสนานั้นมิได้ระบุถึงประเด็นเหล่านี้ แต่สิ่งที่กล่าวถึงเกี่ยวกับการอัลกุรอานคือ จงอ่านด้วยท่องทำนองอย่างชัดเจน ดังที่กล่าวว่า : "وَ رتّلِ القُرآنَ تَرتیلاً" และจงอ่านอัล-กุรอานเป็นจังหวะอย่างตั้งใจ[1] ท่านอิมาม (อ.) กล่าวอธิบายว่า จงอย่ารีบเร่งอ่านอัลกุรอานเหมือนกับบทกลอน และจงอย่าทิ้งช่วงกระจัดกระจายเหมือนก้อนกรวด[2] เช่นเดียวกันรายงานกล่าวว่า ท่านอิมามริฎอ (อ.) จะอ่านอัลกุรอานจบทุกๆ สามวัน ท่านกล่าวว่า ถ้าหากฉันต้องการอ่านให้จบน้อยกว่า 3 วัน ก็สามารถทำได้ แต่เมื่ออ่านโองการเหล่านั้น ฉันจะคิดและใคร่ครวญเกี่ยวกับโองการเหล่านั้นว่า โองการเหล่านั้นกล่าวถึงเรื่องอะไร และถูกประทานลงมาเกี่ยวกับเรื่องอะไร ในเวลาใด, ด้วยเหตุนี้ ฉันจะอ่านอัลกุรอานจบหนึ่งรอบในทุก 3 ...
  • ตามทัศนะของท่านอายะตุลลอฮฺ อัลอุซมา อะลี คอเมเนอี การปรากฏตัวของสตรีที่เสริมสวยแล้ว (ถอนคิว,เขียนตาและอื่นๆ) ต่อหน้าสาธารณชน ท่ามกลางนามะฮฺรัมทั้งหลาย ถือว่าอนุญาตหรือไม่? และถ้าเสริมสวยเพียงเล็กน้อย มีกฎเกณฑ์ว่าอย่างไรบ้าง?
    10056 หลักกฎหมาย 2556/01/24
    คำถามข้อ 1, และ 2. ถือว่าไม่อนุญาต ซึ่งกรณีนี้ไม่มีความแตกต่างกันในเรื่องอุปกรณ์ที่ใช้เสริมสวย คำถามข้อ 3. ถ้าหากสาธารณถือว่านั่นเป็นการเสริมสวย ถือว่าไม่อนุญาต[1] [1] อิสติฟตาอาต จากสำนักฯพณฯท่านอายะตุลลอฮฺ อัลอุซมา คอเมเนอี (ขออัลลอฮฺทรงปกป้อง) ...
  • อิสลามมิได้ห้ามรับประทานเนื้อดอกหรือ?
    8702 สิทธิและกฎหมาย 2555/03/14
    พืชผักผลไม้และเนื้อสัตว์ถือเป็นอาหารของมนุษย์มาตั้งแต่โบราณ แต่ก็มีมนุษย์บางกลุ่มที่มีรสนิยมสองขั้วที่ต่างกัน บางกลุ่มไม่แตะต้องเนื้อสัตว์เลย ส่วนบางกลุ่มในแอฟริกา ตะวันออกไกลและยุโรปบางประเทศกินเนื้อสัตว์แทบทุกประเภทแม้กระทั่งเนื้อมนุษย์ในบางกรณี การเปรียบเทียบระหว่างมนุษย์กับสัตว์เดรัจฉานถือว่าไม่ถูกต้องนัก การจะใช้เหตุผลที่ว่าเนื่องจากสัตว์เดรัจฉานกินเนื้อ ฉะนั้นมนุษย์จึงไม่ควรจะทานเนื้อ คงต้องถามกลับว่า สัตว์ป่าอย่างเช่น กวาง ยีราฟ ฯลฯ กินเนื้อเป็นอาหารหรือไม่? สัตว์ที่มีนิสัยดุร้ายอย่างหมีไม่ได้กินน้ำผึ้งและผักผลไม้ดอกหรือ? สิ่งนี้จะถือเป็นเหตุผลที่มนุษย์ไม่ควรทานน้ำผึ้งและพืชผักได้หรือไม่? ...
  • มีการกล่าวถึงรายชื่อบุคคลทั้งห้าในคัมภีร์เตารอตและคัมภีร์อินญีลหรือไม่?
    5552 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/12/11
    ดังที่ฮะดีษบางบทกล่าวไว้ว่ารายชื่อของบุคคลทั้งห้าผู้เป็นชาวผ้าคลุม (อ.) อันประกอบด้วยท่านศาสดา (ซ.ล.), อิมามอลี (อ.), ท่านหญิงฟาติมะฮ์ (ซ.), อิมามฮะซัน (อ.), อิมามฮุเซน (อ.) มีการกล่าวถึงในคัมภีร์เตารอตและคัมภีร์อินญีลซึ่งในการถกระหว่างอิมามริฏอ (อ.) กับบาทหลวงคริสต์และแร็บไบยิวได้มีกล่าวถึงประเด็นดังกล่าวด้วย ...
  • ริวายะฮ์ที่กล่าวว่า “ในสมัยที่อิมามอลี (อ.) ปกครองอยู่ ท่านมักจะถือแซ่เดินไปตามถนนหนทางและท้องตลาดพร้อมจะลงโทษอาชญากรและผู้กระทำผิด” จริงหรือไม่?
    5960 สิทธิและกฎหมาย 2555/03/18
    สำนักงานท่านอายะตุลลอฮ์อัลอุซมา มะการิม ชีรอซี ริวายะฮ์ข้างต้นกล่าวถึงช่วงรุ่งอรุณขณะที่ท่านสำรวจท้องตลาดในเมืองกูฟะฮ์ และการที่ท่านมักจะพกแซ่ไปด้วยก็เนื่องจากต้องการให้ประชาชนสนใจและให้ความสำคัญกับกฏหมายนั่นเอง สำนักงานท่านอายะตุลลอฮ์อัลอุซมาศอฟีย์ กุลพัยกานี ริวายะฮ์ได้กล่าวไว้เช่นนั้นจริง และสิ่งที่อิมามอลี(อ.) ได้กระทำไปคือสิ่งที่จำเป็นต่อสถานการณ์ในยุคนั้น การห้ามปรามความชั่วย่อมมีหลายวิธีที่จะทำให้บังเกิดผล ดังนั้นจะต้องเลือกวิธีที่จะทำให้สังคมคล้อยตามความถูกต้อง คำตอบของท่านอายะตุลลอฮ์มะฮ์ดี ฮาดาวี เตหะรานี มีดังนี้ หากผู้ปกครองในอิสลามเห็นสมควรว่าจะต้องลงโทษผู้ต้องหาและผู้ร้ายในสถานที่เกิดเหตุ หลังจากที่พิสูจน์ความผิดด้วยวิธีที่ถูกต้อง และพิพากษาตามหลักศาสนาหรือข้อกำหนดที่ผู้ปกครองอิสลามได้กำหนดไว้ การลงทัณฑ์ในสถานที่เกิดเหตุถือว่าไม่ไช่เรื่องผิด และในการนี้ไม่จำเป็นต้องอ้างอิงริวายะฮ์ดังกล่าวแต่อย่างใด แต่รายงานที่ถูกต้องที่ปรากฏในตำราฮะดีษอย่าง กุตุบอัรบาอะฮ์[1] ก็คือ ท่านอิมามอลี (อ.) พกแซ่เดินไปตามท้องตลาดและมักจะตักเตือนประชาชนให้ระมัดระวังในเรื่องต่าง ๆ โดยไม่มีตำราเล่มใดบันทึกว่าอิมามอลี (อ.) เคยลงโทษผู้ใดในตลาด
  • ปวงข้าทาสเป็นอย่างไร ปวงบ่าวคือใคร? แล้วเราสามารถเคลื่อนไปในหนทางของการแสดงความเคารพภักดีได้อย่างไร ?
    7089 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/03/08
     คำว่าอิบาดะฮฺนักอักษรศาสตร์ส่วนใหญ่ตีความว่าหมายถึงขั้นสูงสุดของการมีสมาธิหรือความต่ำต้อยด้อยค่าดังนั้นจึงไม่สมควรอย่างยิ่งเว้นเสียแต่ว่าสำหรับบุคคลที่ประกาศขั้นตอนของการมีอยู่ความสมบูรณ์และความยิ่งใหญ่ของความโปรดปรานและความดีงามออกมาฉะนั้นการแสดงความเคารพภักดีที่นอกเหนือไปจากพระเจ้าแล้วถือเป็นชิริกทั้งสิ้น
  • ถ้าก่อนที่จะเกิดความถูกต้อง (สงบ) ฝ่ายหนึ่งได้อ้างการบีบบังคับ หรือขู่กรรโชก ถือว่าสิ่งนี้มีผลต่อข้อผูกมัดหรือไม่?
    5245 สิทธิและกฎหมาย 2554/06/21
    ในกรณีนี้บุคคลที่กล่าวอ้างว่าข้อผูกมัด (อักด์) ถูกต้องนั้นมาก่อนแต่ต้องกล่าวคำสาบานด้วยส่วนบุคคลที่กล่าวอ้างว่าได้มีการบีบบังคับหรือกรรโชกขู่เข็ญเกิดขึ้นจำเป็นต้องมีพยานยืนยันด้วย ...
  • ถ้าหากรายงานที่กล่าวประณามการสั่งสมทรัพย์สมบัติถูกต้อง, ดังนั้น ทรัพย์สมบัติของคนเราหรือแม้แต่ทรัพย์สินของบรรดาอุละมาอฺจะอธิบายว่าอย่างไร?
    6530 ปรัชญาเศรษฐศาสตร์ 2554/11/21
    ประการแรก: รายงานที่กล่าวถึง,แม้ว่าจะมีสายรายงานที่อ่อนแอก็ตาม, แต่เมื่อพิจารณารายงานอื่นที่กล่าวถึงประเด็นนี้, ก็จะสามารถลบล้างความอ่อนแอของสายรายงานฮะดีซดังกล่าวได้เป็นอย่างดี
  • มีวิธีใดบ้างในการชำระบาป
    9678 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/21
    วิธีแสวงหาการอภัยโทษจากอัลลอฮ์มีหลายวิธีด้วยกันอาทิเช่น1.เตาบะฮ์หรือการกลับตนเป็นคนดี (ตามเงื่อนไขที่กำหนด)2. ประกอบกุศลกรรมที่ยิ่งใหญ่อันจะสามารถลบล้างความผิดบาปได้3. สงวนใจไม่ทำบาปใหญ่ (กะบีเราะฮ์) ซึ่งจะส่งผลให้ได้รับการผ่อนปรนบาปเล็ก4. อดทนต่ออุปสรรคยากเข็ญในโลกนี้รวมทั้งการชำระโทษในโลกแห่งบัรซัคและทนทรมานในการลงทัณฑ์ด่านแรกๆของปรโลก

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59385 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56836 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41665 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38414 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38414 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33444 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27537 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27231 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27126 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25202 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...