การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
8999
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2555/08/06
 
รหัสในเว็บไซต์ fa1606 รหัสสำเนา 28160
หมวดหมู่ دین و فرهنگ
คำถามอย่างย่อ
ความเสียหายของศาสนาคือสิ่งไหน?
คำถาม
ความเสียหายของศาสนาคือสิ่งไหน?
คำตอบโดยสังเขป

ศาสนา,เป็นพระบัญชาศักดิ์สิทธิ์,มาจากพระเจ้า ซึ่งในนั้นจะไม่มีทางผิดพลาด และไม่มีผลกระทบอันเสียหายอย่างแน่นอน, การยอมรับความผิดพลาดและการกระทำผิด เกี่ยวข้องกับภารกิจของมนุษย์ แน่นอนการวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับการรู้จักผลกระทบของศาสนา และการตื่นตัวของผู้มีศาสนา สิ่งเหล่านี้จะไม่ย้อนกลับไปสู่แก่นแท้ความจริงของศาสนา, ทว่าจะย้อนกลับไปสู่ประชาชาติที่นับถือศาสนา ความใจและการพัฒนาของมนุษย์ที่มีต่อศาสนา ประเภทของการรู้จักในศาสนา และรูปแบบของการตื่นตัวในศาสนา

ความเสียหายและผลกระทบต่อศาสนา มีรายละเอียดแตกต่างกันมากมาย เนื่องจากกลุ่มหนึ่งของความเสียหายทางศาสนา เป็นความเสียหายที่มีผลกระทบ ต่อความศรัทธาของบุคคลที่นับถือศาสนา หรือผู้มีความสำรวมตน ซึ่งความเสียหายดังกล่าวนี้เองจะอยู่ในระดับของการรู้จักทางศาสนา (ความเสียหายทางศาสนาและการศึกษา) บางครั้งก็อยู่ในระดับของการปฏิบัติบทบัญญัติและคำสั่งของศาสนา การรักษาบทบัญญัติ บทลงโทษ และสิทธิ ซึ่งศาสนาได้กำหนดเป็นข้อบังคับให้รักพึงระมัดระวังต่อสิ่งเหล่านั้น เช่น ความอิจฉาริษยา ความอคติ และเกียรติยศ อีกกลุ่มหนึ่งของความเสียหายทางศาสนา จะอยู่ในปัญหาด้านสังคมทางศาสนา เช่น ความบิดเบือน การอุปโลกน์ และการกระทำตามความนิยมต่างๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นอันตราย และเป็นความกดดันต่อการระวังรักษาความศักดิ์สิทธิ์ และการขยายศาสนาให้กว้างขวางออกไป

คำตอบเชิงรายละเอียด

ศาสนา นับว่าเป็นสวยงามที่สุดของรูปลักษณ์แห่งความเมตตา ของพระเจ้าสำหรับการชี้นำมวลมนุษย์ ซึ่งผู้นับถือศาสนาจะหันหน้าไปสู่ความเมตตาดังกล่าว พร้อมกับดำเนินชีวิตไปบนหนทางแห่งการชี้นำนั้น ซึ่งการดำเนินชีวิตบนหนทางดังกล่าว บางครั้งก็มีผลกระทบบางอย่างต่อผู้นับถือศาสนา ซึ่งการรู้จักผลกระทบเหล่านั้น และการเข้าแก้ไขเพื่อความเข้มแข็งผู้นับถือศาสนา ถือว่าเป็นมารยาทที่สำคัญสำหรับการดำเนินไปบนวิถีทางเช่นนี้

แน่นอนศาสนา ตามความเป็นจริงอันสูงส่งแล้ว เป็นพระบัญชาศักดิ์สิทธิ์ ด้วยเหตุนี้ คำสอนของศาสนาจึงอยู่เหนือความเสียหายและผลกระทบในทางลบทั้งหลาย อีกนัยหนึ่งภารกิจของพระเจ้าจะไม่มีความผิดพลาด ไม่มีผลกระทบในทางเสียหาย ความผิดพลาดทั้งหลายแหล่เป็นภารกิจเกี่ยวข้องกับมนุษย์ การวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับผลกระทบ และการรู้จักข้อผิดพลาดทางศาสนา และผู้นับถือศาสนาจะไม่ย้อนกลับไปสู่แก่นแท้ความจริงของศาสนา ทว่าจะย้อนกลับไปสู่ประชาชาติที่นับถือศาสนา ความใจและการพัฒนาของมนุษย์ที่มีต่อศาสนา ประเภทของการรู้จักในศาสนา และรูปแบบของการตื่นตัวในศาสนา ภารกิจเหล่านี้ล้วนมีความขัดแย้งกัน และตกอยู่ในความเสื่อมเสียที่มีผลกระทบ บรรดาผู้นับถือศาสนามีส่วนร่วมในระดับของการรู้จัก และการรู้จักนั้นก็มีส่วนร่วมในการปฏิบัติ กล่าวคือการเลือกแนวคิด การรู้จัก ความเชื่อ และความศรัทธาในศาสนา การสารภาพ การรวบรวม ความประพฤติ และการจาริกจิตใจทั้งหมดล้วนเป็นศาสนาทั้งสิ้น

เนื่องจากการมองเห็นความเสื่อมเสีย และการได้รับผลกระทบสำหรับผู้นับถือศาสนา เป็นสาเหตุทำให้ความศักดิ์สิทธิ์ของมนุษย์ เขตแดนสำหรับการจาริก และสังคมต้องได้รับความสั่นคอน ในทางกลับกันความดื้อรั้น การทำลายบทบัญญัติ และการก่อความเสียหายก็จะปรากฏชัดเจนยิ่งขึ้นมา การไม่มีศาสนาคือ ปัจจัยสำคัญยิ่งสำหรับการกระทำความผิดในภารกิจต่างๆ เนื่องจากเกียรติยศของศาสนาก็คือ การปกปักษ์รักษามนุษย์ให้รอดพ้นจากความเลวร้ายต่างๆ  มิให้ถลำลงไปในความผิดบาป และการทำลายล้างให้สูญสิ้นไป ฉะนั้น ถ้าศาสนามีความปลอดภัยสมบูรณ์ ก็จะเชิดชูมนุษย์ให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ยิ่งที่สุด และชี้นำทางเขาไปสู่หนทางที่ถูกต้อง พร้อมกับปกป้องเขา และยิ่งศาสนามีความปลอดภัยและเข้มแข็งมากเท่าใด ความปลอดภัยและความเข้มแข็งของมนุษย์ก็จะมีมากยิ่งขึ้นต่อไป ในทางตรงกันข้ามถ้าหากเกียรติยศของศาสนาถูกทำลายล้างลงเมื่อใด มนุษย์นั่นแหละที่ต้องเผชิญกับความเสื่อมทราม ตกอยู่ในความเสียหาย และได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง

ดังนั้น เมื่อพิจารณาประเด็นที่กล่าวมาแล้ว เราสามารถแบ่งระดับความเสียหายต่างๆ และผลกระทบทั่วไป ที่มีต่อศาสนาได้ 2 ประการดังต่อไปนี้:

1.ความเสียหายที่เกิดกับความศรัทธา ของบุคคลที่มีศาสนาและสำรวมตน

ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) สาธยายถึงความศรัทธาของบุคคลไว้ว่า : “อีมานคือการรู้จักด้วยจิตใจ การสารภาพออกมาทางลิ้น และการปฏิบัติด้วยอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกาย”[1]

ในรูปลักษณ์นี้หมายถึง การคิด ความเชื่อและความศรัทธาทางศาสนา ตลอดจนการสารภาพ การรวบรวม ความประพฤติ และการจาริกทางศาสนา ทั้งหมดตกอยู่ในอันตรายและความเสียหาย แน่นอน ความเสียหายและผลกระทบในที่นี้ หมายถึงการปรากฏอย่างชัดเจนของข้อบกพร่อง ข้อตำหนิ และการออกนอกสถานภาพทางธรรมชาติ พร้อมกับการเกิดการกระทำความผิดมากยิ่งขึ้น

คำสาธยายของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ท่านอิมามอะลี (อ.) และบรรดาอิมามมะอฺซูม (อ.) ท่านอื่น ได้กล่าวแนะนำถึงความเสียหายและผลกระทบทางศาสนาว่า อันเกิดจากภารกิจต่างๆ ซึ่งจะขอกล่าวถึงผลเสียบางอย่างเหล่านั้น เช่น :

ก) การบูชาอำนาจฝ่ายต่ำ : ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) กล่าวว่า : อำนาจฝ่ายต่ำคือความเสียหาย[2]

ข) การบูชาโลกวัตถุ: ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) กล่าวว่า : ความเสียหายของศาสนา เกิดจากการลุ่มหลงบูชาโลก[3]

ค) การคิดไม่ดีและมีอคติ : ท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า :อันตรายและความเสียหายของผู้มีศาสนาคือ การคิดไม่ดีและอคติ (ต่ออัลลอฮฺ)[4]

ง)การมุสา : ทานอิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า :การมุสามากเป็นเหตุให้ศาสนาเสียหาย[5]

จ)ความอิจฉาริษยาและอคติ : ทานอิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า : ความอิจฉาริษยา การโกหก และความอคติ ทั้งสามประการนี้จะทำลายบุคลิกภาพ และทำให้ศาสนาเสียหาย[6]

ฉ)ความจองหอง : ทานอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า : ความเสียหายของศาสนาเกิดจากความอิจฉา ความจองหอง และศักดิ์ศรีจอมปลอม[7]

เป็นที่ประจักษ์ว่า รายงานเหล่านี้มิได้มีความขัดแย้งกันแต่อย่างใด นอกจากนั้นประเด็นที่ฮะดีซกล่าวถึงเรื่องความเสียหายทางศาสนา มิได้ระบุถึงประเด็นอันเฉพาะแต่อย่างใด กล่าวคือ วัตถุประสงค์ของท่านอิมามมิต้องการระบุว่าเฉพาะการคิดไม่ดี ความอิจฉาริษยา ความยโสโอหัง ความอคติ หรือการขายเกียรติยศ เท่านั้นที่จะทำให้ศาสนาเสื่อมเสีย โดยไม่มีอย่างอื่นอีก ทว่าสิ่งที่รายงานกล่าวถึงเป็นเพียงตัวอย่าง จากสิ่งที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่างๆ ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วต้องกล่าวว่า ทุกสิ่งที่ทำให้ศาสนาต้องตกอยู่ในอันตราย หรือก่อให้ผลกระทบในทางเสียหายแล้ว ถือว่าสิ่งเหล่านั้นเป็นปัจจัยทำลายศาสนาทั้งสิ้น ซึ่งฮะดีซเพียงแต่กล่าวถึงสิ่งที่สำคัญที่สุดเท่านั้น

2. ความเสียหายในแง่ที่สร้างความเสียหายแก่สังคมศาสนา และแสดงรูปลักษณ์ที่มิใช่ความจริงทางศาสนาให้ปรากฏออกมา เช่น ความเข้าใจผิดในเรื่องความสำรวมตนในศาสนา, อันเป็นสาเหตุทำให้บุคคลนั้น ต้องหลุดจากสถานภาพความเป็นจริงในชีวิตทางธรรมชาติ และจมดิ่งตนเองลงไปสู่กับดักของความสุดโต่ง และความสันโดษ ... ในทำนองเดียวกันความเข้าใจผิดในเรื่องการกำหนดกฎสภาวะ, การมอบหมาย, การรอคอยการปรากฏกาย, ความอดทน, ชะฟาอัต, การตะกียะฮฺ และภารกิจอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งสิ่งเหล่านี้กลายเป็นสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ศาสนา และผู้นับถือศาสนา ดังนั้น ความเสียหายตามที่กล่าวมาจะเห็นว่า มีรูปลักษณ์ที่แตกต่างกัน และมีระดับที่หนักเบาแตกต่างกันออกไป ในลักษณะที่สามารถกล่าวได้ตามคุณลักษณะหนักเบาของสิ่งนั้น เช่น :

ความไม่เข้าใจลึกซึ้งในศาสนา และการจาริกจิตใจ การได้รับข้อมูลไม่ถูกต้องจากความเข้าใจในศาสนา ความอ่อนแอด้านความเชื่อ และความประพฤติทางศาสนา ความอ่อนแอด้านรากฐานทางจริยธรรม ความไร้ค่าของคุณค่าต่างๆ ทางศาสนา การไม่เชื่อถือเรื่องศาสนาและประเพณีปฏิบัติทางศาสนา การไม่ให้ความสำคัญกับศาสนา และการหันห่างออกจากบทบัญญัติและนิกายทางศาสนา

ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) กล่าวว่า : ศาสนาจะเสียหายด้วยสิ่งสามประการ อันได้แก่: ก) ผู้รู้ประพฤติตัวชั่วช้า ฝ่าฝืน และก่อการชั่ว ข) ผู้ปกครองและผู้นำอยุติธรรม ค) คนโง่เขลาอวดฉลาด[8] ทำนองเดียวกันการนำสิ่งอุปโลกน์ และสิ่งแปลกปลอมเข้ามาสู่ศาสนา การมีวิสัยทัศน์คับแคบ การไม่อดทนต่อทัศนะของบุคคลอื่นหรือนิกายอื่นในอิสลาม กานใส่ร้ายป้ายสีว่าพวกเขาหลงผิด การตั้งภาคีเทียบเคียงพระเจ้า และการปฏิเสธ ตลอดจนการแสดงโฉมหน้าของความป่าเถื่อน ที่มิใช่ความจริงในศาสนา และอื่นๆ...ซึ่งเป็นความเสียหายอย่างหนักและเป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อการดำรงอยู่ และการขยายวงกว้างออกไปของศาสนาในสังคมมนุษย์

ความเสียหายเหล่านี้เอง ได้ส่งผลกระทบต่อศาสนา และผู้นับถือศาสนา ซึ่งในอีกแง่หนึ่งนั้นสามารถแบ่งออกเป็นความเสียหายภายในและภายนอกของศาสนา ซึ่งวัตถุประสงค์ของความเสียหายภายในศาสนา เกี่ยวข้องกับความเข้าใจ การพัฒนา  และการรู้จักศาสนา วิธีการดำรงตนของผู้นับถือศาสนา เช่น การบังคับ และความกดดันในศาสนา ความเข้าใจผิดที่มีต่อศาสนา และความไร้สามารถในการับการชี้นำ และการอบรมสั่งสอน ส่วนวัตถุประสงค์ภายนอกศาสนา เกี่ยวข้องกับปัจจัยทางสังคม เศรษฐศาสตร์ และการเมือง ซึ่งรายละเอียดปลีกย่อยของมันนั้นเกี่ยวข้องกับศาสนาโดยตรง

 


[1] ซะดูก, อัลคิซอล,เล่ม 1, หน้า : 178, 239 ,

عنْ عَلِيِّ بْنِ أَبِي طَالِبٍ ع قَالَ قَالَ رَسُولُ اللَّهِ ص الْإِيمَانُ مَعْرِفَةٌ بِالْقَلْبِ وَ إِقْرَارٌ بِاللِّسَانِ وَ عَمَلٌ بِالْأَرْكَانِ

[2] กันซุลอุมาล, 44121

[3] ตะฮฺรีรุลมะวาอิซ อัลอะดะดียะฮฺ, หน้า 21, آفة الدين الهوى.

[4] ตัซนีฟ ฆุรรุลฮิกัม วะดุรุรลกะลัม,หน้า 263-5669, قال علی (ع): آفَةُ الدِّينِ سُوءُ الظَّنِّ (3/101)

[5] ตัซนีฟ ฆุรรุลฮิกัม วะดุรุรลกะลัม,หน้า 221-4421, كَثْرَةُ الْكَذِبِ تُفْسِدُ الدِّينَ وَ يُعْظِمُ الْوِزْرَ (4/597)

[6] ตัซนีฟ ฆุรรุลฮิกัม วะดุรุรลกะลัม,หน้า 299, دَعِ الْحَسَدَ وَ الْكَذِبَ وَ الْحِقْدَ فَإِنَّهُنَّ ثَلَاثَةٌ تَشِينُ الدِّينَ وَ تُهْلِكُ الرَّجُلَ (4/19)

[7] อัลกาฟียฺ, เล่ม 2, หน้า 307 ฮะดีซที่ 5, آفَةُ الدِّينِ الْحَسَدُ وَ الْعُجْبُ وَ الْفَخْر.

[8] กันซุลอุมาล, 28954

 

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • บุคลิกของอบูดัรดาอฺ เป็นเชนไร? อะฮฺลุลบัยตฺมีทัศนะอย่างไรกับเขา? รายงานที่เป็นมันกูลจากเขามีกฎเป็นอย่างไร?
    9282 تاريخ بزرگان 2555/04/07
    อุมัรบิน มาลิก เป็นลูกหลานที่สืบเชื้อสายมาจากเผ่า คัซร็อจญฺ ซึ่งส่วนใหญ่จะเรียกด้วยชื่อเล่นว่า อบูดัรดาอฺ เขาเป็นหนึ่งในเซาะฮาบะฮฺ (สหาย) ของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) และอยู่ในฐานะของผู้สืบเชื้อสายมาจากเผ่าคัซร็อจญฺ ซึ่งใช้ชีวิตอยู่ในมะดีนะฮฺ แต่หลังจากที่ท่านเราะซูล (ซ็อล ฯ) ได้เดินทางมามะดีนะฮฺได้ไม่นานนัก เขาก็เข้าพบท่านเราะซูล และได้ยอมรับอิสลาม อบูดัรดาอฺ คือผู้ที่ยืนยันว่าท่านอะลี (อ.) มีความดีและประเสริฐยิ่งกว่ามุอาวิยะฮฺมาก,เขาได้เข้าไปหามุอาวิยะฮฺพร้อมกับอบูฮุร็อยเราะฮฺ และเขาได้เชิญชวนมุอาวิยะฮฺให้เชื่อฟังปฏิบัติท่านอิมามอะลี (อ.), ครั้นเมื่อมุอาวิยะฮฺได้นำเอาเรื่องการสังหารอุสมานมาเป็นข้ออ้าง โดยอ้างว่าให้ท่านอิมามอะลีช่วยส่งคนสังหารอุสมานมาให้เขา หลังจากนั้นเขาได้ส่งอบูดัรดาอฺ และอบูฮุร็อยเราะฮฺมาหาท่านอิมาม อะลี (อ.) เพื่อขอตัวคนสังหารอุสมาน เพื่อสงครามการนองเลือดจะได้สิ้นสุดลง แล้วทั้งสองก็กลับมาหาท่านอิมามอะลี แต่ท่านมาลิกอัชตัรได้พบกับพวกเขาก่อน และได้ประณามพวกเขาอย่างรุนแรง พวกเขาจึงตัดสินใจไม่ไปพบท่านอิมามอะลีแล้ว, วันที่สองเมื่อความต้องการของพวกเขาได้แจ้งให้ท่านอิมามอะลี ได้รับทราบ พวกเขาจึงได้พบกับผู้จำนวนนับหมื่นคนแล้วประกาศแก่ทั้งสองว่า พวกเขานั่นแหละเป็นคนสังหารอุสมาน, ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ทั้งสองสิ้นหวังและกลับไปยังเมืองของตน และได้รับการประณามหยามเหยียดจาก อับดุรเราะฮฺมาน บิน ...
  • เหตุใดบางคนจึงมีรูปลักษณ์ภายในความฝันเป็นสัตว์เดรัจฉาน ทั้งที่หลังจากนั้นเขาเตาบะฮ์และได้รับฐานันดรที่สูงส่ง
    11062 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/12/29
    เมื่อพิจารณาจากคำบอกเล่าของโองการกุรอานและฮะดีษต่างๆจะพบว่าผู้คนมากมายมีรูปโฉมทางจิตวิญญาณที่ไม่ไช่คนการกระทำบางอย่างสามารถเปลี่ยนรูปโฉมทางจิตวิญญาณให้กลายเป็นสัตว์ได้อาทิเช่นการดื่มเหล้าที่สามารถแปลงโฉมผู้ดื่มให้เป็นสุนัขในแง่จิตวิญญาณได้กรณีที่ถามมานั้นท่านอิมามฮุเซนมิได้เปลี่ยนรูปโฉมของเราะซูลเติร์กการกระทำของเขาต่างหากที่ทำให้ตนมีรูปโฉมดังที่กล่าวมาซึ่งหากไม่มีการเตือนด้วยความฝันดังกล่าวเขาก็คงยังไม่เตาบะฮ์แต่เมื่อเตาบะฮ์แล้วก็ย่อมจะคืนสู่รูปโฉมความเป็นคนเช่นเดิม ...
  • ถ้าก่อนที่จะเกิดความถูกต้อง (สงบ) ฝ่ายหนึ่งได้อ้างการบีบบังคับ หรือขู่กรรโชก ถือว่าสิ่งนี้มีผลต่อข้อผูกมัดหรือไม่?
    5246 สิทธิและกฎหมาย 2554/06/21
    ในกรณีนี้บุคคลที่กล่าวอ้างว่าข้อผูกมัด (อักด์) ถูกต้องนั้นมาก่อนแต่ต้องกล่าวคำสาบานด้วยส่วนบุคคลที่กล่าวอ้างว่าได้มีการบีบบังคับหรือกรรโชกขู่เข็ญเกิดขึ้นจำเป็นต้องมีพยานยืนยันด้วย ...
  • มีฮะดีษกล่าวว่า ใครก็ตามที่ได้ถือศิลอดในสามวันสุดท้ายของเดือนชะอ์บาน เขาจะได้รับมรรคผลเท่ากับการถือศิลอดหนึ่งเดือน จากฮะดีษดังกล่าวเราสามารถที่จะถือศิลอดสามวันนี้แทนการถือศิลอดกอฏอ(ชดเชย)สำหรับหนึ่งเดือนรอมฏอนได้หรือไม่?
    6815 สิทธิและกฎหมาย 2554/11/17
    ไม่สามารถทำเช่นนี้ได้ เนื่องจากฮะดีษต่างๆ ที่กล่าวถึงปริมาณและรายละเอียดผลบุญของการนมาซและถือศิลอดในวันต่างๆ และเดือนต่างๆ หรือผลบุญของการนมาซหรือการถือศิลอดในบางสถานที่ เช่นที่มักกะฮ์และมาดีนะฮ์นั้น บ่งชี้ให้ทราบเพียงว่า การกระทำดังกล่าวตามเงื่อนไขของเวลาและสถานที่ที่กำหนดไว้มีผลบุญที่มากมายมหาศาลเท่านั้น แต่หากต้องการที่จะทำอิบาดะฮ์เหล่านี้เพื่อชดเชยหรือทดแทนอิบาดะฮ์ต่างๆ ในอดีตที่เป็นวาญิบ อาทิเช่นนมาซ, การถือศิลอด ฯลฯ ในกรณีที่เนียต(ตั้งเจตนา)ว่าจะกระทำเพื่อชดเชย ก็จะถือว่าได้ชดเชยไปเทียบเท่ากับหนึ่งวัน หาใช่มากกว่านั้นแน่นอนว่าการถือศิลอดดังกล่าวจะถือเป็นการชดเชยศิลอดเดือนเราะมะฎอนก็ต่อเมื่อผู้ถือศิลอดจะต้องเนียตเกาะฎอ(ชดเชย)ศิลอดเดือนรอมฏอนด้วย มิเช่นนั้น หากเขาเนียตว่าจะถือศิลอดมุสตะฮับ การถือศิลอดนั้นจะไม่นับว่าชดเชยการถือศิลอดเดือนรอมฏอนแต่อย่างใด ซึ่งจริงๆแล้ว หากผู้ใดที่ยังมีหน้าที่ต้องถือศิลอดวาญิบชดเชย ย่อมไม่สามารถถือศิลอดมุสตะฮับ(สุหนัต)ได้ กรณีนี้ต่างจากการนมาซ เนื่องจากเราสามารถที่จะทำการนมาซมุสตะฮับได้ทั้งที่ยังมีภาระที่จะต้องกอฏอนมาซที่เคยขาด
  • วะฮฺยูคืออะไร ประทานลงมาแก่ศาสดาอย่างไร
    20114 อัล-กุรอาน 2553/10/21
    วะฮฺยู (วิวรณ์) "ในเชิงภาษาความถึง การบ่ชี้อย่างรวดเร็ว ซึ่งอาจเป็นไปได้ที่เป็นชนิดหนึ่งของคำ หรือเป็นรหัสหรืออาจเป็นเสียงอย่างเดียวปราศจากการผสม หรืออาจเป็นการบ่งชี้และสิ่งที่คล้ายคลึงกัน ความหมายและการนำไปใช้ที่แตกต่างกันของคำนี้ในพระคัมภีร์กุรอาน ทำให้เราได้พบหลายประเด็นที่สำคัญ : อันดับแรก วะฮฺยูไม่ได้เฉพาะพิเศษสำหรับมนุษย์เท่านั้น ทว่าหมายรวมถึงพืช สัตว์ และสิ่งไม่มีชีวิตอื่นด้วย .... (วะฮฺยู เมื่อสัมพันธ์ไปยังสิ่งมีชีวิตก็คือ การชี้นำอาตมันและสัญชาติญาณ หรือเรียกอีกอย่างว่าเป็นการชี้นำในเชิงตักวีนีของพระเจ้า เพื่อชี้นำพวกเขาไปยังเป้าหมายของพวกเขา) แต่ระดับชั้นที่สูงที่สุดของวะฮฺยู เฉพาะเจาะจงสำหรับบรรดาศาสดา และหมู่มวลมิตรของพระองค์เท่านั้น ซึ่งจุดประสงค์ในที่นี้หมายถึง การดลความหมายนบหัวใจของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) หรือการสนทนาของพระเจ้ากับท่านเหล่านั้น บทสรุปก็คือโดยหลักการแล้วการดลอื่นๆ ...
  • มีคำอธิบายอย่างไรเกี่ยวกับโองการที่ ซูเราะฮ์เราะอ์ด وَ لَوْ أَنَّ قُرْآناً سُیِّرَتْ بِهِ الْجِبالُ أَوْ قُطِّعَتْ بِهِ الْأَرْضُ أَوْ کُلِّمَ بِهِ الْمَوْتى‏ بَلْ لِلَّهِ الْأَمْرُ جَمیعا
    7986 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/18
    ในประเด็นที่ว่าโองการوَ لَوْ أَنَّ قُرْآناً سُیِّرَتْ بِهِ الْجِبالُ أَوْ قُطِّعَتْ بِهِ الْأَرْضُ... หมายความว่าอย่างไรนั้นนักอรรถาธิบายกุรอานได้นำเสนอไว้สองทัศนะด้วยกัน1. โองการต้องการจะสื่อว่าหากจะมีตำราใดที่จะสามารถเคลื่อนย้ายภูเขาหรือแยกแผ่นดินหรือทำให้ผู้ตายสนทนาได้ตำรานั้นย่อมมิไช่อื่นใดนอกจากกุรอานทั้งนี้ก็เพราะกุรอานประเสริฐเหนือทุกคัมภีร์2. โองการข้างต้นเป็นคำตอบโต้ข้อเรียกร้องของบรรดากาเฟรแห่งมักกะฮ์ที่เรียกร้องให้ท่านนบีแสดงอภินิหารโดยโองการนี้สื่อว่าคนพวกนี้มีนิสัยดื้อรั้นแม้หากกุรอานแสดงอภินิหารเคลื่อนย้ายภูเขาตามที่พวกเขาต้องการหรือแม้จะแยกแผ่นดินและผุดตาน้ำหรือแม้จะชุบชีวิตผู้ตายให้ปฏิญาณถึงความเป็นศาสดาของเจ้า (โอ้มุฮัมมัด)ให้เป็นที่ประจักษ์แก่พวกเขาก็ตามแต่คนเหล่านี้ก็จะยังดื้อแพ่งไม่ศรัทธาอยู่วันยังค่ำ. ...
  • อยากทราบว่ามีหลักเกณฑ์ใดในการกำหนดวัยบาลิกของเด็กสาวและเด็กหนุ่ม?
    14043 สิทธิและกฎหมาย 2555/04/16
    อิสลามได้กำหนดอายุบาลิกไว้เมื่อถึงวัยของการบรรลุนิติภาวะ กล่าวคือเมื่อบุคคลมีคุณลักษณะของการบรรลุนิติภาวะปรากฏขึ้น (ขั้นต่ำของลักษณะเหล่านี้คือการหลั่งอสุจิสำหรับเด็กหนุ่ม และประจำเดือนสำหรับเด็กสาว) ดังนั้น ถือว่าบุคคลดังกล่าวได้ถึงวัยแห่งบาลิกแล้ว แต่ทว่าในศาสนาอิสลาม นอกจากคุณลักษณะเหล่านี้แล้ว ได้กำหนดบรรทัดฐานในด้านของอายุในการบาลิกให้กับเด็กหญิงและเด็กหนุ่มไว้ด้วย ดังนั้น หากเด็กหญิงหรือเด็กหนุ่มยังไม่มีลักษณะโดยธรรมชาติ แต่ถึงอายุที่ศาสนาได้กำหนดไว้สำหรับการบาลิกของเขาแล้ว เขาจะต้องปฏิบัติตามหน้าที่ของตน เฉกเช่นผู้บาลิกคนอื่น ๆ ดังนั้น ไม่ใช่ว่าชาวซุนนีจะถือว่าเด็กสาวถึงวัยบรรลุนิติภาวะตามหลักเกณฑ์ธรรมชาติ แต่ชีอะฮ์นับจาก 9 ปีแต่อย่างใด แต่ทว่าหากเด็กสาวมีรอบเดือนหรือตั้งครรภ์แล้ว ทุกมัซฮับถือว่าเธอบรรลุนิติภาวะแล้ว ถึงแม้ว่าเธอจะยังไม่ถึงวัยที่ฝ่ายอะฮ์ลิสซุนนะฮ์ได้กำหนดไว้สำหรับการบรรลุนิติภาวะก็ตามa ...
  • คำว่าดวงวิญญาณที่ปรากฏในซิยารัตอาชูรอหมายถึงผู้ใด? اَلسَّلامُ عَلَیْکَ یا اَبا عَبْدِ اللَّهِ وَ عَلَى الْاَرْواحِ الَّتى حَلَّتْ بِفِنائکَ
    6152 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/02
    ارواح التی حلت بفنائک หมายถึงบรรดาชะฮีดที่พลีชีพเคียงข้างท่านอิมามฮุเซนณแผ่นดินกัรบะลาทั้งนี้เนื่องจากเหตุผลต่อไปนี้:1. ผู้เยี่ยมเยียนที่ยังไม่เสียชีวิตมักไม่เรียกกันว่าดวงวิญญาณ2. บทซิยารัตนี้มักจะอ่านโดยผู้เยี่ยมเยียนและแน่นอนว่าผู้อ่านย่อมมิไช่คนเดียวกันกับผู้เป็นที่ปรารภ3. ไม่มีซิยารัตบทใดที่กล่าวสลามถึงผู้เยี่ยมเยียนเป็นการเฉพาะ4. ซิยารัตอาชูรอรายงานไว้ก่อนที่จะมีสุสานที่รายล้อมกุโบรของอิมามฉะนั้นดวงวิญญาณในที่นี้ย่อมมิได้หมายถึงผู้ที่ฝังอยู่ณบริเวณนั้น5. จากบริบทของซิยารัตทำให้พอจะเข้าใจได้ว่าดวงวิญญาณในที่นี้หมายถึงบรรดาชะฮีดที่อยู่เคียงข้างท่านอิมามฮุเซนในกัรบะลาอาทิเช่นการสลามผู้ที่อยู่เคียงข้างท่านอิมามเป็นการเฉพาะ السلام علی الحسین و علی علِیّ بن الحسین و علی اولاد الحسین و علی اصحاب الحسین นอกจากที่เนื้อหาของซิยารัตอาชูรอจะสื่อถึงการสลามอิมามฮุเซนลูกหลานและเหล่าสาวกของท่านแล้วยังแสดงถึงการสวามิภักดิ์ต่อท่านและการคัดค้านศัตรูของท่านอีกด้วย6. ซิยารัตอาชูรอในสายรายงานอื่นมีประโยคที่ว่า السلام علیک و علی الارواح التی حلّت بفنائک و اناخت بساحتک و جاهدت فی ...
  • ระหว่างการกระทำกับผลบุญที่พระองค์จะทรงตอบแทนนั้น มีความสอดคล้องกันหรือไม่?
    6896 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/10/18
    การสัญญาว่าจะมอบผลบุญให้อย่างที่กล่าวมามิได้ขัดต่อความยุติธรรมหรือหลักดุลยภาพระหว่างการกระทำกับผลบุญแต่อย่างใดเพราะหากจะนิยามความยุติธรรมว่าคือ"การวางทุกสิ่งในสถานะอันเหมาะสม"ซึ่งในที่นี้ก็คือการวางผลบุญบนการกระทำที่เหมาะสมก็ต้องเรียนว่ามีความเหมาะสมเป็นอย่างดีเนื่องจาก ก. จุดประสงค์ของฮะดีษที่อธิบายผลบุญเหล่านี้คือการเน้นย้ำถึงความสำคัญของอิบาดะฮ์ที่กล่าวถึงมิได้ต้องการจะดึงฮัจย์หรือญิฮาดลงต่ำแต่อย่างใดซ้ำยังถือว่าฮะดีษประเภทนี้กำลังยกย่องการทำฮัจย์หรือญิฮาดทางอ้อมได้อีกด้วยเนื่องจากยกให้เป็นมาตรวัดอิบาดะฮ์ประเภทอื่นๆ
  • บรรดามลาอิกะฮฺมีอายุขัยนานเท่าใด ?มลาอิกะฮฺชั้นใกล้ชิดต้องตายด้วยหรือไม่? เป็นอย่างไร?
    14533 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/09/25
    ตามรายงานกล่าวว่ามวลมลาอิกะฮฺถูกสร้างหลังจากการสร้างรูฮฺของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) และบรรดาอิมาม (อ.) พวกเขาทั้งหมดแม้แต่ญิบรออีล,

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59386 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56838 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41665 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38416 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38414 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33445 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27537 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27231 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27129 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25203 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...