การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
6868
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/11/21
 
รหัสในเว็บไซต์ fa1425 รหัสสำเนา 19002
คำถามอย่างย่อ
ท่านอิมามซะมานจะอยู่ในทุกที่หรือ แม้แต่ในประเทศต่างๆ (ยะฮูดียฺ) หรือประเทศที่ไม่ใช่มุสลิม?
คำถาม
การที่กล่าวว่าท่านอิมามซะมาน (อ.) จะปรากฏตัวในทุกที่ แล้วประเทศที่มิใช่มุสลิมเช่น ยะฮูดียฺ จะปรากฏตัวด้วยหรือไม่ แล้วท่านอิมามจะให้ความสนใจกับบุคคลที่ก่อความเสียหายบนหน้าแผ่นดินด้วยหรือไม่?
คำตอบโดยสังเขป

ถ้าหากพิจารณาด้วยสติปัญญาและตรรกะแล้ว จะพบว่าการไปถึงยังจุดสมบูรณ์สูงสุดอันเป็นที่ยอมรับ โดยปราศจากการชี้นำจากองค์พระผู้อภิบาลสิ่งนี้ไม่อาจเป็นไปได้อย่างแน่นอน อัลลอฮฺ (ซบ.) ได้ส่งบรรดาข้อพิสูจน์ของพระองค์มายังหมู่ประชาชนเพื่อชี้นำทางพวกเขา ด้วยวิธีการที่ดีที่สุด บรรดาอิมามและศาสนทูตได้รับอนุญาตจากอัลลฮฺเพื่อจะได้ใช้ความสามารถเพียงพอต่อการสร้างอิทธิพล และการงานที่เปี่ยมด้วยพลังอำนาจในทุกที่บนโลกนี้, เพื่อจะได้สามารถปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ดีที่สุด, ดังนั้น คำถามของท่านสามารถตอบได้ใน 4 ลักษณะด้วยก้น :

1.วัตถุประสงค์ในการสร้าง และความจำเป็นในการชี้นำของพระองค์ อัลกุรอาน กล่าวว่า :เรามิได้สร้างมนุษย์และญินขึ้นมาเพื่อการใด ยกเว้นเพื่อการแสดงความเคารพภักดี[i]

2.การชี้นำทางของพระเจ้าจะครอบคลุมเหนือประชาชนทั้งหลาย อัลลอฮฺ (ซบ.) ตรัสว่า : แน่นอน เจ้าคือผู้ตักเตือนและสำหรับทุกประชาชาติย่อมมีผู้ชี้นำ

3.ผู้นำด้านจิตวิญญาณแห่งพระเจ้า จะปรากฏในทุกประชาชาติ ดังเช่นคำกล่าวของ ท่านอิมามบากิร (.) ที่ว่า บรรดาอิมาม และบรรดาศาสดา คือสาเหตุของความปลอดภัยสำหรับชาวดินทั้งหลาย และเป็นสาเหตุของการเพิ่มพูนการลงโทษแก่ชาวดินด้วยเช่นกัน ซึ่งสิ่งนี้ครอบคลุมเหนือมนุษย์ทั้งหมด. มีเรื่องราวมากมายเกี่ยวกับการได้รับทางนำของมนุษย์ หรือการหลงทางของผู้คนโดยผ่านท่านอิมามซะมาน (.) ซึ่งในคำตอบโดยละเอียดเราจะอธิบายถึงประเด็นดังกล่าว

4.อำนาจของบรรดาอิมามที่มีเหนือประชาโลก ศักยภาพในการจัดการดูแลโลก

ด้วยเหตุนี้ ท่านอิมามฮุซัยนฺ (.) กล่าวว่า อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงสร้างทุกสรรพสิ่ง แล้วทรงมีบัญชาว่าให้สิ่งเหล่านั้นเชื่อฟังปฏิบัติตามผู้ชี้นำแห่งพระเจ้า ซึ่งตำราบางเล่มของฝ่ายชีอะฮฺ (มุนตะค็อบบุลอะซัร) ได้กล่าวถึงปาฏิหาริย์จำนวนหนึ่งของท่านอิมามซะมาน (.) ซึ่งแสดงให้เห็นถึง อำนาจเหนือธรรมชาติของท่านอิมาม (.)

สรุปสิ่งที่กล่าวมาจะเห็นว่าโลกและจักรวาลนั้นยิ่งใหญ่ แต่ฐานันดรของท่านอิมามซะมานสูงส่งและยิ่งใหญ่กว่านั้น ซึ่งท่านอิมามได้ปรากฏกายให้มุสลิมบางกลุ่มเฉพาะได้เห็น ท่านอิมามซะมาน (.) คือข้อพิสูจน์ของอัลลฮฺบนหน้าแผ่นดิน ท่านจะอยู่ในทุกที่ และจะชี้นำมนุษย์ทุกคนที่ปรารถนาการชี้นำทาง และทุกที่ๆ มีความเหมาะสมท่านจะปรากฏที่นั่น



[i] อัลกุรอาน บทอัซซารียาต, 54 : "و ما خلقت الجن و الانس الا لیعبدون"

คำตอบเชิงรายละเอียด

คำตอบสำหรับคำถามเหล่านี้ตามเหตุผลที่กล่าวอ้างแล้วถึงความเอาใจใส่ ความรักและความเมตตาของท่านอิมามซะมาน (.) เช่นเดียวกันการปรากฏกายของท่านในการสร้างสายสัมพันธ์กับบุคคลที่มีสิทธิ์ในคำสั่งนี้ หรือการชี้นำไปตามความเหมาะสม (แม้ว่าพวกเขาจะเป็นยะฮูดียฺ หรือกลุ่มชนที่คล้ายคลึงกับพวกเขา หรือกลุ่มชนที่หลงลืม)

ในมุมมองของตรรกะและสติปัญญา,ความเหมาะสม (การไปถึงยังความสมบูรณ์) ซึ่งเป็นสาเหตุของการสร้างมนุษย์, จะสัมฤทธิผลได้ด้วยการเชื่อฟังปฏิบัติตามคำสั่งของอัลลอฮฺ (ซบ.) และการเรียนรู้คำสั่งเหล่านั้นถูกจำกัดไว้ในหนทางการชี้นำของบรรดาศาสนทูต และบรรดาอิมามเท่านั้น ด้วยเหตุนี้เอง ไม่ว่าที่ใดก็ตามถ้าพบว่ามีผู้ปรารถนาในการชี้นำของอิมาม (.) หรือต้องการทัศนะอันเฉพาะของท่าน หรือมีความต้องการในการปรากฏกายของท่าน, ดังนั้น การนี้จะเกิดขึ้นไปตามความเหมาะสม, เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ไม่ได้สร้างมนุษย์ขึ้นมาอย่างไร้สาระ ประกอบกับองค์ประกอบด้านสติปัญญา และจิตวิทยาก็ยอมรับว่าพระองค์มิได้สร้างมนุษย์มาอย่างไร้สาระแน่นอน ฉะนั้น ถ้าหากมนุษย์ไม่ได้รับการชี้นำไปตามความเหมาะสมโดยผ่านบรรดาผู้นำแห่งพระองค์แล้วละก็ พวกเขาต้องหลงทางอย่างแน่นอน และถือว่าวัตถุประสงค์ในการสร้างของพระองค์บกพร่อง ขณะที่อัลลอฮฺ (ซบ.) ผู้ซึ่งปรากฏการณ์ทั้งหมดที่เกิดขึ้นล้วนอยู่ในอำนาจของพระองค์, และพระองค์ทรงสร้างเหล่าบรรดาผู้นำของพระองค์ให้มีศักยภาพและความสามารถที่เพียงพอ เพื่อจะได้สามารถช่วยเหลือผู้คนที่ระหนออกไป ไม่ว่าจะอยู่ในสำนักคิดหรือศาสนาใดก็ตาม ซึ่งอัลลอฮฺ (ซบ.) จะทรงช่วยเหลือเขาในการเตรียมพร้อม และทรงชี้นำทางพวกเขาไปสู่หนทางที่ถูกต้อง

อัลกุรอาน และรายงานจำนวนมากมายได้พิสูจน์สิ่งที่ผ่านไปแล้วและมีอยู่จริง ซึ่งจะขอนำเสนอเฉพาะสิ่งที่สำคัญที่สุดเท่านั้น

1.เกี่ยวกับการอธิบายถึงวัตถุประสงค์ในการสร้างมนุษย์ และความจำเป็นในการชี้นำทางพวกเขา อัลกุรอานกล่าวว่า :เราได้สร้างมนุษย์และญินขึ้นมา เพื่อการแสดงความเคารพภักดี

2. เกี่ยวกับการอธิบายถึงการชี้นำทาง และความจำเป็นในการมีผู้นำ ซึ่งครอบคลุมเหนือประชาชาติทั้งปวง และไม่จำเป็นว่าต้องเป็นประชาชาติใดประชาชาติหนึ่งเท่านั้น อัลลอฮฺ (ซบ.) ตรัสว่า :อันที่จริง เจ้าเป็นผู้ตักเตือนและทุกประชาชาติจำเป็นต้องมีผู้ชี้นำทาง[1]

ตามคำอธิบายของโองการข้างต้น ซึ่งอธิบายว่าการชี้นำทางมนุษย์ได้กล่าวไว้ในลักษณะของกฎโดยรวมว่า, ประชาชาติทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นยะฮูดียฺ หรือคนทำบาป ทุกคนต่างอยู่ภายใต้กฎข้อนี้โดยถ้วนหน้ากัน แน่นอนว่า แม้ว่าการชี้นำทางจะครอบคลุมทั้งวิสัยทัศน์และความรักก็ตามจงกล่าวเถิดว่า "อัลลอฮฺนั้นทรงมีหลักฐานอันทั่วถึง[2]

ตามสาระของโองการนี้ในเรื่องการชี้นำทาง, จะเห็นว่ามิได้มีการจำกัดพื้นที่แต่อย่างใด, อีกทั้งเวลาและชนชาติอันเฉพาะเจาะจงก็มิได้ถูกกล่าวถึง ซึ่งเป็นที่ชัดเจนว่า อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงประทานผู้ชี้นำที่เพียงพอสำหรับทุกท้องที่และทุกประชาชาติ

3.ในการกล่าวถึงวิสัยทัศน์และความรักอันเฉพาะของเหล่าบรรดาผู้นำแห่งฟากฟ้า ที่มีต่อชาวดินทั้งหลาย (ไม่ว่าจะเป็นยะฮูดียฺ ฮินดู หรืออื่นๆ) ท่านอิมามบากิร (.) ได้ตอบคำถามของนักรายงานฮะดีซคนหนึ่ง ซึ่งถามถึงเหตุผลในความต้องการที่มีต่อบรรดาศาสดาและอิมาม, ท่านอิมาม (.) ตอบว่า :ถ้าหากปราศจากพวกเขาแล้ว แผ่นดินไม่อาจดำรงอยู่ต่อไปได้ และการลงโทษชาวดินได้ถูกยกเลิกไปเนื่องจากความจำเริญที่มีพวกเขาอยู่เวลานั้นท่านอิมามได้อ้างถึงอัลกุรอาน โองการหนึ่งที่ว่า : "و ما کان الله لیعذبهم و أنت فیهم" และพระองค์อัลลอฮฺจะไม่ทรงลงโทษพวกเขา (คนชั่ว) ขณะที่เจ้ายังอยู่ในหมู่พวกเขา[3] หลังจากนั้นท่านอิมามได้อ้างถึงคำพูดของท่านศาสดา (ซ็อล ) ที่กล่าวว่าหมู่ดวงดาวทั้งหลายคือสัญลักษณ์ของความปลอดภัยแห่งฟากฟ้า ส่วนอะฮฺลุลบัยตฺ ของฉันคือสัญลักษณ์ความปลอดภัยของชาวดินเนื่องจากอัลลอฮฺ ทรงประทานความจำเริญ เครื่องยังชีพ ทรงให้โอกาสคนทำความผิด และทรงชะลอการลงโทษพวกเขา ก็เนื่องจากพวกเขาคือสื่อของอัลลอฮฺ บนหน้าแผ่นดินนั่นเอง[4]

4.การพิสูจน์ถึงอำนาจของบรรดาอิมามที่มีต่อโลกและจักรวาล นั่นคือทุกการจัดการสำหรับพวกเขาแล้วมีความเป็นไปได้ และในกรณีที่จำเป็น อิมาม (.) จะใช้ลักษณะที่เห็นควรปรากฏกาย  ที่นั้น, ท่านอิมามฮุซัยนฺ (.) กล่าวว่าฉันขอสาบานด้วยพระนามของพรเจ้าที่พระองค์มิทรงสร้างสิ่งใดขึ้นมา เว้นเสียแต่เพื่อการแสดงความเคารพภักดีต่อพระองค์[5]

ท่านอมามบากิร (.) กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของความเมตตาอันกว้างไกลในโองการที่กล่าวว่าการเอ็นดูเมตตาของฉันนั้นกว้างขวางทั่วทุกสิ่ง[6] ท่านกล่าวว่าหมายถึงวิชาการของบรรดาอิมาม[7] ซึ่งสามารถกล่าวได้อย่างถูกต้องว่า การปรากฎความรู้และจิตวิญญาณของบรรดาอิมามนั้น มีในทุกที่

ทำนองเดียวกันเกี่ยวกับการอธิบายอัลกุรอาน โองการที่ว่าและอัลลอฮฺทรงมีตัวอย่างอันสูงส่ง[8] ประกอบกับรายงานที่เชื่อถือได้และถูกต้องอีก 15 รายงาน ได้แนะนำว่า บรรดาอิมามมะอฺซูม (.) ทั้งหมดคือเครื่องหมายแห่งความรู้และอำนาจของอัลลอฮฺ.[9]

ท่านอิมามซอดิก (.) กล่าวไว้ในที่หนึ่งว่า :เป็นไปได้อย่างไรที่บรรดาอิมาม (.) คือข้อพิสูจน์สำหรับชาวตะวันออก และตะวันตก แต่ว่าพวกเรามองไม่เห็น และพวกเขาก็ไม่มีอำนาจด้วย[10]

เกี่ยวกับอำนาจและการครอบคลุมด้วยบุคลิกภาพของท่านอิมามซะมาน (.) จากสิ่งที่กล่าวผ่านมาแล้ว จะพบว่าผู้ตักเตือนด้วยความเมตตาและการชี้นำทางของท่านอิมามซะมาน ความจำเป็นในการปรากฏกายของท่านอิมามในทุกที่นั้น ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมและสติปัญญา

ผู้เขียนหนังสือ มุนตะค็อบุลอะซัร (ฯพณฯท่านอายะตุลลอฮฺซอฟียฺ) ได้รวบรวมรายงานและร่องรอยต่างๆ ที่เกี่ยวกับท่านอิมามซะมาน (.) พร้อมกับการวิเคราะห์ ซึ่งท่านได้รวมรวมปาฏิหาริย์สำคัญของท่านอิมามไว้ถึง 8 ประการด้วยกัน ซึ่งบ่งบอกให้เห็นถึงการดูแลจัดการของท่านในการมีอยู่ของสรรพสิ่ง และยังบ่งบอกให้เห็นถึงอำนาจและการควบคลุมของท่านอีกด้วย ซึ่งในตอนท้ายท่านได้กล่าวว่า : ยังมีเรื่องราวอีกมากมายที่บันทึกไว้ในหนังสือ บิฮารุลอันวาร และหนังสืออื่น ซึ่งรายงานทั้งหมดเหล่านั้นอยู่ในขั้นของ มุตะวาติร อย่างมิต้องสงสัย เนื่องจากสายรายงานจำนวนมากซึ่งสุดท้ายแล้วเป็นพวกที่เชื่อถือได้และถูกต้องทั้งสิ้น[11] ซึ่งทั้งหมดเหล่านี้เป็นการกำกับดูแลโดยรวมของท่านอิมามซะมาน (.) ที่มีต่อทุกคนแม้แต่พวกยะฮูดียฺ และผู้ปฏิเสธศรัทธา

อย่างไรก็ตามความการุณย์และการชี้นำอันเฉพาะของท่านอิมามมะฮฺดียฺ (.) จะมีแก่บุคคลที่มีความพร้อมในการได้รับคำชี้นำด้านจิตวิญญาณ และการช่วยเหลือจากท่าน ไม่ว่าบุคคลนั้นจะอยู่ในแผ่นดินอิลามหรือไม่ก็ตาม

สรุป และสิ่งนี้ก็คล้ายคลึงกับการที่ท่านศาสดา และริชาละฮฺของท่านเป็นสากล ท่านอิมาม (.) ในฐานะตัวแทนของท่านศาสดา (ซ็อล ) ท่านจึงเป็นอิมามสำหรับประชาชนทั้งปวง ไม่ว่าจะเป็นมุสลิมหรือไม่ก็ตาม, เพียงแต่ว่าพวกเขา (ผู้ไม่ใช่มุสลิม) ไม่ได้รับเตาฟีกในการเชื่อฟังปฏิบัติตามท่านเท่านั้น, ถ้าหากท่านอิมามซะมาน (.) ได้เอาใจใส่ต่อบรรดาผู้ที่มิได้เป็นมุสลิม, สิ่งนี้มิได้เป็นหลักประกันยืนยันภารกิจด้านจริยธรรมที่ไม่ดี หรือความประพฤติที่ต่อต้านมนุษย์ หรือการฝ่าฝืนของพวกเขาแต่อย่างใด, เนื่องจากว่าพวกเขามีข้อพิสูจน์ที่ดียิ่งของพระเจ้าเยี่ยงอิมาม, แต่พวกเขายังเลือกหนทางที่ไม่ดีและได้กระทำความผิด



[1] อัลกุรอาน บทอัรเราะอ์ดุ, 13 : "انما انت منذر و لکل قوم هاد", ตัฟซัรอัลมีซาน, เล่ม 11, หน้า 335. (บทวิภาษเกี่ยวกับอิมามะฮฺและคำอธิบาย, เล่ม 1, หน้า 270, 282.

[2] อัลกุรอาน บทอันอาม, 149, "قل فلله الحجة البالغة" :

[3] อัลกุรอาน บทอันฟาล, 33

[4] มัจญฺมูอ์ ริวายะฮฺ บิฮารุลอันวาร, เล่ม 23, หน้า 19.

[5]นะมอซียฺ, อะลี, อิซบาติวิลายะฮฺ, หน้า 59, "و الله ما خلق الله شیئاً الا و قد امره بالطاعة لنا"

[6] อัลกุรอาน บทอะอฺรอฟ, 156

[7] นะมอซียฺ, อะลี, อิซบาติวิลายะฮฺ, หน้า 67,

[8] อัลกุรอาน บทนะฮฺลุ, 60.

[9] นะมอซียฺ, อะลี, อิซบาติวิลายะฮฺ, หน้า 126 – 127.

[10] อ้างแล้ว, 65.

[11] ซอฟียฺ, ฆุ้ลภัยคอนียฺ, มุนตะค็อบบุลอะซัร, หน้า 401 – 411.

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • จะสามารถพิสูจน์การมีอยู่ของท่านอิมามมะฮฺดียฺ (อ.) และการปรากฏกายของท่าน ด้วยอัลกุรอานได้อย่างไร?
    6158 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/11/21
    เบื้องต้นจำเป็นต้องรับรู้ว่าอัลกุรอานเพียงแค่กล่าวเป็นภาพรวมเอาไว้ส่วนรายละเอียดและคำอธิบายปรากฏอยู่ในซุนนะฮฺของศาสดา (ซ็อลฯ).
  • การทำความผิดซ้ำซาก เป็นให้ถูกลงโทษรุนแรงหรือ?
    11149 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/08/22
    การทำความผิดซ้ำซากมีความหมาย 2 อย่าง กล่าวคือ 1-ทำความผิดซ้ำบ่อยครั้ง, 2- กระทำผิดโดยไม่ได้คิดลุแก่โทษ หรือไม่เคยกลับตัวกลับใจ การทำความผิดซ้ำซากนั้น จะมีผลติดตามมาซึ่งหนักหนาสาหัสมาก ทั้งโองการอัลกุรอานและรายงานฮะดีซ ได้กล่าวตำหนิไว้อย่างรุนแรง และยังได้กล่าวเตือนอีกว่าผลของการกระทำความผิดนั้น เช่น การเปลื่ยนจากความผิดเล็กเป็นความผิดใหญ่, การออกนอกวงจรของผู้มีความสำรวมตน, ความอับโชคเฮงซวยทั้งหลาย, อิบาดะฮฺไม่ถูกตอบรับ, ลากพามนุษย์ไปสู่เขตแดนของผู้ปฏิเสธศรัทธาและพระเจ้า และ ... หนึ่งในผลของการทำความผิดซ้ำซากคือ การได้รับโทษทัณฑ์อันรุนแรงทั้งโลกนี้และโลกหน้า เหมือนกับบุคคลที่ได้ทำบาปใหญ่ ถ้าเป็นครั้งที่สองเขาจะถูกลงโทษและถูกเฆี่ยนตี ถ้าเป็นครั้งที่สามประหารชีวิต ...
  • การรับประทานล็อบสเตอร์ หอย และปลาหมึกผิดหลักศาสนาหรือไม่?
    16897 สิทธิและกฎหมาย 2554/08/25
    การรับประทานล็อบสเตอร์หอยและปลาหมึกถือว่าผิดหลักศาสนาดังที่บทบัญญัติทางศาสนาได้กำหนดเงื่อนไขบางประการเพื่อจำแนกเนื้อสัตว์ที่ทานได้ออกจากเนื้อสัตว์ที่ไม่อนุมัติให้ทานเห็นได้จากการกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับสัตว์บกสัตว์น้ำและสำหรับสัตว์ปีกฯลฯมาตรฐานที่กำหนดไว้สำหรับสัตว์น้ำที่ฮะลาลคือจะต้องมีเกล็ดเท่านั้นในฮะดีษหนึ่งได้กล่าวไว้ว่ามุฮัมหมัดบินมุสลิมได้ถามจากอิมามบากิร (อ.) ว่า “มีคนนำปลาที่ไม่มีเปลือกหุ้มมาให้กระผมอิมามได้กล่าวว่า “จงทานแต่ปลาที่มีเปลือกหุ้มและชนิดใหนไม่มีเปลือกหุ้มจงอย่าทาน”[1]เปลือกหุ้มในที่นี้หมายถึงเกล็ดดังที่ได้ปรากฏในฮะดีษต่างๆ[2]บรรดามัรญะอ์ตักลีดจึงได้ใช้ฮะดีษดังกล่าวเป็นบรรทัดฐานสำหรับสัตว์น้ำ โดยได้ถือว่านัยยะของฮะดีษต่างๆระบุว่าห้ามรับประทานสัตว์น้ำ(เนื่องจากผิดหลักศาสนา) เว้นแต่ปลาประเภทที่มีเกล็ดเท่านั้นแต่กุ้งมิได้อยู่ในบรรทัดฐานทั่วไปดังกล่าวมีฮะดีษที่อนุมัติให้รับประทานกุ้งเป็นการเฉพาะที่กล่าวว่า “การรับประทานกุ้งไม่ถือว่าฮะรอมและกุ้งถือเป็นปลาประเภทหนึ่ง”[3]ถึงแม้ว่าโดยลักษณะทั่วไปกุ้งอาจไม่ถือว่ามีเกล็ดแต่ในแง่บทบัญญัติแล้วกุ้งรวมอยู่ในจำพวกปลาที่มีเกล็ดและสามารถรับประทานได้กล่าวคือแม้ว่ากุ้งไม่มีเกล็ดแต่ก็ถูกยกเว้นให้สามารถกินได้ทั้งนี้ก็เนื่องจากมีฮะดีษต่างๆอนุมัติไว้เป็นการเฉพาะแม้เราไม่อาจจะทราบเหตุผลเกี่ยวกับเรื่องนี้[4]ส่วนกรณีที่เนื้อปูถือว่าฮะรอมก็เนื่องจากมีฮะดีษที่ระบุไว้โดยเฉพาะที่ว่า “การทานญัรรี(ปลาชนิดหนึ่ง), เต่าและปูถือเป็นฮะรอม[5]ดังนั้นล็อบสเตอร์, ปลาหมึกฯลฯยังคงอยู่ในเกณฑ์ของสัตว์ที่ไม่สามารถรับประทานได้อนึ่งแม้ว่าสัตว์บางประเภทไม่สามารถรับประทานได้แต่ก็มิได้หมายความว่าห้ามเพาะเลี้ยงหรือซื้อขายสัตว์ชนิดนั้นเสมอไปเนื่องจากการรับประทานและการค้าขายเป็นสองกรณีที่จำแนกจากกันบางสิ่งอาจจะเป็นฮะรอมในการดื่มหรือรับประทานแต่สามารถซื้อขายได้อย่างเช่นเลือดซึ่งห้ามรับประทานเนื่องจากฮะรอมแต่ด้วยการที่เลือดมีคุณประโยชน์ในทางอื่นๆด้วยจึงสามารถซื้อขายได้ดังนั้นการซื้อขายล็อบสเตอร์, หอยฯลฯในตลาดหากไม่ได้ซื้อขายเพื่อรับประทานแต่ซื้อขายเพื่อให้เกิดประโยชน์ในด้านอื่นๆที่คนทั่วไปยอมรับกันก็สามารถกระทำได้เพราะล็อบสเตอร์และหอยอาจจะมีประโยชน์อื่นๆอีกมากมายก็เป็นได้
  • ชีอะฮ์มีสำนักตะศ็อววุฟหรืออิรฟานเหมือนซุนหนี่หรือไม่? เป็นไปได้หรือไม่ที่จะจาริกอย่างชีอะฮ์ในสังคมปัจจุบัน และหากเป็นไปได้ เราควรเริ่มจากจุดใด? สามารถจะจาริกในหนทางนี้โดยปราศจากครูบาอาจารย์ได้หรือไม่? ฯลฯ
    5740 รหัสยทฤษฎี 2555/03/12
    มีอาริฟ(นักจาริก)ในโลกชีอะฮ์มากมายที่ค้นหาสารธรรมโดยอิงคำสอนอันบริสุทธิ์ของบรรดาอิมาม หรืออาจกล่าวได้ว่าวิถีชีอะฮ์ก็คือการจำแลงอิรฟานและการรู้จักพระเจ้าในรูปคำสอนของอิมามนั่นเอง ในยุคปัจจุบัน ไม่เพียงแต่สามารถจะขัดเกลาจิตใจและจาริกทางอิรฟานได้ หากแต่ต้องถือเป็นวาระจำเป็นเร่งด่วน เหตุเพราะการจะบรรลุถึงตักวาในยุคที่โลกเต็มไปด้วยเทคโนโลยีแห่งโลกิยะนั้น จะกระทำได้ต่อเมื่อเข้าถึงแก่นธรรมแห่งอิรฟานแล้วเท่านั้น ซึ่งจะสามารถพบแหล่งกำเนิดอิรฟานที่ถูกต้องและสูงส่งที่สุดได้ ณ แนวทางอิมามียะฮ์ ...
  • การอยู่ตามลำพังกับหญิงสาวที่เป็นนามะฮฺรัม ภายในห้องเดียวกัน เป็นอะไรหรือไม่?
    18451 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/04/07
    คำหลักคำสอนของศาสนา,หนึ่งในหลักการที่สอนให้มนุษย์มีความบริสุทธิ์และปกป้องตนจากการทำความผิดคือ การห้ามมิให้อยู่กับหญิงสาวตามลำพังภายในห้องเดียวกัน คำสั่งเสียของชัยฏอน ที่มีต่อมูซา (อ.) ที่ว่า “โอ้ มูซาจงอย่าอยู่ตามลำพังกับหญิงสองต่อสองในที่เดียวกัน เนื่องจากบุคคลใดก็ตามกระทำเช่นนี้ ฉันจะเป็นเพื่อนกับเขา มิใช่ผู้ช่วยเหลือเขา”[1] เช่นเดียวกันท่อนหนึ่งจากคำแนะนำที่มารมีต่อศาสดานูฮฺ (อ.) “เมื่อใดก็ตามที่เจ้าได้อยู่ตามลำพังสองต่อสองกับหญิง ในที่นั้นจะไม่มีใครอยู่กับเจ้าเลย แล้วเจ้าจะคิดถึงเรา”[2] ด้วยเหตุนี้เอง, จากการที่ชัยฏอน จะอยู่กับเราในที่ซึ่งเราได้อยู่ตามลำพังสองต่อสองกับหญิง จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องหลีกเลี่ยง การอยู่ตามลำพังสองต่อสองกับหญิงที่เป็นนามะฮฺรัม เพื่อจะได้ไม่ตกเป็นเหยื่อแห่งการกระซิบกระซาบของชัยฏอน ประเด็นสำคัญที่จำเป็นต้องเตือนสำทับในที่นี้คือ บางครั้งอาจเกิดขึ้นได้ที่เราได้จำเป็นต้องอยู่ตามลำพังกับนามะฮฺรัม เนื่องด้วยความจำเป็นด้านการศึกษาค้นคว้า การให้คำปรึกษา และอื่นๆ ดังนั้น ในกรณีที่จำเป็นเหล่านี้ ถ้าหากใส่ใจและมีความเคร่งครัดต่อคำสอนของศาสนาและชัรอียฺ หรือให้เลือกอยู่ในที่สาธารณเพื่อปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว เพื่อปิดประตูการหยุแหย่ของชัยฏอน
  • เพราะเหตุอะไร เราจึงซัจญฺดะฮฺในซิยารัตอาชูรอ เพื่อขอบคุณพระเจ้า เนื่องจากโศกนาฏกรรมดังกล่าว?
    21253 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/05/20
    การขอบคุณความโปรดปราน เป็นหนึ่งในหัวข้อที่บันทึกอยู่ในแหล่งอ้างอิงรายงานของเรา ซึ่งมีสถานภาพอันเฉพาะเจาะจงพิเศษ[1] มนุษย์ผู้ศรัทธาและเชื่อมั่นต่อพระเจ้าก็เนื่องจากว่า เขามีการรู้จักที่ถูกต้องเกี่ยวกับพระเจ้า และการสร้างสรรค์ของพระองค์, และทุกสิ่งจากพระเจ้าที่ได้ตกมาถึงพวกเขา, เขาจะขอบคุณ, เนื่องจากมนุษย์เหล่านี้, เขาจะปฏิบัติหน้าที่กำหนดจากพระเจ้าร่วมไปด้วย และเมื่อประสบอุปสรรคปัญหาต่างๆ ไม่ว่าจะดีหรือร้ายแรง เขาต่างแสดงความจำนนต่อพระเจ้า และถือว่าสิ่งเหล่านั้นอยู่ในหนทางนำไปสู่ความสมบูรณ์ ในหนทางของพระเจ้า ท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ในตอนบ่ายของวันอาชูรอ, ท่านได้อยู่ร่วมกับสหายคนอื่น ร่วมแซ่ซ้องสดุดีต่อพระเจ้า ทั้งที่ทั้งความดีงามและความเลวร้าย ได้ประสบแด่ท่าน : ประโยคที่กล่าวว่า "احمده على السرّاء والضرّاء" โอ้ อัลลอฮฺ ไม่ว่าฉันจะอยู่ในสภาพปกติ หรืออยู่ในสภาพเศร้าหมอง,ฉันก็จะขอขอบคุณพระองค์ เพื่อว่าฉันจะได้รับความสัมฤทธิผล ด้วยการช่วยเหลือของพระองค์ ได้ชะฮีดและอยู่ร่วมกับบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ "الحمد للّه الذی أکرمنا ...
  • ในสังคมอิสลามมีสตรีศึกษาในสถาบันศาสนาแล้วถึงขั้นมุจญฺตะฮิดมีบ้างหรือไม่?
    5766 تاريخ بزرگان 2554/09/25
    การให้ความร่วมมือกันของนักปราชญ์และนักวิชาการอิสลาม, ประกอบกับเป็นข้อบังคับเหนือตัวมุสลิมทั้งชายและหญิง, สิ่งนี้กลายเป็นสาเหตุทำให้สตรีได้เข้าศึกษาศาสนาจนถึงระดับชั้นของการอิจญฺติฮาดหรือมุจญตะฮิดตัวอย่างสุภาพสตรีที่ศึกษาถึงขั้นอิจญฺติฮาดมุจญฺตะฮิดะฮฺอะมีนเสียชีวิตในปีฮ.ศ. 1403 (1362) หรือมุจญฺตะฮิดะฮฺซะฟอตียฺซึ่งปัจจุบันท่านยังเป็นอาจารย์สอนหนังสือในสถาบันสอนศาสนาเฉพาะสตรีซึ่งสองท่านนี้ถือได้ว่าเป็นตัวอย่างของสตรีที่ประสบความสำเร็จสูง ...
  • ในทัศนะอิสลามอนุญาตให้ซัจญฺดะฮฺและแสดงการตะอฺซีมหรือไม่ ?
    6747 การตีความ (ตัฟซีร) 2554/09/25
    ในทัศนะอิสลามบนพื้นฐานคำสอนของแนวทางอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) ถือว่าการซัจญฺดะฮฺคือรูปแบบของการอิบาดะฮฺที่สวยงามและสมบูรณ์ที่สุดสำหรับพระผู้อภิบาลเท่านั้นและไม่อนุญาตกระทำกับบุคคลอื่นส่วนการซัจญฺดะฮฺที่มีต่อศาสดายูซุฟ (อ.), มิได้ถือว่าเป็นการซัจญฺดะฮฺอิบาดี, ทว่าในความเป็นจริงก็คือว่าเป็นการอิบาดะฮฺต่อพระเจ้าด้วยเช่นกันดังที่เราได้หันหน้าไปทางกะอฺบะฮฺเพื่อนมาซและได้ซัจญฺดะฮฺ, ทั้งที่การนมาซและการซัจญฺดะฮฺของเรามิได้กระทำเพื่อวิหารกะอฺบะฮฺแต่อย่างใดทว่าวิหารกะอฺบะฮฺคือสิ่งเดียวอันถือว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งการรำลึกถึงอัลลอฮฺเราจึงอิบาดะฮฺ ...
  • เพราะเหตุใดจึงวาญิบต้องตักลีดกับมัรญิอฺ ?
    7365 สิทธิและกฎหมาย 2554/09/25
    จุดประสงค์ของ “การตักลีด” คือการย้อนไปสู่ภารกิจที่ตนไม่มีความเชี่ยวชาญในคำสั่งอันเฉพาะซึ่งต้องอาศัยความความเชี่ยวชาญพิเศษซึ่งเหตุผลที่สำคัญที่สุดสำหรับเรื่องการตักลีดเกี่ยวกับปัญหาศาสนาคือเหตุผลทางสติปัญญาที่ว่าผู้ไม่มีความรู้และไม่มีความเชี่ยวชาญปัญหาต้องปฏิบัติตามผู้มีความรู้และเชี่ยวชาญในปัญหานั้นแน่นอนทั้งอัลกุรอาน
  • ท่านอิมามฮุเซน(อ.)มีบุตรสาวคนหนึ่งชื่อรุก็อยยะฮ์ไช่หรือไม่?
    7934 สิทธิและกฎหมาย 2554/12/04
    คำถามนี้ไม่มีคำตอบแบบสั้น ปรดเลือกปุ่มคำตอบที่สมบูรณ์ ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59352 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56809 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41633 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38381 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38375 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33420 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27513 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27207 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27102 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25168 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...