การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
9818
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/07/10
 
รหัสในเว็บไซต์ fa1382 รหัสสำเนา 15030
คำถามอย่างย่อ
สาขามัซฮับที่สำคัญของชีอะฮ์มีจำนวนเท่าใด?
คำถาม
สาขามัซฮับที่สำคัญของชีอะฮ์มีจำนวนเท่าใด?
คำตอบโดยสังเขป

คำว่าชีอะฮ์โดยรากศัพท์แล้ว หมายถึงสหายหรือสาวกและยังแปลได้ว่าการมีแนวทางเดียวกันส่วนในแวดวงมุสลิมหมายถึงผู้เจริญรอยตามท่านอิมามอลี(.) ซึ่งมีการนิยามความหมายของคำว่าผู้เจริญรอยตามว่า หมายถึงผู้ที่รักท่านอิมามอลี(.) ผู้ที่ยกย่องท่านสูงกว่าท่านอุษมาน ผู้ที่ยกย่องท่านเหนือกว่าเคาะลีฟะฮ์ทั้งสามก่อนหน้าท่านรวมถึงบรรดาเศาะฮาบะฮ์ทั้งมวล กลุ่มผู้ที่เชื่อว่าท่านคือเคาะลีฟะฮ์ของท่านนบีโดยไม่มีผู้ใดกั้นกลาง.
อย่างไรก็ดี คำนิยามที่ครอบคลุมที่สุดเห็นจะเป็นนิยามที่ว่าชีอะฮ์คือ ผู้ที่อ้างอิงคำสั่งของท่านนบี(..)ในการพิสูจน์ว่าท่านอิมามอลี(.)เป็นเคาะลีฟะฮ์ของท่านนบี(..) และถือว่าท่านเป็นผู้ที่เหมาะสมที่สุดต่อการดำรงตำแหน่งเคาะลีฟะฮ์ภายหลังท่านนบี(..”
คำว่าชีอะฮ์มีความหมายค่อนข้างกว้าง และจากคำนิยามที่กล่าวไปแล้ว ทำให้สาขาต่างๆอาทิเช่น ซัยดียะฮ์ กีซานียะฮ์ อิสมาอีลียะฮ์ ฯลฯ รวมอยู่ในกลุ่มความหมายของชีอะฮ์ด้วยกันทั้งสิ้น

นอกจากคำว่าชีอะฮ์แล้ว ผู้เจริญรอยตามอิมามอลีและอะฮ์ลุลบัยต์ยังเป็นที่รู้จักกันในนาม ญะฟะรี, ฏอลิบี, คอศเศาะฮ์, อะละวี, อิมามี ฯลฯ
มีหลายทัศนะเกี่ยวกับจำนวนสาขามัซฮับที่สำคัญของชีอะฮ์ อาทิเช่น บัฆดาดีระบุไว้ในตำราว่า ชีอะฮ์มีสาขามัซฮับสำคัญสามสาขาด้วยกัน นั่นก็คือ ซัยดียะฮ์ กัยซานียะฮ์ และอิมามียะฮ์. แต่ชะฮ์ริสตานีได้เสริมอิสมาอีลียะฮ์เข้ามาอีกหนึ่งสาขาหลัก ส่วนคอญะฮ์ ฏูซี ได้แสดงทัศนะที่คล้ายคลึงกับบัฆดาดีไว้ในหนังสือก่อวาอิดุล อะกออิดอย่างไรก็ดี ทัศนะที่เป็นเอกฉันท์ในหมู่ผู้รู้ฝ่ายชีอะฮ์ ตลอดจนผู้เชี่ยวชาญด้านสาขามัซฮับก็คือ ชีอะฮ์มีสามสาขามัซฮับหลักดังที่ได้กล่าวไปแล้ว ส่วนแขนงย่อยจากสามสาขามัซฮับดังกล่าวจะมีอะไรบ้างนั้น ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่

คำตอบเชิงรายละเอียด

คำว่าชีอะฮ์ในทางภาษาอรับแปลว่าสาวกหรือสหายหรืออาจแปลได้ว่าการมีแนวทางเดียวกัน[1]
ส่วนในแวดวงมุสลิมแล้ว คำนี้มีนัยยะเกี่ยวข้องกับผู้เจริญรอยตามท่านอิมามอลี(.) ส่วนที่ว่าอะไรคือคำนิยามของผู้เจริญรอยรอยตามท่านอิมามอลี(.)นั้น มีทัศนะที่หลากหลายดังต่อไปนี้
1. ชีอะฮ์หมายถึงผู้ที่รักอิมามอลี(.)
2. ชีอะฮ์หมายถึงผู้ที่ยกย่องอิมามอลีเหนือกว่าท่านอุษมาน ซึ่งตรงกันข้ามกับคำว่าชีอะฮ์อุษมาน
3. ชีอะฮ์หมายถึงผู้ที่ยกย่องอิมามอลีเหนือกว่าท่านอุษมาน ตลอดจนเคาะลีฟะฮ์สองท่านแรก และเศาะฮาบะฮ์ทั้งหมด
4. ชีอะฮ์หมายถึงผู้ที่เชื่อมั่นว่าท่านอิมามอลีเป็นเคาะลีฟะฮ์ศาสดาโดยไม่มีผู้ใดกั้นกลาง
อย่างไรก็ดี คำนิยามดังกล่าวยังจำกัดความได้ไม่สมบูรณ์เท่าใดนัก หากพิจารณาถึงสาขาต่างๆของชีอะฮ์แล้ว คาดว่าคำนิยามต่อไปนี้น่าจะเหมาะสมที่สุด:ชีอะฮ์คือ ผู้ที่อ้างอิงคำสั่งของท่านนบี(..)ในการพิสูจน์ว่าท่านอิมามอลี(.)เป็นเคาะลีฟะฮ์ของท่านนบี(..) และถือว่าท่านเป็นผู้ที่เหมาะสมที่สุดต่อการดำรงตำแหน่งเคาะลีฟะฮ์ภายหลังท่านนบี(..)” คำนิยามนี้เน้นเกี่ยวกับคำสั่งแต่งตั้งผู้นำหลังนบี(..) อันเป็นข้อแตกต่างระหว่างชีอะฮ์กับมัซฮับอื่นๆ เนื่องจากมัซฮับอื่นๆเชื่อว่าตำแหน่งเคาะลีฟะฮ์ได้มาจากการเลือกตั้ง ส่วนชีอะฮ์เชื่อว่าตำแหน่งเคาะลีฟะฮ์จะต้องได้รับการแต่งตั้งโดยนบี(..)เท่านั้น

กำเนิดชีอะฮ์
นักวิชาการบางส่วนเชื่อว่ามัซฮับชีอะฮ์ถือกำเนิดภายหลังท่านนบี(..)เสียชีวิต ทัศนะนี้แบ่งออกเป็นความเห็นย่อยดังต่อไปนี้:
1.
ชีอะฮ์ถือกำเนิดในวันสะกีฟะฮ์ ซึ่งมีการถกเถียงอย่างเผ็ดร้อน โดยเศาะฮาบะฮ์ชั้นนำบางท่านกล่าวขึ้นว่าอลี(.)เหมาะสมที่สุดสำหรับตำแหน่งเคาะลีฟะฮ์(ผู้นำ)
2. ชีอะฮ์ถือกำเนิดช่วงปลายการปกครองของท่านอุษมาน โดยเชื่อว่าชีอะฮ์เริ่มก่อตัวขึ้นเนื่องจากแนวคิดของอับดุลลอฮ์ บิน สะบาอ์.
3. ชีอะฮ์ถือกำเนิดในวันที่ท่านอุษมานถูกลอบสังหาร
4. ชีอะฮ์ถือกำเนิดในช่วงระหว่างเหตุการณ์ตั้งอนุญาโตตุลาการหลังสงครามศิฟฟีนจนถึงบั้นปลายชีวิตของท่านอิมามอลี(.)
5. ชีอะฮ์ถือกำเนิดหลังเหตุสังหารอิมามฮุเซน(.)ที่กัรบะลา
นอกเหนือจากทัศนะที่ขัดแย้งกันเองดังกล่าว มีนักวิชาการบางท่านได้แก่ มัรฮูม กาชิฟุ้ลฆิฎอ, เชคมุฮัมมัด ฮุเซน มุซ็อฟฟัร, มุฮัมมัด ฮุเซน ซัยน์ อามิลี จากฝ่ายชีอะฮ์ และมุฮัมมัด กุรด์ อลี จากฝ่ายซุนหนี่เชื่อว่าชีอะฮ์ถือกำเนิดตั้งแต่ยุคของท่านนบี(..) เนื่องจากท่านนบี(..)เคยใช้คำว่าชีอะฮ์เรียกกลุ่มผู้นิยมอิมามอลี(.)หลายครั้งด้วยกัน โดยเชื่อว่าในยุคของท่านนบี(..)มีเศาะฮาบะฮ์กลุ่มหนึ่งเป็นที่รู้จักกันในนามชีอะฮ์ของอลี(.)”[2]

ที่ถูกต้องก็คือ ชีอะฮ์ถือกำเนิดในยุคของท่านนบี(..)และโดยท่านนบี(..)เอง เพียงแต่ภายหลังการเสียชีวิตของท่าน กลุ่มชีอะฮ์เริ่มเป็นที่ประจักษ์มากขึ้น ทั้งนี้ก็เนื่องจากเชื่อว่าท่านอิมามอลี(.)มีความเหมาะสมทั้งศักดิ์และสิทธิที่จะขึ้นดำรงตำแหน่งเคาะลีฟะฮ์ภายหลังท่านนบี(..)

อย่างไรก็ดี คำว่าชีอะฮ์เป็นคำที่มีความหมายค่อนข้างกว้าง ซึ่งหากยึดตามคำนิยามที่ได้กล่าวไปแล้ว ก็สามารถที่จะหมายรวมถึงสาขามัซฮับที่สำคัญของชีอะฮ์ได้ทั้งหมด อาทิเช่น ซัยดียะฮ์, กัยซานียะฮ์, อิสมาอีลียะฮ์ ฯลฯ
อนึ่ง นอกจากคำว่าชีอะฮ์แล้ว ยังมีคำอื่นๆที่ใช้กล่าวถึงหรือพาดพิงถึงผู้ยึดมั่นแนวทางอะฮ์ลุลบัยต์อีกหลายคำ ซึ่งมีข้อแตกต่างจากคำว่าชีอะฮ์อยู่บ้างดังต่อไปนี้:
1.
รอฟิฏี: ร็อฟฏุนแปลว่าการหันห่าง, ละทิ้ง, วางเฉย. กลุ่มผู้คัดค้านชีอะฮ์มักใช้คำนี้เพื่อการประณามชีอะฮ์ เกี่ยวกับที่มาของคำนี้ ว่ากันว่าเกิดจากการที่ชีอะฮ์ปฏิเสธความเหมาะสมของเคาะลีฟะฮ์สองท่านแรก จึงถูกประณามว่าเป็นพวกรอฟิฏีบ้างเชื่อว่าที่มาของคำนี้ เกิดจากการที่ชีอะฮ์ท้วงติงและปลีกตัวจากกองทัพของท่านซัยด์ เนื่องจากไม่พอใจที่ท่านมีท่าทีโอนอ่อนผ่อนตามเกี่ยวกับประเด็นตำแหน่งเคาะลีฟะฮ์ของสองท่านแรก อย่างไรก็ดี ไม่ว่าเราจะเชื่อว่าคำนี้มีที่มาอย่างไร คำนี้ก็ย่อมมีความหมายไม่กว้างเท่าคำว่าชีอะฮ์อย่างแน่นอน ทั้งนี้ก็เพราะคำว่ารอฟิฏีไม่รวมถึงสาขาซัยดียะฮ์

2. ญะอ์ฟะรี: จากความพยายามอันหนักหน่วงของท่านอิมามญะอ์ฟัร อัศศอดิก(.) ทำให้เหล่าชีอะฮ์ผู้ยึดถืออะฮ์ลุลบัยต์เป็นผู้นำได้รับหลักประกันในแง่ฟิกเกาะฮ์(บทบัญญัติศาสนา)และกะลาม(เทววิทยา) ชีอะฮ์ที่ได้รับคุณประโยชน์เหล่านี้จึงได้รับการขนานนามว่าญะอ์ฟะรีปัจจุบันนี้คำว่าญะฟะรีเทียบเท่าคำว่าชีอะฮ์ อิษนาอะชะรียะฮ์(อิมามสิบสอง) แม้ว่าเมื่อพิจารณาความหมายในเชิงศัพท์แล้ว ย่อมจะหมายรวมถึงสาขาอิสมาอีลียะฮ์ด้วย เนื่องจากพวกเขาก็เชื่อถือท่านอิมามญะอ์ฟัร อัศศอดิก(.)เช่นกัน
3. อิมามี: ตลอดระยะเวลาที่บรรดาอิมามยังมีชีวิตอยู่ คำนี้ใช้เรียกผู้ที่เชื่อมั่นในตำแหน่งอิมามของบรรดาอิมามมะอ์ศูม(ผู้ปราศจากบาป)ที่มีเชื้อสายจากท่านหญิงฟาฏิมะฮ์(.)จวบจนอิมามท่านที่สิบสอง อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาในเชิงประวัติศาสตร์ ความหมายของคำนี้เปลี่ยนแปลงไปบ้างในแต่ละยุค อาทิเช่น ในยุคของท่านอิมามอลี(.) คำนี้เทียบเท่าคำว่าชีอะฮ์ แต่ในปัจจุบันคำนี้เทียบเท่ากับคำว่าชีอะฮ์ อิษนาอะชะรียะฮ์
4. คอศเศาะฮ์: คำนี้จะใช้ในแวดวงวิชาฟิกเกาะฮ์(นิติศาสตร์อิสลาม)เป็นส่วนใหญ่ โดยใช้เพื่อจำแนกจากคำว่าอามมะฮ์อันหมายถึงมัซฮับอื่นๆที่ไม่ไช่ชีอะฮ์ ทั้งนี้คำว่าคอศเศาะฮ์หมายถึงชีอะฮ์ แต่หากเจาะจงมากกว่านี้ก็จะหมายถึงชีอะฮ์ อิษนาอะชะรียะฮ์ เนื่องจากได้รับหลักฟิกเกาะฮ์มาจากอิมามมะอ์ศูมทั้งสิบสองท่าน
5. อะละวี: ในอดีต คำนี้หมายถึงผู้ที่เชื่อว่าอิมามอลี(.)มีสถานะที่เหนือกว่าผู้อื่น แต่ในยุคหลังกลับมีนัยยะเพียงผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทางด้านใดด้านหนึ่งกับอิมามอลี(.)เท่านั้น
6. ฟาฏิมี: คำนี้มีนัยยะเกี่ยวกับวงศ์ตระกูลเป็นหลัก โดยมักใช้เพื่อจำแนกลูกหลานท่านอิมามฮะซันและอิมามฮุเซน(.)ออกจากลูกหลานของ มุฮัมมัด บินฮะนะฟียะฮ์ ซึ่งเป็นที่เชิดชูของสาขานิกายกัยซานียะฮ์ ทั้งนี้ก็เพราะ แม้มุฮัมมัดบินฮะนะฟียะฮ์จะเป็นบุตรของอิมามอลี(.)ก็จริง แต่หาได้เป็นบุตรของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์(.)ไม่.
7. ฏอลิบี: คำนี้ก็มีนัยยะในแง่วงศ์ตระกูลเช่นกัน แต่ความหมายของคำนี้จะกว้างกว่าสองคำก่อน เนื่องจากคำนี้หมายถึงวงศ์วานของอบูฏอลิบทั้งหมด ซึ่งรวมถึงสายตระกูลอื่นที่มิไช่อิมามอลี(.)ด้วย หากต้องการทราบรายละเอียดของคำนี้มากขึ้น กรุณาศึกษาจากหนังสือมะกอติลุฏฏอลิบียีนประพันธ์โดย อบุลฟะร็อจ อิศฟะฮานี ซึ่งรวบรวมเนื้อหาการต่อสู้ของสมาชิกสายตระกูลอบูฏอลิบทั้งหมด อาทิเช่นสายตระกูลของญะอ์ฟัร บิน อบีฏอลิบ(อัฏฏ็อยย้าร).
คำเหล่านี้ทั้งหมดคือคำที่ใช้เรียกชีอะฮ์ในประวัติศาสตร์ยุคต่างๆ

ในหน้าประวัติศาสตร์ มัซฮับชีอะฮ์เผชิญหน้ากับวิกฤติและได้รับโอกาสนับครั้งไม่ถ้วน วิกฤติที่เกือบจะทำให้ล่มสลาย และโอกาสที่เกือบจะทำให้ชีอะฮ์ได้ปกครองดินแดนมุสลิมเกือบทั้งหมด อย่างไรก็ดี สิ่งที่ทำให้มัซฮับชีอะฮ์โดดเด่นเป็นพิเศษก็คือปัจจัยต่างๆดังต่อไปนี้: ความเก่าแก่ของมัซฮับ ความพร้อมพรักเกี่ยวกับคำสอนด้านต่างๆ ศักยภาพและประสบการณ์จริงในการจัดตั้งรัฐในยุคต่างๆ และการมีเอกลักษณ์ที่เป็นอิสระจากมัซฮับอื่นๆ 

จากการที่ชีอะฮ์อุดมไปด้วยหลักประกันทางด้านสติปัญญา นิติศาสตร์อิสลาม เทววิทยา จริยศาสตร์อิสลาม ฯลฯ ทำให้มัซฮับนี้สามารถครองใจผู้คนและผลิดอกออกผลในประเทศต่างๆได้ แม้จะต้องฝ่าด่านอรหันต์การโฆษณาชวนเชื่อ, ข้อจำกัดและการกดดันต่างๆนานาก็ตาม

อย่างไรก็ดี ต้องยอมรับว่าความแตกแยกและการอุปโลกน์สาขาความเชื่อ ถือเป็นภัยคุกคามอันดับต้นๆที่ทุกศาสนาและทุกมัซฮับเผชิญมาตลอด มัซฮับชีอะฮ์ก็ถูกภัยดังกล่าวคุกคามเช่นกัน ซึ่งเราหวังเป็นอย่างยิ่งว่า เมื่อมวลมุสลิมผู้เชื่อฟังท่านศาสดา(..)และอะฮ์ลุลบัยต์(.)มีความรู้ความเข้าใจมากขึ้นแล้ว สักวันหนึ่งจะร่วมมือร่วมใจต่อต้านแผนการณ์ศัตรู และปลีกตัวจากสาขามัซฮับที่บิดเบือน กระทั่งสามารถร่วมกันอยู่ภายใต้ร่งธงอิสลามที่แท้จริงเพียงหนึ่งเดียว

ส่วนที่ถามว่าจำนวนของสาขามัซฮับหลักของชีอะฮ์มีเท่าใดนั้น มีหลากหลายคำตอบดังนี้:
บัฆดาดีกล่าวในหนังสืออุศูลฟิร่อกุ้ชชีอะฮ์ว่า ชีอะฮ์มีสามสาขามัซฮับหลักนั่นคือ ซัยดียะฮ์, กัยซานียะฮ์, อิมามียะฮ์. เบื้องแรกบัฆดาดีถือว่าพวกฆุล้าต(สุดโต่ง)เป็นสาขาหนึ่งของชีอะฮ์ แต่ภายหลังได้ปฏิเสธว่าพวกนี้ไม่ไช่สาขามัซฮับในอิสลาม เนื่องจากออกจากศาสนาไปแล้ว.[3]
ส่วนชะฮ์ริสตานีเชื่อว่าอิสมาอีลียะฮ์ก็เป็นสาขามัซฮับหลักของชีอะฮ์ และสรุปไว้ว่าชีอะฮ์มีห้าสาขามัซฮับหลัก[4]
คอญะฮ์ ฏูซี แสดงทัศนะที่ใกล้เคียงกับทัศนะของบัฆดาดีไว้ในหนังสือก่อวาอิดุลอะกออิดโดยเชื่อว่าสาขามัซฮับหลักของชีอะฮ์คือ ซัยดียะฮ์, กัยซานียะฮ์, อิมามียะฮ์.[5]
กอฎี อะฎุดิดดีน อีญี ก็ถือว่าชีอะฮ์มีสามสาขาหลักดังกล่าวเช่นกัน
แต่ก็มีนักวิชาการบางท่านเชื่อว่าชีอะฮ์มีสี่สาขามัซฮับหลัก นั่นคือ อิมามียะฮ์, กัยซานียะฮ์, ซัยดียะฮ์, อิสมาอีลียะฮ์

ทัศนะที่แพร่หลายในหมู่ผู้รู้ฝ่ายชีอะฮ์ และผู้เชี่ยวชาญด้านสาขามัซฮับก็คือ ชีอะฮ์มีสามสาขามัซฮับหลักดังกล่าว แต่ยังมีทัศนะขัดแย้งกันเกี่ยวกับจำนวนแขนงย่อยต่างๆของสาขาเหล่านั้น
เพื่อศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาอ่านหนังสืออัลฟัรกุบัยนัลฟิร็อก”,“อัลมิลัลวันนิฮัลและก่อวาอิดุลอะกออิด


[1] อัลกอมูซุ้ลมุฮีฏ เล่ม 3, หน้า 61,62, ตาญุ้ลอะรู้ส,เล่ม 5, หน้า 405, ลิซานุ้ลอรับ,เล่ม 7,หน้า 257 อันนิฮายะฮ์ อิบนุอะษี้ร,เล่ม 2,หน้า 246.

[2] ดู: ประวัติศาสตร์ชีอะฮ์ในอิหร่าน,ร่อซู้ล ญะฟะรียอน,หน้า 24-28.

[3] อัลฟัรกุบัยนัลฟิร็อก,อับดุลกอฮิร บัฆดาดี,หน้า 21-23.

[4] อัลมิลัลวันนิฮัล,ชะฮ์ริสตานี,เล่ม 1,หน้า 147.

[5] ก่อวาอิดุลอะกออิด,คอญะฮ์ ฏูซี,ค้นคว้าเพิ่มเติมโดยอลี ร็อบบานี,หน้า 110.

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • อิสลามมีกฏเกณฑ์อย่างไรเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างหนุ่มสาว?
    21550 สิทธิและกฎหมาย 2554/08/09
    อิสลามถือว่าอัลลอฮ์ทรงสร้างชายและหญิงให้มีบทบาทเกื้อกูลกันและกันหนึ่งในปัจจัยที่ทั้งสองเพศต้องพึ่งพากันและกันก็คือความต้องการทางเพศทว่าการบำบัดความต้องการดังกล่าวจะต้องอยู่ในเขตคำสอนของอิสลามเท่านั้นจึงจะสามารถรักษาศีลธรรมจรรยาของทั้งสองฝ่ายได้อิสลามถือว่าความสัมพันธ์ระหว่างหนุ่มสาวก่อนแต่งงานไม่ว่าโดยตรงหรือผ่านสื่อหากเป็นไปด้วยความไคร่หรือเกรงว่าจะเกิดความไคร่ถือว่าไม่อนุมัติแต่สำหรับความสัมพันธ์ในการทำงานวิชาการและการศึกษาถือเป็นที่อนุมัติเฉพาะในกรณีที่ไม่โน้มนำไปสู่ความเสื่อมเสีย ...
  • อัลลอฮฺ ทรงอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ธรรมชาติด้วยหรือไม่?
    5758 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/04/07
    อัลลอฮฺ คือพระผู้ทรงกำหนดกฎเกณฑ์ต่างๆ ทางธรรมชาติ อาตมันสากลของพระองค์มิได้อยู่ภายใต้อำนาจของสิ่งใดทั้งสิ้น นอกจากความต้องการของพระองค์ หรือเว้นเสียแต่ว่าความประสงค์ของพระองค์ต้องการที่จะปฏิบัติภารกิจหนึ่ง ซึ่งทรงเป็นสาเหตุของการเกิดสิ่งนั้น ขณะเดียวกันการละเมิดกฎต่างๆในโลกที่ต่ำกว่า โดยพลังอำนาจที่ดีกว่าของพระองค์ถือเป็น กฎเกณฑ์อันเฉพาะ และเป็นประกาศิตที่มีความเป็นไปได้เสมอ ซึ่งเราเรียกสิ่งนั้นว่า ปาฏิหาริย์,แน่นอน ปาฏิหาริย์มิได้จำกัดอยู่ในสมัยของบรรดาศาสดาเท่านั้น ทว่าสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกสมัย เพียงแต่ว่าปาฏิหาริย์ได้ถูกมอบแก่บุคคลที่เฉพาะเท่านั้น เป็นความถูกต้องที่ว่าความรู้มีความจำกัดและขึ้นอยู่ยุคสมัยและสภาพแวดล้อม ไม่มีความรู้ใดยอมรับหรือสนับสนุนเรื่องมายากล และเวทมนต์ แต่คำพูดที่ถูกต้องยิ่งกว่าคือ เจ้าของความรู้เหล่านั้นบางครั้ง ได้แสดงสิ่งที่เลยเถิดไปจากนิยามของความรู้หรือที่เรียกว่า มายากล เวทมนต์เป็นต้น อีกนัยหนึ่งกล่าวได้ว่า สิ่งนั้นคือการมุสาและการเบี่ยงเบนนั่นเอง ...
  • มีผู้ทำพินัยกรรมเกี่ยวกับ “ทรัพย์สินส่วนหนึ่ง” โดยมิได้ระบุจำนวน เราจะแบ่งอย่างไร?
    6141 สิทธิและกฎหมาย 2555/02/13
    จากการที่บรรดาอุละมาอ์ให้การยอมรับสายรายงานฮะดีษของทั้งสองกลุ่มความหมายจึงได้เสนอข้อยุติไว้แตกต่างกันดังต่อไปนี้1. ในอดีตเจ้าของทรัพย์สินมักจะแบ่งทรัพย์สินเป็นส่วนๆบ้างก็แบ่งเป็นสิบส่วนบ้างก็แบ่งเป็นเจ็ดส่วนฉะนั้นจะต้องพิจารณาว่าผู้ตายเคยแบ่งทรัพย์สินอย่างไรขณะมีชีวิตอยู่2.
  • มนุษย์ธรรมดาทั่วไปสามารถเป็นผู้บริสุทธิ์ได้หรือไม่?
    6396 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2554/03/08
     คำว่า “อิซมัต” หมายถึ่งความสะอาดบริสุทธิ์หรือการดำรงอยู่ในความปอดภัยหรือการเป็นอุปสรรคต่อการหลงลืมกระทำความผิดบาปความบริสุทธิ์นั้นมีระดับชั้นซึ่งแน่นอนว่าระดับชั้นหนึ่งนั้นสูงส่งเฉพาะพิเศษสำหรับบรรดาศาสดา ...
  • การนำเอาเด็กเล็กไปร่วมงานอ่านฟาติฮะฮฺ ณ กุบูร เป็นมักรูฮฺหรือไม่?
    6114 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/05/17
    การนำเด็กๆ เข้าร่วมในมัจญฺลิซ งานประชุมศาสนา พิธีกรรมทางศาสนา, การนำเด็กๆ ไปมัสญิด, หรือพิธีกรรมรำลึกถึงท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ในเดือนมุฮัรรอม หรืองานเทศกาลอื่นๆ ทางศาสนา, เช่น เข้าร่วมนมาซอีดฟิฏร์ อีดกุรบาน หรือพิธีกรรมต่างๆ ทางศาสนา เพื่อเป็นการกระตุ้นความรักผูกพันกับศาสนาของพวกเขา ถือว่าเป็นสิ่งที่ดีมีประโยชน์อย่างยิ่ง ส่วนการนำเด็กๆ ไปร่วมพิธีอ่านฟาติฮะฮฺ ณ สถานฝังศพ ซึ่งได้ค้นหารายงานจากตำราต่างๆ ด้านฟิกฮฺอิสลามแล้ว ไม่พบรายงานที่ระบุว่าการกระทำดังกล่าวเป็นมักรูฮฺ ถ้าหากมีรายงานหรือเหตุผลอันเฉพาะเจาะจงจากสามีหรือภรรยาของคุณ กรุณาชี้แจงรายละเอียดมากกว่านี้แก่เราเพื่อเป็นประโยชน์สำหรับการค้นคว้าต่อไป ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับคำถามของคุณ สามารถกล่าวสรุปได้ดังนี้ : 1.รายงานที่กล่าวถึงผลบุญในการกล่าวแสดงความเสียใจกับเจ้าของงาน และการไปยังสถานฝังศพ เป็นรายงานทั่วไปกว้างๆ แน่นอนย่อมครอบคลุมถึงเด็กและเยาวชนด้วย 2.จากแนวทางการปฏิบัติของรรดาอิมามมะอฺซูม (อ.) ...
  • เพราะสาเหตุใดที่ ปรัชญาอันเป็นแบบฉบับของอิสลาม ไม่สามารถยกสถานภาพของตนให้กับ ปรัชญาใหม่แห่งตะวันตกได้ พร้อมกันนั้นปรัชญาอิสลาม ยังคงดำเนินต่อไปตามแบบอย่างของตน?
    8379 آراء شناسی 2557/05/20
    การยอมรับทุกทฤษฎีความรู้นั้นสิ่งจำเป็นคือ ต้องมีพื้นฐานของเหตุผลเป็นหลัก ดังนั้น บนพื้นฐานดังกล่าวนี้ ถ้าหากว่าสมมติฐานต่างๆ ในอดีตบางอย่าง ได้รับการพิสูจน์แล้วว่า ไม่ถูกต้องหรือเป็นโมฆะนั่นก็มิได้หมายความว่า ทฤษฎีความรู้ทั้งหมดเหล่านั้น จะโมฆะไปด้วย แต่ปรัชญาอิสลามนั้นแตกต่างไปจากทฤษฎีความรู้ดังกล่าวมา ตรงที่ว่าปรัชญาอิสลามมีความเชื่อ ที่วางอยู่บนเหตุผลในเชิงตรรกะ และสติปัญญา ดังนั้น เมื่อถูกปรัชญาตะวันตกเข้าโจมตี นอกจากจะไม่ยอมสิโรราบแล้ว ยังสามารถใช้เหตุผลโต้ตอบปรัชญาตะวันตกได้อย่างองอาจ นักปรัชญาอิสลามส่วนใหญ่มีการศึกษาปรัชญาตะวันตก และนักปรัชญาตะวันตก พร้อมกับมีการหักล้างอย่างจริงจัง ...
  • เพราะเหตุใดจึงได้เลือก อัดลฺ ซึ่งเป็นหนึ่งในคุณลักษณะของพระเจ้า เป็นหลักศรัทธา?
    6883 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/08/22
    หลักอุซูลของชีอะฮฺประกอบด้วย เตาฮีด, อัดลฺ, มะอาด, นะบูวัต, และอิมามะฮฺ. อัดลฺ แม้ว่าจะเป็นซิฟัตหนึ่งของอัลลอฮฺ แต่ในหลักการศรัทธาแล้วก็เหมือนกับ ซิฟัตอื่นๆ ของพระองค์ จำเป็นต้องวิพากในเตาฮีด แต่เนื่องจากความสำคัญของอัดลฺ จึงได้แยกอธิบายไว้ต่างหาก สาเหตุที่ อัดลฺ มีความสำคัญเนื่องจาก อัดลฺ คือสาเหตุของการแยกระหว่างหลักเทววิทยาของฝ่าย อัดลียะฮฺ (ชีอะฮฺและมุอฺตะซิละฮฺ) ออกจากฝ่ายอะชาอิเราะฮฺ ซิฟัตหนึ่งถ้าพิสูจน์ว่ามีหรือไม่มี จะได้ผลลัพธ์ที่แตกต่างกันและตรงข้ามกัน แน่นอน จำเป็นต้องกล่าวว่าฝ่ายอะชาอิเราะฮฺ ปฏิเสธไม่ยอมรับเรื่องความยุติธรรมของพระเจ้า ทว่ากล่าวว่า ความยุติธรรม หมายถึงอัลลอฮฺกระทำภารกิจของพระองค์ แม้ว่าในแง่ของสติปัญญา สิ่งนั้นจะเป็นความอธรรมก็ตาม ...
  • ใครเป็นผู้ประพันธ์ริซาละฮ์เศาะฟี้รซีโม้รก์? มีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร?
    6690 รหัสยทฤษฎี 2555/02/18
    ผู้ประพันธ์ริซาละฮ์เศาะฟี้รซีโม้รก์คือ ชะฮาบุดดีน ยะฮ์ยา บิน ฮะบัช บิน อมีร็อก อบุลฟุตู้ฮ์ ซุฮ์เราะวัรดี หรือที่รู้จักกันในฉายา “เชคอิชร้อก”“เศษะฟี้ร” หมายถึงเสียงที่ลากยาว รื่นหู และปราศจากคำพูดที่เปล่งจากริมฝีปากทั้งสอง ส่วน “ซีโม้รก์” เป็นชื่อสัตว์ปีกชนิดหนึ่งที่เปรียบเสมือนราชาแห่งฝูงวิหคในนิยาย ในเชิงวิชาอิรฟานหมายถึงผู้เฒ่าผู้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์แบบ อย่างไรก็ดี เรื่องราวของซีโม้รก์ได้รับการเล่าขานหลากเรื่องราวในตำรับตำราด้านวรรณกรรมเปอร์เซียและรหัสยนิยม(อิรฟาน)ในหนังสือเล่มนี้ เชคอิชร้อกได้แสดงถึงความสำคัญของการจาริกทางจิตวิญญาณสู่อัลลอฮ์ อีกทั้งอธิบายถึงสภาวะและอุปสรรคนานัปการในหนทางนี้ ...
  • กรุณาเล่าถึงพจนารถของอิมามอลี(อ.)ที่ว่า อะไรคือสิ่งจำเป็นและอะไรคือสิ่งจำเป็นกว่า อะไรคือปัญหาและอะไรคือปัญหาที่ใหญ่กว่า สิ่งใดน่าฉงนใจและสิ่งใดน่าฉงนใจกว่า สิ่งใดอยู่ใกล้ และสิ่งใดอยู่ใกล้กว่า?
    6149 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/15
    อัลลามะฮ์มัจลิซีได้รายงานฮะดีษบทหนึ่งไว้ในหนังสือบิฮารุลอันว้ารว่า “มีผู้สอบถามอิมามอลีว่าอะไรคือสิ่งจำเป็นและอะไรคือสิ่งจำเป็นกว่าอะไรคือปัญหาและอะไรคือปัญหาที่ใหญ่กว่าสิ่งใดน่าฉงนใจและสิ่งใดน่าฉงนใจกว่าสิ่งใดอยู่ใกล้และสิ่งใดอยู่ใกล้กว่า? แต่ก่อนที่ชายผู้นั้นจะถามจนจบท่านอิมามได้ตอบด้วยบทกวีที่ว่า...توب رب الورى واجب علیهمو ترکهم للذنوب اوجب‏و الدهر فی صرفه عجیبو غفلة الناس فیه اعجب‏
  • ตะวัสสุ้ลทำให้หลงทางหรือไม่ เราพิสูจน์หลักการนี้ด้วยเหตุผลใด?
    7571 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/03/08
    การตะวัสสุ้ลไม่ไช่ความหลงผิด ในทางตรงกันข้ามยังถือเป็นวิธีแสวงหาความใกล้ชิดยังอัลลอฮ์อีกด้วย ส่วนการที่ท่านอิมามริฎอ(อ.)ช่วยให้คนป่วยหายดีนั้น ยังไม่ถือว่าเป็นเหตุผลหลักในการยืนยันความถูกต้อง หากแต่เป็นเหตุผลรองที่สนับสนุนเหตุผลทางสติปัญญาและตัวบทศาสนา ทั้งนี้ กลไกของโลกเป็นกลไกแห่งเหตุแลผล บุคคลคนจะต้องขวนขวายหามูลเหตุหรือวิถีทางเพื่อบรรลุเป้าหมายของตน ในทางจิตวิญญาณก็มีกลไกคล้ายกันนี้ ดังที่กุรอานปรารภแก่เหล่าผู้ศรัทธาว่า “จงยำเกรงต่อคำบัญชาของพระองค์ และจงแสวงหาหนทางสู่ความใกล้ชิดยังพระองค์” ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59362 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56817 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41639 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38389 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38385 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33424 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27517 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27211 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27105 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25176 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...