การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
17294
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2555/01/23
 
รหัสในเว็บไซต์ fa11967 รหัสสำเนา 21057
คำถามอย่างย่อ
ตักวาหมายถึงอะไร?
คำถาม
ตักวาหมายถึงอะไร?
คำตอบโดยสังเขป

ตักว่า คือ พลังหนึ่งที่หยุดยั้งจิตด้านใน ซึ่งการมีอยู่ของมนุษย์คือสาเหตุของการมีพลังนั้น และพลังดังกล่าวจะพิทักษ์ปกป้องมนุษย์ให้รอดพ้นจากการกระทำความผิดฝ่าฝืนต่างๆ ความสมบูรณ์ของตักวานอกจากจะช่วยทำให้มนุษย์ห่างไกลจากความผิดบาป และการก่ออาชญากรรมต่างๆ แล้ว, ยังช่วยมนุษย์ให้หลีกเลี่ยงจากความเคลือบแคลงสงสัยต่างๆ อีกด้วย ตักวา จึงหมายถึงความสำรวมตนต่ออัลลอฮฺ, ตักวานั้นมีหลายขั้นตอน, ซึ่งรายละเอียดต่างๆ และกิ่งก้านสาขาจะกล่าวอธิบายในช่วงคำตอบโดยละเอียด

คำตอบเชิงรายละเอียด

ตักวาตามหลักมาจากรากศัพท์คำว่าวะกอ ยะกี วะกอยะฮฺหมายถึงการตกลง หรือการมอบตัวเองไว้ในสถานที่กำบัง[1] ส่วนในความหมายของอิสลาม, หมายถึงการไม่มักมากและป้องกันตัวเองต่อความผิดบาป,

อีกนัยหนึ่ง ตักวา คือพลังหนึ่งที่ยับยั้งมนุษย์ในลักษณะที่เป็นความเคยชินของจิตวิญญาณ หรือพลังด้านในที่มีอยู่ในตัวมนุษย์ ซึ่งการมีมนุษย์นั่นเองทำให้เกิดมีพลังนี้เกิดขึ้น หน้าที่ของพลังนี้คือ การพิทักษ์ปกป้องมนุษย์จากความเลยเถิดของตัณหาราคะ และการล่วงละเมิดต่อการกระทำความผิดต่างๆ ความสมบูรณ์ของตักวา นอกจากจะช่วยทำให้มนุษย์ห่างไกลจากความผิดบาปและการก่อกรรมชั่วอื่นๆ แล้ว ยังช่วยปกป้องมนุษย์ให้รอดพ้นจากความเคลือบแคลงสงสัยต่างๆ อีกด้วย

โองการอัลกุรอาน และฮะดีซต่างๆ, เช่น คำกล่าวของท่านอิมามอะลี (.) ท่านได้กล่าวอธิบาย และเปรียบเทียบตักวาไว้อย่างมากมาย ซึ่งจะขอกล่าวถึงบางประเด็นเหล่านั้น เช่น ที่กล่าวว่า :

1. เสบียงที่สะสมไว้ : จะเห็นว่าอัลกุรอานได้เปรียบ ตักวา เหมือนกับเสบียงที่ตระเตรียมเอาไว้ และถือว่านั่นคือ เสบียงที่ดีและประเสริฐที่สุด กล่าวว่าและสูเจ้าจงเตรียมเสบียงเถิด แท้จริงเสบียงที่ดีที่สุดนั้นคือความสำรวมตนต่อบาป[2]

2. อาภรณ์ : อัลกุรอาน ได้เปรียบเทียบตักวาว่า คล้ายกับเสื้อผ้าอาภรณ์ และถือว่านั่นคือ อาภรณ์ที่ดีที่สุด: “อาภรณ์ และเครื่องนุ่งห่มแห่งความสำรวมตนนั่นคือ สิ่งที่ประเสริฐยิ่ง[3]

3.ป้อมปราการที่แข็งแรง : เมื่อเผชิญหน้ากับอันตรายต่างๆ จากบาปกรรม: ท่านอิมามอะลี (.) กล่าวว่า: “โอ้ ปวงบ่าวของพระเจ้าเอ๋ย พึงสังวรไว้เถิดว่าแท้จริง ความสำรวมตนต่อพระเจ้าคือ บ้านอันมั่นคงแข็งแรง[4]

4. พาหะนะที่แสนเชื่อง นายแห่งศรัทธาชนผู้มีความสำรวมตนเป็นเลิศได้กล่าวไว้ในประโยคคำพูดอื่นว่า :ส่วนความสำรวมตนต่อพระผู้เป็นเจ้านั้นคือ พาหนะที่แสนเชื่องที่ยื่นบังเหี้ยนให้เจ้าของมันขี่ แล้วมันจะนำพวกเขาไปสู่สรวงสวรรค์[5]

5. นักปราชญ์ผู้อาวุโสบางท่าน, ได้นำเอาตักวาไปกล่าวเปรียบเทียบกับสภาพของคนๆ หนึ่งว่า เหมือนกับเขากำลังเดินผ่านเส้นทางหนึ่งที่เต็มไปด้วยขวากหนาม, ซึ่งเขาได้พยายามเดินโดยรวบเสื้อผ้าเอาไว้ ไม่ให้ถูกหนามเกี่ยว แล้วค่อยๆ ย่างก้าวเท้าไปด้วยความระวัง เพื่อป้องกันมิให้หนามหรือเศษกระเบื้องทิ่มแทงเท้า รวบเก็บกางเกงหรือกระโปงเอาไว้ด้วยความระมัดระวัง[6] จากการเปรียบเทียบดังกล่าวนี้เข้าใจได้ว่า ตักวา มิได้หมายถึงว่าการที่คนเราได้ปลีกตัวแยกไปต่างหากตามลำพัง,หรือที่เรียกว่าปลีกวิเวก, ทว่าจำเป็นที่เขาต้องอยู่ในสังคมต่อไป และถ้าสังคมปนเปื้อนความสกปรก เขาก็ต้องปกป้องตัวเองได้[7]

ตักวา คือสัญลักษณ์ที่บ่งบอกให้เห็นถึง ความศรัทธา ที่มีต่อการสร้างสรรค์และมะอาดกล่าวคืออัลลอฮฺ วันฟื้นคืนชีพ มาตรฐานความประเสริฐและเกียรติยศของมนุษย์ โดยถือว่าเป็นมาตรการแห่งบุคลิกภาพของเขาในอิสลาม ดังที่อัลกุรอานกล่าวว่าผู้ที่มีเกียรติยิ่ง  อัลลอฮฺคือ บุคคลที่มีความสำรวมตนต่อบาป[8]

ในมุมมองของอัลกุรอานตักวาคือรัศมีแห่งพระเจ้าเนื่องจากที่ใดก็ตามที่ปรากฏความสำรวมตนที่นั่นจะปรากฏวิชาการความรู้[9]

ระดับของตักวา

ตักวามีอยู่หลายระดับด้วยกัน นักปราชญ์ผู้อาวุโสบางท่านได้แบ่ง ตักวา ไว้ 3 ระดับด้วยกัน

1.การพึงระวงตนเองให้พ้นจากการลงโทษอันถาวร ซึ่งเกิดจากความเชื่อที่ถูกต้อง

2.หลีกเลี่ยงการทำความผิดบาปทั้งหมด ทั้งการละเว้นสิ่งวาญิบ หรือการกระทำที่เป็นบาป

3.การพึงระวังรักษาตนเองจากสิ่งที่จิตใจมนุษย์ผูกพันอยู่กับมัน และทำให้เขาเบี่ยงเบนออกจากความจริงและความถูกต้อง และนี่คือตักวาอันเฉพาะ ทว่าเป็นความเฉพาะพิเศษเหนือความเฉพาะ[10]

สาขาต่างๆ ของตักวา

ตักวา มีสาขาต่างๆ มากมาย, ซึ่งระหว่างสาขาเหล่านั้นสามารถกล่าวถึงประเด็นดังต่อไปนี้ได้ : ตักวาทรัพย์สินและเศรษฐศาสตร์, ตักวาเรื่องเพศ, สังคม, ตักวาด้านการเมือง, ตักวาด้านจริยธรรม, และตักวา ... บุคคลที่มีตักวาคือบุคคลที่พึงระวังตักวาของตนในภารกิจทั้งหมดที่กล่าวมา

ผลพวงของตักวา

ผลของตักวาในชีวิตมนุษย์ในแง่บวกนั้นมีอย่างมากมาย ซึ่งบางอย่างสามารถหยิบยกมากล่าวได้ดังนี้ :

1.การสร้างสรรค์ตนเอง: ท่านอิมามอะลี (.) กล่าวว่า : ตักวาคือ ความพิเศษแห่งจิตวิญญาณ เป็นการอบรมสั่งสอนจิตใจ ซึ่งเบื้องหลังตักวาคือ จิตวิญญาณของมนุษย์จะได้รับการสร้างสรรค์[11]

2.การยอมรับหน้าที่ : บุคคลที่มีความสำรวมตนเขาจะไม่หลบหนีหน้าที่ความรับผิดชอบทางชัรอียฺของตน เขาจะยอมรับหน้าที่นั้นด้วยความรัก และอดทนต่ออุปสรรคปัญหาต่างๆ อย่างผู้มีขันติธรรม

3. เป็นอิสระชน : ตักวาคือเครื่องมือที่ปลดปล่อยมนุษย์ให้รอดพ้นจากการเป็นทาส และเป็นบ่าวของทุกคนและทุกสิ่ง บุคคลที่มีตักวาจะไม่ยอมก้มศีรษะให้แก่ตัณหาราคะ, จะไม่ยอมจำนนตอตำแหน่งลาภยศสรรเสริญ หรือความปรารถนาของอำนาจฝ่ายต่ำ, ด้วยเหตุนี้ เขาจึงมีความปลอดภัยในทุกความหายนะ

4.เป็นผู้มีความสัตย์จริงในปรโลก : แท้จริง ความสำรวมตน (ตักวา) คือกุญแจสำหรับประตูทุกบานที่ถูกปิดอยู่ เสบียงสำหรับวันแห่งการฟื้นคืนชีพ ปัจจัยแห่งความอิสระจากทุกๆ บาปกรรมที่เกิดกับมนุษย์ สาเหตุแห่งความช่วยเหลือให้รอดพ้นความหายนะ เนื่องจากความสำรวมทำให้ผู้ขวนขวายประสบความสำเร็จ ทำให้ผู้หลีกหนี (จากการลงโทษของพระเจ้า) ได้รับความช่วยเหลือ และสามารถไปถึงทุกความหวังที่ตั้งไว้ บุคคลที่มีความสำรวมตน จะเลือกกระทำเฉพาะความดีงาม ย่างก้าวเดินไปบนหนทางแห่งการชี้นำ นอกจากจะได้รับความผาสุกทางโลกแล้ว ยังจะได้รับรางวัลในปรโลกอีกต่างหาก และเขาจะสั่งสมไว้เป็นเสบียงเพื่อวันแห่งการฟื้นคืนชีพของเขา



[1] รอฆิบ เอซฟาฮานี ฮุเซน บินมุฮัมมัด, มุฟรอดาต ฟี เฆาะรีบิลกุรอาน, เล่ม 1 หน้า 881, หมวดคำว่าวะกอดารุลอิลม์ อัดดารุลชามียะฮ, ดามัสกัส, เบรูต, ปี 1512.

[2] อัลกุรอาน บทบะเกาะเราะฮฺ 197 " وَ تَزَوَّدُوا فَإِنَّ خَیْرَ الزَّادِ التَّقْوى"

[3] อัลกุรอาน บทอะอฺรอฟ 26 “وَ لِباسُ التَّقْوى‏ ذلِکَ خَیْرٌ

[4] นะฮฺญุลบะลาเฆาะฮฺ คำเทศนาที่ 157 “اعلموا عباد اللَّه ان التقوى دار حصن عزیز

[5] นะฮฺญุลบะลาเฆาะฮฺ คำเทศนาที่ 16 “الا و ان التقوى مطایا ذلل، حمل علیها اهلها و اعطوا ازمتها، فاوردتهم الجنة

[6] อบุลฟุตูฮฺ รอซียฺ, ฮุเซน บิน อะลี, เราเฎาะตุลญันนาน วะรูฮุลญันนาน ฟีตัฟซีริลกุรอาน เล่ม 1 หน้า 101, สถาบันวิจัยและค้นคว้าเกี่ยวกับอิสลาม มณฑลรัฐ ระฎะวี, มัชฮัด, ปี 1408, มะการิมชีรอซียฺ, นาซิร, ตัฟซีรเนะมูเนะฮฺ, เล่ม 1, หน้า 80, ดารุลกุตุบ อัลอิสลามียะฮฺ, พิมพ์ครั้งแรก, เตหะราน 1374.

[7] มะการิมชีรอซียฺ, นาซิร, ตัฟซีรเนะมูเนะฮฺ, เล่ม 22, หน้า 204,

[8] อัลกุรอาน บทฮุจญฺรอต 14 “اتَّقُوا اللَّهَ وَ یُعَلِّمُکُمُ اللَّهُ

[9] อัลกุรอาน บทบะเกาะเราะฮฺ 282 “จงสำรวมตนต่ออัลลอฮฺเถิด แล้วอัลลอฮฺจะสอนพวกท่าน

[10] ตัฟซีรเนะมูเนะฮฺ, เล่ม 22, หน้า 205, อัลลามะฮฺ มัจญฺลิสซียฺ, บิฮารุลอันวาร, เล่ม 70, หน้า 136, สถาบัน อัลวะฟาอฺ, เบรูต เลบานอน ปี .. 1404

[11] นะฮฺญุลบะลาเฆาะฮฺ คำเทศนาบทมุตตะกีน

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • ฉันต้องการฮะดีซสักสองสามบท ที่ห้ามการติดต่อสัมพันธ์กัน ระหว่างชายหนุ่มและหญิงสาวที่สามารถแต่งงานกันได้?
    5940 สิทธิและกฎหมาย 2555/01/23
    ความสัมพันธ์ระหว่างนามะฮฺรัม 2 คน, กว้างมากซึ่งแน่นอนว่าบางองค์ประกอบของมันไม่มีปัญหาแต่อย่างใดจากคำถามที่ได้ถามมานั้นยังมีความเคลือบแคลงอยู่แต่จะขอตอบคำถามนี้ในหลายสถานะด้วยกัน
  • ใครเป็นผู้ประพันธ์ริซาละฮ์เศาะฟี้รซีโม้รก์? มีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร?
    6702 รหัสยทฤษฎี 2555/02/18
    ผู้ประพันธ์ริซาละฮ์เศาะฟี้รซีโม้รก์คือ ชะฮาบุดดีน ยะฮ์ยา บิน ฮะบัช บิน อมีร็อก อบุลฟุตู้ฮ์ ซุฮ์เราะวัรดี หรือที่รู้จักกันในฉายา “เชคอิชร้อก”“เศษะฟี้ร” หมายถึงเสียงที่ลากยาว รื่นหู และปราศจากคำพูดที่เปล่งจากริมฝีปากทั้งสอง ส่วน “ซีโม้รก์” เป็นชื่อสัตว์ปีกชนิดหนึ่งที่เปรียบเสมือนราชาแห่งฝูงวิหคในนิยาย ในเชิงวิชาอิรฟานหมายถึงผู้เฒ่าผู้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์แบบ อย่างไรก็ดี เรื่องราวของซีโม้รก์ได้รับการเล่าขานหลากเรื่องราวในตำรับตำราด้านวรรณกรรมเปอร์เซียและรหัสยนิยม(อิรฟาน)ในหนังสือเล่มนี้ เชคอิชร้อกได้แสดงถึงความสำคัญของการจาริกทางจิตวิญญาณสู่อัลลอฮ์ อีกทั้งอธิบายถึงสภาวะและอุปสรรคนานัปการในหนทางนี้ ...
  • มัซฮับมาลิกีหรือฮะนะฟีไม่ถูกต้องกระนั้นหรือ?
    8349 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/08/03
    คุณควรหาคำตอบให้ได้ว่าความชอบดังกล่าวเกิดจากความนิยมชมชอบทั่วไปหรือตั้งอยู่บนพื้นฐานของเหตุและผล  หากตั้งอยู่บนพื้นฐานของเหตุและผลนั่นหมายความว่ามัซฮับอื่นๆยังมีข้อบกพร่องอยู่แนวคิดเกี่ยวกับภาวะผู้นำของบรรดาอะฮ์ลุลบัยต์ ถือเป็นข้อได้เปรียบที่ชัดเจนที่แนวทางชีอะฮ์มีเหนือมัซฮับอื่นๆในอิสลามกล่าวคือชีอะฮ์ถือว่าอิมามมีภารกิจเสมือนนบีทุกประการ
  • ใครคือกลุ่มอัคบารีและอุศูลี?
    6490 ปรัชญาประวัติศาสตร์ 2555/04/09
    อัคบารีก็คือกลุ่ม“อัศฮาบุลฮะดีษ”ซึ่งในแวดวงชีอะฮ์มักเรียกกันว่าอัคบารี กลุ่มนี้ปฏิเสธวิธีอิจติฮ้าด(วินิจฉัย) และยึดถือเฉพาะอัคบ้าร (ฮะดีษ) เท่านั้น ส่วนกลุ่มอุศูลีประกอบไปด้วยฟุเกาะฮาอ์(นักนิติศาสตร์อิสลาม)มากมายที่มีทัศนะตรงข้ามกับกลุ่มอัคบารี อุศูลีเชื่อว่าสามารถวินิจฉัยบทบัญญัติศาสนาได้โดยอาศัยหลักฐานจากอัลกุรอาน ฮะดีษ สติปัญญา และอิจมาอ์ นอกจากนี้ยังนำวิชาอุศูลุลฟิกฮ์มาใช้ อาทิเช่นหลักการบะรออะฮ์ อิสติศฮ้าบ ตัคยี้ร ข้อแตกต่างระหว่างสองกลุ่มนี้ได้แก่ การที่กลุ่มอุศูลียึดมั่นในหลักอิจติฮ้าด(วินิจฉัยปัญหาศาสนา) และเชื่อว่าผู้ที่มิไช่มุจตะฮิดจะต้องตักลี้ด(ปฏิบัติตาม)ผู้ที่เป็นมุจตะฮิดในฐานะผู้สันทัดกรณี ในขณะที่กลุ่มอัคบารีปฏิเสธการอิจติฮ้าดและตักลี้ด นอกจากนี้ กลุ่มอุศลูลีไม่อนุญาตให้ตักลี้ดเบื้องแรกกับมุจตะฮิดที่เสียชีวิตไปแล้ว ในขณะที่กลุ่มอัคบารีถือว่าความตายไม่ส่งผลใดๆต่อการปฏิบัติตามผู้เชี่ยวชาญทางศาสนา กลุ่มอัคบารียังเชื่ออีกว่าตำราทั้งสี่ของชีอะฮ์ล้วนเศาะฮี้ห์ทั้งหมด เนื่องจากผู้เรียบเรียงได้คัดเฉพาะฮะดีษที่เศาะฮี้ห์เท่านั้น ในขณะที่กลุ่มอุศูลีคัดค้านความเห็นดังกล่าว ฯลฯ ...
  • การส่งยิ้มเมื่อเวลาพูดกับนามะฮฺรัม มีกฎเป็นอย่างไร?
    5616 สิทธิและกฎหมาย 2554/11/21
    การส่งยิ้มและล้อเล่นกับนามะฮฺรัมถ้าหากมีเจตนาเพื่อเพลิดเพลินไปสู่การมีเพศสัมพันธ์หรือเกรงว่าจะเกิดข้อครหานินทาหรือเกรงว่าจะนำไปสู่ความผิดแล้วละก็ถือว่าไม่อนุญาต
  • เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตอยู่บนดาวเคราะห์ดวงอื่น,อิสลามมีทัศนะอย่างไรบ้าง?
    11874 การตีความ (ตัฟซีร) 2554/06/22
    แนวคิดที่ว่ามีสิ่งมีชีวิตอยู่บนเส้นทางช้างเผือกหรือดาวเคราะห์ดวงอื่นหรือมีสิ่งมีสติปัญญาอื่นอยู่อีกหรือไม่, เป็นหนึ่งในคำถามที่มนุษย์เฝ้าติดตามค้นหาคำตอบอยู่จนถึงปัจจุบันนี้, แต่ตราบจนถึงเดี๋ยวนี้ยังไม่ได้รับคำตอบที่แน่นอน. อัลกุรอานบางโองการได้กล่าวถึงสิ่งมีชีวิตอื่นในชั้นฟ้าเอาไว้อาทิเช่น1. ในการตีความของคำว่า “มินดาบะติน” ในโองการที่กล่าวว่า :”และหนึ่งจากบรรดาสัญญาณ (อำนาจ) ของพระองค์คือการสร้างชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดินและสิ่งที่ (ประเภท) มีชีวิตทั้งหลายพระองค์ทรงแพร่กระจายไปทั่วในระหว่างทั้งสองและพระองค์เป็นผู้ทรงอานุภาพที่จะรวบรวมพวกเขาเมื่อพระองค์ทรงประสงค์”
  • จะพิสูจน์ตำแหน่งอิมามและเคาะลีฟะฮ์ของท่านอิมามอลี(อ.)ได้อย่างไร?
    6220 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/07/20
    อิสลามเป็นสถาบันศาสนาที่จำเป็นต้องได้รับการขับเคลื่อนและดูแลรักษาโดยผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมทั้งนี้ก็เพื่อถ่ายทอดสารธรรมคำสอนของอิสลามแก่ชนรุ่นหลังตลอดจนบังคับใช้บทบัญญัติในสังคมมุสลิมอย่างรอบคอบจากการที่การชี้นำมนุษย์สู่หนทางที่เที่ยงตรงถือเป็นจุดประสงค์หลักที่อัลลอฮ์ทรงสร้างสากลจักรวาลวิทยปัญญาแห่งพระองค์ย่อมกำหนดว่าภายหลังการจากไปของท่านนบี(ซ.ล.) ควรจะต้องมีผู้สืบทอดตำแหน่งผู้นำต่อไปทั้งนี้ก็เพื่อธำรงค์ไว้ซึ่งศาสนาและทางนำสำหรับมนุษยชาติและไม่ทอดทิ้งมนุษย์ให้อยู่กับสติปัญญา(ซึ่งเสี่ยงต่อการถูกกิเลสครอบงำ)
  • เพราะเหตุใดอัลลอฮฺ (ซบ.) จึงทรงสร้างชัยฏอน?
    9377 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/04/21
    ประการแรก: บทบาทของชัยฏอนในการทำให้มนุษย์หลงผิดและหลงทางออกไปนั้นอยู่ในขอบข่ายของการเชิญชวนประการที่สอง : ความสมบูรณ์นั้นจะอยู่ท่ามกลางการต่อต้านและสิ่งตรงกันข้ามด้วยเหตุผลนี้เองการสร้างสรรพสิ่งเช่นนี้ขึ้นมาในระบบที่ดีงามมิได้เป็นสิ่งไร้สาระและไร้ความหมายแต่อย่างใดทว่าถูกนับว่าเป็นรูปโฉมหนึ่งจากความเมตตาและความดีของพระเจ้า ...
  • ผู้ที่มาร่วมพิธีฝังศพท่านนบี(ซ.ล.)มีใครบ้าง?
    10977 تاريخ بزرگان 2555/03/14
    ตำราประวัติศาสตร์และฮะดีษของฝ่ายอะฮ์ลิสซุนนะฮ์เล่าเหตุการณ์ฝังศพท่านนบี(ซ.ล.)ว่า อลี บิน อบีฏอลิบ(อ.) และฟัฎล์ บิน อับบ้าส และอุซามะฮ์ บิน เซด ร่วมกันอาบน้ำมัยยิตแก่ท่านนบี บุคคลกลุ่มแรกที่ร่วมกันนมาซมัยยิตก็คือ อับบาส บิน อับดุลมุฏ็อลลิบและชาวบนีฮาชิม หลังจากนั้นเหล่ามุฮาญิรีน กลุ่มอันศ้อร และประชาชนทั่วไปก็ได้นมาซมัยยิตทีละกลุ่มตามลำดับ สามวันหลังจากนั้น ท่านอิมามอลี ฟัฎล์ และอุซามะฮ์ได้ลงไปในหลุมและช่วยกันฝังร่างของท่านนบี(ซ.ล.) หากเป็นไปตามรายงานดังกล่าวแล้ว อบูบักรและอุมัรมิได้อยู่ในพิธีฝังศพท่านนบี(ซ.ล.) แม้จะได้ร่วมนมาซมัยยิตเสมือนมุสลิมคนอื่นๆก็ตาม ...
  • เหตุใดอัลลอฮ์จึงทรงสร้างภูตผีปีศาจ ขณะเดียวกันก็ทรงตรัสว่าภูตผีเหล่านี้จะทำอันตรายได้ก็ต่อเมื่อทรงอนุมัติเท่านั้น?
    8775 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/04/11
    ญิน คือสิ่งมีชีวิตที่กุรอานกล่าวว่า “และเราได้สร้างญินจากไฟอันร้อนระอุก่อนการสรรสร้าง(อาดัม)” ญินจึงถือเป็นสิ่งมีชีวิตที่สมบูรณ์ซึ่งต้องได้รับการชี้นำโดยบรรดาศาสดาเช่นกัน อีกทั้งมีหน้าที่ต้องบูชาพระองค์เสมือนมนุษย์ ญินจำแนกออกเป็นกลุ่มกาฟิรและกลุ่มมุสลิมตามระดับการเชื่อฟังพระบัญชาของอัลลอฮ์ ซึ่งอิบลีสที่ไม่ยอมศิโรราบแก่นบีอาดัมในยุคแรกก็เป็นญินตนหนึ่ง การทำอันตรายโดยการอนุมัติของพระองค์ในที่นี้ หมายถึงข้อเท็จจริงที่ว่าทุกๆพลังอำนาจที่มีอยู่ในโลกล้วนมาจากพระองค์ทั้งสิ้น แม้แต่อานุภาพความร้อนและคมมีดก็ไม่อาจทำอะไรได้หากพระองค์มิทรงยินยอม เป็นความคิดที่ผิดมหันต์หากจะเชื่อว่าจอมขมังเวทย์ทั้งหลายสามารถจะคานอำนาจของพระองค์ เนื่องจากไม่มีสิ่งใดจะสามารถกำหนดขอบเขตอำนาจของพระองค์ได้ กฏเกณฑ์เหล่านี้ล้วนเป็นคุณสมบัติและผลลัพท์ที่ทรงกำหนดแก่ทุกสรรพสิ่ง โดยมนุษย์บางคนใช้ประโยชน์ในทางที่ดี แต่ก็มีบางคนใช้ประโยชน์ในทางเสื่อมเสีย ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59387 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56839 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41666 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38418 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38414 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33446 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27537 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27232 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27130 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25203 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...