การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
17830
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2556/08/27
 
รหัสในเว็บไซต์ fa1017 รหัสสำเนา 13584
คำถามอย่างย่อ
การประทานอัลกุรอานลงมาคราวเดียวและการทยอยประทานลงมาผ่านพ้นไปตั้งแต่เมื่อใด?
คำถาม
การประทานอัลกุรอานลงมาคราวเดียวและการทยอยประทานลงมาผ่านพ้นไปตั้งแต่เมื่อใด?
คำตอบโดยสังเขป

การประทานอัลกุรอานในคราวเดียวกันบนจิตใจของท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ) ได้เกิดขึ้นเมื่อค่ำคืนแห่งอานุภาพ (ลัยละตุลก็อดฺร์) อันเป็นหนึ่งในค่ำคืนสำคัญยิ่งแห่งเดือนรอมฏอน และเมื่อได้ศึกษารายงานฮะดีซบางบทและอัลกุรอานบางโองการแล้ว จะเห็นว่ารายงานและโองการเหล่านั้นได้สนับสนุนความเป็นไปได้ดังกล่าวว่า ค่ำคืนแห่งอานุภาพนั้นก็คือ ค่ำคืนที่ 23 ของเดือนรอมฎอน และการประทานอัลกุรอานลงมาในคราวเดียวกันนั้น ได้เกิดขึ้นประมาณ 56 วัน หลังการแต่งตั้งท่านศาสดาอย่างเป็นทางการ

 

ความพิเศษของการประทานทยอยอัลกุรอานลงมา มีความคิดเห็นที่แตกต่างกันมากมาย แต่ในความแตกต่างเหล่านั้นมีอยู่ 2 ทัศนะที่มีความสำคัญมากกว่าทัศนะอื่น กล่าวคือ

 

1- - การประทานอัลกุรอานแบบทยอยลงมา ได้เริ่มต้นใกล้ๆ กับการแต่งตั้งท่านศาสดา (ซ็อล ) จนกระทั่งสิ้นอายุขัยอันจำเริญของท่านศาสดา ซึ่งทัศนะนี้เป็นทัศนะที่ส่วนใหญ่ให้การยอมรับ ท่านศาสดา (ซ็อล ) ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นศาสดาอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 27 เดือนเราะญับ ตรงกับเดือน กุมภาพันธ์ .. 610 และได้อำลาจากโลกไปเมื่อวันที่ 28 เดือนเซาะฟัร ปี .. ที่ 11

 

2 - - ช่วงเวลาใกล้กับการแต่งตั้งท่านศาสดา (ซ็อล ) นั้น ได้มีโองการสองสามโองการถูกประทานลงมา แต่การประทานแบบทยอยลงมาในรูปแบบของคัมภีร์แห่งฟากฟ้า ได้เริ่มต้นอย่างจริงจังหลังจากการแต่งตั้งศาสดาผ่านพ้นไปแล้ว 3 ปี โดยเริ่มต้นจำคำคืนแห่งอานุภาพไปจนสิ้นอายุขัยอันจำเริญของท่านศาสดา

 

ด้วยเหตุผลนี้เอง ถ้าหากพิจารณาถึงยุคสมัยปัจจุบันที่เรามีชีวิตอยู่ สามารถคำนวณได้เองนับตั้งแต่ปีแรกที่อัลกุรอานถูกประทานลงมาจนถึงปัจจุบันนี้ เป็นระยะเวลานานเท่าใดแล้ว 

คำตอบเชิงรายละเอียด

ประเด็นเกี่ยวกับการประทานลงมาในคราวเดียวกันนั้น เรารู้ได้เพียงว่าถูกประทานลงมาในค่ำคืนอานุภาพ[1] และจากการที่อัลกุรอานกล่าวว่า[2] เดือนรอมฎอนเป็นเดือนที่อัลกุรอานได้ถูกประทานลงมา ขณะที่ค่ำคืนแห่งอานุภาพ (ลัยละตุลก็อดฺร์) ก็อยู่ในเดือนรอมฎอน

 

แต่ค่ำคืนแห่งอานุภาพเป็นค่ำคืนใดในเดือนรอมฏอนนั้น ไม่มีผู้ใดรู้ชัดแจ้งแน่นอนว่าเป็นคืนใด ซึ่งจะเห็นว่มีทัศนะที่แตกต่างกันเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวนี้[3] แต่มีความเป็นไปได้จากทัศนะที่มีอยู่นี้จะเห็นว่า ค่ำคืนที่ 23 ของเดือนรอมฏอนเป็นค่ำคืนแห่งอานุภาพนั้น มีความเป็นไปได้สูงมาก เนื่องจากรายงานฮะดีซและอัลกุรอานหลายโองการได้สนับสนุนแนวคิดนี้[4]

 

แต่อย่างไรก็ตามยังไม่มีสิ่งใดระบุได้ชัดเจนว่า ปีใดหรือที่สิ่งนี้ได้เกิดขึ้น แต่สามารถกล่าวได้เพียงว่า แม้ว่าค่ำคืนแห่งอานุภาพนี้จะเป็นค่ำคืนที่อัลกุรอานได้ถูกประทานลงมาแล้ว ยังเป็นค่ำคืนแห่งการขึ้นมิอฺรอจญ์ของท่านศาสดา (ซ็อล ) อีกด้วย เนื่องจากอัลกุรอานนั้นบันทึกอยู่ในเลาฮุนมะฟูซ  พระผู้อภิบาล[5] มนุษย์ตราบที่ยังไม่ได้ขึ้นมิอ์รอจญ์ เขาก็จะไม่ได้รับอัลกุรอานที่บันทึกอยู่ในแผ่นบันทึก  พระผู้อภิบาล[6] จากตรงนี้เข้าใจได้ว่าการประทานอัลกุรอานลงมาในคราวเดียวกันนั้น อยู่ในช่วงเวลาที่ท่านศาสดาได้ไปถึงยังระดับดังกล่าวแล้ว ด้วยเหตุนี้ จึงสามารถกล่าวได้ว่าการประทานอัลกุรอานลงมาในคราวเดียวกันนั้น ถูกประทานในปีแรกของการได้รับการแต่งตั้งให้เป็นศาสดา กล่าวคือประมาณ 56 วันหลังจากหลังการแต่งตั้ง

 

จำนวนดังกล่าวได้คำนวณจากวันแห่งการแต่งตั้งท่านศาสดา (ซ็อล ) ซึ่งตรงกับวันที่ 27 เดือนเราะญับ และค่ำคืนแห่งอานุภาพ (ลัยละตุลก็อดฺร์) ตรงกับวันที่ 23 เดือนรอมฏอน และโดยประมาณแล้วเดือนหนึ่งมี 30 วัน ดังนั้น เหตุการณ์ดังกล่าวจึงเกิดขึ้นหลังจาก 56 วันผ่านไปแล้ว

 

ความพิเศษของการประทานแบบทยอยลงมานั้น[7] ใกล้กับการแต่งตั้งท่านศาสดา แต่เนี่องจากมีความเห็นแตกต่างกันเกี่ยวกับวันแต่งตั้งท่านศาสดา[8] ทำให้วันนี้แตกต่างกันไปด้วย

 

ทัศนะทั่วไปที่ว่าท่านศาสดา (ซ็อล ) ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นศาสดาเมื่อวันจันทร์ ที่ 27 เดือนเราะญับ ตรงกับวันที่ 1 เดือนกุมภาพันธ์ ปี .. 610[9] ในเวลานั้นอัลกุรอาน 5 โองการแรกของบทอัลอะลัก ได้ถูกประทานลงมาแก่ท่านศาสดา (ซ็อล ) [10] หลังจากนั้นอัลกุรอานโองการอื่นๆ ก็ได้ถูกทยอยประทานลงมา ตราบจนสิ้นอายุขัยของท่านศาสดา (ซ็อล ) ซึ่งรวมระยะเวลาได้ประมาณ 23 ปีเต็ม

 

บางกลุ่มมีความเชื่อว่า ช่วงเวลาของการแต่งตั้งท่านศาสดา (ซ็อล ) กับช่วงเวลาของการประทานอัลกุรอานแบบทยอยลงมา ในฐานะที่เป็นคัมภีร์แห่งฟากฟ้านั้นมีความแตกต่างกัน ตามทัศนะของพวกเขาแม้ว่าในช่วงแรกของการแต่งตั้งจะมีอัลกุรอานถูกประทานลงมา 5 โองการก็ตาม แต่ในช่วงนั้นท่านศาสดาไม่มีหน้าที่เผยแพร่ต่อหน้าสาธารณชน ท่านมีหน้าที่เชิญชวนแบบลับๆ แต่หลังจากเวลาผ่านพ้นไปประมาณ 3 ปี ได้มีบัญชาให้ท่านเชิญชวนแบบเปิดเผยต่อสาธารณชน[11] นับตั้งแต่ช่วงเวลานั้นเป็นต้นไปอัลกุรอาน ในฐานะคัมภีร์แห่งฟากฟ้าก็ได้ถูกทยอยประทานลงมา ดังนั้น แม้ว่าการแต่งตั้งท่านศาสดาให้เป็นศาสดาได้เกิดขึ้นในช่วงเดือนเราะญับก็ตาม แต่อัลกุรอานได้ทยอยประทานลงมาหลังจากนั้น 3 ปีไปแล้ว ซึ่งเริ่มต้นตั้งแต่ค่ำคืนแห่งอานุภาพ ของเดือนรอมฏอนเป็นต้นไป[12]

 

ทัศนะที่สนับสนุนทัศนะดังกล่าวนี้คือ รายงานฮะดีซที่กล่าวว่า ช่วงเวลาของการประทานอัลกุรอานคือ 23 ปี[13] ด้วยเหตุผลนี้เองทัศนะและความเชื่อ[14] ที่ว่าช่วงเวลาของการประทานอัลกุรอาน แบบทยอยลงมาในฐานะของคัมภีร์แห่งฟากฟ้านั้น ได้เริ่มต้นจริงในปีที่ 4 ของการได้รับการแต่งตั้ง กล่าวคือ ประมาณ 3 ปีกับ 56 วันหลังการแต่งตั้งและยาวนานไปจนถึงการสิ้นอายุขัยของท่านศาสดา (ซ็อล ) ซึ่งตรงกับวันที่ 28 เดือนเซาะฟัร ปี .. ที่ 11

 

สรุป ตราบจนถึงปัจจุบันนี้ ตรงกับปี .. ที่ 1431 นับตั้งแต่การอพยพครั้งแรก และรวมกับอีก 13 ปีก่อนการอพยพ ถ้าสมมุติว่าถือตามทัศนะแรก โองการแรกที่ได้ประทานลงมาก็ประมาณ 1440 กว่าปีของปีฮิจญ์เราะศักราช แต่ถ้าถือตามทัศนะที่สอง โองการแรกที่ถูกประทานลงมาตราบจนถึงปัจจุบัน ก็ประมาณ 1437 กว่าปี

 

จากรายงานของนักประวัติศาสตร์บางคน ช่วงเวลาของการแต่งตั้งเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เดือนกุมภาพันธ์ ปี .. ที่ 610 และนับตั้งแต่บัดนั้นจวบจนถึงปัจจุบันคือ .. 2012 เราสามารถคำนวณนับได้ด้วยตัวเองว่า ช่วงเวลาของการประทานอัลกุรอานโองการแรก จวบจนถึงปัจจุบันเป็นเวลานานกี่ปีแล้ว 

 

 

[1] อัลกุรอาน บทดุคอน โองการ 3 บทก็อดร์ โองการ 1 สำหรับการศึกษาเพิ่มเติม โปรดศึกษาได้จาก ตัฟซีรอัลมีซาน เล่ม 8 หน้า 130-134 เล่ม 2 หน้า 14 -23 เล่ม 13 หน้า 220-221

[2]  อัลกุรอาน บทบะเกาะฮฺ 185 กล่าวว่า เดือนรอมะฎอนนั้นเป็นเดือนที่อัลกุรอานได้ถูกประทานลงมาเป็นการชี้นำสำหรับ มนุษย์และเป็นหลักฐานอันชัดเจนเกี่ยวกับการชี้นำนั้น

[3]  ตารีคฏ็อบรีย์ เล่ม 2 หน้า 300 ซีเราะฮฺอิบนุฮิชาม เล่ม 1 หน้า 236,239, 240 อายะตุลลอฮฺ มะอฺริฟัต อัตตัมฮีด ฟีอุลูมิลกุรอาน หน้า 100,129,อายะตุลลอฮฺ คูอีย์ อับบะยาน เล่ม 1 หน้า 244, มัจญฺมะอุลบะยาย เล่ม 9 หน้า 61, เล่ม 10 หน้า 518, 520, ตารีคอบิลฟิดาอ์ เล่ม 1 หน้า 115, ตารีคยะอฺกูบบีย์ เล่ม 2 หน้า 17, เชคฏูซีย์ อัตติบยาน เล่ม 9 หน้า 224 มุฮัมมัด บิน ญะรีร ฏ็อบรีย์ ญามิอุลบะยาน เล่ม 25 หน้า 107 และ 108, ตัฟซีร อัลมีซาน เล่ม 2 หน้า 29

[4]  วะซาอิลุชชีอะฮฺ หมวด 32 อะฮฺกามเดือนรอมฏอน เล่ม 7 หน้า 262 ฮะดีซที่ 16, คิซอลซะดูก เล่ม 2 หน้า 102 มุฮัมมัดบากิร ฮุจญฺตีย์ ประวัติอัลกุรอาน หน้า 38 - 62

[5]  อัลกุรอาน บทซุครุฟ โองการ 4 แท้จริงอัลกุรอานนั้นอยู่ในกระดานที่ถูกพิทักษ์  เรา คือสูงส่งพรั่งพร้อมด้วยปรัชญา

[6]  อายะตุลลอฮฺ ญะวาดีย์ ตัฟซีรเมาฎูอีย์ เล่ม 3 หน้า 153- 139

[7]  อัลกุรอาน บทอัสรอ โองการ 106, บทฟุรกอน โองการ 32, บท มุฮัมมัด โองการ 20, บทเตาบะฮฺ โองการ 127, สำหรับการศึกษาเพิ่มเติมโปรดศึกษาได้จากตัฟซีร อัลมีซาน เล่ม 2 หน้า 14 - 23

[8]  ตารีคยะอฺกูบีย์ เล่ม 2 หน้า 17 ตารีค อัลเคาะมีส เล่ม 1 หน้า 280, 281 ตารีคอบิลฟะดาอ์ เล่ม 1 หน้า 115

[9]  ประวัติอัลกุรอาน หน้า 36, บิฮารุลอันวาร เล่ม 18 หน้า 189, ฮะดีซที่ 21 ฟุรูคกาฟีย์ เล่ม 4 หน้า 149 ฮะดีซที่ 1 และ 2 วะซาอิลุชชีอะฮฺ เล่ม 7 หน้า 329 หมวดที่ 15 บาบศีลอดมุสตะฮับ ซีเราะตุลฮะละบี เล่ม 1 หน้า 238 อัตตัมฮีด ฟี อุลูมมิลกุรอาน หน้า 100 - 107

[10] บิฮารุลอันวาร เล่ม 18 หน้า 206 ฮะดีซ 36

[11]  อัลกุรอาน บทอัลฮิจญฺร์ โองการ 94, ตัฟซีรกุมมี หน้า 533, บิฮารุลอันวาร เล่ม 18 หน้า 53 ฮะดีซที่ 7 หน้า 179 ฮะดีซที่ 10 หน้า 177 ฮะดีซที่ 4 หน้า 193 ฮะดีซที่ 29 ตารีคยะอ์กูบีย์ เล่ม 1 หน้า 343, อัซซีเราะฮฺ อิบนุฮิชาม เล่ม 1 หน้า 280, อัลมะนากิบ เล่ม 1 หน้า 40 เชคฏูซีย์ อัลฆัยบะฮฺ หน้า 217

[12]  มัจญฺมะอุลบะยาน เล่ม 2 หน้า 276 อัลอิตติกอน เล่ม 1 หน้า 40 ตัฟซีรกะบีร อิมามรอซีย์ เล่ม 5 หน้า 85, อัลมะนากิบ เล่ม 1 หน้า 150 เชคมุฟีด ชัรฮฺอะกออิด ซะดูก หน้า 58, ซัยยิดมุรตะฎอ ฟี ญะวาบิลมะซาอิล อัฏรอบิซิยาติล อัซซาละซะฮฺ หน้า 403 - 405

[13]  อุซูลกาฟีย์ เล่ม 2 หน้า 628 ฮะดีซที่ 6 ตัฟซีรอะยาชีย์ เล่ม 1 หน้า 80 ฮะดีซที่ 184, ซะดูก อัลอิอ์ติกอดาต หน้า 101, บิฮารุลอันวาร เล่ม 18 หน้า 250, ฮะดีซที่ 3 และหน้า 253, อัลอิตติกอน เล่ม 1 หน้า 40,45 ตัฟซีรชุบัร หน้า 350, มุสตัดร็อกอัลฮากิม เล่ม 2 หน้า 610, อัสบาบุลนุซูล หน้า 3 อัลบิดายะฮฺ วันนิฮายะฮฺ เล่ม 3 หน้า 4 ตารีคยะอฺกูบีย์ เล่ม 2 หน้า 18

 

[14]  สำหรับการศึกษาเพิ่มเติม โปรดศึกษาได้จากหนังสือ อัตตัมฮีด ฟี อุลูมิลกุรอาน หน้า 100 - 129

 

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • กฎของการออกนอกศาสนาของบุคคลหนึ่ง, ต้องขึ้นอยู่กับการตัดสินของผู้ปกครองหรือไม่?
    5387 สิทธิและกฎหมาย 2555/05/17
    คำถามของท่าน สำนัก ฯพณฯ มัรญิอฺตักลีดได้ออกคำวินิจฉัยแล้ว คำตอบของท่านเหล่านั้น ดังนี้ ฯพณฯ ท่านอายะตุลลอฮฺ อัลอุซมาคอเมเนอี (ขออัลลอฮฺทรงคุ้มครองท่าน): การออกนอกศาสนา ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการตัดสินของผู้ปกครอง ซึ่งถ้าหากบุคคลนั้นได้ปฏิเสธหนึ่งในบัญญัติที่สำคัญของศาสนา ปฏิเสธการเป็นนบี หรือมุสาต่อท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือนำความบกพร่องต่างๆ มาสู่หลักการศาสนาโดยตั้งใจ อันเป็นสาเหตุนำไปสู่การปฏิเสธศรัทธา หรือออกนอกศาสนา หรือตั้งใจประกาศว่า ตนได้นับถือศาสนาอื่นนอกจากอิสลามแล้ว ทั้งหมดเหล่านี้ถือว่า เป็นมุรตัด หมายถึงออกนอกศาสนา หรือละทิ้งศาสนาแล้ว ฯพณฯ ท่านอายะตุลลอฮฺ อัลอุซมา มะการิม ชีรอซียฺ (ขออัลลอฮฺทรงคุ้มครองท่าน) : ถ้าหากบุคคลหนึ่งปฏิเสธหลักความเชื่อของศาสนา หรือปฏิเสธบทบัญญัติจำเป็นของศาสนาข้อใดข้อหนึ่ง และได้สารภาพสิ่งนั้นออกมาถือว่า เป็นมุรตัด ...
  • ทัศนะของอุละมาอฺนักปราชญ์ทั้งหมดถือว่าการสูบบุหรี่ฮะรอมหรือไม่ ?
    7313 สิทธิและกฎหมาย 2554/09/25
    อิสลามได้ห้ามการกินการดื่มและการใช้ประโยชน์จากบางสิ่งที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพร่างกายและถ้าทุกสิ่งที่มีอันตรายมากการห้ามโดยปัจจัยสาเหตุก็ยิ่งทวีคูณมากยิ่งขึ้นจนกระทั่งถึงขึ้นฮะรอมด้วยซ้ำไปท่านอิมามโคมัยนี ...
  • อิมามโคมัยนีเชื่อว่าการร่ำไห้และการไว้อาลัยแด่อิมามฮุเซน(อ.)สามารถรักษาอิสลามให้คงอยู่ถึงปัจจุบันไช่หรือไม่? เพราะเหตุใด?
    7926 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/12/08
    คำถามนี้ไม่มีคำตอบแบบสั้น ปรดเลือกปุ่มคำตอบที่สมบูรณ์ ...
  • ฉันต้องการฮะดีซสักสองสามบท ที่ห้ามการติดต่อสัมพันธ์กัน ระหว่างชายหนุ่มและหญิงสาวที่สามารถแต่งงานกันได้?
    5940 สิทธิและกฎหมาย 2555/01/23
    ความสัมพันธ์ระหว่างนามะฮฺรัม 2 คน, กว้างมากซึ่งแน่นอนว่าบางองค์ประกอบของมันไม่มีปัญหาแต่อย่างใดจากคำถามที่ได้ถามมานั้นยังมีความเคลือบแคลงอยู่แต่จะขอตอบคำถามนี้ในหลายสถานะด้วยกัน
  • โองการที่ 144 ซูเราะฮ์อาลิอิมรอนบ่งบอกว่าท่านนบี(ซ.ล.)เป็นชะฮีดหรือไม่?
    9560 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/18
    ขณะที่เกิดข่าวลือในหมู่มุสลิมขณะทำสงครามอุฮุดว่าท่านนบีถูกสังหารแล้ว อันทำให้มุสลิมบางส่วนถอนตัวจากสงคราม ถึงขั้นที่บางคนหวังจะขอประนีประนอมกับพวกศัตรูและยอมออกจากศาสนาอิสลาม ในสถานการณ์ดังกล่าว โองการข้างต้นได้ประทานลงมาเพื่อตำหนิมุสลิมที่คิดจะปลีกตัวจากสงครามอย่างเผ็ดร้อน โดยสอนว่ามุสลิมจะต้องมั่นคง ในศาสนาไม่ว่าท่านนบีจะมีชีวิตอยู่หรือถูกสังหารไปแล้วก็ตาม จงอย่าหวั่นไหวในศรัทธาเด็ดขาดฉะนั้น กริยา قُتِلَ (ถูกสังหาร) เป็นเพียงสมมุติฐานหนึ่งที่กุรอานนำเสนอว่า แม้ท่านนบีจะเพลี่ยงพล้ำถึงขั้นถูกสังหารก็ตาม มุสลิมจะต้องมั่นคงในศาสนาและไม่หวั่นไหวในภารกิจของตน ด้วยเหตุนี้ โองการดังกล่าวจึงใช้พิสูจน์ว่าท่านนบี(ซ.ล.)เป็นชะฮีดไม่ได้ ...
  • การลงโทษความผิดบาปต่างๆ บางอย่าง จะมากกว่าการลงโทษบาปอื่น ๆ บางอย่างใช่หรือไม่?
    8364 จริยธรรมทฤษฎี 2555/08/22
    อัลกุรอานและรายงานฮะดีซจากอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) เข้าใจได้ว่า ความผิดต่างๆ ถ้าพิจารณาในแง่ของการลงโทษในปรโลกและโลกนี้ จะพบว่ามีระดับขั้นที่แตกต่างกัน อัลกุรอานถือว่า ชิริก คือบาปใหญ่และเป็นการอธรรมที่เลวร้ายที่สุด ทำนองเดียวกัน การกระทำความผิดบางอย่างได้รับการสัญญาเอาไว้ว่า จะต้องได้รับโทษทัณฑ์อย่างแน่นอน นั่นบ่งบอกให้เห็นว่า มันเป็นความผิดใหญ่นั่นเอง ในแง่ของการลงโทษความผิดทางโลกนี้ สำหรับความผิดบางอย่างนั้นคือ การเฆี่ยนตีให้หลาบจำ ซึ่งได้ถูกกำหนดไว้ แต่การลงโทษความผิดบางอย่าง เช่น การฆ่าคนตายโดยเจตนา จะต้องถูกประหารชีวิตให้ตายตกไปตามกัน หรือบาปบางอย่างนอกจากต้องโทษแล้ว ยังต้องจ่ายสินไหมเป็นเงินตอบแทนด้วย ...
  • มีเศาะฮาบะฮ์นบีกี่ท่านที่เป็นชะฮีดในกัรบะลา?
    12495 ชีวประวัตินักปราชญ์ 2555/02/06
    ข้อสรุปที่นักวิจัยอาชูรอรุ่นหลังได้รับจากการค้นคว้าก็คือมีเศาะฮาบะฮ์นบี 5 ท่านอยู่ในกลุ่มสหายของอิมามฮุเซน(อ.) ในเหตุการณ์อาชูรอโดยมีรายชื่อดังต่อไปนี้อนัสบิรฮัรซ์, ฮานีบินอุรวะฮ์, มุสลิมบินเอาสะญะฮ์, ฮะบีบบินมะซอฮิร, อับดุลลอฮ์บินยักฏิร ...
  • จุดประสงค์ของประโยคที่อัลกุรอาน กล่าว่า “สตรีคือไร่นาของบุรุษ” หมายถึงอะไร?
    10147 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/09/08
    ความหมายของประโยคดังกล่าวที่ว่า “สตรีคือไร่นาของบุรุษ” หมายถึงเป็นการอุปมาสตรีเมื่อสัมพันธ์ไปยังสังคมมนุษย์ ประหนึ่งไร่นาของสังคมมนุษย์นั่นเอง ดั่งประที่ประจักษ์ว่าถ้าหากสังคมปราศจากซึ่งไร่นาแล้วไซร้ พืชพันธ์ธัญญาหาร ต่างๆ ก็จะไม่มีและสูญเสียจนหมดสิ้น สังคมจะปราศจากซึ่งอาหาร สำหรับการดำรงชีพ เวลานั้นพงศ์พันธ์ของมนุษย์ก็จะไม่มีหลงเหลือสืบต่อไปอีกเช่นกัน ดังนั้น ถ้าหากโลกนี้ไม่มีสตรี เผ่าพันธุ์มนุษย์ก็ไม่อาจสืบสานสายตระกูลต่อไปอีกได้ เชื้อสายมนุษย์จะสิ้นสุดลงในที่สุด[1] ตามความเป็นจริงแล้ว อัลกุรอาน ต้องการที่จะแสดงให้สังคมได้เห็นว่า การมีอยู่ของสตรีนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อสังคม อย่าเข้าใจผิดว่าสตรีคือที่ระบายความใคร่ หรือกามรมย์ของบุรุษแต่เพียงอย่างเดียว ดังที่บางสังคมเข้าใจเช่นนั้น พวกเขาจึงใช้สตรีไปในวิถีทางที่ผิด ฉะนั้น อัลกุรอานต้องการแสดงให้เห็นว่า ความน่ารักของสตรีมิใช่ที่ระบายตัณหาราคะของผู้ชาย ทว่าพวกนางคือสื่อสำหรับปกป้องเผ่าพันธุ์มนุษย์ให้ดำรงสืบต่อไป[2] ดังนั้น โองการข้างต้นคือตัวอธิบายให้เห็นถึงความสัมพันธ์อันลึกซึ้งระหว่างบุรุษและสตรี ดั่งเช่นที่ไร่นาสาโทถ้าปราศจากเมล็ดพันธ์พืช จะไม่มีประโยชน์อันใดอีกต่อไป ในทำนองเดียวกันเมล็ดพันธ์ ถ้าปราศจากไร่นาก็ไม่มีประโยชน์เช่นกัน มีคำพูดกล่าวว่า จากโองการข้างต้นเข้าใจความหมายได้ว่า หน้าที่ของบุรุษคือ ต้องใส่ใจและดูแลภรรยาของตนอย่างดี เพื่อการได้รับประโยชน์ และขณะเดียวกันก็เป็นการสร้างประโยชน์ให้เกิดแก่สังคม
  • เกิดอะไรขึ้นกับม้าของอิมามฮุเซน (อ.) ที่กัรบะลา
    7738 تاريخ بزرگان 2554/11/29
    สายรายงานไม่ได้กล่าวถึงประวัติความเป็นมาของม้าของท่านอิมามฮุเซน (อ.) ที่มีนามว่า "ซุลญะนาฮ" อย่างละเอียดนักแต่สายรายงานที่เชื่อถือได้ส่วนใหญ่ระบุว่าหลังจากที่อิมามฮุเซน (อ.) เป็นชะฮีดแล้วม้าตัวนี้ได้เกลือกกลั้วขนแผงคอกับเลือดอันบริสุทธิ์ของท่านแล้วมุ่งหน้าไปยังกระโจมและส่งเสียงร้องโหยหวนบรรดาผู้ที่อยู่ในกระโจมเมื่อได้ยินเสียงของซุลญะนาฮก็รีบวิ่งออกมาจากกระโจมจึงได้รับรู้ว่าอิมามฮุเซน (อ.) เป็นชะฮีดแล้ว[1]แต่ทว่าสายรายงานและหนังสือบางเล่มที่ประพันธ์ขึ้นมาใหม่เช่นหนังสือนาซิคุตตะวารีคได้กล่าวถึงเหตุการณ์อื่นๆนอกเหนือจากนี้เช่นกล่าวไว้ว่าม้าตัวนั้นได้โขกหัวกับพื้นบริเวณหน้ากระโจมจนตายหรือควบตะบึงไปยังแม่น้ำฟูรอตและกระโดดลงในแม่น้ำ[2][1]ซิยาเราะฮ์นาฮิยะฮ์
  • ระหว่าง ลาอิลาฮะอิลลาฮุวะ และ ลาอิลาฮะอิลลัลลอฮ์ มีข้อแตกต่างกันอย่างไร?
    9327 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/03/04
    บางฮะดีษระบุว่า ยาฮุวะ หรือ ยามันลาฮุวะ อิลลาฮุวะ คืออภิมหานามของพระองค์ (อิสมุ้ลอะอ์ซ็อม) แน่นอนว่าข้อแตกต่างระหว่างลาอิลาฮะอิลลาฮุวะ และ ลาอิลาฮะอิลลัลลอฮ์ นั้น สืบเนื่องมาจากความแตกต่างระหว่าง “ฮุวะ” และ “อัลลอฮ์”นั่นเอง “ฮุวะ”ในที่นี้สื่อถึงคุณลักษณะหนึ่งของพระองค์ซึ่งอยู่พ้นนิยามและญาณวิสัย และจะเร้นลับตลอดไป ส่วนคำว่า “อัลลอฮ์” สื่อถึงการที่พระองค์เป็นศูนย์รวมของคุณลักษณะอันไพจิตรและพ้นจากคุณลักษณะอันไม่พึงประสงค์ทั้งมวล ฉะนั้น เมื่อกล่าวว่า ลาอิลาฮะอิลลัลลอฮ์ แปลว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮ์ผู้ทรงดำรงไว้ซึ่งคุณสมบัติต่างๆอย่างครบถ้วน โดยมิได้จะสื่อว่าอาตมันของพระองค์จำแนกจากคุณสมบัติทั้งมวล และเมื่อกล่าวว่า พระองค์ (ฮุวะ) คืออัลลอฮ์ (ในซูเราะฮ์กุ้ลฮุวัลลอฮ์) นั่นหมายถึงว่าคุณลักษณะของพระองค์เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับอาตมันของพระองค์ ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59385 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56837 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41665 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38415 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38414 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33444 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27537 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27231 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27128 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25202 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...